นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดิอนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ​Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

Enfa สรุปให้

  • รู้หรือไม่? พัฒนาการสมองส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ลูกน้อยนอนหลับ โดยสมองจะเชื่อมต่อและสร้างเซลล์สมองนับล้านเพื่อประมวลผลความทรงจำ รวมทั้งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
  • คุณพ่อคุณแม่ช่วยให้ลูกน้อยหลับดีและมีคุณภาพได้ ด้วยการสร้างกิจวัตรประจำวันก่อนนอน สร้างบรรยากาศการนอนที่เหมาะสม ร่วมกับการให้ลูกได้รับโภชนาการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ
  • โภชนาการที่ลูกน้อยได้รับในแต่ละวันควรช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองอย่างต่อเนื่อง นอกจากได้รับอาหารครบ 5 หมู่แล้ว ควรเสริมด้วยนมที่มีสารอาหารสมองอย่าง MFGM และ DHA เป็นประจำทุกวัน ทั้งระหว่างวันและทุกคืนก่อนนอน ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาการรอบด้านของลูกน้อย โดยเฉพาะพัฒนาการสมอง ให้ก้าวล้ำทั้ง IQ และ EQ
Image 1

พัฒนาการสมองของลูก เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แม้ในยามหลับ

  • ช่วงเวลาที่ลูกน้อยเข้านอน ระบบต่าง ๆ ของร่างกายจะเข้าสู่โหมดพักผ่อนเพื่อพักฟื้นและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เตรียมพร้อมสำหรับการทำงานในวันถัดไป แต่ไม่ใช่สำหรับสมองที่ยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องแม้ในยามหลับไหล โดยสมองจะเชื่อมต่อและสร้างเซลล์สมองนับล้านให้พร้อมสำหรับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

พัฒนาการสมองของลูก เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แม้ในยามหลับ

  • เราอาจจะเข้าใจกันมาตลอดว่า ร่างกายและระบบอวัยวะต่าง ๆ ของลูกน้อยจะเข้าสู่โหมดพักผ่อนทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้ว ยังมีสมองที่ยังคงทำหน้าที่อย่างต่อเนื่อง หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่สมองค่อนข้างยุ่งกันเลยทีเดียว เนื่องจากสมองของลูกน้อยนั้น จะทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้มาในแต่ละวัน นำมาสร้างเป็นความทรงจำระยะยาวเพื่อนำมาใช้งานในภายหลัง ดังนั้นพัฒนาการสมองและการเรียนรู้ไม่ได้ทำงานแค่ช่วงเวลากลางวันเท่านั้น แต่ยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลากลางคืนที่ลูกน้อยเข้านอนอีกด้วย
  • เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการสมองของลูกน้อยอย่างต่อเนื่อง การนอนหลับที่ดีและมีคุณภาพจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กในทุก ๆ วัย โดยการนอนหลับที่ดี ไม่เพียงช่วยในเรื่องของพัฒนาการสมองเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างระบบอื่น ๆ ของร่างกายลูกน้อยให้ทำงานได้ดีอีกด้วย

ชมวิดีโอจาก Enfa Smart Club

ชมเลือก MFGMเพื่อพัฒนาการสมองที่ต่อเนื่องแม้ยามหลับ
เพลงกล่อมเด็ก Twinkle Twinkle Little Star | เพลงกล่อมนอน by Enfa Smart Club
เกล็ดหิมะหนักเท่าไหร่ | นิทานก่อนนอน by Enfa Smart Club

การนอนหลับที่ดีควบคู่กับโภชนาการที่เหมาะสม ช่วยให้เสริมสร้างพัฒนาการสมองให้ก้าวล้ำทั้ง IQ และ EQ

นอกเหนือจากการนอนหลับที่มีคุณภาพและดีแล้ว การที่ลูกน้อยได้รับโภชนาการที่เหมาะสมและครบถ้วนตามช่วงวัยควบคู่กันไปด้วย จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองให้ก้าวล้ำทั้ง IQ และ EQ ยิ่งขึ้นไป โดยสำหรับเด็กทารกนั้น ควรได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิด – 6 เดือนแรก และให้นมแม่อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับอาหารตามวัยจนอายุ 2 ปี เพราะนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM ที่ประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด ไม่ว่าจะเป็น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซด์ รวมไปถึงสารอาหารอย่าง DHA สารอาหารเหล่านี้ ล้วนมีส่วนช่วยในการส่งเสริมพัฒนาการที่รอบด้าน ทั้งสมอง ภูมิคุ้มกัน และระบบทางเดินอาหาร

ทั้งนี้ เมื่อลูกน้อยเข้าสู่ช่วงวัยที่สามารถรับประทานอาหารตามวัยเด็กทารก หรืออาหารแบบผู้ใหญ่ได้แล้ว อาหารที่ได้รับนั้น ควรมีสารอาหารครบ 5 หมู่ มีการปรุงที่ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งเสริมด้วยนมระหว่างวันเป็นประจำ และที่สำคัญ ควรเสริมด้วยโภชนาการเสริมสารอาหารอีก 1 แก้วทุกคืนก่อนนอน ซึ่งควรเป็นโภชนาการที่ย่อยง่ายและมีสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM เพื่อช่วยพัฒนาสมองได้อีกเช่นกัน

เคล็ดลับให้ลูกหลับดี มีพัฒนาการสมองต่อเนื่อง

เพื่อให้ลูกน้อยหลับดีและมีพัฒนาการสมองต่อเนื่อง คุณแม่สามารถใช้เคล็ดลับง่าย ๆ เหล่านี้ ช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับได้ดีและมีคุณภาพกันค่ะ

  • สร้างกิจวัตรประจำวันก่อนนอน: นอกจากการฝึกลูกน้อยให้นอนหลับได้เองเป็นกิจวัตรแล้ว ยังส่งเสริม EF ของลูกน้อย การสร้างกิจวัตรประจำวันอื่น ๆ ก่อนนอนก็สามารถช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับได้ดีเช่นกัน เช่น การอ่าน หรือเล่านิทานให้ฟังก่อนนอน จะทำให้ลูกผ่อนคลาย เสริมสร้างจินตนาการ และการเรียนรู้ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป็นช่วงเวลาของครอบครัวในการทำกิจกรรมร่วมกันได้อีกด้วย
  • สร้างบรรยากาศในการนอนที่สงบและปลอดภัย: ควรสร้างบรรยากาศในห้องนอนให้เหมาะสมสำหรับการนอน โดยห้องนอนไม่ควรมีแสงสว่าง หรือเสียงรบกวน รวมทั้งยังควรมีอุณหภูมิที่พอดีไม่ร้อน หรือหนาวเกินไป นอกจากนี้ ลูกน้อยควรรู้สึกปลอดภัยในระหว่างการเข้านอน ไม่ควรสร้างความกังวลให้กับลูกน้อยจนนอนไม่หลับ เช่น การเล่าเรื่องผี การขู่ให้ลูกน้อยรู้สึกกลัว เป็นต้น
  • เสริมด้วยโภชนาการที่มีสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM: เพื่อการเสริมสร้างพัฒนาการสมองอย่างเต็มที่ นอกจากการนอนหลับที่มีคุณภาพแล้ว ยังควรเสริมด้วยโภชนาการที่ดีด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเสริมด้วยนมอุ่น ๆ ในมื้อเย็น มื้อสุดท้ายก่อนเข้านอน โดยควรดื่มนมที่มีสารอาหารอย่าง MFGM และ DHA ที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างพัฒนารอบด้านของลูกน้อย โดยเฉพาะพัฒนาการสมองที่ต่อเนื่องตลอดเวลา ให้ก้าวล้ำทั้ง IQ และ EQ
  • เลือกโภชนาการที่ย่อยง่าย มี PHP ให้ลูกสบายท้องตลอดคืน: สำหรับคุณแม่ที่กังวลว่าลูกน้อยอาจแน่นท้อง ท้องอืด หรือต้องตื่นกลางดึกเพราะไม่สบายท้อง อาจเลือกโภชนาการที่ย่อยง่าย มี PHP โปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน เพื่อให้ลูกน้อยสบายท้อง ไม่รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง หรือตื่นมาร้องไห้โยเยกลางดึก เมื่อลูกน้อยไม่มีอาการไม่สบายท้องมากวนใจ ก็จะหลับได้ยาว สมองก็จะพัฒนาได้เต็มที่และต่อเนื่องด้วยเช่นกัน

วิธีสร้างวินัยในการนอนให้กับลูกน้อย เพื่อการนอนหลับที่มีคุณภาพ

เพื่อการนอนหลับที่มีคุณภาพของลูกน้อย การสร้างวินัยในการเข้านอนก็เป็นอีกเรื่องที่เรามองข้ามไม่ได้ โดยหลัก ๆ แล้วควรมีกิจกรรมที่ทำเป็นกิจวัตรก่อนเข้านอนประมาณ 3 – 4 อย่าง เช่น แปรงฟัน อ่านนิทาน เข้าห้องน้ำ พูดคุยสรุปเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เป็นต้น ซึ่งยังควรทำกิจกรรมเหล่านี้ ซ้ำไปเรื่อย ๆ ในละคืน รวมทั้งยังควรทำในเวลาเดิมของทุก ๆ วันอีกด้วย ตัวอย่างกิจกรรมก่อนเข้านอน เช่น

  • ดื่มน้ำ หรือดื่มนม
  • ขับถ่าย
  • แปรงฟัน
  • อ่าน หรือเล่านิทาน
  • กอด
  • พูดคุย

ทั้งนี้ ระหว่างที่พาลูกน้อยเข้านอน เราสามารถแสดงความรักด้วยการหอม หรือจูบราตรีสวัสดิ์ได้ นอกจากนี้ยังควรสร้างบรรยากาศในห้องให้มืด หรี่ไฟ หรือปิดไฟให้พร้อมสำหรับเข้านอน เราควรออกจากห้องนอนในช่วงที่ลูกกำลังใกล้หลับ แต่ยังไม่ได้หลับ เพื่อฝึกให้ลูกน้อยสามารถหลับด้วยตัวเองได้ และไม่เป็นกังวลหรือตกใจในกรณีที่มีการตื่นขึ้นมาระหว่างคืน

สิ่งที่ควรทำ:

  • ฝึกให้เป็นกิจวัตร: สำหรับกิจกรรมก่อนเข้านอนที่ต้องทำเป็นกิจวัตรนั้น ควรฝึกในทุก ๆ วัน ทำกิจกรรมเดิม ในเวลาเดิม และใช้เวลาในการทำกิจกรรมเท่าเดิมเหมือน ๆ กันในทุกวัน เพื่อให้ลูกน้อยได้คุ้นชินและทำเป็นกิจวัตรเหล่านั้นเป็นประจำ
  • ใช้เวลาให้น้อยและราบรื่น: กิจกรรมก่อนเข้านอนทั้งหมดควรใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง – 1 ชั่วโมง หรือใช้เวลาเกินกว่านี้ได้เล็กน้อย การใช้เวลานานเกินกำหนดกับกิจกรรมก่อนเข้านอนจะทำให้ลูกน้อยเข้านอนช้าและหลับได้ยากขึ้น และควรทำทุกอย่างให้ราบรื่นไม่เร่งเกินไปจนทำให้ลูกน้อยรู้สึกอึกอัด
  • กิจกรรมระหว่างวัน: กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย การเล่นในพื้นที่โล่งแจ้งในระหว่างวัน จะช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับได้ง่ายขึ้น เมื่อถึงเวลาเข้านอน
  • ฟังลูกน้อย: การฝึกการเข้านอนและกิจวัตรก่อนเข้านอน ในบางครั้งอาจจะกลายเป็นรูปแบบคำสั่งที่อาจจะทำให้ลูกน้อยอึดอัด รู้สึกขาดอิสระ จนทำให้มีภาพจำและความรู้สึกไม่ดีเมื่อต้องเข้านอน เราควรเปิดโอกาสถามให้ลูกน้อยแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ตนเองต้องการบ้าง เช่น ต้องการอ่านนิทานเรื่องใด ใส่เสื้อผ้าแบบไหน หรือกิจกรรมไหนที่เขาอยากทำ อยากเปลี่ยน เป็นต้น
  • สร้างบรรยากาศการนอนที่เหมาะสม: ในห้องนอน หรือพื้นที่ที่ลูกน้อยเข้าน้อย ควรมีอากาศที่ถ่ายเท ไม่เย็น หรือร้อนเกินไปจนทำให้รู้สึกไม่สบายตัว ห้องนอนควรมืด ไม่ควรมีแสงสว่าง หรือสามารถใช้โคมไฟกลางคืนสำหรับห้องนอนเปิดระหว่างเข้านอนได้ นอกจากนี้ ยังไม่ควรมีเสียงดังรบกวนลูกน้อยในระหว่างเข้านอนอีกด้วย
  • เปลี่ยนแปลงกิจวัตรอย่างค่อยเป็นค่อยไป: หลีกเลี่ยงการเพิ่มหรือเปลี่ยนกิจกรรมไป ๆ มา ๆ ในช่วงเวลาก่อนเข้านอน กิจกรรมต่าง ๆ ก่อนเข้านอนควรทำแบบเดิมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ลูกน้อยคุ้นชินเป็นนิสัยและทำเป็นกิจวัตรได้ หากจะต้องการปรับเปลี่ยนกิจวัตรบางรายการ ควรปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป

สิ่งที่ควรและไม่ควรทำเมื่อลูกน้อยเข้านอน

ในช่วงแรก ๆ ที่ฝึกลูกน้อยเข้านอน อาจจะต้องใช้เวลาในการฝึกและความอดทนพอสมควร ซึ่งการฝึกการเข้านอนของเด็กแต่ละคนก็ยังมีความยากง่ายแตกต่างกันออกไปอีกเช่นกัน บางวิธีอาจจะใช้ได้ผลกับบางบ้าน บางวิธีอาจจะใช้ไม่ได้ผลเลยก็มี เพื่อให้กิจวัตรการเข้านอนของลูกน้อยมีประสิทธิภาพ ควรทำและไม่ควรทำสิ่งเหล่านี้ เมื่อลูกน้อยเข้านอน

สิ่งที่ไม่ควรทำ:

  • หลีกเลี่ยงการทำกิจวัตรประจำวันเมื่อใกล้หลับ: ในบางครั้งลูกน้อยอาจจะเหนื่อยจากการเดินทาง หรือกิจกรรมอื่น ๆ ระหว่างวัน การทำกิจวัตรก่อนเข้านอนในสถานการณ์แบบนี้ อาจจะทำให้ลูกน้อยหงุดหงิดและงอแงได้ ซึ่งหากสังเกตว่าลูกน้อยใกล้หลับแล้ว ก็สามารถกล่อมให้เข้านอนได้เลย ไม่ต้องทำกิจกรรมก่อนเข้านอนก็ได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์: ช่วงเวลาก่อนเข้านอน ไม่ควรให้ลูกน้อยเล่นสมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต หรือดูโทรทัศน์ เนื่องจากแสงสีฟ้าจากเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ จะส่งผลกระทบทำให้ลูกน้อยนอนหลับได้ยากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย: เช่น การวิ่งเล่น การเล่นที่ทำให้ลูกน้อยตื่นตัว กิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้แรงมากก่อนเข้านอน จะทำให้ลูกน้อยตื่นตัว และไม่หลับได้ยากมากขึ้น
  • กินอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล หรือคาเฟอีน: หลีกเลี่ยงการให้อาหารที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน ในช่วงเวลาก่อนเข้านอน เช่น ช็อกโกแลต โกโก้ เพราะคาเฟอีนจะส่งผลให้ลูกน้อยนอนหลับได้ยาก รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลเป็นจำนวนมาก เพื่อป้องกันอาการฟันผุ
  • หลีกเลี่ยงการอ่านหรือเล่าเรื่องน่ากลัว: การอ่าน หรือเล่าเรื่องผี เรื่องน่ากลัว จะทำให้ลูกน้อยเกิดความกลัวและวิตกกังวลก่อนเข้านอน ซึ่งทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น
  • เหลีกเลี่ยงการนอนหลับระหว่างวันในวันหยุด: ควรหลีกเลี่ยงการให้ลูกน้อยนอนหลับระหว่างวันในวันหยุดสุดสัปดาห์ เพราะการนอนในช่วงกลางวัน อาจจะกระทบกับช่วงเวลาในการเข้านอนในช่วงกลางคืนของลูกน้อยได้ ซึ่งอาจจะทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น หรือนอนดึกขึ้น
Image 1
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama