และยังมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างร่างกายของลูกน้อยให้เจริญเติบโตสมวัยเป็นที่รู้กันดีว่า “น้ำนมแม่” ถือเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เพราะอุดดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์กับร่างกายลูกน้อยกว่า 150 ชนิด และยังมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างร่างกายของลูกน้อยให้เจริญเติบโตสมวัย มีพัฒนาการที่ครบรอบด้าน ทั้งพัฒนาการสมอง ภูมิคุ้มกัน และระบบทางเดินอาหาร โดยสารอาหารสำคัญในนมแม่อย่าง “MFGM” หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนมแม่ ประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมันมากกว่า 150 ชนิด ไม่ว่าจะเป็น ฟอสโฟลิปิด แกลงกลิโอไซต์ รวมถึงสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างเส้นใยประสาท เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์สมอง ช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น
หลังคลอดคุณแม่ควรเริ่มให้นมลูกทันทีหลังคลอด หรือครึ่งชั่วโมงหลังคลอด หรือเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ เพื่อให้ทารกได้สัมผัสและคุ้นชินกับนมแม่ได้เร็วขึ้น มากไปกว่านั้น หากปล่อยเวลาให้เนิ่นนานเกินไปกว่าจะยอมให้นมลูก อาจเสี่ยงต่อภาวะน้ำนมน้อยหรือน้ำนมหดได้
หลังคลอดคุณแม่ควรเริ่มให้นมลูกทันทีหลังคลอด หรือครึ่งชั่วโมงหลังคลอด หรือเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ เพื่อให้ทารกได้สัมผัสและคุ้นชินกับนมแม่ได้เร็วขึ้น มากไปกว่านั้น หากปล่อยเวลาให้เนิ่นนานเกินไปกว่าจะยอมให้นมลูก อาจเสี่ยงต่อภาวะน้ำนมน้อยหรือน้ำนมหดได้
น้ำนมน้อย เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้
แม่ให้นมบุตรที่มีปัญหาน้ำนมหด น้ำนมน้อย สามารถดูแลตัวเองและกู้น้ำนมได้ ดังนี้
เพื่อให้คุณแม่มีน้ำนมไหลออกมาให้ทารกได้ดูดกินอย่างเพียงพอ คุณแม่สามารถปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตและการให้นมลูก เพื่อบำรุงน้ำนมให้มีคุณภาพและมีปริมาณเพียงพออยู่เสมอได้ ดังนี้
สาเหตุที่ลูกไม่ยอมกินนมแม่ มีอยู่ด้วยกันหลายเหตุผล ดังนี้
คุณแม่ที่ลูกน้อยงอแงไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงก็ไม่ยอมเข้าเต้าสักที สามารถลองใช้ วิธีเอาลูกเข้าเต้า แบบง่าย ๆ ได้ ดังนี้
ลูกสำลักนมจากเต้าอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น อุ้มลูกผิดท่า น้ำนมไหลเยอะเกินไป แม่ดึงเต้าออกเร็วเกินไป หรือทารกมีปัญหาในช่องปาก หรือระบบการย่อยอาหาร เป็นต้น
แต่เมื่อทารกเกิดการสำลักขึ้น อย่างแรกเลยคือคุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งสติ อย่าเพิ่งตกใจจนขาดสติ แต่ให้นำลูกออกจากเต้านม พยุงตัวลูกให้ตั้งตรง แต่ประคองศีรษะและลำตัวไว้อย่างดี เพื่อให้หายใจได้สะดวก
หากลูกยังติดเต้า และไม่ยอมดื่มนมขวด คุณแม่อย่าเพิ่งกังวลไป การที่ทารกยังดื่มนมแม่อยู่ตลอดนั้นถือว่าเป็นเรื่องดี เพราะทารกจะได้รับสารอาหารและสารภูมิคุ้มกันจากนมแม่อย่างเต็มที่ และเมื่อถึงระยะหนึ่ง ทารกก็จะเริ่มหยุดกินนมจากเต้าไปเอง
แต่ถ้าคุณแม่ต้องการจะให้ลูกหย่านมแล้ว ก็อาจจะเริ่มจากการลดปริมาณการให้นมจากเต้าให้น้อยลง และเพิ่มอาหารตามวัย (Solid Food) ให้มากขึ้น ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่าเพิ่งหักดิบหรือรีบร้อน
ทารกควรได้กินนมแม่อย่างน้อยที่สุดคือ 6 เดือนแรก และสามารถให้นมแม่ได้นานถึง 2 ปี อย่างไรก็ตาม เมื่อทารกมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป คุณแม่ควรให้ทารกได้เริ่มกินอาหารตามวัย ฝึกให้ลูกกินข้าวเอง สลับกับการให้นมแม่ เพื่อให้ทารกได้เติบโตและมีพัฒนาการสมวัย
*Horta, B. et al. (2015). Breastfeeding and intelligence: a systematic review and meta-analysis.
*Plunkett, B. et al. (2021). Association of Breastfeeding and Child IQ Score at Age 5 Years.
*Kramer, M. et al. (2008). Breastfeeding and child cognitive development: new evidence from a large randomized trail.
*Vargas-Perez, S. et al. (2024). Effects of Breastfeeding on Cognitive Abilities at 4 Years Old: Cohort Study.