Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
สำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่แล้ว การเปลี่ยนแปลงแม้เพียงนิดเดียวของลูกน้อยก็นับเป็นเรื่องใหญ่ ทารกซึม เอาแต่นอนเกิดจากอะไร เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงภาวะอันตรายหรือไม่ วันนี้ Enfa ได้รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับอาการทารกซึม เอาแต่นอนมาให้ มาดูกันว่าอาการแบบไหนที่ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์โดยเร็ว
โดยทั่วไปแล้วทารกแรกเกิดมักนอนหลับเป็นเวลานาน เนื่องจากระบบประสาท และร่างกายยังอยู่ในช่วงพัฒนา อย่างไรก็ตามหากทารกเอาแต่นอนมากผิดปกติ ดูซึม ไม่ตอบสนองเหมือนเดิม หรือไม่ค่อยตื่นมากินนม ควรสังเกตอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ตัวซีด ตัวเหลือง หายใจลำบาก หรือมีไข้
หากพบอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณของภาวะผิดปกติ เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ การติดเชื้อ หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัย และรักษาอย่างเหมาะสม
อาการลูกซึม ไม่มีไข้ อาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ความอ่อนเพลียจากการนอนน้อย หรือเล่นมากเกินไป ภาวะขาดน้ำที่ทำให้ร่างกายอ่อนแรง หรือภาวะโลหิตจางที่ส่งผลให้เด็กดูอ่อนเพลีย
นอกจากนี้อาจเกิดจากปัญหาทางอารมณ์ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เช่น การปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
อย่างไรก็ตามหากลูกมีอาการซึมนานกว่าปกติ ไม่ร่าเริง ไม่สนใจสิ่งรอบตัว หรือรับประทานอาหารได้น้อยลง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และรับคำแนะนำในการดูแลที่เหมาะสม
อาการทารกซึม หมายถึง ภาวะที่ทารกดูอ่อนเพลีย ไม่ค่อยตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว ไม่ค่อยลืมตา หรือแสดงอารมณ์เหมือนปกติ หากลูกซึมนอนทั้งวันมากผิดปกติ ตื่นยาก ไม่ค่อยดูดนม หรือดูอ่อนแรง อาจเป็นสัญญาณของภาวะผิดปกติ เช่น ภาวะขาดน้ำ น้ำตาลในเลือดต่ำ การติดเชื้อ หรือปัญหาทางระบบประสาท ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของทารกได้
ดังนั้นหากพบว่าลูกซึมจนผิดปกติ พักผ่อนก็ไม่หาย ไม่สดใสเหมือนเดิม ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และรับการรักษาอย่างเหมาะสม
เมื่อทารกซึม เอาแต่นอน ไม่ร่าเริง คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตพฤติกรรม และอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร งอแงผิดปกติ หากไม่มีอาการป่วยชัดเจนอาจเกิดจากความอ่อนเพลีย ความเครียด หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ควรดูแลโดยให้ลูกได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ส่งเสริมกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น เล่นของเล่นที่ชอบ หรือให้เวลากับลูกมากขึ้น
หากอาการซึมยังคงอยู่เป็นเวลานาน หรือมีอาการผิดปกติร่วมด้วย เช่น มีไข้ อ่อนแรง หรือเบื่ออาหารมาก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และรับคำแนะนำในการดูแลที่เหมาะสมเป็นลำดับถัดไป
หากทารกซึม เอาแต่นอนทั้งวันมากผิดปกติ ควรสังเกตสัญญาณที่อาจบ่งบอกถึงภาวะอันตราย เช่น ตื่นยาก ไม่ค่อยตอบสนอง ดูดนมน้อยลง หรือไม่ยอมกินอาหาร โดยเฉพาะหากมีอาการร่วม เช่น ตัวซีด หายใจเร็วหรือหอบ ไข้สูง อาเจียน หรืออุจจาระผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณของภาวะติดเชื้อ โรคระบบทางเดินหายใจ หรือภาวะขาดน้ำ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน
หากพบอาการผิดปกติดังกล่าว ควรรีบนำลูกไปพบแพทย์ทันที เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัย และรักษาอย่างเหมาะสมโดยเร็วที่สุด
นอกจากจะดูแลร่างกายของลูกให้แข็งแรงอยู่เสมอแล้ว อีกสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถละเลยได้ ก็คือการเริ่มต้นปูพื้นฐานพัฒนาการด้านต่าง ๆ ให้กับลูก ซึ่งสามารถเริ่มทำได้ง่าย ๆ โดยการให้ลูกได้รับโภชนาการสำคัญให้ครบถ้วน
โดยเฉพาะโภชนาการที่ดีที่สุดอย่างนมแม่ซึ่งมี MFGM สุดยอดสารอาหารในนมแม่ หนึ่งเดียวที่มีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ให้ลูกพร้อมกว่าเมื่อถึงวัยเข้าเรียน โดย MFGM ในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น
*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่
แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561
โดยปกติทารกวัย 1 เดือน จะนอนหลับวันละ 14-17 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น เนื่องจากระบบร่างกาย และสมองยังพัฒนาอยู่ อย่างไรก็ตามหากทารกเอาแต่นอน มากผิดปกติ ตื่นยาก ไม่ดูดนม หรือตอบสนองน้อยกว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณของภาวะผิดปกติ เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะตัวเหลือง หรือการติดเชื้อ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัย ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ และรับการดูแลอย่างเหมาะสม
โดยทั่วไปทารกวัย 3 เดือน จะนอนหลับประมาณ 14-16 ชั่วโมงต่อวัน โดยแบ่งเป็นการนอนกลางคืน และการงีบช่วงกลางวัน อย่างไรก็ตามหากทารกเอาแต่นอนมากผิดปกติ ตื่นยาก ไม่ค่อยตอบสนอง หรือดูดนมลดลง อาจเป็นสัญญาณของภาวะผิดปกติ เช่น ภาวะขาดสารอาหาร ภาวะตัวเหลือง การติดเชื้อ หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาอย่างเหมาะสม
แม้ว่าลูกไม่มีไข้แต่หากมีอาการซึม อ่อนเพลีย ไม่ร่าเริง อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งสาเหตุอาจเกิดได้จาก ภาวะขาดน้ำ โลหิตจาง น้ำตาลในเลือดต่ำ ความเครียด หรือสาเหตุอื่น ๆ ที่แม้อาจจะไม่ได้ดูเป็นภาวะที่รุนแรงมากแต่หากปล่อยไว้ในานย่อมไม่ใช่เรื่องดี เพราะอาจส่งผลให้อาการลุกลามจนส่งผลกระทบกับสุขภาพของลูกน้อยในระยะยาวได้
ดังนั้นหากลูกดูซึมผิดปกติ ไม่สนใจสิ่งรอบตัว ไม่ค่อยเล่น หรือรับประทานอาหารได้น้อยลง ควรสังเกตอาการเพิ่มเติม เช่น มีอาการหายใจผิดปกติ ตัวซีด อ่อนแรง หรือมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปหรือไม่
หากอาการซึมยังคงอยู่ต่อเนื่องหรือรุนแรงขึ้น ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และรับการรักษาอย่างเหมาะสม
Enfa สรุปให้ เมื่อทารกซึม เอาแต่นอนคุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตอาการอื่นร่วมด้วย หากมีอาการตัวซีด ตัวเ...
อ่านต่อเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายๆคนคงเปิดแอร์ในช่วงเวลานอนอย่างแน่นอนเพราะช่วยให้รู้สึกเย็นสบาย แต่ร...
อ่านต่อก่อนกลับไปทำงาน จะดีไม่น้อยหากคุณแม่สามารถฝึกลูกให้นอนหลับยาวรวดเดียว ชนิดที่ตื่นมาอีกทีพร้อมคุณแ...
อ่านต่อ