Enfa สรุปให้
อาการนอนกรนในเด็ก แม้จะเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยเหมือนกับผู้ใหญ่ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กตั้งแต่วัยทารกจนไปถึงเด็กโต
ทารกนอนกรน โดยมากมักไม่อันตราย เพราะมีสาเหตุมาจากอาการคัดจมูก หรือมีอาการภูมิแพ้ ซึ่งอาการมักจะดีขึ้นได้ตามลำดับ นอกจากนี้ อาจจะมีสาเหตุมาจากช่องจมูกของเด็กยังมีขนาดเล็ก ทำให้หายใจไม่สะดวก
หากเด็กมีอาการนอนกรน แล้วจู่ ๆ ก็หยุดหายใจไปชั่วคราวในขณะที่กำลังนอนหลับ อาการนอนกรนแบบนี้ถือว่าอันตราย เพราะเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาจจะทำให้เสียชีวิตได้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การพักผ่อนที่เพียงพอ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก แต่คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่า เด็กหลายคนมีอาการนอนกรนตั้งแต่อายุยังน้อย
การนอนกรนบ่อย ๆ จะทำให้เด็กสะดุ้งตื่นเป็นระยะ ทำให้พักผ่อนไม่เต็มที่ หรือในระยะยาวอาจเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ ปัญหาลูกนอนกรน จึงถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องหมั่นสังเกตเพื่อเตรียมพร้อมรับมือ
ไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่เท่านั้นที่นอนกรน แต่เด็กเล็ก ๆ กรน หรือทารกกรน ก็สามารถพบได้เช่นกัน แม้จะไม่ได้กรนถี่เท่ากับผู้ใหญ่ แต่ก็เกิดขึ้นได้บ่อยครั้งค่ะ
โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ ว่าลูกนอนกรนหรือเปล่าจากการฟังเสียงในขณะที่ลูกน้อยนอนหลับ หากลูกมีอาการหายใจเสียงดังคล้ายกับเสียงกรน นั่นอาจจะเป็นไปได้ว่าเจ้าตัวเล็กกำลังนอนกรน
ทารกนอนกรน เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น:
ช่องจมูกของทารกแรกยังมีขนาดเล็กมาก ดังนั้น หากมีน้ำมูกแห้งหรือมีเสมหะส่วนเกินในจมูกเพียงเล็กน้อย ก็จะทำให้หายใจลำบาก หรือต้องหายใจแรง ๆ จนทำให้เกิดเสียงกรนหรือหายใจเสียงดังได้
ผนังกั้นช่องจมูกคด ทำให้การระบายน้ำมูกหรือเสมหะเป็นไปได้ยาก เด็กจึงหายใจเข้าออกลำบาก เวลาหายใจจึงต้องหายใจแรง ๆ จนเกิดเป็นเสียงดังคล้ายเสียงกรน
ต่อมทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์โตขยายใหญ่ จนกีดขวางทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้หายใจไม่สะดวก
เกิดจากโรคที่เกี่ยวข้องกับระบทางเดินหายใจ เช่น ไซนัสอักเสบ ภูมิแพ้ทางจมูก ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
การนอนกรน บางครั้งอาจทำให้เด็กสะดุ้งตื่นหลายครั้ง ทำให้นอนหลับไม่สนิท เพราะนอนไม่เต็มอิ่ม ระหว่างวันจึงอาจง่วงนอน หรือมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย ส่งผลให้เด็กไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามวัยได้อย่างเต็มที่
มากไปกว่านั้น การนอนกรนยังอาจเป็นสัญญาณของภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วย ซึ่งมีสาเหตุมาจากทางเดินหายใจแคบ ถ้าหากไม่ได้รับการแก้ไข ทางเดินหายใจก็จะแคบลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งอุดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการหยุดหายใจในขณะนอนหลับ ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
ก่อนอื่นเลย คุณพ่อคุณแม่จะต้องสังเกตอาการของลูกให้ดี ลองจับตาดูว่าลูกง่วงนอนระหว่างวันบ่อย ๆ ไหม หงุดหงิดระหว่างวันมากกว่าปกติหรือเปล่า เพราะอาจจะเป็นไปได้ว่าลูกนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
จากนั้นก็ต้องมาดูว่า ในช่วงที่ลูกนอนหลับ มีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นไหม ลูกนอนกรนหรือเปล่า ลูกมีอาการหยุดหายใจชั่วขณะบ้างไหมในขณะที่นอนหลับ
การสังเกตอาการเช่นนี้ จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่นำลูกเข้าสู่กระบวนการรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ และช่วยให้ลูกมีสภาวะร่างกายที่พร้อมต่อการเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ต่าง ๆ
ซึ่งเมื่อพบว่าลูกนอนกรน ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอีกครั้งว่าลูกนอนกรนจริงไหม ถ้าหากผลการตรวจออกมาว่าลูกมีอาการนอนกรนจริง ก็จะเข้าสู่กระบวนการรักษาต่าง ๆ เช่น
รักษาโดยการผ่าตัด แต่ต้องขึ้นอยู่กับว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เด็กนอนกรน หากเกิดจากต่อมทอลซิลและอะดีนอยด์ ก็จะทำการผ่าตัดแก้ไขต่อมดังกล่าว เพื่อลดความเสี่ยงของการอุดกั้นทางเดินหายใจ
หากเกิดจากการคัดจมูกทั่วไป แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดสเปรย์น้ำเกลือเพื่อลดอาการคัดจมูก หรือใช้กระบอกดูดเสมหะ เพื่อช่วยให้ลูกหายใจสะดวกขึ้น
หากเกิดจากช่องจมูกมีขนาดเล็ก กรณีนี้ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะเมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น ช่องจมูกก็จะขยายขึ้น และหายใจสะดวกขึ้นได้เอง แต่ถ้าหากลูกโตแล้วและยังมีอาการนอนกรนอยู่ แพทย์อาจจะมีการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงอีกครั้ง
ดูแลอุณหภูมิในห้องนอน อากาศที่เย็นและแห้งจนเกินไป ทำให้เยื่อจมูกอักเสบและบวมจนหายใจไม่สะดวก ควรมีเครื่องทำความชื้นในห้องนอนลูก หรือดูแลอุณหภูมิในห้องนอนให้เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงของเยื่อจมูกอักเสบ ช่วยให้ลูกหายใจสะดวกขึ้นในขณะนแอนหลับ
เด็กบางคนมีอาการนอนกรนอันเนื่องมาจากอาการภูมิแพ้ โดยอาจจะเป็นอาการแพ้อาหาร อย่างการแพ้โปรตีนนมวัว หรืออาการแพ้ต่อสิ่งอื่น ๆ เช่น แพ้ฝุ่นละออง แพ้เกสรดอกไม้
อาการแพ้เหล่านี้ อาจจะส่งผลให้มีปัญหาต่อการหายใจ เช่น หายใจไม่ออก หายใจลำบาก เวลานอนจึงอาจมีอาการกรนเกิดขึ้นได้
ดังนั้น นอกจากจะต้องสังเกตการนอนหลับของลูกแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังต้องสังเกตด้วยว่า ลูกมีอาการผิดปกติใด ๆ หลังจากกินอาหารหรือกินนมหรือเปล่า เพราะลูกอาจจะมีอาการภูมิแพ้ต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการแพ้โปรตีนนมวัวในเด็ก ซึ่งนอกจากที่ลูกจะสามารถแพ้โปรตีนนมวัวจากการกินนมวัวหรือผลิตภัณฑ์จากนมวัวแล้ว ในเด็กที่กินนมแม่ก็ยังสามารถแพ้โปรตีนนมวัวผ่านน้ำนมแม่ได้อีกเช่นกัน
หากพบว่าลูกน้อยมีอาการแพ้โปรตีนนมวัว คุณแม่ที่ให้นมบุตรควรงดการกินนมวัวหรือผลิตภัณฑ์จากนมวัว เพื่อป้องกันอาการแพ้โปรตีนนมวัวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ผ่านการกินนมแม่
ในกรณีที่คุณแม่มีน้ำนมไม่พอหรือไม่สามารถให้นมแม่ไม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแพทย์มักแนะนำ “โปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด* (EHP)” โปรตีนนมขนาดเล็กที่มีคุณสมบัติ Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และอาจมีโพรไบโอติกส์ เช่น LGG ซึ่งช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เพื่อหยุดอาการแพ้นมวัว รวมถึงลดโอกาสเกิดภูมิแพ้อื่น ๆ ในอนาคต
*อ้างอิงจากแนวทางการรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัวของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย หน้า 33
โดยทั่วไปแล้วอาการนอนกรน หายใจแรงมีเสียงดังในเด็ก ไม่ถือว่าอันตรายรุนแรงค่ะ สามารถที่จะแก้ไขและรักษาให้เป็นปกติได้
แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ว่าหลังจากตรวจพบสาเหตุแล้ว สาเหตุนั้นรุนแรงแค่ไหน สามารถทำการรักษาได้หรือไม่
ลูก 1 ขวบ นอนกรน ไม่ถือว่าผิดปกติค่ะ อาการนอนกรนในเด็กวัยนี้มักมีสาเหตุมาจากช่องจมูกที่ยังเล็ก ทำให้หายใจไม่สะดวก แต่เมื่อโตขึ้น รูจมูกกว้างขึ้น ก็จะหายใจได้ดีขึ้นค่ะ
แต่ถ้าหากลูกมีอาการนอนกรนบ่อย ๆ หรือบางครั้งนอนกรนแล้วอยู่ ๆ ก็หยุดหายใจไปชั่วขณะ แบบนี้อาจเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เสี่ยงอันตรายต่อการเสียชีวิตได้ค่ะ
ลูก 2 ขวบ นอนกรน ไม่ถือว่าผิดปกติเสียทีเดียวค่ะ ลูกอาจมีอาการคัดจมูก เป็นหวัด หรือมีอาการภูมิแพ้ ซึ่งก่อให้เกิดอาการนอนกรน หายใจแรงได้เหมือนกัน
แต่ถ้าหากลูกมีอาการนอนกรนบ่อย ๆ หรือบางครั้งนอนกรนแล้วอยู่ ๆ ก็หยุดหายใจไปชั่วขณะ แบบนี้อาจเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เสี่ยงอันตรายต่อการเสียชีวิตได้ค่ะ
ลูก 4 ขวบ นอนกรน ก็ยังไม่ถือว่าผิดปกติเสียทีเดียวค่ะ เพราะลูกอาจนอนกรนเนื่องจากมีอาการคัดจมูก เป็นหวัด หรือมีอาการภูมิแพ้ ซึ่งก่อให้เกิดอาการนอนกรน หายใจแรงได้เหมือนกัน
แต่ถ้าหากลูกมีอาการนอนกรนบ่อย ๆ หรือบางครั้งนอนกรนแล้วอยู่ ๆ ก็หยุดหายใจไปชั่วขณะ แบบนี้อาจเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เสี่ยงอันตรายต่อการเสียชีวิตได้ค่ะ
สำหรับเด็กทารก ช่องจมูกยังมีขนาดเล็ก ทำให้หายใจได้ไม่สะดวก เวลานอนหลับจึงอาจหายใจแรงและมีเสียงดัง กรณีนี้ไม่ถือว่าอันตรายค่ะ เพราะเมื่อทารกโตขึ้นช่องจมูกก็จะขยายใหญ่ขึ้นเองตามปกติ
สำหรับเด็กทารก ช่องจมูกยังมีขนาดเล็ก ทำให้หายใจได้ไม่สะดวก เวลานอนหลับจึงอาจหายใจแรงและมีเสียงดัง กรณีนี้ไม่ถือว่าอันตรายค่ะ เพราะเมื่อทารกโตขึ้นช่องจมูกก็จะขยายใหญ่ขึ้นเองตามปกติ ทำให้หายใจสะดวก
แต่ถ้าหากลูกมีอาการนอนกรนบ่อย ๆ หรือบางครั้งนอนกรนแล้วอยู่ ๆ ก็หยุดหายใจไปชั่วขณะ แบบนี้ อาจเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เสี่ยงอันตรายต่อการเสียชีวิตได้ค่ะ
Enfa สรุปให้ อาการนอนกรนในเด็ก แม้จะเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยเหมือนกับผู้ใหญ่ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กั...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ โรค G6PD จีซิกพีดี หรือ G6PD Deficiency คือ โรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่ง มีสาเหตุมาจาก...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ อาการแพ้ถั่ว เป็นอาการแพ้อาหารที่พบได้ตั้งแต่ในเด็ก แล...
อ่านต่อ