พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ ด้านสติปัญญาและการเรียนรู้

ลูกยังคงสวมบทนักสำรวจตัวน้อย  สิ่งใดที่อยู่ในขอบข่ายสายตาของเขาเป็นต้องรื้อ ค้น คว้ามาจับ สัมผัส ชิม กัด เขย่า  ดม เรียกว่าทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งครบทุกประสาทสัมผัสเลย

  • เด็กๆ ที่มีคนคอยเล่นหรือทำนั่นนี่อยู่ใกล้ๆ จะเรียนรู้เรื่องการประสานสายตากับการเคลื่อนไหวได้ดีกว่าเด็กที่ไม่มีโอกาสลักษณะนี้
  • การเล่นเป็นวิธีการที่เด็กๆจะได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ  ไม่ว่าจะเล่นจ๊ะเอ๋ เล่นไล่จับ (คลานไล่จับเจ้าตัวน้อย) การเล่นซ่อนของ  แม้กระทั่งการร้องเพลง ทำท่าทางประกอบ หรืออุ้มเต้นรำไปตามจังหวะเพลง  ก็เป็นการเล่นที่สามารถเล่นกับลูกได้ เช่น จับปูดำ นิ้วโป้งอยู่ไหน หรือเพลงช้างที่เราคุ้นหู รวมทั้งการอ่านนิทาน หรือชวนกันเปิดหนังสือหรือดูสมุดภาพ  กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ ได้ดี
สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว

  • เด็ก 1 ขวบ จะเปลี่ยนจากคลานมาเป็นเดินกันแล้ว แต่ก็ยังมีเด็กส่วนหนึ่งที่อาจจะยังไม่สนใจอยากเดิน   เพราะคลานเร็วทันใจกว่า  ซึ่งคุณแม่ต้องพยายามสร้างแรงจูงใจในการเดินให้ลูกด้วย
  • ถ้าลูกยังชอบคลานมากกว่าเดิน คุณแม่ไม่ควรบังคับ  เพียงแค่จัดสถานที่ให้เอื้อต่อการฝึกเดิน หาของเล่นมาล่อหลอก หรือจับลูกยืนบนหลังเท้าของเราแล้วจับมือลูกไว้ทั้งสองข้าง จากนั้นก็พาลูกเดินเล่น วิธีนี้จะทำให้ลูกรู้สึกสนุกไปกับการเดินและอาจจะอยากลองเดินด้วยตัวเองดูบ้าง
  •  
  • การทำงานประสานกันระหว่างมือและตาเป็นไปด้วยดี สังเกตได้จากการที่ลูกสามารถต่อบล็อกไม้ซ้อนกันได้ถึงสองชั้น หยิบของเล่นชิ้นเล็กๆ ใส่เข้าหยิบออกจากกล่องได้  ทักษะเหล่านี้จะยิ่งดีขึ้นถ้าได้รับโอกาสฝึกฝนบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นของเล่นเสริมพัฒนาการประเภทหยอดรูปทรงลงช่อง หรือจะเป็นภาชนะ เช่น ช้อน ชาม แก้วที่ไม่แตก หม้อ ถังใบเล็กๆ 
  • กระดาษกับสีเทียนแท่งโต เป็นอุปกรณ์เสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ดี  ที่คุณแม่สามารถจัดหามาให้ลูกเล่นได้

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ ด้านภาษาและการสื่อสาร

  • เข้าใจและรับรู้คำและความหมายของคำมากขึ้น เพียงแต่ยังไม่สามารถพูดหรือแสดงออกมาได้ทั้งหมด โดยส่วนใหญ่ลูกจะสื่อสารหรือแสดงออกผ่านสีหน้า ท่าทาง สุ้มเสียง มากกว่า เช่น พยักหน้า หัวเราะ ยิ้ม มากกว่าคำพูด
  • คำที่เรามักได้ยินลูกพูดบ่อยๆ เช่น หม่ำๆ  น้ำ ไปๆ มาๆ  ไม่ๆ ซึ่งเป็นคำที่ลูกเข้าใจความหมายและพอจะสื่อสารเป็นภาษาได้บ้างแล้ว
  • สนใจฝึกเลียนเสียงพูด ซึ่งลูกจะเข้าใจคำพูดต่างๆ ได้ดี ถ้าคุณแม่ทำท่าทางประกอบด้วย เช่น อู้ย...หนาวจังเลย (ทำตัวสั่น) ร้อนจัง (หยิบพัดมาพัด) ยี้...เหม็น (ทำท่าบีบจมูก)  สิ่งสำคัญคือ คุณแม่ต้องพูดชัดถ้อยชัดคำ และเลี่ยงการพูดแบบเด็กๆ

ในช่วง 3 ปีแรก สมองเด็กพัฒนาถึง 85% การได้รับโภชนาการที่เหมาะสมและสมดุลเป็นสิ่งสำคัญมากในช่วงนี้ นอกจากเด็ก ๆ ต้องได้สารอาหารจากอาหารหลัก 5 หมู่แล้ว DHA ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มสมองและจอประสาทตา ถือว่าเป็นสารอาหารสำคัญต่อพัฒนาการของสมอง ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าเด็กๆ ควรได้รับ DHA วันละ 100 มก. ส่วน MFGM ซึ่งเป็นสารอาหารที่พบในน้ำนมแม่ก็เป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับเด็กวัยกำลังเจริญเติบโต เพราะช่วยพัฒนาสมอง และมีงานวิจัยที่สามารถพิสูจน์ว่าเด็กที่กินนมสูตรเสริม MFGM มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงขึ้น อาการเจ็บป่วยลดลง การทำงานร่วมกันของ DHA และ MFGM จะส่งผลต่อร่างกายที่แข็งแรงและสมองที่ดี

MFGM

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ ด้านอารมณ์และสังคม

  •   ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสียงเอะอะ เรียกร้องความสนใจ หรือโยนสิ่งของซ้ำๆ เพื่อให้มีคนมาเก็บให้ หรือใช้นิ้วชี้ไปยังสิ่งของที่ต้องการให้คุณแม่หยิบให้
  • ยังมีอาการกลัวคนแปลกหน้าอยู่ เมื่อพบก็จะกอดแม่แน่นแต่ก็ยังมีแอบชำเลืองมองด้วยหางตาในลักษณะระวังตัวอยู่ ต่อเมื่อเริ่มรู้สึกปลอดโปร่งใจมากขึ้นจึงค่อยคลายมือที่กอดมาเป็นเกาะเกี่ยว หรืออยู่ใกล้ๆ แทน กระทั่งแน่ใจว่าแม่ไม่ไปไหน และคนแปลกหน้านั้นไม่เป็นภัยกับตน ลูกอาจจะยอมผูกมิตรกับคนแปลกหน้า
  • ลูกยังกลัวต่อวัตถุสิ่งของหรือสถานการณ์ต่างๆ ได้ เช่น กลัวเสียงเอะอะโวยวาย กลัวการอาบน้ำ กลัวความมืด กลัวสัตว์ เป็นต้น ความกลัวเป็นผลจากความสามารถในการจินตนาการของลูก ที่คุณแม่ต้องค่อยๆ ปลอบประโลมใจ และค่อยๆ คลายความรู้สึกกลัวนั้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป อดทน และใจเย็นค่ะ
  • การเล่นกับเด็กด้วยกัน จะเป็นลักษณะเล่นอยู่ในบริเวณใกล้ๆ กันมากกว่าเล่นด้วยกัน เรียกว่า แอบสังเกตกันและกัน และดูเหมือนว่า ของเล่นของคนอื่นจะน่าเล่นกว่าของตัวเอง จนบางครั้งอดใจไม่ไหวคว้าของเล่นเพื่อนมาเป็นของตัวเอง  ซึ่งคุณแม่ต้องคอยดูให้ดีๆ
  • ถ้ามีพี่ จะชอบเลียนแบบพี่และป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้ๆ และพยายามเล่นตามอย่าง ซึ่งคุณแม่ต้องคอยดูเรื่องความปลอดภัยด้วยเช่นกัน
  • ช่วงวัยนี้ ลูกมีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ บ่อย ถ้าถูกขัดใจจะโมโหและร้องไห้
  •   จะปฏิเสธด้วยการส่ายหัว  ฉะนั้นหากจะห้ามปรามให้คุณแม่เลือกห้ามเฉพาะที่จะก่อให้เกิดอันตรายกับเขา ด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่น แต่ถ้าบางอย่างดูแล้วไม่น่าห่วง ก็อาจปล่อยให้ลูกได้เล่นอย่างอิสระและเรียนรู้ด้วยตัวเองได้

          อย่าลืมว่า ลูกยิ่งเติบโตขึ้นเท่าใด เขาย่อมต้องการพื้นที่ที่จะได้เล่น ได้เรียนรู้อย่างอิสระเพื่อก่อรูปความคิดและตัวตน ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย โดยมีคุณพ่อคุณแม่คอยชื่นชมและให้กำลังใจเขาอยู่ใกล้ๆ แล้วพัฒนาการที่ดีรอบด้านของลูกจะเกิดได้ไม่ยากค่ะ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราเพื่อพบเคล็ดลับที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการในการเรียนรู้ของเขาได้ที่นี่  คลิก