เดือนที่ 1

เทคนิคการไล่ลมหลังมื้อนม

      เมื่อลูกน้อยดูดนม ก็จะมีลมในท้อง เนื่องจากมีการกลืนลมเข้าไป  โดยเฉพาะถ้ามื้อนั้นลูกหิวนมมากๆ หรือน้ำนมคุณแม่มาก ทำให้ลูกดูดเร็ว ดูดแรง ส่งผลให้ลมเข้าไปแน่นท้อง เกิดท้องอืด ท้องเฟ้อ ทำให้เขารู้สึกไม่สบายท้อง จนร้องไห้โยเย คุณแม่จึงต้องไล่ลมให้ลูกรักเรอหลังมื้อนมค่ะ

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

     คุณแม่แต่ละคนจะมีวิธีการให้ลูกเรอแตกต่างกันไป เช่น อุ้มลูกพาดบ่าของคุณแม่ โดยใช้แขนข้างเดียวกับบ่ารองก้นลูกไว้ และลูกต้องตัวตั้งตรง ไม่งอ ท่านี้เป็นท่าที่เหมาะกับการเรอมากที่สุด ลูบหลังให้ลูกด้วยมืออีกข้างหนึ่ง หรืออีกท่าคือให้ลูกนั่งบนตัก แล้วใช้แขนโอบรอบตัวลูกไว้ จับตัวลูกเอนไปด้านหน้าเล็กน้อย เพื่อให้ท้องของลูกแนบกับแขนของคุณแม่ ท่านี้จะช่วยกดท้องของลูกอย่างนุ่มนวล ซึ่งจะเป็นการช่วยดันลมออกมา โดยลูบหลังให้ลูกน้อยด้วยมืออีกข้างหนึ่ง และท่าสุดท้ายคือให้ลูกนอนคว่ำบนตักของคุณแม่ มือข้างหนึ่งพยายามจับลูกให้อยู่นิ่งๆ และใช้มืออีกข้างลูบหลัง หรือตบที่หลังเบาๆ

     ทุกครั้งที่อุ้มลูก ต้องใช้มือข้างที่ถนัดประคองต้นคอลูกไว้เสมอ เพราะกล้ามเนื้อต้นคอของลูกยังไม่แข็งแรงพอ และขณะที่คุณแม่อุ้มไล่ลมให้ลูกนั้น ต้องเตรียมผ้าอ้อมสะอาดไว้ใกล้มือนะคะ เวลาที่ลูกแหวะนมออกมาจะได้หยิบใช้

     คุณแม่สามารถใช้มหาหิงส์ไล่ลมให้ลูกได้เช่นกัน โดยทาให้ลูกที่ฝ่าเท้าหรือหน้าท้องลูกก็ได้ค่ะ กลิ่นระเหยที่มีความร้อนนิดๆ จะช่วยทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวและบีบตัว ช่วยไล่ลมในท้องลูกได้ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ อย่าทามากเกินไป เพราะความร้อนทำให้ผิวบอบบางของลูกไหม้ได้ค่ะ

     สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่อุ้มลูกให้เรอแล้ว แต่ลูกไม่เรอก็อย่าเพิ่งตกใจค่ะ เพราะปกติเด็กจะเรอหรือไม่เรอก็ได้ แต่คุณแม่ควรอุ้มลูกต่อไปอีกสักแป๊บนึง เพื่อให้น้ำนมลงในกระเพาะ เมื่อลูกได้เรอออกมา เขาจะรู้สึกสบายตัว จะหลับเร็ว และนอนได้นานค่ะ

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM