เชื้อฮิบ ไวรัสอันตราย ต้นเหตุเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

  เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือก็คือ การติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อหลายชนิด รวมถึงการติดเชื้อจากไวรัส แบคทีเรีย เชื้อราและหนอนพยาธิ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ 

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

  สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบนั้นจะมีความเสี่ยงต่อเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นพิเศษ เนื่องจากว่าระบบภูมิคุ้มกันนั้นยังไม่แข็งแรงพอที่จะกำจัดเชื้อโรคบางชนิดได้ทำให้ไวรัสมีโอกาสที่จะเข้ามาในร่างกายได้ ซึ่งเยื่อบุสมองอักเสบนี้จะส่งผลกระทบกระทบต่อการใช้ชีวิตของเด็กในอนาคต อย่างเช่น สติปัญญาบกพร่อง ความพิการทางร่างกายและผลกระทบต่อเนื่องในอนาคต 

     เชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบมากที่สุดคือเชื้อ HIB  (Haemophilus Influenzae type B)  และเชื้อนิวโมคอคคัส ซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันได้แล้ว  และวัคซีนป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อนิวโมคอคคัส คือ วัคซีนไอพีดี ซึ่งนอกจากจะป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบแล้ว ยังสามารถป้องกันโรคติดเชื้อรุนแรงในกลุ่มโรคไอพีดี และโรคปอดบวมได้อีกด้วย

     เชื้อฮิบเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางเดินหายใจ เข้าสู่จมูกและลำคอ และสามารถแพร่กระจายสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่ ผิวหนัง หู ปอด เยื่อหุ้มหัวใจ เยื่อหุ้มสมอง และไขสันหลัง เชื้อฮิบยังเป็นสาเหตุของโรคฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ (Epiglottitis) ทำให้ฝาปิดกล่องเสียงบวม อักเสบ ซึ่งทำให้เกิดอาการเจ็บคอ กลืนอาหารลำบาก และถ้ามีอาการบวมมาก อาจไปปิดกั้นหลอดลม ทำให้หายใจลำบากจนถึงหายใจไม่ออก และอาจต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน

   เด็กที่เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะมีอาการเป็นไข้สูง ปวดหัวอย่างรุนแรง ร้องไห้ ไม่ยอมดูดนม คลื่นไส้ อาเจียน และบางรายนั้นอาจมีความผิดปกติเกี่ยวข้องกับระบบประสาทได้ เช่น ชักเกณ็ง ความสามรถในการเรียนรู้สิ่งต่างๆลดลง และอาจมีสภาวะพร่องไทรอยด์ ปัญญาอ่อน 

    เพื่อที่จะป้องกันลูกน้อยให้ปลอดภัยจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ คุณแม่จำเป็นต้องนำลูกน้อยไปรับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสฮิบ ลูกน้อยสามารถรับวัคซีนนี้ได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือนจนถึง2ปี แต่ควรรับวัคซีนตั้งแต่อายุยังน้อยที่สุด โดยจำนวนที่จะต้องได้รับคือ 1-3 เข็มแต่ละเข็มห่างกัน  2 เดือน 

MFGM is an essential nutrient found in breast milk and MFGM fortified milk.