Aอาการแพ้นมวัวจะทุเลาลงและหายขาดได้จนสามารถกลับมากินนมวัวได้เมื่อเด็กโตขึ้น โดยพบว่าเด็ก 1 ขวบกลับมากินนมวัวได้ประมาณ 30-56% ในขณะที่เด็ก 2 ขวบจะกลับมากินนมวัวได้ประมาณ 51-77% ส่วนเด็ก 3 ขวบจะกลับมากินนมวัวได้ประมาณ 70-87% และเด็ก 5 ขวบจะกลับมากินนมวัวได้ประมาณ 81-95% อย่างไรก็ตามหากรักษาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัว รวมถึงป้องกันการเกิดภูมิแพ้ลูกโซ่
อ้างอิง:
1. แนวทางเวชปฎิบัติการดูแลรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัว พ.ศ. 2555
2. Nocerino, R., et al. (2021). The Impact of Formula Choice for the Management of Pediatric Cow's Milk Allergy on the Occurrence of Other Allergic Manifestations: The Atopic March Cohort Study. The Journal of pediatrics.
ในนมแพะยังคงมีส่วนประกอบของ โปรตีนโมเลกุลใหญ่ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นเดียวกับโปรตีนนมวัว และพบว่าเด็กที่แพ้โปรตีนนมวัวมีโอกาสแพ้โปรตีนนมแพะร่วมด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการกินนมแพะหากแพ้นมวัว
อ้างอิง: Vanenplas, Y. et al. (2023) An ESPGHAN Position Paper on the Diagnosis, Management, and Prevention of Cow's Milk Allergy.
ทารกที่แพ้โปรตีนนมวัวมีโอกาสแพ้โปรตีนถั่วเหลืองร่วมด้วยอย่างน้อย 10-14% หรืออาจสูงถึง 60% ดังนั้นนมถั่วเหลืองจึงไม่แนะนำเป็นทางเลือกแรกสำหรับทารกแพ้โปรตีนนมวัว โดยเฉพาะทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน
อ้างอิง:
1. Hill DJ, Murch SH, Rafferty K, Wallis P, Green CJ. The efficacy of amino acid-based formulas in relieving the symptoms of cow's milk allergy: a systematic review. Clin Exp Allergy. 2007;37(6):808-22.
2. แนวทางเวชปฎิบัติการดูแลรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัว พ.ศ. 2555
แม้ว่านมแม่จะมีสารอาหารสำคัญหลากหลายชนิดที่เป็นประโยชน์กับลูกน้อย ทั้งยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง แต่ลูกน้อยสามารถแพ้โปรตีนนมวัวผ่านผ่านน้ำนมแม่ได้ ในกรณีที่ที่คุณแม่กินนมวัวหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนมวัว
อ้างอิง: แนวทางเวชปฎิบัติการดูแลรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัว พ.ศ. 2555
เด็กทุกคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นภูมิแพ้ หรือมีอาการแพ้นมวัวได้ หากคนในครอบครัวไม่มีประวัติการเป็นภูมิแพ้มาก่อน โดยความเสี่ยงของการเป็นภูมิแพ้ในกลุ่มเด็กที่คนในครอบครัวไม่มีประวัติการเป็นภูมิแพ้นั้น สูงถึง 15% เลยทีเดียว
อ้างอิง:
1. Exl BM, Fritsché R. Nutrition 2001;17:642–51
2. Bergmann RL, et al. Environ Toxicol Pharmacol 1997;4:79–83.
ลูกน้อยสามารถมีอาการแพ้นมวัวผ่านน้ำนมแม่ได้ ในกรณีที่แม่บริโภคนมวัวหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนมวัวได้
อ้างอิง: แนวทางเวชปฎิบัติการดูแลรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัว พ.ศ. 2555
ระยะเวลาการใช้นมสูตรรักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ตามแนวทางการรักษาจะแนะนำให้กินนมสูตรรักษาเป็นเวลาอย่างน้อย 6-12 เดือน หรือกระทั่งทารกอายุครบ 1 ปี โดยแพทย์จะทดลองให้กินนมวัวซ้ำ หากไม่มีอาการแพ้ก็สามารถกลับไปกินนมวัวได้
อ้างอิง: Vanenplas, Y. et al. (2023) An ESPGHAN Position Paper on the Diagnosis, Management, and Prevention of Cow's Milk Allergy.