คุณแม่ทราบกันหรือไม่ว่ากว่า70%ของเด็กมีอาการไม่สบายท้องโดยอาการไม่สบายท้องต่างๆเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำกับเด็กทุกๆคนเพราะระบบย่อยอาหารของเด็กนั้นยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์เหมือนกับของผู้ใหญ่ ทำให้ย่อยโปรตีน และแลคโตสได้ไม่หมด เกิดเป็นแก๊สในระบบทางเดินอาหาร และก่อให้เกิดอาการไม่สบายท้อง ไม่ว่าจะเป็นอาการท้องผูก ท้องอืด จุกเสียด อาเจียน แหวะนม ร้องกวน โคลิก จนไปถึงปัญหาการขับถ่าย
คุณแม่ทุกคนทราบกันดีว่า นมแม่เป็นสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย และยังย่อยได้ง่าย จึงเหมาะสำหรับระบบย่อยอาหารของเด็กเล็ก ที่ยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ แต่ในบางครั้ง คุณแม่อาจจะมีความจำเป็นไม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้ และต้องหาทางเลือกอื่นเพื่อมาทดแทนนมแม่ การเลือกโภชนาการที่ย่อยง่ายจึงเข้ามาเป็นตัวเลือกสำคัญ เพื่อช่วยลดอาการไม่สบายท้องต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกน้อยได้
คุณแม่ทราบกันหรือไม่ว่ากว่า70%ของเด็กมีอาการไม่สบายท้องโดยอาการไม่สบายท้องต่างๆเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำกับเด็กทุกๆคนเพราะระบบย่อยอาหารของเด็กนั้นยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์เหมือนกับของผู้ ใหญ่ ทำให้ย่อยโปรตีน และแลคโตสได้ไม่หมด เกิดเป็นแก๊สในระบบทางเดินอาหาร และก่อให้เกิดอาการไม่สบายท้อง ไม่ว่าจะเป็นอาการท้องผูก ท้องอืด จุกเสียด อาเจียน แหวะนม ร้องกวน โคลิก จนไปถึงปัญหาการขับถ่าย
คุณแม่ทุกคนทราบกันดีว่า นมแม่เป็นสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย และยังย่อยได้ง่าย จึงเหมาะสำหรับระบบย่อยอาหารของเด็กเล็ก ที่ยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ แต่ในบางครั้ง คุณแม่อาจจะมีความจำเป็นไม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้ และต้องหาทางเลือกอื่นเพื่อมาทดแทนนมแม่ การเลือกโภชนาการที่ย่อยง่ายจึงเข้ามาเป็นตัวเลือกสำคัญ เพื่อช่วยลดอาการไม่สบายท้องต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกน้อยได้
ในน้ำนมแม่ มีสารอาหารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “MFGM” หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนม (Milk Fat Globule Membrane) ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด อย่างสปิงโกไมอิลีน ฟอสโฟไลปิด แกงกลิโอไซต์ เป็นต้น ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยเสริมสร้าง IQ และ EQ ของลูกน้อยให้เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก
ไม่เพียงช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยเท่านั้น แต่ MFGM ที่พบในน้ำนมแม่ยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกันของทารกให้แข็งแรง และยังเป็นโภชนาการที่เหมาะสมกับระบบขับถ่ายของลูกน้อยได้อีกด้วย
หากคุณแม่พบว่า ลูกน้อยไม่ถ่ายตามปกติ บางครั้งถ่ายยาก แถมอุจจาระยังมีเนื้อแข็งลักษณะแบบนี้บ่งบอกว่าลูกน้อยอาจจะท้องผูกซึ่งส่วนใหญ่แล้วอาการท้องผูกในเด็กเล็กจะเกิดกับเด็กที่กินนมผง เนื่องจากระบบย่อยไม่คุ้นชินกับการย่อยนมผง ที่มีโมเลกุลของโปรตีนขนาดใหญ่ และย่อยยากกว่านมแม่
อาการแบบไหนที่บอกว่าลูกมีอาการท้องผูก
สำหรับอาการท้องผูกในเด็กเล็ก นอกจากการไม่ถ่ายตามปกติแล้ว ยังมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย ได้แก่
อาการท้องผูกในเด็กโต ก็จะมีอาการคล้าย ๆ กันกับเด็กเล็ก คุณแม่สามารถสังเกตได้ คือ ขับถ่ายน้อย เช่น 3 – 4 วัน ครั้ง ใช้เวลาถ่ายนาน อุจจาระแข็ง หรือบางครั้งมีเลือดปน รวมทั้งเด็กมีอาการเจ็บปวดเวลาเบ่งอุจจาระอีกด้วย
นอกจากนี้ หากคุณแม่พบว่าลูกน้อยมีอาการอุจจาระเล็ดราด เปื้อนกางเกง อาจจะเป็นสัญญาณของภาวะท้องผูกเรื้อรังได้เช่นกัน สาเหตุเกิดจากการมีอุจจาระคั่งค้างในไส้ตรงที่เชื่อมต่อกับถวารหนักมากเกินกว่าที่จะรับได้ ทำให้อุจจาระบางส่วนไหลออกมา โดยเด็กจะไม่รู้สึกปวดอุจจาระ
4 วิธีที่จะช่วยลูกน้อยบรรเทาจากอาการท้องผูก
ในกรณีเด็กโตมีอาการท้องผูกคุณสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องของลูกน้อยได้โดยปรับเปลี่ยนอาหารการกินเน้นอาหารที่ประกอบไปด้วยไฟเบอร์เช่นผักและผลไม้ต่างๆนอกจากนี้หมั่นให้ลูกน้อยดื่มน้ำให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ รวมทั้งการออกกำลังกาย ก็สามารถช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อาการยอดฮิตที่ลูกน้อยเป็นได้บ่อยนั่นคือ ลูกมีอาการจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ โดยลูกน้อยจะแสดงอาการงอแง ร้องไห้กวนโยเย หรือนอนไม่หลับ เพื่อบอกถึงอาการไม่สบายท้องที่เกิดขึ้น โดยสาเหตุของอาการเหล่านี้ เกิดจากการมีแก๊ส หรือลมสะสมในกระเพาะอาหารของลูกน้อยมากเกินไป ซึ่งเป็นผลมาจากระบบย่อยอาหารของเด็กเล็กยังทำงานไม่สมบูรณ์ และยังรวมไปถึงปัจจัยเหล่านี้
คุณแม่สามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้น เพื่อช่วยให้ลูกน้อยบรรเทา หรือลดอาการจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้ดังนี้
อาการที่ลูกน้อยอาเจียนและแหวะนมมีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมากซึ่งบางครั้งคุณแม่เองก็ยังไม่สามารถแยกออกได้ชัดมากนักว่าลูกน้อยของเราอาเจียนหรือแหวะนมกันแน่ยิ่งในช่วงที่ลูกน้อยยังอยู่ในวัยที่ให้นมเพียงอย่างเดียว อาเจียน หรือแหวะนม ก็ดูมีลักษณะที่เหมือนกัน
คุณแม่สามารถแยกการอาเจียน และแหวะนม ออกกันได้ เพียงสังเกตอาการ หรือปฏิกิริยาของลูกน้อยหลังจากแสดงอาการออกมาได้ง่าย ๆ ดังนี้
ทำไมลูกน้อยถึงอาเจียน และแหวะนม
อย่างที่เราทราบกันดีว่า ระบบย่อยอาหารของเด็กเล็กจะยังทำงานไม่เต็มที่ และยังคงต้องใช้เวลาในการพัฒนาอวัยวะในระบบต่าง ๆ อาการอาเจียน และแหวะนม เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งสามารถแยกสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ ดังนี้
จะดูแลลูกน้อยที่มีอาการอาเจียน และแหวะนมอย่างไร
หลักจากที่คุณแม่หาสาเหตุเบื้องต้นได้แล้วว่า เพราะอะไรถึงทำให้ลูกน้อยมีอาการอาเจียน และแหวะนม ควรลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาหารและการดูแลตามสาเหตุเช่นอาจจะลองปรับเปลี่ยนปริมาณ หรือจังหวะการให้นมที่เหมาะสมกับลูกน้อย หรือการปรับเปลี่ยนอาหาร สำหรับเด็กโต ก็มีส่วนช่วยในการป้องกันไม่ให้เกิดการอาเจียน หรือแหวะนมได้
นอกจากนี้ ในคุณแม่ที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ และจำเป็นต้องให้นมผงทดแทนนมแม่ การเลือกสูตรนมผงให้เหมาะกับลูกน้อย ก็อาจจะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้ เช่น การใช้นมสูตรย่อยง่าย ที่มี PHP (Partially Hydrolyzed Protein) หรือโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน ซึ่งมีโมเลกุลขนาดเล็ก ทำให้ย่อยได้ง่าย และดูดซึมได้ดี จึงช่วยลดอาการแหวะนมได้ถึง 36% ใน 24 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม การอาเจียน และแหวะนมเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ และเป็นเรื่องปกติ แต่หากเกิดการอาเจียน ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ผื่นขึ้น ตัวร้อน ท้องเสีย ปวดท้อง อาเจียนปนเลือด เป็นต้น ควรรีบพาลูกน้อยนำส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการรักษาโดยด่วน
หากลูกน้อยมีอาการอาเจียนติดต่อกันเป็นเวลานาน 1 – 2 วัน อาเจียนบ่อยจนผิดปกติ หรืออาเจียนและมีไข้ร่วมด้วย อาจจะเป็นสัญญาณว่าลูกมีอาการติดเชื้อ หรืออาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ไม่ควรรักษาด้วยตัวเอง
คุณแม่อาจจะรู้สึกสับสน และกังวลเมื่อลูกน้อยร้องไห้ไม่หยุด หรือนอนไม่หลับ สาเหตุอาจจะเกิดจากอะไรก็ได้ เมื่อลูกน้อยแสดงอาการแบบนี้ ลองเช็กสาเหตุที่อาจจะเป็นคำตอบของการร้องไห้ หรือนอนไม่หลับ ได้แก่
หากลองเช็กสาเหตุข้างต้น และทำการแก้ไขแล้ว ลูกน้อยไม่มีอาการ หรือไม่แสดงท่าทีว่าจะหยุดร้อง หรือนอนหลับ สาเหตุต่อไปที่คุณแม่ควรมองหาคือ อาการไม่สบายท้องต่าง ๆ ได้แก่ อาการจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ปวดท้อง นอกจากนี้ ลูกน้อยอาจจะแสดงอาการงอแง หรือร้องไห้หลังจากการอาเจียนได้อีกด้วย รวมไปถึงเด็กที่ภาวะกรดไหลย้อน
รู้จักกับ “โคลิก” อาการที่เขาว่า เด็กเห็นผี
อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยร้องไห้ คืออาการโคลิก ในบางบ้านอาจจะเข้าใจว่า โคลิกเป็นอาการของเด็กที่เห็นผี หรือแม่ซื้อ ซึ่งในทางการแพทย์แล้วก็ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ว่า เกิดขึ้นจากอะไร บ้างก็สันนิษฐานว่า อาการโคลิกน่าจะเกี่ยวข้องกับปัญหาระบบย่อยอาหารที่ยังทำงานไม่ได้เต็มที่ เลยทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่สบายตัว
ลักษณะอาการของลูกน้อยที่มีอาการโคลิก จะร้องไห้โดยฉลับพลัน และร้องไห้เป็นเวลานาน อาการโคลิกจะเกิดกับเด็ก อายุตั้งแต่แรกเกิด จนไปถึงอายุประมาณ 4 – 6 เดือน อาการโคลิกก็จะหยุดไปเอง คุณแม่สามารถสังเกต และแยกอาการโคลิก ออกจากการร้องไห้ปกติได้ ดังนี้
ในกรณีที่ลูกน้อยมีอาการร้องกวนงอแงหรือร้องไห้ไม่หยุดลองแก้ไขด้วยการเช็กลูกน้อยไปทีละจุดเช่นดูว่าลูกหิวหรือไม่ต้องการเปลี่ยนผ้าอ้อมมีสิ่งเร้ารอบตัวมากเกินไปหรือเปล่าหรืออากาศทำให้ ไม่สบายตัว เป็นต้น หากปรับแก้แล้วยังพบว่าลูกน้อยยังร้องไห้อยู่ ให้ลองสังเกตอาการไม่สบายท้องต่าง ๆ อย่าง ท้องผูก ท้องอืด จุดเสียด หรือสำหรับเด็กในช่วงแรกเกิดเป็นต้นไป อาจจะพบอาการโคลิกร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม คุณแม่สามารถบรรเทาอาการร้องกวน ร้องไห้ไม่หยุด รวมทั้งโคลิก ด้วยวิธีเหล่านี้ได้
อาการไม่สบายท้องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการท้องผูก ท้องอืด ท้องเฟ้อ จนไปถึงอาเจียน หรือแหวะนม ต่างเป็นอาการที่สร้างความไม่สบายตัวให้กับลูกน้อย เกิดการร้องไห้ ร้องกวน งอแงตามมา ซึ่งจะส่งผลให้ลูกมีอารมณ์ไม่ดี หงุดหงิดกับอาการไม่สบายท้องที่เกิดขึ้น และทำให้การเรียนรู้ของลูกน้อยสะดุด มีพัฒนาการการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ที่ไม่ต่อเนื่อง ส่งผลเสียทั้งทางสุขภาพ และพัฒนาการไปพร้อม ๆ กัน
อาการไม่สบายท้องป้องกันได้ รู้จักกับโภชนาการที่ย่อยง่ายตัวช่วยให้ท้องสบาย ขับถ่ายคล่อง เพื่อการเรียนรู้แบบไม่สะดุดนมแม่นั้นเป็นอาหารล้ำค่าที่ไม่เพียงจะอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญหลายชนิด แต่ยังดีต่อระบบการย่อยอาหารของลูกน้อยที่ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ แต่ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ และต้องหาทางเลือกอื่นเพื่อมาทดแทนนมแม่ การเลือกโภชนาการที่เหมาะสมกับระบบย่อยที่ยังไม่สมบูรณ์ของลูกน้อยจึงเป็นสิ่งสำคัญ คุณแม่ควรเลือกโภชนาการที่ย่อยง่ายที่มีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้
• มีโปรตีนผ่านการย่อยบางส่วน หรือ PHP (Partially Hydrolyzed Protein): โปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วนจะมีขนาดโมเลกุลเล็กลง ทำให้ย่อยง่าย และถูกดูดซึมที่ลำไส้ได้ง่ายขึ้น มีงานวิจัยรองรับว่า PHP ช่วยลดอาการไม่สบายท้อง ลดแก๊ส ลดร้องกวน ลดอาการแหวะนมได้ภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อลูกสบายท้อง ก็จะช่วยให้นอนหลับได้ดีมีคุณภาพ ซึ่งเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา นอกจากนี้ PHP ยังช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มคงตัว ไม่แข็ง ทำให้ขับถ่ายได้ง่าย
• มีปริมาณน้ำตาลแลคโตสต่ำกว่าโภชนาการปกติ: การมีน้ำตาลแลคโตสในปริมาณน้อย จะช่วยลดอาการท้องเสียจากการย่อยแลคโตสผิดปกติ
• อุดมด้วยสารอาหารสำคัญเพื่อพัฒนาการที่ก้าวล้ำ: โภชนาการทั้งหมดที่เลือกไม่เพียงแต่จะต้องมีโปรตีนที่ย่อยง่าย แต่ยังควรมีสารอาหารสำคัญนานาชนิด ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการที่รอบด้านของลูกน้อย ทั้งพัฒนาการสมอง (IQ และ EQ) ภูมิคุ้มกัน และระบบทางเดินอาหาร อาทิเช่น MFGM เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันที่พบในนมแม่ และ DHA
เพราะอาการไม่สบายท้องพบได้มากถึง 70% ไม่ว่าจะเป็นอาการท้องอืด ร้องกวน แหวะนม ท้องผูก ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้เขาไม่สบายตัว งอแง อารมณ์ไม่ดี แต่ยังเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของลูกน้อยด้วยเช่นกัน คุณสามารถป้องกันและลดอาการเหล่านี้ได้ เพียงเลือกโภชนาการที่ย่อยง่าย เพื่อให้ลูกท้องสบาย เรียนรู้ได้ไม่สิ้นสุด
สำหรับเด็กเล็กแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการถ่ายอุจจาระในช่วงแรก โดยหลังคลอด ลูกน้อยจะถ่ายอุจจาระที่เรียกว่า ขี้เทา เป็นระยะเวลา 2 – 3 วัน หลังจากนั้น อุจจาระก็จะเปลี่ยนสี เช่น สีเหลือง สีเขียว สีส้ม เป็นต้น โดยลูกน้อยจะมีความถี่ในการถ่าย ตามช่วงอายุ ดังนี้
หากคุณแม่พบว่าลูก ท้องผูก ลูกไม่ถ่ายหลายวัน คุณแม่สามารถบรรเทาอาการท้องผูกของลูกน้อยได้ ดังนี้
นอกจากนี้ การออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกาย ยังสามารถช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากบรรเทาอาการเบื้องต้นแล้ว ไม่ได้ผล คุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวินิจฉัยสาเหตุ และทำการรักษาต่อไป
หากลูกน้อยมีอาการอาเจียนติดต่อกันเป็นเวลานาน 1 – 2 วัน อาเจียนบ่อยจนผิดปกติ หรืออาเจียนและมีไข้ร่วมด้วย อาจจะเป็นสัญญาณว่าลูกมีอาการติดเชื้อ หรืออาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ไม่ควรรักษาด้วยตัวเอง
โดยปกติแล้ว เด็กเล็กในวัยที่ยังไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นภาษาได้ จะใช้การร้องไห้เป็นการสื่อสารกับคนรอบข้าง เพื่อบอกสิ่งที่ต้องการ หรือสิ่งที่ทำให้ไม่สบายตัว โดยสาเหตุที่ลูกร้องไห้ มีด้วยกันหลายสาเหตุ เช่น
• หิว
• อึดอัด ไม่สบายตัว ต้องการเปลี่ยนผ้าอ้อม
• เบื่อหน่าย เหนื่อยหล้า ต้องการให้มีคนมาปลอบ กอด อุ้ม หรือเล่นด้วย
• มีสิ่งเร้ารอบตัวมากเกินไป เช่น แสงสว่าง ลม อากาศ
• มีอาการไม่สบายท้อง เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ปวดท้อง
• หากเกิดขึ้นกับเด็กเล็กในวัยระหว่างแรกเกิด – 6 เดือน อาจจะเป็นโคลิก
มหาหิงค์คือยาชนิดหนึ่ง ซึ่งมีส่วนผสมของชันน้ำมัน หรือยางจากลำต้น และรากของพืชในตระกูล Ferula โดยมีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ คุณแม่สามารถใช้มหาหิงค์บรรเทาอาการข้างต้นได้ ด้วยการชุบสำลี ทาที่หน้าท้อง รอบสะดือ ต้นขา และฝ่าเท้าของลูกน้อย
อย่างไรก็ตาม การใช้มหาหิงคุ์เป็นการช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง เป็นการบรรเทาอาการชั่วคราว คุณแม่ควรบรรเทาอาการเหล่านี้ ด้วยการหาสาเหตุที่แน่ชัด เช่น