Aอาการแพ้นมวัวจะทุเลาลงและหายขาดได้จนสามารถกลับมากินนมวัวได้เมื่อเด็กโตขึ้น โดยพบว่าเด็ก 1 ขวบกลับมากินนมวัวได้ประมาณ 30-56% ในขณะที่เด็ก 2 ขวบจะกลับมากินนมวัวได้ประมาณ 51-77% ส่วนเด็ก 3 ขวบจะกลับมากินนมวัวได้ประมาณ 70-87% และเด็ก 5 ขวบจะกลับมากินนมวัวได้ประมาณ 81-95% อย่างไรก็ตามหากรักษาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัว รวมถึงป้องกันการเกิดภูมิแพ้ลูกโซ่
อ้างอิง:
1. แนวทางเวชปฎิบัติการดูแลรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัว พ.ศ. 2555
2. Nocerino, R., et al. (2021). The Impact of Formula Choice for the Management of Pediatric Cow's Milk Allergy on the Occurrence of Other Allergic Manifestations: The Atopic March Cohort Study. The Journal of pediatrics.
ในนมแพะยังคงมีส่วนประกอบของ โปรตีนโมเลกุลใหญ่ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นเดียวกับโปรตีนนมวัว และพบว่าเด็กที่แพ้โปรตีนนมวัวมีโอกาสแพ้โปรตีนนมแพะร่วมด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการกินนมแพะหากแพ้นมวัว
อ้างอิง: Vanenplas, Y. et al. (2023) An ESPGHAN Position Paper on the Diagnosis, Management, and Prevention of Cow's Milk Allergy.
ทารกที่แพ้โปรตีนนมวัวมีโอกาสแพ้โปรตีนถั่วเหลืองร่วมด้วยอย่างน้อย 10-14% หรืออาจสูงถึง 60% ดังนั้นนมถั่วเหลืองจึงไม่แนะนำเป็นทางเลือกแรกสำหรับทารกแพ้โปรตีนนมวัว โดยเฉพาะทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน
อ้างอิง:
1. Hill DJ, Murch SH, Rafferty K, Wallis P, Green CJ. The efficacy of amino acid-based formulas in relieving the symptoms of cow's milk allergy: a systematic review. Clin Exp Allergy. 2007;37(6):808-22.
2. แนวทางเวชปฎิบัติการดูแลรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัว พ.ศ. 2555
แม้ว่านมแม่จะมีสารอาหารสำคัญหลากหลายชนิดที่เป็นประโยชน์กับลูกน้อย ทั้งยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง แต่ลูกน้อยสามารถแพ้โปรตีนนมวัวผ่านผ่านน้ำนมแม่ได้ ในกรณีที่ที่คุณแม่กินนมวัวหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนมวัว
อ้างอิง: แนวทางเวชปฎิบัติการดูแลรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัว พ.ศ. 2555
เด็กทุกคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นภูมิแพ้ หรือมีอาการแพ้นมวัวได้ หากคนในครอบครัวไม่มีประวัติการเป็นภูมิแพ้มาก่อน โดยความเสี่ยงของการเป็นภูมิแพ้ในกลุ่มเด็กที่คนในครอบครัวไม่มีประวัติการเป็นภูมิแพ้นั้น สูงถึง 15% เลยทีเดียว
อ้างอิง:
1. Exl BM, Fritsché R. Nutrition 2001;17:642–51
2. Bergmann RL, et al. Environ Toxicol Pharmacol 1997;4:79–83.
ลูกน้อยสามารถมีอาการแพ้นมวัวผ่านน้ำนมแม่ได้ ในกรณีที่แม่บริโภคนมวัวหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนมวัวได้
อ้างอิง: แนวทางเวชปฎิบัติการดูแลรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัว พ.ศ. 2555
ระยะเวลาการใช้นมสูตรรักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ตามแนวทางการรักษาจะแนะนำให้กินนมสูตรรักษาเป็นเวลาอย่างน้อย 6-12 เดือน หรือกระทั่งทารกอายุครบ 1 ปี โดยแพทย์จะทดลองให้กินนมวัวซ้ำ หากไม่มีอาการแพ้ก็สามารถกลับไปกินนมวัวได้
อ้างอิง: Vanenplas, Y. et al. (2023) An ESPGHAN Position Paper on the Diagnosis, Management, and Prevention of Cow's Milk Allergy.
Enfa สรุปให้ อาการนอนกรนในเด็ก แม้จะเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยเหมือนกับผู้ใหญ่ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กั...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ โรค G6PD จีซิกพีดี หรือ G6PD Deficiency คือ โรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่ง มีสาเหตุมาจาก...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ อาการแพ้ถั่ว เป็นอาการแพ้อาหารที่พบได้ตั้งแต่ในเด็ก แล...
อ่านต่อ