Enfa สรุปให้:
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การนอนหลับให้เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ ไม่ได้มีดีแค่สำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ยังดีกับเด็ก ๆ ในทุกวัยอีกด้วย เพราะระหว่างที่นอนหลับนั้น ระบบต่าง ๆ ของร่างกายจะเข้าสู่โหมดพักผ่อนและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แต่ไม่ใช่กับสมองที่ยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหลับ ซึ่งการนอนหลับที่ดีและมีคุณภาพของลูกน้อย จะช่วยเสริมสร้างระบบสมองให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการสมองที่ดี
ทราบกันหรือไม่ว่า พัฒนาการสมองของลูกน้อยไม่ได้ทำงานแค่ในช่วงเวลาที่ลูกน้อยตื่นแต่เพียงเท่านั้น แต่ยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องแม้ในเวลาที่ลูกน้อยหลับ ซึ่งในช่วงเวลาที่ลูกน้อยเข้านอน สมองจะสร้างและเชื่อมต่อเซลล์สมองนับล้าน ประมวลผลความทรงจำและการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพื่อให้พร้อมลูกน้อยพร้อมทำกิจกรรมต่าง ๆ และมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น การนอนหลับของทารกจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะต้องการชั่วโมงของการนอนหลับที่เหมาะสมแล้ว การนอนหลับของทารกยังต้องเป็นการนอนหลับที่มีคุณภาพอีกด้วย โดยอาศัยหลาย ๆ ปัจจัยร่วมด้วยกัน เพื่อให้ได้การนอนหลับที่มีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็น การมีกิจวัตรประจำวันก่อนนอน การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในห้องนอนที่เหมาะสม และการได้รับโภชนาการที่ครบถ้วนด้วยการกินนมแม่ ที่มีสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM เพื่อช่วยพัฒนาสมอง เหล่านี้ก็จะช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับได้อย่างมีคุณภาพ
สำหรับเด็กทารกแล้ว ช่วงวัยนี้จะใช้เวลาไปกับการนอนมากกว่าวัยอื่น ๆ โดยเฉลี่ยนเวลาในการนอนหลับ เด็กทารกจะใช้เวลาในการนอนประมาณ 14 – 17 ชั่วโมง ทั้งนี้ เวลานอนของทารกแต่ละเดือน ยังใช้เวลาในการนอนแตกต่างกันไปอีกด้วย โดยเด็กทารกแต่ละเดือนต้องการเวลานอน ดังนี้
• การนอนของทารก 3 เดือน: เวลานอนของเด็กทารก 3 เดือน ยังคงคล้าย ๆ กับช่วงแรกเกิด – 2 เดือน โดยจะใช้เวลาไปกับการนอนในแต่ละวันประมาณ 14 – 17 ชั่วโมง
• การนอนของทารก 4 เดือน: สำหรับเด็กทารกอายุ 4 เดือน จะใช้เวลาในการนอนหลับประมาณ 12 – 15 ชั่วโมง/วัน โดยเวลาในการนอนจะลดลงจากช่วง 3 เดือนแรกเล็กน้อย
• การนอนของทารก 5 เดือน: เด็กทารก 5 เดือน จะใช้เวลาในการนอนหลับในแต่ละวันประมาณ 12 – 15 ชั่วโมง คล้ายกับช่วงอายุ 4 เดือน
• การนอนของทารก 6 เดือน: สำหรับเด็กทารกวัย 6 เดือน จะใช้เวลานอนหลับเฉลี่ยประมาณ 15 ชั่วโมงในแต่ละวัน อาจจะใช้เวลาน้อย หรือมากกว่านี้เล็กน้อย
• การนอนของทารก 7 – 9 เดือน: เด็กทารกในวัย 7 – 9 เดือน ยังคงใช้เวลานอนเฉลี่ยคล้ายคลึงกับช่วงอายุ 4 – 6 เดือน โดยจะใช้เวลาในการนอนประมาณ 12 – 15 ชั่วโมง
• การนอนของทารก 10 เดือน – 1 ขวบ: สำหรับเด็กทารกวัย 10 – 11 เดือน ยังคงใช้เวลาในการนอนหลับเหมือนในช่วงก่อนหน้า นั่นคือ 12 – 15 ชั่วโมง แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่วัย 1 ขวบ ลูกน้อยอาจจะใช้เวลานอนลดลงจากช่วงเวลาก่อนหน้า โดยจะใช้เวลาในการนอนเฉลี่ยนประมาณ 11 – 14 ชั่วโมง/วัน
• การนอนของเด็กวัย 1 ขวบขึ้นไป: สำหรับเด็กวัย 1 ขวบขึ้นไป ควรใช้เวลานอนเฉลี่ยนประมาณ 11 – 14 ชั่วโมง/วัน และจะปรับเวลาลดลงเมื่ออยู่ในช่วงอายุ 3 – 5 ขวบ โดยใช้เวลานอนเฉลี่ยประมาณ 10 – 13 ชั่วโมง/วัน จนถึงอายุ 6 – 13 ก็จะลดเวลาการนอนลงอีกครั้ง โดยใช้เวลาเฉลี่ยนประมาณ 9 – 11 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม สำหรับระยะเวลาในการนอนในแต่ละวันของเด็กทารก อาจจะไม่ได้นอนหลับยาวเหมือนในเด็กโตและผู้ใหญ่ จะมีช่วงเวลาที่ลูกน้อยตื่นมากินนม เปลี่ยนผ้าอ้อม หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ สลับกันไปมากับการนอนหลับ
ปริมาณการนอนที่เหมาะสมสำหรับเด็ก ๆ จะเปลี่ยนไปตามแต่ละช่วงวัย โดยสำหรับเด็กทารกตั้งแต่แรกเกิด – 12 เดือน จะใช้เวลาส่วนมากไปกับการนอน และจะเริ่มลดเวลาในการ นอนหลับลงเมื่อเข้าสู่อายุ 1 ขวบขึ้นไป โดยเด็กแต่ละวัยควรใช้เวลานอนที่เหมาะสม ดังนี้
ทารกควรนอนกี่ชั่วโมงกันนะ? โดยส่วนใหญ่แล้ว เด็กทารกจะใช้เวลาส่วนมากในแต่ละวันไปกับการนอนหลับ ยิ่งสำหรับเด็กทารกแรกเกิดอายุ 0 – 3 เดือน เวลาเหมาะสมสำหรับการนอนหลับในแต่ละวันจะเฉลี่ยนอยู่ที่ 14 – 17 ชั่วโมง ซึ่งระยะเวลาในการนอน จะไม่ได้นอนหลับยาวแบบเด็กโต หรือผู้ใหญ่ แต่จะตื่นขึ้นมากินนม หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ สลับกับการนอนหลับไปมา
เมื่อลูกน้อยอายุโตขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะใช้เวลากับการนอนหลับลดลงไปจากเดิม และอาจจะเริ่มนอนหลับเป็นรูปแบบคล้ายกับเด็กโตและผู้ใหญ่มากขึ้น เช่น สามารถนอนหลับได้ยาวในช่วงเวลากลางคืน อย่างไรก็ตาม เด็ก ๆ ตามแต่ละช่วงวัยควรใช้เวลาในนอนหลับในแต่ละวัน ดังนี้
อายุ |
เวลาแนะนำในการนอน/วัน |
0 – 3 เดือน |
14 – 17 ชั่วโมง |
4 – 11 เดือน |
12 – 15 ชั่วโมง |
1 – 2 ปี |
11 – 14 ชั่วโมง |
3 – 5 ปี |
10 – 13 ชั่วโมง |
6 – 13 ปี |
9 – 11 ชั่วโมง |
เราสามารถฝึกเด็กทารกให้นอนได้เป็นเวลาได้ตั้งแต่อายุ 4 เดือนขึ้นไป เนื่องจากเป็นช่วงระยะเวลาที่เหมาะสำหรับการฝึกนอนได้ โดยเด็กทารกวัยนี้ เริ่มสามารถปลอบตัวเอง (Self-Soothing) ได้แล้ว อย่างเช่น หากตื่นขึ้นมาระหว่างการนอนหลับ สามารถกล่อมตัวเอง หรือกลับไปนอนได้ด้วยตัวเองได้
นอกจากนี้ เด็กทารกอายุ 4 เดือนเป็นต้นไป จะใช้เวลาการตื่นขึ้นมากินนมช่วงกลางคืนน้อยลงจากช่วงเวลาแรกเกิด รวมทั้งวงจรการนอนหลับ หรือ Sleep Cycle ของเด็กทารกวัยนี้ จะเป็นระบบมากขึ้น นอนได้ยาวมากขึ้น โดยสามารถนอนได้ยาว 6 – 8 ชั่วโมงต่อเนื่อง
สำคุณแม่และคุณพ่อมือใหม่ ที่อาจจะยังสับสนและไม่แน่ใจว่า ลูกน้อยต้องการนอนหลับมากน้อยขนาดไหน ควรนอนยาวแค่ไหน หรือใช้เวลางีบหลับประมาณเท่าไหร่ สามารถดูตารางการนอนหลับในแต่ละช่วงวัยของลูกน้อยได้ อย่างไรก็ตาม การนอนของเด็กละคนอาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ควรปรับใช้ให้เข้ากับความต้องการและกิจวัตรของลูกน้อย
อายุ |
จำนวนในการงีบหลับ/ครั้ง |
ระยะเวลาในการงีบหลับในแต่ละครั้ง |
ระยะเวลาในการหลับช่วงกลางวัน |
ระยะเวลาในการหลับช่วงกลางคืน |
ระยะเวลาในการหลับยาวช่วงกลางคืน |
ระยะเวลาที่ใช้ในการนอนหลับ/วัน |
แรกเกิด – 6 สัปดาห์ |
เปลี่ยนแปลงเรื่อย ๆ |
30 นาที – 4 ชม. |
เปลี่ยนแปลงเรื่อย ๆ |
เปลี่ยนแปลงเรื่อย ๆ |
ประมาณ 4 ชม. |
14 – 17 ชม. |
2 เดือน |
3 – 5 ครั้ง |
30 นาที – 3 ชม. |
7 – 9 ชม. |
8 – 9 ชม. |
ประมาณ 6 ชม. |
14 – 17 ชม. |
3 เดือน |
3 – 4 ครั้ง |
30 นาที – 2 ชม. |
4 – 8 ชม. |
8 – 10 ชม. |
บางครั้งสามารถหลับยาวได้ถึง 6 ชม. |
14 – 16 ชม. |
4 เดือน |
2 – 3 ครั้ง |
1 – 2 ชม. |
3 – 6 ชม. |
9 – 10 ชม. |
บางครั้งสามารถหลับยาวได้ถึง 6 – 8 ชม. |
12 – 16 ชม. |
5 – 6 เดือน |
2 – 3 ครั้ง |
1 – 2 ชม. |
3 – 4 ชม. |
10 – 11 ชม. |
บางครั้งสามารถหลับยาวได้ถึง 10 – 11 ชม. |
12 – 16 ชม. |
7 – 8 เดือน |
2 ครั้ง |
1 – 2 ชม. |
3 – 4 ชม. |
10 – 12 ชม. |
ประมาณ 10 – 12 ชม. |
12 – 16 ชม. |
9 เดือน |
2 ครั้ง |
1 – 2 ชม. |
3 – 4 ชม. |
10 – 12 ชม. |
10 – 12 ชม. |
12 – 16 ชม. |
10 – 12 เดือน |
2 ครั้ง |
1 – 2 ชม. |
3 – 4 ชม. |
10 – 12 ชม. |
10 – 12 ชม. |
12 – 16 ชม. |
หากใครกำลังมองหาตารางเลี้ยงลูก 1 เดือน, ตารางเลี้ยงลูก 2 เดือน และตารางเลี้ยงลูก 3 เดือน กันอยู่ มาทางนี้กันได้เลย สำหรับเด็กแรกเกิด – 3 เดือน จะต้องการการนอนหลับเฉลี่ยประมาณ 14 – 17 ชั่วโมง/วัน สลับกับการตื่นขึ้นมาเพื่อกินนม โดยช่วงเวลาในการนอนอาจจะไม่เป็นเวลาแน่นอนในแต่ละวัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของเด็กแต่ละคน
• ตารางเลี้ยงลูกอายุ 1 เดือน: สำหรับเด็กทารกอายุ 1 เดือน อาจจะยังไม่สามารถระบุช่วงเวลาในการกินนม หรือตื่นนอนได้แน่ชัดมากนัก เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป แต่สามารถกิจวัตรการนอนและการกินนมในแต่ละวันจะมีลักษณะคร่าว ๆ ดังนี้
เด็กทารกอายุ 1 เดือน |
ปริมาณในการให้นมและจำนวนครั้ง |
จำนวนครั้งและระยะเวลาในการนอนหลับ |
สำหรับเด็กทารกอายุ 1 เดือน ให้นมทุก ๆ 2 – 3 ชม. หรือประมาณ 8 – 12 ครั้ง ทุก ๆ 24 ชม. โดยปริมาณในการกินนมจะเฉลี่ยอยู่ที่ 1 – 2 ออนซ์/ครั้ง และจะเพิ่มเป็น 2 – 3 ออนซ์/ครั้ง เมื่ออายุ 2 สัปดาห์เป็นต้นไป หรือตามความต้องการของลูกน้อย |
สำหรับเด็กทารกอายุ 1 เดือน จะใช้เวลานอนเฉลี่ยนในแต่ละวันประมาณ 14 – 17 ชม. ซึ่งจะนอนหลับ สลับกับตื่นขึ้นมากินนม |
• ตารางเลี้ยงลูก 2 เดือน: เด็กทารกอายุ 2 เดือน ยังคงมีกิจวัตรคล้าย ๆ กับช่วงเดือนแรก และอาจจะยังไม่สามารถระบุกิจวัตรในแต่ละวัน หรือการนอนที่เป็นเวลาได้มากนัก เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป โดยสำหรับเด็กอายุ 2 เดือน อาจจะมีลักษณะกิจวัตรต่าง ๆ ประมาณนี้
เด็กทารกอายุ 2 เดือน |
ช่วงเวลา |
กิจกรรม |
ปริมาณในการให้นมและจำนวนครั้ง |
เช้า |
กินนม |
โดยปกติแล้ว ลูกน้อยวัย 2 เดือน จะกินนมปริมาณ 4 – 5 ออนซ์/ครั้ง และจะกินนมทุก ๆ 3 – 4 ชม. หรือตามความต้องการของลูกน้อย |
|
เล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ |
|||
งีบหลับ |
|||
กินนม |
|||
กลางวัน |
เล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ |
||
งีบหลับ |
|||
กินนม |
|||
เย็น |
งีบหลับ |
||
กินนม |
|||
เล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ |
|||
อาบน้ำ |
|||
อ่านนิทาน หรือทำกิจกรรมก่อนนอน |
|||
กลางคืน |
กินนม |
||
เข้านอน |
|||
กินนม |
|||
นอนหลับ |
|||
กินนม |
|||
นอนหลับ |
• ตารางเลี้ยงลูก 3 เดือน: เช่นเดียวกับเด็กทารกอายุ 3 เดือน กิจวัตรในแต่ละวันยังคงคล้าย ๆ กับในช่วง 2 เดือนแรก
เด็กทารกอายุ 3 เดือน |
ช่วงเวลา |
กิจกรรม |
ปริมาณในการให้นมและจำนวนครั้ง |
เช้า |
กินนม |
โดยปกติแล้ว ลูกน้อยวัย 2 เดือน จะกินนมปริมาณ 4 – 5 ออนซ์/ครั้ง และจะกินนมทุก ๆ 3 – 4 ชม. หรือตามความต้องการของลูกน้อย |
|
เล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ |
|||
งีบหลับ |
|||
กินนม |
|||
กลางวัน |
เล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ |
||
งีบหลับ |
|||
กินนม |
|||
เล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ |
|||
เย็น |
งีบหลับ |
||
กินนม |
|||
เล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ |
|||
อาบน้ำ |
|||
อ่านนิทาน หรือทำกิจกรรมก่อนนอน |
|||
กลางคืน |
กินนม |
||
เข้านอน |
|||
กินนม |
|||
นอนหลับ |
|||
กินนม |
|||
นอนหลับ |
เมื่อลูกน้อยเข้าสู่วัย 6 เป็นต้นไป จะสามารถเริ่มกินอาหารตามวัยเด็กทารกได้ และจะมีการนอนที่เป็นเวลามากขึ้น รวมทั้งนอนหลับได้ยาวมากขึ้นจากเดิม โดยเฉลี่ยนระยะเวลาในการนอนอยู่ที่ 12 – 16 ชั่วโมง/วัน
• ตารางเลี้ยงลูก 6 – 7 เดือน: สำหรับเด็กทารกวัย 6 – 7 เดือน จะใช้เวลานอนและทำกิจกรรมอื่น ๆ คล้าย ๆ กัน โดยเฉลี่ยนการนอนในแต่ละวันอยู่ที่ 12 – 16 ชั่วโมง และสามารถนอนหลับช่วงกลางคืนได้ยาวมากขึ้น ซึ่งบางครั้งจะสามารถนอนหลับได้ยาวติดต่อกัน 10 – 12 ชั่วโมง
เด็กทารกอายุ 6 – 7 เดือน |
ช่วงเวลา |
กิจกรรม |
ปริมาณในการให้นมและจำนวนครั้ง |
เช้า |
กินนม หรืออาหารตามวัยเด็กทารก |
สำหรับเด็กทารกวัย 6 – 7 เดือน จะกินนมประมาณ 8 ออนซ์/ครั้ง และจะกินนมทุก ๆ 4 – 5 ชั่วโมง รวมทั้งเริ่มให้อาหารตามวัยเด็กทารกวันละ 1 – 2 มื้อ |
|
เล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ |
|||
งีบหลับ |
|||
กลางวัน |
กินนม หรืออาหารตามวัยเด็กทารก |
||
เล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ |
|||
งีบหลับ |
|||
กินนม หรืออาหารตามวัยเด็กทารก |
|||
เล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ |
|||
เย็น |
กินนม หรืออาหารตามวัยเด็กทารก |
||
เล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ |
|||
อาบน้ำ |
|||
อ่านนิทาน หรือทำกิจกรรมก่อนนอน |
|||
กลางคืน |
กินนม |
||
เข้านอน |
|||
กินนม |
|||
นอนหลับ |
• ตารางเลี้ยงลูก 8 – 9 เดือน: เด็กทารกในวัย 8 – 9 เดือน จะเริ่มรับประทานอาหารตามวัยเด็กทารกได้มากขึ้น เราสามารถเพิ่มมื้อของว่างเล็ก ๆ ในระหว่างวันได้ นอกจากนี้ จะสามารถนอนหลับยาวช่วงกลางคืนได้ดีขึ้น โดยสามารถนอนหลับยาวได้ถึง 10 – 12 ชั่วโมง
เด็กทารกอายุ 8 – 9 เดือน |
ช่วงเวลา |
กิจกรรม |
ปริมาณในการให้นมและจำนวนครั้ง |
เช้า |
กินนม หรืออาหารตามวัยเด็กทารก |
สำหรับเด็กทารกวัย 8 – 9 เดือน จะกินนมประมาณ 8 ออนซ์/ครั้ง และจะกินนมทุก ๆ 4 – 5 ชั่วโมง รวมทั้งเริ่มให้อาหารตามวัยเด็กทารกวันละ 1 – 2 มื้อ และเมื่อเข้าสู่อายุ 9 เดือน เริ่มป้อนอาหารตามวัยเป็นวันละ 3 มื้อ/วัน |
|
เล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ |
|||
ของว่าง |
|||
งีบหลับ |
|||
กลางวัน |
กินนม หรืออาหารตามวัยเด็กทารก |
||
เล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ |
|||
งีบหลับ |
|||
กินนม หรืออาหารตามวัยเด็กทารก |
|||
เล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ |
|||
เย็น |
กินนม หรืออาหารตามวัยเด็กทารก |
||
เล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ |
|||
อาบน้ำ |
|||
อ่านนิทาน หรือทำกิจกรรมก่อนนอน |
|||
กลางคืน |
กินนม |
||
เข้านอน |
|||
กินนม |
|||
นอนหลับ |
• ตารางเลี้ยงลูก 10 – 12 เดือน: ในวัย 10 – 12 ลูกน้อยจะสามารถรับประทานอาหารตามวัยเด็กทารกได้มากขึ้น ซึ่งควรป้อนอาหารตามวัยเด็กทารก 3 มื้อ/วัน แต่ยังคงให้นมแม่ควบคู่กันไป นอกจากนี้ ระยะเวลาในการนอนหลับจะคงที่ เฉลี่ยนระยะเวลาในการนอน 12 – 16 ชั่วโมง/วัน
เด็กทารกอายุ 10 – 12 เดือน |
ช่วงเวลา |
กิจกรรม |
ปริมาณในการให้นมและจำนวนครั้ง |
เช้า |
กินนม หรืออาหารตามวัยเด็กทารก |
สำหรับเด็กทารกวัย 10 – 12เดือน จะกินนมประมาณ 8 ออนซ์/ครั้ง และจะกินนมประมาณ 3 – 5 ครั้ง/วัน
นอกจากนี้ จะกินอาหารตามวัยเด็กทารก 3 มื้อ/วัน ร่วมกับของว่างระหว่างวันประมาณ 2 มื้อ |
|
เล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ |
|||
ของว่าง |
|||
งีบหลับ |
|||
กลางวัน |
กินนม หรืออาหารตามวัยเด็กทารก |
||
เล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ |
|||
งีบหลับ |
|||
กินนม หรืออาหารตามวัยเด็กทารก |
|||
เล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ |
|||
เย็น |
กินนม หรืออาหารตามวัยเด็กทารก |
||
เล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ |
|||
อาบน้ำ |
|||
อ่านนิทาน หรือทำกิจกรรมก่อนนอน |
|||
กลางคืน |
กินนม |
||
เข้านอนและนอนหลับ |
สำหรับลูกน้อยวัย 1 ขวบขึ้นไป จะสามารถนอนหลับได้ยาวในช่วงกลางคืน รวมทั้งรับประทานอาหารได้เหมือนกับอาหารของผู้ใหญ่แล้ว โดยจะรับประทานอาหาร 3 มื้อ/วัน รวมทั้งเสริมด้วยของว่างระหว่างวันได้ คุณแม่และคุณพ่อสามารถดูตัวอย่างตารางการเลี้ยงลูก 1 ขวบขึ้นไป เพื่อนำไปปรับใช้กับลูกน้อยได้ ดังนี้
เด็กอายุ 1 ขวบขึ้นไป |
ช่วงเวลา |
กิจวัตรในแต่ละวัน |
07.30 – 08.00 น. |
ตื่นนอน |
|
08.00 – 09.00 น. |
อาบน้ำและรับประทานอาหารเช้า |
|
09.00 – 10.00 น. |
เล่น |
|
10.00 – 11.00 น. |
เคลื่อนไหวร่างกาย หรือกิจกรรมอื่น ๆ |
|
11.00 – 12.00 น. |
กิจกรรมตามอัธยาศัย |
|
12.00 – 13.00 น. |
รับประทานอาหารกลางวัน |
|
13.00 – 15.00 น. |
นอนกลางวัน |
|
15.00 – 15.30 น. |
รับประทานของว่าง |
|
15.30 – 16.30 น. |
เล่น |
|
16.30 – 17.00 น. |
เตรียมตัวสำหรับมื้อเย็น |
|
17.00 – 18.00 น. |
รับประทานอาหารเย็น |
|
18.00 – 19. 00 น. |
กิจกรรมร่วมกับครอบครัว |
|
19.00 – 19.30 น. |
กิจวัตรก่อนเข้านอน |
|
19.30 น. |
เข้านอน |
สำหรับตารางการเลี้ยงลูกในแต่ละช่วงวัย อาจจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบ้าน เนื่องจากเด็กแต่ละมีความต้องการแตกต่างกันไป รวมทั้งรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละครอบครัวก็มีความแตกต่างกันเช่นกัน ดังนั้นควรปรับใช้ให้เข้ากับกิจวัตรประจำวันของลูกน้อยและครอบครัว
Enfa สรุปให้ เมื่อทารกซึม เอาแต่นอนคุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตอาการอื่นร่วมด้วย หากมีอาการตัวซีด ตัวเ...
อ่านต่อเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายๆคนคงเปิดแอร์ในช่วงเวลานอนอย่างแน่นอนเพราะช่วยให้รู้สึกเย็นสบาย แต่ร...
อ่านต่อก่อนกลับไปทำงาน จะดีไม่น้อยหากคุณแม่สามารถฝึกลูกให้นอนหลับยาวรวดเดียว ชนิดที่ตื่นมาอีกทีพร้อมคุณแ...
อ่านต่อ