ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ต้องไปฝากครรภ์เมื่อไหร่ และการฝากครรภ์ต้องทำอย่างไรบ้าง

การฝากครรภ์ และขั้นตอนการฝากครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณแม่ควรรู้

ถึงเวลาที่คุณแม่ต้องไปเข้ารับการฝากครรภ์

การฝากครรภ์ คือ การตรวจเพื่อให้แน่ใจว่าคุณแม่และทารกในครรภ์มีสุขภาพดี แข็งแรงตลอดการตั้งครรภ์จนถึงกำหนดคลอด ถ้าพบสิ่งผิดปกติในระหว่างการฝากครรภ์หรือการตรวจ คุณแม่ก็สามารถปรึกษารับคำแนะนำจากแพทย์ พยาบาลหรือบุคลากรทางสาธารณสุขได้และรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

ควรเข้ารับการฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี

คุณแม่หลายท่านคงคิดว่าแล้วควรเริ่มการฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี คุณแม่ควรฝากครรภ์กับคุณหมอทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์ เพราะเมื่อฝากครรภ์จะต้องมีการตรวจสุขภาพ ตรวจประวัติของคุณแม่ หากพบว่ามีปัญหาทางสุขภาพเกิดขึ้นที่อาจมีผลกระทบต่อลูกในครรภ์ เช่นโรคเบาหวาน (Diabetes) โรคลมชัก (Epilepsy) ฯลฯคุณหมอจะได้ทำการรักษาหรือดูแลอย่างอย่างใกล้ชิด

การฝากครรภ์ และขั้นตอนการฝากครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณแม่ควรรู้

คุณหมอตรวจอะไรบ้าง เมื่อฝากครรภ์

  • ตรวจปัสสาวะ

    สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อไปฝากครรภ์ ก็คือการตรวจปัสสาวะ เพื่อดูว่ามีน้ำตาลในปัสสาวะบ้างหรือไม่ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณแม่ไม่ได้เป็นเบาหวานแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ และดูว่ามีโปรตีนหรือไม่ ถ้ามีจะบ่งว่าไตทำงานไม่ปกติ ถ้าตรวจพบในช่วงหลังของครรภ์ร่วมกับมีความดันโลหิตสูง แสดงว่ามีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะมีอาการครรภ์เป็นพิษ

  • ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง

    จะมีการวัดส่วนสูง ซึ่งเป็นการบอกคร่าวๆ ถึงขนาดเชิงกราน ถ้าคุณแม่ตัวเล็ก ก็อาจทำให้คลอดยากได้ ถ้าไม่ได้สัดส่วนกับขนาดของลูก และคุณแม่อาจต้องชั่งน้ำหนักทุกครั้งเมื่อมาฝากครรภ์ เพื่อดูว่าน้ำหนักเพิ่มตามเกณฑ์หรือไม่

  • ตรวจเลือด

    เมื่อไปฝากครรภ์ คุณแม่จะต้องถูกเจาะเลือดที่บริเวณข้อพับประมาณ 10 ซีซี.เพื่อนำไปตรวจดูความเข้มข้นของเลือด ส่วนประกอบของเลือด กรุ๊ปเลือดโรคเลือดธาลาสซีเมีย และตรวจหาโรคติดเชื้อบางอย่าง เช่น ไวรัสตับอักเสบซิฟิลิส หัดเยอรมัน และเอดส์

  • วัดความดันโลหิต

    จะมีการวัดความดันโลหิตทุกครั้งที่มาฝากครรภ์ โดยจะมีตัวเลข 2 ค่าค่าแรกเป็นความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัวดัน ให้โลหิตสูบฉีดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ส่วนค่าหลังเป็นความดันโลหิต ขณะที่หัวใจคลายตัวค่าความดันปกติจะราว 120/70 มิลลิเมตรปรอท และหากวัดค่าได้เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท จะถือว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง

  • ตรวจทางหน้าท้อง

    การฝากครรภ์จะมีการตรวจหน้าท้องของคุณแม่เพื่อดูท่าของทารกว่าอยู่ท่าใด ส่วนนำเป็นศีรษะหรือไม่ ประมาณขนาดและน้ำหนักของทารกในครรภ์ เพื่อตรวจให้แน่ใจว่าท่าของทารกไม่เป็นอันตรายต่อตัวทารกเองและตัวคุณแม่เองด้วย

หลังจากที่คุณแม่ได้เข้ารับการฝากครรภ์เรียบร้อยแล้ว การตรวจครรภ์ในระยะสัปดาห์ท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ จะตรวจดูเพื่อให้แน่ใจว่าศีรษะของทารกลงสู่อุ้งเชิงกรานของแม่แล้ว เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อทารกและคุณแม่เอง คุณแม่จึงควรไปฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่ามีการตั้งครรภ์นะคะ

ผลิตภัณฑ์แนะนำ

บทความที่แนะนำ

เคล็ดลับคุณแม่ตั้งครรภ์
พัฒนาการลูกน้อยตลอด 9 เดือน
ตั้งครรภ์ 1-40 สัปดาห์ กับ พัฒนาการลูกน้อย
Enfa Smart Club

Leaving page banner

 

Leaving page banner