คุณแม่มักเป็นห่วงเสมอว่า สิ่งที่ตัวเองทำนั้นดีที่สุดแล้วสำหรับลูกหรือยัง โดยสามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมของลูกที่โรงเรียน แต่ยังคงมีทักษะอื่นๆ ที่มีผลต่ออนาคตของพวกเขา และมีความสำคัญพอๆ กับความรู้จากโรงเรียน

นอกจากการพัฒนาที่สมวัยแล้ว ทักษะต่างๆ เหล่านี้เป็นทักษะที่ลูกควรมีติดตัวเพื่อการดำเนินชีวิตและเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต ข่าวดีก็คือคุณแม่และคุณพ่อสามารถช่วยพัฒนาทักษะเหล่านี้ให้ลูกได้ทันที เพื่อให้พวกเขาพร้อมสำหรับทุกโอกาส หรือปัญหาที่จะเข้ามาในอนาคต

1. การทำงานเป็นทีม

การเฝ้ามองลูกเล่นกับเด็กคนอื่นๆ ได้มองดูลูกสื่อสารกับ เพื่อนร่วมกลุ่มและภายในทีม นั้นเป็นความสุขของคน เป็นพ่อเป็นแม่

ตามงานวิจัยระบุว่าเด็กที่มีทักษะทางสังคมสูงในช่วงวัยเด็กมากเท่าไหร่ จะมีโอกาสโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ ที่ประสบความสำเร็จมากกว่า และเด็กที่เรียนรู้วิธีการ อยู่ร่วมกับผู้อื่น จะรู้จักการแบ่งปัน และช่วยเปิดโลกใบเดิม ของลูกให้กว้างขึ้น ทักษะนี้สอนให้ลูกเปลี่ยนความคิดที่มีแค่ “ตัวเรา” มาเป็น “พวกเรา”

คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยสนับสนุนการปลูกฝังทักษะนี้ได้ ด้วยการเริ่มจากให้ลูกรับผิดชอบหน้าที่ภายในบ้านร่วมกับ สมาชิกคนอื่นๆ หรือทำกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อนๆ อย่าลืมที่จะให้คำชมลูกทุกครั้งที่เขาใส่ใจดูแลคนอื่น นี่จะช่วยกระตุ้นให้ลูกเรียนรู้ทักษะดังกล่าวได้ง่ายขึ้น

2. เห็นใจผู้อื่น

เหตุการณ์ที่แสดงถึง “ความเห็นใจผู้อื่น” ได้ชัดเจนที่สุดคือ เมื่อลูกเห็นเพื่อนร้องไห้แล้วพวกเขาก็เริ่มร้องไห้ตาม แสดงว่าลูกสามารถเข้าใจและรับรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่นได้อย่างดีแล้ว เพราะลูกไม่มีความคิดแบบ “โลกหมุนรอบตัวฉัน” จึงมีความรู้สึกสงสาร เห็นอกเห็นใจสอนให้เชื่อมต่อกับคนอื่นๆ รอบข้าง

พ่อแม่ส่วนใหญ่ เมื่อเห็นลูกของตัวเองร้องไห้จะรีบเข้าไปปลอบทันที โดยไม่สนใจที่มาของปัญหาว่าอะไรทำให้ลูกต้องร้องไห้ แน่นอนว่าเป็นการกระทำที่เข้าใจได้ พ่อแม่ทุกคนก็คงเป็นแบบนั้น แต่ในคราวหน้าคุณพ่อคุณแม่ลองหยุดและหาที่มาของสิ่งที่ทำให้ลูกเสียใจ และลูกเองก็มีเวลาเรียนรู้จากเหตุการณ์นั้น และเรียนรู้แนวทางการปลอบตัวเอง

เมื่อลูกโตพอที่จะสื่อสารได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถลองใช้ประโยคเหล่านี้เพื่อการสื่อสารเมื่อลูกพบเจอความเสียใจ “พ่อ/แม่สังเกตเห็นว่าลูกกำลังเสียใจ/เจ็บปวด/กลัว อยากเล่าให้พ่อ/แม่ฟังมั้ย?” แน่นอนบ่อยครั้งคำตอบคือ ลูกไม่อยากเล่า แต่การถามแบบนี้เรื่อยๆ ทำให้ลูกรู้สึกมั่นใจว่า คุณพ่อคุณแม่จะอยู่เคียงข้างเขาเสมอและเริ่มเปิดใจที่จะเล่ามากขึ้น

แน่นอนว่าข้อควรปฏิบัติเหล่านี้ ไม่เพียงแต่ใช้กับลูกของคุณเท่านั้น แต่รวมถึงเด็กๆ คนอื่นๆ ด้วย อย่าลืมว่าการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นนั้น เป็นการลองมองปัญหาจากมุมของผู้อื่น ไม่ได้หมายถึงเราต้องแก้ปัญหาเหล่านั้นให้

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

3. สมาธิมั่นคง

ความสามารถในการจดจ่อกับงานที่ทำหรือโปรเจคที่กำลังเริ่มนั้น เป็นทักษะที่หาได้ยากมากในปัจจุบัน แม้แต่ในผู้ใหญ่เองก็ตาม ด้วยสิ่งล่อตาล่อใจมากมาย ความสามารถในการมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นทักษะ ที่เราทุกคนควรพัฒนาด้วย

แล้วทักษะนี้มีประโยชน์ต่อลูกอย่างไร การทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกัน อาจทำให้บางคนมีภาระมากเกินตัว หากสามารถ ทำสมาธิจดจ่ออยู่กับงานใดงานหนึ่งได้ จะช่วยให้สามารถทำงาน ยากได้มีประสิทธิภาพมากกว่าด้วยเวลาที่น้อยกว่า

ยิ่งไปกว่านั้นทักษะนี้สอนให้ลูกจดจ่ออยู่ที่ปัจจุบัน มากกว่าจมอยู่กับเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต และไม่กังวลกับอนาคตมากจนเกินไป เมื่อพวกเขาจดจ่อกับสถานการณ์ที่อยู่ตรงหน้า และใช้สติในการควบคุม ก็จะแก้ปัญหาเหล่านั้นได้

คุณพ่อคุณแม่ควรสนับสนุนลูก จากการฝึกให้ลูกเก็บของเล่นชิ้นที่เล่นอยู่ก่อนเล่นอันใหม่ หรือให้งานเป็นผู้ช่วยซื้อของ ด้วยการตามหาสิ่งของภายในร้านขายของให้กับคุณ

4. ความสามารถในการแก้ปัญหา

ความสามารถในการแก้ปัญหานั้น เป็นทักษะที่ลูกต้องใช้ในชีวิตประจำวันของเขา เริ่มตั้งแต่การแก้ปัญหาง่ายๆ เช่น การเลือกของเล่นชิ้นใหม่ หรือทำอย่างไรเมื่อเจอกลุ่มเด็กจอมแกล้ง ทักษะนี้ถ้าถูกใช้งานบ่อยครั้งและจะเฉียบคมขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป อย่าลืมว่าการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นนั้น เป็นการลองมองปัญหาจากมุมของผู้อื่น ไม่ได้หมายถึงเราต้องแก้ปัญหาเหล่านั้นให้

รู้ไหมว่า ลูกดูคุณพ่อคุณแม่เป็นตัวอย่าง เพราะสำหรับลูกแล้วคุณเป็นผู้ที่รอบรู้ในทุกๆ เรื่อง แม้ว่าการห้ามใจไม่ให้เข้าไปช่วยลูก แก้ปัญหานั้นจะทำได้ยาก แต่หากคุณสามารถฝึกทักษะดังกล่าวให้ลูกได้ จะเป็นทักษะที่จะช่วยเขาตัดสินใจเรื่องต่างๆ และแน่นอนว่า เป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้ที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำในอนาคต

คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มฝึกทักษะนี้ได้ ด้วยการให้ลูก ได้เล่นของเล่นที่มีแนวทางของคำตอบแบบเปิดและปิด เช่น เกมต่อภาพ การต่อบล็อกไม้ ต่อตัวต่อหรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่มีอยู่ภายในบ้าน เช่น แกนทิชชู่ กล่องใส่รองเท้า การเล่นลักษณะนี้ ฝึกลูกให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ฝึกให้พวกเขานำสิ่งที่มีอยู่มาใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

หรือเมื่อใดก็ตามที่มีคำถามให้ลูกตอบหรือตัดสินใจเลือก ให้เวลาลูกสักนิด เพื่อให้ลูกได้คิดหาคำตอบเหล่านั้นด้วยตัวเอง แน่นอนว่าการฝึกแบบนี้ต้องใช้เวลา แต่ผลที่ได้จะคุ้มค่าการรอคอย แน่นอน

5. การสื่อสาร

หนึ่งในความทรงจำของคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ (ที่ไม่ค่อยอยากจำเท่าไหร่นัก) ก็คือ เวลาที่เจ้าตัวเล็กร้องไห้โดยไม่รู้ว่าสาเหตุ ถึงอย่างนั้นการร้องไห้ก็เป็นทักษะการสื่อสารเพียงอย่างเดียว ที่ลูกสามารถสื่อสารได้เมื่อเขายังเด็ก (เพิ่มเติม Understanding Your Baby's Cries)

แต่ในท้ายที่สุดแล้วคุณพ่อคุณแม่ก็จะเข้าใจถึงเหตุผลและการสื่สารของเจ้าตัวเล็ก ไม่เพียงแต่เสียงเท่านั้น แต่ผ่านทางการแสดงออกทางร่างกายด้วย คุณพ่อคุณแม่ สามารถช่วยเสริมทักษะการสื่อสารให้ลูกได้ ด้วยการสนับสนุน ให้ลูกสื่อสารมากขึ้น ผ่านการพูดด้วยการใช้เกมชี้เป็นสื่อกลาง เช่น พูดแล้วให้ลูกชี้ว่ามันคืออะไร หากลูกยังอยู่ใน วัยเด็กอ่อนอยู่ เริ่มจากคำง่ายๆ อย่างเช่น นม หรือของเล่น จะดีที่สุด

การเป็นผู้สื่อสารที่ดีแน่นอนว่าต้องเป็นผู้รับสารที่ดีเช่นกัน ทักษะนี้จะเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญที่จะช่วยให้ลูกมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นในอนาคต

การฝึกฝนทักษะทั้ง 5 นี้ให้แก่ลูก ต้องใช้ทั้งเวลาและความใส่ใจ อาจจะเป็นเวลานานเกือบทั้งชีวิตของคุณพ่อคุณแม่ แต่ผลที่จะเกิดขึ้นมันช่างคุ้มค่า ซึ่งการสอนสิ่งเหล่านี้กับลูกก็เหมือนสอนสิ่งเหล่านี้ไห้ตัวเราเองด้วย และอย่าลืมว่าสิ่งที่จะเป็นสิ่งที่ จะกำหนดอนาคตของเขา ดังนั้นทำใจให้สบายเตรียมตัวให้พร้อมในฐานะครูคนแรก และคนที่สำคัญที่สุดของลูกน้อยด้วย

ดาวน์โหลดฟรี! แอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์

หากคุณแม่ต้องการข้อมูล เคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตลอดช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์ คำแนะนำด้านโภชนาการ และรับสิทธิประโยชน์เพื่อลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์จนถึง 3 ปี คุณสามารถสมัครสมาชิก Enfa Smart Club ผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์ฟรี ที่นี่ Enfa A+ Genius Baby