ในฐานะครูคนแรกของเค้าแล้ว คงไม่มีอะไรจะน่าภาคภูมิใจ ไปกว่า การได้สอนลูกให้สามารถนับเลขและท่อง “ก ข ค” ได้สำเร็จ ถึงอย่างนั้นบางครั้งเราก็มองข้ามพัฒนาการของลูกน้อย อีกด้านหนึ่งไป ทั้งที่จริงๆ แล้วสิ่งสิ่งนี้จะเป็นตัวกำหนด ความสำเร็จในอนาคต ของลูกได้เหมือนกัน

หนังสือ ‘Emotional Development and Emotional Intelligence’ โดย เจ. มายเออร์ (J. Mayer) และ พี. ซาโลวีย์ (P. Salovey) ได้ให้นิยามของความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ไว้ว่า เป็นความสามารถในการรู้เท่าทันอารมณ์ กระตุ้นอารมณ์ เพื่อสนับสนุนความคิด และควบคุมอารมณ์ได้ตามสถานการณ์

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

เสริม EQ ปูทางสู่อนาคตให้ลูกน้อย

จากงานวิจัยของ ดร.เดมอน โจนส์ (Dr. Damon Jones) ซึ่งตีพิมพ์ลงในสมาคมสาธารณสุขสหรัฐ ได้พบว่า เด็กนักเรียนอนุบาล ที่มีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์ดี มีนิสัยชอบแบ่งปัน มีความสามารถในการแก้ปัญหา ความขัดแย้ง รับฟัง เข้าใจอารมณ์ ตัวเองและของผู้อื่น มีโอกาสสูงที่จะจบมหาวิทยาลัยและมีงานทำ ภายในอายุ 25 ปี

อะไรคือความแตกต่าง ระหว่างเด็กที่มีพัฒนาการของความฉลาดทางอารมณ์กับเด็กที่ไม่มี

การเสริมสร้าง EQ ให้ลูกนั้นต้องเริ่มตั้งแต่ที่บ้าน โดยอาศัยคำชี้แนะจากคุณแม่ โดยเฉพาะเวลาที่ลูกกำลังโมโห และไม่ควบคุมอารมณ์ โดย ดร.จอห์น ก็อตต์แมน (Dr. John Gottman) และคณะได้เขียนไว้ในหนังสือ ‘Raising an Emotionally Intelligent Child; The Heart of Parenting’ โดยแบ่งลิสต์ออกมาเป็นขั้นตอน เพื่อช่วยให้คุณพ่อคุณแม่จัดการกับอารมณ์ลูกน้อย ที่กำลังเดือดปุดๆ ได้ และใช้จังหวะนี้สอนให้ลูกได้รู้จักกับอารมณ์ของตัวเอง ซึ่งจะช่วยพัฒนา EQ ให้กับเค้าได้ตามลำดับ

ดร.ก็อตต์แมนได้แนะนำพ่อแม่ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

  1. คอยสำรวจอารมณ์ของลูกน้อย

  2. ให้มองว่าอารมณ์นี้จะเป็นโอกาสในการสร้างความใกล้ชิด และอบรมสั่งสอนลูก

  3. รับฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ ไม่เมินเฉยกับอารมณ์ของลูก

  4. ช่วยลูกหาคำอธิบายถึงความรู้สึกของตัวเอง

  5. หาหนทางแก้ปัญหาใกล้ๆ ตัวในทุกๆ ครั้งที่เจ้าตัวเล็กเกิดระเบิดอารมณ์ใส่ คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยรับฟัง และใส่ใจความรู้สึกของเค้า อย่าลืมว่าเค้ายังเด็กบางทีก็อาจจะยังไม่เข้าใจความรู้สึกของตัวเอง และนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมพวกเราถึงต้องคอยสอนเค้า

คุณแม่ต้องอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าการโมโหหรืออารมณ์อื่นๆ นั้นไม่ใช่เรื่องผิดปกติ และปล่อยให้เค้าได้เรียนรู้อารมณ์แบบนี้ แทนที่จะห้ามหรือลงโทษเค้าจนร้องไห้ หรือแกล้งทำเป็นไม่สนใจเหมือนไม่ใช่เรื่องอะไรใหญ่โต ให้คุณแม่คอยอยู่กับเค้าในเวลาที่เค้าร้องไห้

ถ้าอยากได้ไอเดียการทำกิจกรรมร่วมกับลูก เพื่อช่วยเค้าพัฒนา EQ และ IQ ให้เข้าไปที่ เครื่องมือเตรียมความพร้อมสู่อนาคต

สารอาหารที่จะช่วยเพิ่มพูน EQ และ IQ

นอกจากจะช่วยเค้าจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง และเสริมกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนา EQ และ IQ แล้ว คุณแม่ยังสามารถ เพิ่มพัฒนาการให้กับลูกได้ โดยให้เค้าได้รับสารอาหารที่เหมาะสม

จากการทดลองของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ที่ทำในลูกหมูพบว่า ส่วนผสมของพรีไบโอติกส์ แล็กโตเฟอร์ริน และเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมหรือ MFGM (ส่วนประกอบที่อุดมไปด้วยสารอาหาร ซึ่งโดยปกติจะพบในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมทั้งน้ำนมแม่ด้วย)

การวิจัยในระดับเซลล์แสดงให้เห็นว่า การได้รับ DHA ควบคู่กับส่วนประกอบ MFGM สามารถสร้างการเชื่อมโยงใน เซลล์สมองได้มากกว่าการได้รับ DHA เพียงอย่างเดียวถึง 2 เท่า การทดลองทางการแพทย์ก็ยังแสดงให้เห็นประโยชน์ของ MFGM ในการสร้างพัฒนาการทางสติปัญญาของทารก ทั้งยังช่วยให้เด็ก สามารถควบคุมพฤติกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการ ทางด้านอารมณ์สำหรับเด็กได้

คุณพ่อคุณแม่จำเป็นจะต้องเสริมสร้าง IQ และ EQ ของลูกน้อย ให้เค้าพร้อมสำหรับอนาคตข้างหน้า ดังนั้น จึงต้องหมั่นเพิ่มพูน พัฒนาการทางด้านต่างๆ ของลูกให้ควบคู่กันไป ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MFGM และข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ ...

ข้อมูลอ้างอิง:

  • 1 Mayer, J., & Salovey, P. (1997). What is emotional intelligence? In Emotional development and emotional intelligence: Educational implications (pp. 3-34). New York, NY: Harper Collins.

  • 2 Goleman, D. (2010). Emotional intelligence: why it can matter more than IQ. London: Bloomsbury.

  • 3 Jones, D. E., Greenberg, M., & Crowley, M. (2015). Early Social-Emotional Functioning and Public Health: The Relationship Between Kindergarten Social Competence and Future Wellness. American Journal of Public Health,105(11), 2283-2290. doi:10.2105/ajph.2015.302630

  • 4 Gottman, J., & DeClaire, J. (1998). Raising an emotionally intelligent child:. New York, NY: Fireside, Simon & Schuster.

  • 5 Mudd, A. T., Alexander, L. S., Berding, K., Waworuntu, R. V., Berg, B. M., Donovan, S. M., & Dilger, R. N. (2016). Dietary Prebiotics, Milk Fat Globule Membrane, and Lactoferrin Affects Structural Neurodevelopment in the Young Piglet. Frontiers in Pediatrics,4. doi:10.3389/fped.2016.00004

  • 6 Neuroproof report for Mead Johnson Nutrition

  • 7 Schiller P. Early brain development research review and update. Exchange 2010:26-30

  • 8 Veereman-Wauters G, Staelens S, Rombaut R, et al. Milk fat globule membrane (INPULSE) enriched formula milk decreases febrile episodes and may improve behavioral regulation in young children. Nutrition. 2012;28:749-752.