ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เทคนิคนับอายุครรภ์/ด้วยตนเองแบบง่ายๆ

นับอายุครรภ์ด้วยตัวเอง นับยังไงให้แม่นยำ ไม่คลาดเคลื่อน

Enfa สรุปให้

  • การนับอายุครรภ์ คือ การคำนวณอายุของการตั้งครรภ์ เพื่อให้ทราบว่าขณะนี้คุณแม่มีอายุครรภ์เท่าไหร่ และพัฒนาการของทารกในครรภ์ควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งโดยปกติแล้วอายุครรภ์รวมของคุณแม่ตั้งแต่วันที่เริ่มมีการตั้งครรภ์ไปจนถึงวันคลอดจะอยู่ที่ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน หรือคิดเป็น 9 เดือน
  • นับอายุครรภ์จากวันที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้าย หรือ “วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย” โดยเราจะถือว่า วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย หรือครั้งล่าสุด คือ วันแรกของการตั้งครรภ์ เช่น ประจำเดือนครั้งล่าสุดคือ วันที่ 1-5 มีนาคม วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย หรือครั้งล่าสุด คือ วันที่ 1 มีนาคม ก็เท่ากับ วันแรกของการตั้งครรภ์ คือวันที่ 1 มีนาคม นั่นเอง
  • หากคุณแม่เป็นคนที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ กล่าวคือ ไม่ได้มีรอบเดือนทุก ๆ 28 วัน หรือจำวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายไม่ได้ ก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะคุณแม่สามารถเข้าพบสูตินารีแพทย์ เพื่อนับอายุครรภ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือที่เรียกกันว่า อัลตราซาวด์ (Untrasonography) ได้ วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์ทราบขนาดของถุงตั้งครรภ์ (Gestational Sac) หรือความยาวของทารก (Crown Rump Length) และคำนวณอายุครรภ์ของคุณแม่ได้เช่นกัน

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • การนับอายุครรภ์คืออะไร
     • วิธีนับครรภ์มีกี่วิธี อะไรบ้าง
     • วิธีการนับเป็นสัปดาห์
     • วิธีนับตั้งแต่ปฏิสนธิ
     • ประโยชน์ของการเช็กอายุครรภ์
     • Application นับอายุครรภ์
     • ไขข้อข้องใจเรื่องการนับอายุครรภ์กับ Enfa Smart Club

คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจพบกับคำถามที่อาจจะถูกถามกันบ่อย ๆ ว่า อายุครรภ์เท่าไหร่แล้ว ท้องได้กี่เดือนแล้ว บางครั้งนอกจากผู้อื่นจะสงสัยแล้ว คุณแม่เองก็อาจจะสับสนด้วยว่า ตกลงแล้วเราตั้งท้องได้กี่เดือนกันแน่นะ วันนี้ Enfa มีเทคนิคการนับอายุครรภ์มาฝากค่ะ มาดูกันว่านับยังไงถึงจะแม่นยำที่สุด การนับครรภ์จำเป็นอย่างไร และวิธีนับแบบไหนที่จำง่ายและไม่สับสน

การนับอายุครรภ์คืออะไร สำคัญกับการท้องอย่างไร



การนับอายุครรภ์ คือ การคำนวณอายุของการตั้งครรภ์ เพื่อให้ทราบว่าขณะนี้คุณแม่มีอายุครรภ์เท่าไหร่ และพัฒนาการของทารกในครรภ์ควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งโดยปกติแล้วอายุครรภ์รวมของคุณแม่ตั้งแต่วันที่เริ่มมีการตั้งครรภ์ไปจนถึงวันคลอดจะอยู่ที่ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน

คุณแม่นับอายุครรภ์ด้วยตัวเองได้อย่างไรบ้าง

วิธีนับอายุครรภ์ อย่างถูกต้องและแม่นยำ คุณแม่สามารถนับด้วยตัวเองได้ ด้วย 2 วิธีดังต่อไปนี้

1. วิธีนับอายุครรภ์จากวันที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้าย

วิธีนับรอบเดือน< การจดรอบเดือนอย่างสม่ำเสมอ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้หญิงเราเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะคนที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ หรือต้องการนับอายุครรภ์ให้ถูกต้อง

ซึ่งสามารถเริ่มนับจากวันที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้าย หรือ “วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย” หรือเรียกว่า LMP. (Last Menstrual Period) โดยเราจะถือว่า วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย หรือครั้งล่าสุด คือ วันแรกของการตั้งครรภ์ เช่น ประจำเดือนครั้งล่าสุดคือ วันที่ 1-5 มีนาคม วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย หรือครั้งล่าสุด คือ วันที่ 1 มีนาคม ก็เท่ากับ วันแรกของการนับอายุครรภ์ คือวันที่ 1 มีนาคม นั่นเอง

เมื่อทราบวันแรกของการตั้งครรภ์แล้ว ก็จะสามารถคํานวณอายุครรภ์ LMP หรือ วันกำหนดคลอดได้โดยวิธีดังต่อไปนี้

  1. นับเพิ่มจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย ไปอีก 9 เดือน 7 วัน โดยนับเดือนตามเดือนปฏิทิน เช่น วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายคือ วันที่ 1 มีนาคม เมื่อนับไปอีก 9 เดือน จะเท่ากับวันที่ 1 พฤศจิกายน จากนั้นนำมาบวกเพิ่มอีก 7 วัน จะได้วันกำหนดคลอด นั่นคือ วันที่ 8 พฤศจิกายน ของปีเดียวกัน
  2. นับย้อนหลังจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย ไป 3 เดือนตามปฏิทิน แล้วบวกเพิ่ม 7 วัน เช่น วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายคือ วันที่ 1 มีนาคม เมื่อนับย้อนหลังไป 3 เดือน จะเท่ากับวันที่ 1 พฤศจิกายน เมื่อบวกเพิ่มอีก 7 วัน จะได้วันกำหนดคลอด นั่นคือ วันที่ 8 พฤศจิกายน ของปีเดียวกัน เช่นเดียวกับวิธีแรก

2. วิธีนับอายุครรภ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรืออัลตราซาวด์

หากคุณแม่เป็นคนที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ กล่าวคือ ไม่ได้มีรอบเดือนทุก ๆ 28 วัน หรือจำวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายไม่ได้ ก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะคุณแม่สามารถเข้าพบสูตินรีแพทย์ เพื่อนับครรภ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือที่เรียกกันว่าอัลตราซาวด์ (Untrasonography) ได้ ตั้งแต่ไตรมาสแรก

วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์ทราบความยาวของทารก (Crown Rump Length) และคำนวณอายุครรภ์ของคุณแม่ได้เช่นกัน

ทั้งนี้หากคุณแม่ทราบประวัติประจำเดือนประกอบการตรวจอัลตราซาวด์ จะยิ่งทำให้การคำนวณอายุครรภ์แม่นยำมากขึ้นค่ะ

การนับอายุครรภ์เป็นวีคนับอย่างไร

การนับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์นั้น ค่อนข้างที่จะมีความซับซ้อนเล็กน้อย และจำเป็นจะต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ จึงจะช่วยให้สามารถคำนวณออกมาเป็นสัปด์าห์ได้ง่ายขึ้น แต่ในเบื้องต้นสามารถใช้วิธีเดียวกับการนับครรภ์โดยอ้างอิงจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย ซึ่งถือว่า วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย หรือครั้งล่าสุด คือ วันแรกของการเช็กอายุครรภ์ เพราะหลังจากประจำเดือนครั้งสุดท้ายผ่านไปอีกประมาณ 2 สัปดาห์ ก็จะเป็นช่วงเวลาที่จะสามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้หลังจากมีการปฏิสนธิผ่านไปแล้ว 14 วัน หรือก็คือ 2 สัปดาห์

อย่างไรก็ตาม แม้จะตรวจพบว่ามีการตั้งครรภ์ แต่นั่นอาจไม่ได้หมายความว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ได้ 2 สัปดาห์ เพราะคุณแม่อาจจะไปตรวจพบเอาเมื่อผ่านไปแล้ว 1 เดือน 2 เดือน หรือ 3 เดือน หากเป็นเช่นนั้นอายุครรภ์ก็จะไม่ใช่ 2 สัปดาห์

ดังนั้น เพื่อที่จะสามารถระบุอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ได้ คุณแม่จำเป็นจะต้องไปทำการตรวจโดยตรงกับแพทย์เสียก่อน เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยออกมาได้ว่า ตั้งครรภ์มาแล้วประมาณกี่เดือน จากนั้นจึงจะสามารถคำนวณออกมาเป็นสัปดาห์ได้แม่นยำขึ้น

ตารางนับอายุครรภ์

โดยเมื่อคุณแม่คำนวณอายุครรภ์เป็นเดือนและสัปดาห์ได้แล้ว ก็ยังสามารถนำมาคำนวณได้อีกด้วยว่า อายุครรภ์ตอนนี้ตรงกับไตรมาสที่เท่าไหร่ของการตั้งครรภ์ ดังตารางต่อไปนี้

นับอายุครรภ์

การนับอายุครรภ์ตั้งแต่ปฏิสนธินับอย่างไร

การนับอายุครรภ์ตั้งแต่ปฏิสนธินั้น คุณแม่จะเป็นจะต้องใช้ข้อมูลหลายส่วนประกอบกัน ตั้งแต่ข้อมูลการเป็นประจำเดือนทุกเดือน เพื่อที่จะสามารถใช้ข้อมูลตรงนั้นมาคำนวณหาวันที่อาจมีการตกไข่ เมื่อได้วันที่อาจมีการตกไข่แล้ว จึงเริ่มมีเซ็กซ์กันในวันนั้น หลังจากที่มีเซ็กซ์ในวันที่คาดว่าจะมีการตกไข่แล้ว ก็จะต้องรอประมาณ 14 วัน กว่าที่จะมีการปฏิสนธิสมบูรณ์และสามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้

เมื่อตรวจพบการตั้งครรภ์ก็จะต้องไปฝากครรภ์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยว่าตอนนี้มีอายุครรภ์เท่าไหร่แล้ว เมื่อได้อายุครรภ์ที่แน่นอนจากแพทย์แล้ว คุณแม่จึงจะสามารถนำอายุครรภ์และข้อมูลทั้งหมดมาลำดับย้อนเวลากลับไป เพื่อหาว่าวันใดที่น่าจะมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะไม่ถึงกับแม่นยำ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่คุณแม่ก็อาจจะพอคาดเดาคร่าว ๆ ถึงวันที่มีการปฏิสนธิ

เช็กอายุครรภ์มีประโยชน์อย่างไร

การทราบอายุครรภ์ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ในการตอบคำถามผู้อื่นที่สงสัยเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ต่อตัวของคุณแม่และทารกหลายประการ ดังนี้

  • แพทย์สามารถที่จะกำหนดวันคลอดให้คุณแม่ได้
  • แพทย์สามารถที่จะคาดการณ์หรือตรวจพบความผิดปกติได้หากคุณแม่มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
  • แพทย์สามารถที่จะนัดวันสำหรับการอัลตราซาวด์เพื่อดูเพศของลูกได้
  • คุณแม่สามารถทราบว่าพัฒนาการของทารกในครรภ์เป็นอย่างไร ทารกในครรภ์เติบโตสมวัยหรือไม่
  • คุณแม่สามารถที่จะดูแลตนเองให้เหมาะกับอายุครรภ์ปัจจุบันของตนเอง เพื่อให้ทารกในครรภ์แข็งแรงสมวัย และคุณแม่สามารถอุ้มท้องต่อไปได้อย่างปลอดภัย

App นับอายุครรภ์ใช้ง่ายที่ Enfababy และ A+ Genius App

การนับอายุครรภ์โดยการคำนวณเอง ในบางครั้งอาจเกิดการสับสนเนื่องจากต้องใช้ข้อมูลและตัวเลขหลายตัวมาประกอบกัน อาจทำให้คุณแม่สับสนหรือคำนวณวันผิดพลาด ปัจจุบันจึงมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกอย่างแอปพลิเคชั่นนับอายุครรภ์หรือโปรแกรมเช็กอายุครรภ์ เพื่อทำให้สามารถที่จะคำนวณหาอายุครรภ์ได้สะดวกขึ้น

ซึ่งวิธีใช้งานได้ก็สะดวก ทำได้ไม่ยาก แต่ข้อสำคัญที่ยังไม่เปลี่ยนไปคือ คุณแม่จำเป็นจะต้องมีข้อมูลต่าง ๆ สำหรับประกอบการคำนวณหาอายุครรภ์ ได้แก่

  • รอบเดือนครั้งล่าสุด หรือกำหนดวันคลอด
  • วันแรกหลังการมีรอบเดือนครั้งสุดท้าย
  • จำนวนวันของรอบเดือนโดยปกติในแต่ละเดือน

เมื่อได้ข้อมูลนี้มาแล้ว ก็นำไปกรอกใส่ในเครื่องคำนวณให้ครบถ้วน เมื่อกดปุ่มคำนวณอายุครรภ์แล้ว ก็จะสามารถทราบได้ว่าขณะนี้คุณแม่มีอายุครรภ์กี่เดือน คิดเป็นสัปดาห์ที่เท่าไหร่ และไตรมาสไหน

โดยคุณแม่สามารถเลือกใช้งานเครื่องคำนวณได้ตามความสะดวก เพราะมีหลากหลายแอปพลิเคชั่นให้เลือกใช้งาน รวมถึงเครื่องคำนวณอายุครรภ์และวันคลอดของEnfaด้วย

ไขข้อข้องใจเรื่องการนับอายุครรภ์กับ Enfa Smart Club




จะรู้ได้ไงว่าท้องกี่เดือน?

เพื่อความแม่นยำในการคำนวณหาอายุครรภ์ คุณแม่ควรไปตรวจครรภ์กับแพทย์และทำการฝากครรภ์ แพทย์จะสอบถามข้อมูลเบื้องต้นตั้งแต่วันที่มีเซ็กซ์ครั้งล่าสุด มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายคือวันไหน พบสัญญาณของการตั้งครรภ์เมื่อไหร่ เมื่อได้ข้อมูลจากการซักประวัติ และผลการตรวจครรภ์ ก็จะสามารถทราบได้แม่นยำขึ้นว่าคุณแม่กำลังตั้งท้องที่อายุครรภ์เท่าใด

กำหนดคลอดคำนวณยังไง?

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อไปฝากครรภ์กับแพทย์ แพทย์ก็จะเช็กอายุครรภ์และวันคลอดมาให้ อย่างไรก็ตาม ปกติแล้วคนเราจะตั้งท้องประมาณ 40 สัปดาห์ หรือ 9 เดือน หากคุณแม่ทราบอายุครรภ์ของตนเองแล้ว ก็ให้นับจากอายุครรภ์ในขณะนั้นต่อไปอีกจนถึงสัปดาห์ที่ 40 หรือเดือนที่ 9 คุณแม่ก็จะพอทราบคร่าว ๆ ว่าอาจจะมีการคลอดเกิดขึ้นในเดือนใด แต่เพื่อความแม่นยำควรไปเข้ารับการตรวจโดยตรงกับแพทย์

ไข่ตกช้า นับอายุครรภ์อย่างไร?

กรณีที่มีไข่ตกช้า การเช็กอายุครรภ์อาจคลาดเคลื่อนได้ แนะนำให้คุณแม่ไปทำการตรวจครรภ์กับแพทย์โดยตรง จะสามารถทราบอายุครรภ์ได้แม่นยำกว่าการคำนวณเอง เพราะอาจคำนวณอายุครรภ์ผิดพลาดได้

นับอายุครรภ์ บอกได้ไหมว่าท้องกับใคร?

ในกรณีที่มีคู่นอนหลายคน การจะชี้ชัดว่าใครเป็นพ่อของเด็กโดยอาศัยอายุครรภ์อย่างเดียว ก็อาจจะคลาดเคลื่อนได้ เพราะระยะเวลาของการตกไข่นั้นมักไม่แน่นอน และคุณแม่อาจจะมีเซ็กซ์ก่อนวันตกไข่กับอีกคน และมีเซ็กซ์ในวันที่มีไข่ตกกับอีกคน ซึ่งแม้จะเป็นช่วงเวลาที่ใกล้กันไม่กี่วันหรือห่างกันไม่กี่ชั่วโมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณแม่มีเซ็กซ์กับผู้ชายสองคนภายใน 3 วัน ก็จะยิ่งทำให้การคำนวณอาจเกิดการคลาดเคลื่อนได้สูงมาก

ดังนั้น การนับอายุครรภ์เพื่อหาว่าท้องกับใครจึงไม่แม่นยำ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่การตรวจ DNA จะช่วยให้ทราบผลได้อย่างแม่นยำขึ้น ว่าใครคือพ่อของเด็ก

อายุครรภ์ไม่ตรงกับอัลตร้าซาวด์ เป็นไปได้จริงหรือ?

จริง ๆ  แล้วการตรวจเช็กอายุครรภ์ด้วยอัลตราซาวด์ในไตรมาสแรกนั้นมีความแม่นยำที่ค่อนข้างสูงมาก โอกาสจะคำนวณผิดพลาดจึงเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่เคยเกิดขึ้นเลย

เพราะมีหลายกรณีที่คุณแม่ไปอัลตราซาวด์เพื่อตรวจหาอายุครรภ์ แต่เมื่อกลับมาลองทบทวนดูดี ๆ แล้วก็พบว่า คลาดเคลื่อนไปจากวันที่มีเซ็กซ์ครั้งสุดท้ายก่อนตั้งครรภ์ อาจเป็นไปได้ว่า มีการปฏิสนธิตั้งแต่ก่อนการมีเซ็กซ์ครั้งสุดท้าย

หรืออาจเป็นไปได้ว่าคุณแม่จำวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายผิดพลาด หรือมีปัญหาประจำเดือนมาไม่ค่อยปกติ จนนับวันคลาดเคลื่อนได้



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความที่แนะนำ

วิธีการนับอายุครรภ์ เพื่อให้คุณแม่มือใหม่เช็คอายุครรภ์ได้อย่างถูกต้อง
ตรวจตั้งครรภ์-ท้องหรือไม่
Enfa Smart Club

Leaving page banner

 

Leaving page banner