- หน้าแรก
- ปัญหา 'access denied'
คุณแม่ทราบกันหรือไม่ว่า กว่า 70% ของเด็กมีอาการไม่สบายท้อง โดยอาการไม่สบายท้องต่าง ๆ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำกับเด็กทุก ๆ คน เพราะระบบย่อยอาหารของเด็กนั้น ยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์เหมือนกับของผู้ใหญ่ ทำให้ย่อยโปรตีน และแลคโตสได้ไม่หมด เกิดเป็นแก๊สในระบบทางเดินอาหาร และก่อให้เกิดอาการไม่สบายท้อง ไม่ว่าจะเป็นอาการท้องผูก ท้องอืด จุกเสียด อาเจียน แหวะนม ร้องกวน โคลิก จนไปถึงปัญหาการขับถ่าย
คุณแม่ทุกคนทราบกันดีว่า นมแม่เป็นสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย และยังย่อยได้ง่าย จึงเหมาะสำหรับระบบย่อยอาหารของเด็กเล็ก ที่ยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ แต่ในบางครั้ง คุณแม่อาจจะมีความจำเป็นไม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้ และต้องหาทางเลือกอื่นเพื่อมาทดแทนนมแม่ การเลือกโภชนาการที่ย่อยง่ายจึงเข้ามาเป็นตัวเลือกสำคัญ เพื่อช่วยลดอาการไม่สบายท้องต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกน้อยได้
คุณแม่ทราบกันหรือไม่ว่า กว่า 70% ของเด็กมีอาการไม่สบายท้อง โดยอาการไม่สบายท้องต่าง ๆ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำกับเด็กทุก ๆ คน เพราะระบบบ่อยอาหารของเด็กนั้น ยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์เหมือนกับของผู้ใหญ่ ทำให้ย่อยโปรตีน และแลคโตสได้ไม่หมด เกิดเป็นแก๊สในระบบทางเดินอาหาร และก่อให้เกิดอาการไม่สบายท้อง ไม่ว่าจะเป็นอาการท้องผูก ท้องอืด จุกเสียด อาเจียน แหวะนม ร้องกวน โคลิก จนไปถึงปัญหาการขับถ่าย
คุณแม่ทุกคนทราบกันดีว่า นมแม่เป็นสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย และยังย่อยได้ง่าย จึงเหมาะสำหรับระบบย่อยอาหารของเด็กเล็ก ที่ยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ แต่ในบางครั้ง คุณแม่อาจจะมีความจำเป็นไม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้ และต้องให้นมผงสำหรับเด็กทดแทนนมแม่ การเลือกนมที่ใช่ และเป็นนมย่อยง่ายจึงเข้ามาเป็นตัวเลือกสำคัญ เพื่อช่วยลดอาการไม่สบายท้องต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกน้อยได้
เพราะระบบบการย่อยอาหารที่ดี ไม่มีอาการไม่สบายท้อง ส่งผลให้เด็กๆ สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีสะดุด ทำให้พัฒนาการด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พัฒนาการทางสมอง สามารถเติบโตได้เต็มที่ สังเกตได้ว่า หากเด็กๆย่อยอาหารได้ดี ไม่มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย จะส่งผลให้เด็กมีอารมณ์ดี พัฒนาการทั้งทางร่างกายและสมองได้อย่างเต็มที่
ในน้ำนมแม่ มีสารอาหารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “MFGM” หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนม (Milk Fat Globule Membrane) ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด อย่างสปิงโกไมอิลีน ฟอสโฟไลปิด แกงกลิโอไซต์ เป็นต้น ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยเสริมสร้าง IQ และ EQ ของลูกน้อยให้เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก
ไม่เพียงช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยเท่านั้น แต่ MFGM ที่พบในน้ำนมแม่ยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกันของทารกให้แข็งแรง และยังเป็นโภชนาการที่เหมาะสมกับระบบขับถ่ายของลูกน้อยได้อีกด้วย
หากคุณแม่พบว่า ลูกน้อยไม่ถ่ายตามปกติ บางครั้งถ่ายยาก แถมอุจจาระยังมีเนื้อแข็ง ลักษณะแบบนี้ บ่งบอกว่าลูกน้อยอาจจะท้องผูก ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว อาการท้องผูกในเด็กเล็ก จะเกิดกับเด็กที่กินนมผง เนื่องจากระบบย่อยไม่คุ้นชินกับการย่อยนมผง ที่มีโมเลกุลของโปรตีนขนาดใหญ่ และย่อยยากกว่านมแม่
อาการแบบไหนที่บอกว่าลูกมีอาการท้องผูก
สำหรับอาการท้องผูกในเด็กเล็ก นอกจากการไม่ถ่ายตามปกติแล้ว ยังมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย ได้แก่
• ลูกน้อยอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งในสัปดาห์
• มีอาการร้องไห้ งอแง ดูไม่สบายตัวก่อน หรือระหว่างถ่ายอุจจาระ หรือเหมือนใช้แรงเบ่งเวลาถ่าย
• ลักษณะอุจจาระแห้ง แข็ง เป็นก้อน หรือมีลักษณะเป็นเม็ด
• อุจจาระมีกลิ่นแรง เหม็นกว่าปกติ
• ลูกน้อยอาจจะมีความอยากอาหาร หรือหิวน้อยกว่าปกติ
อาการท้องผูกในเด็กโต ก็จะมีอาการคล้าย ๆ กันกับเด็กเล็ก คุณแม่สามารถสังเกตได้ คือ ขับถ่ายน้อย เช่น 3 – 4 วัน ครั้ง ใช้เวลาถ่ายนาน อุจจาระแข็ง หรือบางครั้งมีเลือดปน รวมทั้งเด็กมีอาการเจ็บปวดเวลาเบ่งอุจจาระอีกด้วย
นอกจากนี้ หากคุณแม่พบว่าลูกน้อยมีอาการอุจจาระเล็ดราด เปื้อนกางเกง อาจจะเป็นสัญญาณของภาวะท้องผูกเรื้อรังได้เช่นกัน สาเหตุเกิดจากการมีอุจจาระคั่งค้างในไส้ตรงที่เชื่อมต่อกับถวารหนักมากเกินกว่าที่จะรับได้ ทำให้อุจจาระบางส่วนไหลออกมา โดยเด็กจะไม่รู้สึกปวดอุจจาระ
4 วิธีที่จะช่วยลูกน้อยบรรเทาจากอาการท้องผูก
1. การนวดท้อง: การนวดท้องสามารถช่วยกระตุ้นให้ลำไส้เกิดการเคลื่อนที่ โดยนวดอย่างเบา ๆ บริเวณหน้าท้องของลูกน้อย วันละหลายครั้ง
2. ขยับ หรือเคลื่อนไหวร่างกาย: นอกจากการนวดท้องแล้ว การขยับร่างกายลูกน้อย ยังช่วยกระตุ้นลำไส้ให้เกิดการเคลื่อนที่ได้เช่นกัน ด้วยการจับลูกน้อยนอนราบกับพื้น ยกขาทั้งสองข้างขึ้น ทำท่าปั่นจักรยาน
3. เปลี่ยนนม: ในกรณีที่คุณแม่มีความจำเป็นต้องให้นมผง เพื่อทดแทนนมแม่ คุณแม่ควรเลือกนมที่มี PHP (Partially Hydrolyzed Protein) หรือโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน ทำให้มีโมเลกุลขนาดเล็ก ย่อยได้ง่าย และดูดซึมได้ดี จึงช่วยลดอาการไม่สบายท้องได้ดีภายใน 24 ชั่วโมง ทำให้อุจจาระของลูกน้อยมีลักษณะที่อ่อนนุ่ม ไม่แข็ง และขับถ่ายได้ง่าย
4. ปรับเปลี่ยนอาหาร: สำหรับเด็กเล็กที่เริ่มกินอาหารเสริมเพิ่มเติม นอกเหนือจากนมแม่ ลองปรับเปลี่ยนอาหาร เป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของไฟเบอร์จำนวนมาก เช่น แอปเปิล ลูกแพร์ ลูกพรุน รวมทั้งให้น้ำดื่ม เสริมเพิ่มเติมประกอบกับมื้อที่ให้นม ก็จะช่วยแก้ปัญหาอาการท้องผูกได้
ในกรณีเด็กโตมีอาการท้องผูก คุณสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องของลูกน้อยได้ โดยปรับเปลี่ยนอาหารการกิน เน้นอาหารที่ประกอบไปด้วยไฟเบอร์ เช่น ผัก และผลไม้ต่าง ๆ นอกจากนี้ หมั่นให้ลูกน้อยดื่มน้ำให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ รวมทั้งการออกกำลังกาย ก็สามารถช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อาการยอดฮิตที่ลูกน้อยเป็นได้บ่อยนั่นคือ ลูกมีอาการจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ โดยลูกน้อยจะแสดงอาการงอแง ร้องไห้กวนโยเย หรือนอนไม่หลับ เพื่อบอกถึงอาการไม่สบายท้องที่เกิดขึ้น โดยสาเหตุของอาการเหล่านี้ เกิดจากการมีแก๊ส หรือลมสะสมในกระเพาะอาหารของลูกน้อยมากเกินไป ซึ่งเป็นผลมาจากระบบย่อยอาหารของเด็กเล็กยังทำงานไม่สมบูรณ์ และยังรวมไปถึงปัจจัยเหล่านี้
• การร้องไห้เป็นเวลานาน: การร้องไห้เป็นเวลานาน จะทำให้ลูกน้อยกลืนอากาศเข้าไปในระหว่างการร้องไห้เป็นจำนวนมาก
• การดื่มนมช้า หรือเร็วเกินไป: คุณแม่ที่ประสบปัญหาหัวนมบอด น้ำนมไหลช้า จะทำให้มีโอกาสที่ลูกน้อยจะกลืนอากาศเข้าไปในระหว่างการดื่มนม และยังสามารถเกิดขึ้นได้กับการใช้จุกขวดนม นอกจากนี้ การกลืนนมเร็วเกินไป ก็ส่งผลให้เกิดการสะสมของแก๊สในกระเพาะได้เช่นกัน
• ดื่มนมที่มีฟองอากาศ: สำหรับคุณแม่ที่มีความจำเป็นต้องให้นมผง เพื่อทดแทนการให้นมแม่ ในระหว่างการผสมนมกับน้ำ อาจจะมีฟองอากาศเกิดขึ้น ทำให้ลูกน้อยกลืนฟองอากาศเข้าไประหว่างการดื่มนม
• การรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส: สำหรับเด็กเล็กที่เริ่มรับประทานอาหารแข็งได้แล้ว การรับประทานอาหารบางชนิดอาจจะทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาการได้ เช่น พืชตระกูลถั่ว กะหล่ำปลี บล็อคโคลี ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เป็นต้น
วิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยให้ลูกน้อยสบายตัวเมื่อมีอาการจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ
คุณแม่สามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้น เพื่อช่วยให้ลูกน้อยบรรเทา หรือลดอาการจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้ดังนี้
• จัดท่าให้นมที่ถูกต้อง และจับลูกไล่ลมทุกครั้งหลังกินนม: เพื่อไม่ให้ลม หรืออากาศเข้าไปอยู่ในท้องของลูกน้อย หลีกเลี่ยงการให้ลูกดื่มนมช้า หรือเร็วเกินไป หากคุณแม่ให้นมโดยการเข้าเต้า ควรจัดท่าให้เหมาะสม หมั่นดูแลหัวนมไม่ให้บอด ในกรณีใช้ขวดนม ควรเลือกหัวนมที่เหมาะกับแต่ละช่วงอายุ หรือในคุณแม่ที่มีความจำเป็นต้องให้นมผง เพื่อทดแทนนมแม่ เมื่อผสมนมเสร็จแล้ว ควรปล่อยให้ฟองอากาศแตกตัวเสียก่อน และในขณะให้นมควรยกศีรษะให้อยู่สูงกว่าลำตัวเล็กนอก และเมื่อให้นมเสร็จ คุณแม่ควรจับลูกไล่ลม เพื่อให้เรอออกมาทุกครั้ง
• รักษาความสะอาดอุปกรณ์ให้นม: ใส่ใจ และพิถีพิถันในการล้าง จัดเก็บอุปกรณ์ในการให้นม ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปั๊มนม ขวดนม จุกนม เป็นต้น เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค ที่อาจจะส่งผลให้ลูกน้อยเกิดอาการท้องอืด และท้องเฟ้อได้
• หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะ: สำหรับเด็กเล็กที่กินนมแม่ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกที่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร อาทิ ถั่วชนิดต่าง ๆ ผักบางชนิด เช่น กระเทียม กะหล่ำปลี หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น
• ปรับเปลี่ยนนม: หากในกรณีที่คุณแม่มีความจำเป็นต้องให้นมผง ทดแทนการให้นมแม่ คุณแม่อาจจะลองเปลี่ยนนมเป็นนมสูตรย่อยง่าย ที่มี PHP โปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน และมีน้ำตาลแลคโตสต่ำกว่านมสูตรปกติ ซึ่งจะเหมาะสมกับระบบการย่อยที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ของลูกน้อย นมประเภทนี้จะช่วยให้ลูกกลับมาสบายท้อง ไม่มีปัญหาจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ
อาการที่ลูกน้อยอาเจียน และแหวะนม มีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมาก ซึ่งบางครั้งคุณแม่เอง ก็ยังไม่สามารถแยกออกได้ชัดมากนัก ว่าลูกน้อยของเราอาเจียน หรือแหวะนมกันแน่ ยิ่งในช่วงที่ลูกน้อยยังอยู่ในวัยที่ให้นมเพียงอย่างเดียว อาเจียน หรือแหวะนม ก็ดูมีลักษณะที่เหมือนกัน
คุณแม่สามารถแยกการอาเจียน และแหวะนม ออกกันได้ เพียงสังเกตอาการ หรือปฏิกิริยาของลูกน้อยหลังจากแสดงอาการออกมาได้ง่าย ๆ ดังนี้
• อาเจียน: อาการอาเจียน เป็นอาการที่กระเพาะขับอาหารออกอย่างรุนแรง หากลูกน้อยมีอาการอาเจียน หลังจากที่เขาอาเจียนแล้ว จะแสดงอาการหงุดหงิด ร้องไห้ อารมณ์เสีย
• แหวะนม: แหวะนม เป็นอาการที่กระเพาะดันอาหารไหลออกจากปาก ซึ่งหากลูกน้อยมีอาการแหวะนม หลังจากที่เขาแหวะนมแล้ว เขาจะไม่ได้แสดงอาการอะไร หรือไม่ได้ใส่ใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเขาเอง และยังสามารถทำกิจกรรมที่ทำอยู่ต่อเนื่องไปได้
ทำไมลูกน้อยถึงอาเจียน และแหวะนม
อย่างที่เราทราบกันดีว่า ระบบย่อยอาหารของเด็กเล็กจะยังทำงานไม่เต็มที่ และยังคงต้องใช้เวลาในการพัฒนาอวัยวะในระบบต่าง ๆ อาการอาเจียน และแหวะนม เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งสามารถแยกสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ ดังนี้
อาเจียน |
แหวะนม |
• แพ้นม หรือแพ้อาหาร
การอาเจียน อาจจะเป็นอาการบ่งบอกว่าลูกมีอาการแพ้นม หรือแพ้อาหาร ไม่ว่าจะจากสารอาหารที่คุณแม่กินเข้าไป ผ่านออกมาทางน้ำนม หรือในเด็กบางคนที่คุณแม่มีความจำเป็นต้องให้นมผง ทดแทนนมแม่ อาจจะมีอาการแพ้โปรตีนนมวัว หรือแพ้น้ำตาลแลคโตสก็ได้
นอกจากนี้ ในเด็กเล็กที่เริ่มกินอาหารเสริมทดแทน นอกจากนมแม่ หรือเด็กโต ที่สามารถกินอาหารปกติ ทั่วไปได้แล้ว อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า มีการแพ้อาหารบางอย่างที่กินเข้าไป
|
• กินนม หรืออาหารมากไป หรือเร็วเกินไป
การที่ลูกน้อยกินนม หรืออาหารมากไป รวมทั้งเร็วเกินไป อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแหวะนม เนื่องจากกระเพาะอาหารของเด็ก ยังมีขนาดเล็ก การรับอาหารมากเกินไป ทำให้กระเพาะ ไม่สามารถรองรับได้ทั้งหมด |
• กินนม หรืออาหารมากไป หรือเร็วเกินไป
หากหลังการให้นม หรือกินอาหาร ลูกมีอาการอาเจียนออกมา อาจจะเป็นไปได้ว่า เขาได้รับนม หรืออาหารมากไป หรืออาจจะกินเร็วเกินไป จนระย่อยอาหารไม่สามารถทำงานได้ทัน
|
• แพ้นม หรือแพ้อาหาร
สาเหตุเดียวกันกับการอาเจียน การแพ้นม หรือแพ้อาหารสามารถทำให้เกิดอาการแหวะนมได้ ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่คุณแม่กินเข้าไป และไหลผ่านทางน้ำนม นมผง หรืออาหารเสริมเพิ่มเติมตามวัย
|
• การถูกกระตุ้น
เด็กเล็ก และเด็กโต สามารถอาเจียนได้จากการถูกกระตุ้น เช่น การไอ และการกิน หรือลิ้มรสอาหารที่ไม่ชอบ
|
• การกลืนอากาศเข้าไป
หากระหว่างการให้นม ลูกน้อยกลืนอากาศเข้าไปพร้อมกันด้วย ก็สามารถก่อให้เกิดอาการแหวะนมได้ |
• เมารถ
อาการเมารถสามารถเกิดขึ้นกับเด็ก เหมือนที่เกิดกับผู้ใหญ่ อาการอาเจียน อาจจะมีสาเหตุมาจากอาการเมารถได้เช่นกัน
|
• กรดไหลย้อน
ในเด็กบางรายที่มีอาการแหวะนม อาจจะเกิดจากกรดไหลย้อน ซึ่งหากเป็นด้วยสาเหตุนี้ ให้สังเกตอาการ หรือปฏิกิริยาหลังจากการแหวะนม เช่น หงุดหงิด งอแง หรือแสดงอาการไม่สบายตัว เป็นต้น
|
จะดูแลลูกน้อยที่มีอาการอาเจียน และแหวะนมอย่างไร
หลักจากที่คุณแม่หาสาเหตุเบื้องต้นได้แล้วว่า เพราะอะไรถึงทำให้ลูกน้อยมีอาการอาเจียน และแหวะนม ควรลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาหาร และการดูแล ตามสาเหตุ เช่น อาจจะลองปรับเปลี่ยนปริมาณ หรือจังหวะการให้นมที่เหมาะสมกับลูกน้อย หรือการปรับเปลี่ยนอาหาร สำหรับเด็กโต ก็มีส่วนช่วยในการป้องกันไม่ให้เกิดการอาเจียน หรือแหวะนมได้
นอกจากนี้ ในคุณแม่ที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ และจำเป็นต้องให้นมผงทดแทนนมแม่ การเลือกสูตรนมผงให้เหมาะกับลูกน้อย ก็อาจจะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้ เช่น การใช้นมสูตรย่อยง่าย ที่มี PHP (Partially Hydrolyzed Protein) หรือโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน ซึ่งมีโมเลกุลขนาดเล็ก ทำให้ย่อยได้ง่าย และดูดซึมได้ดี จึงช่วยลดอาการแหวะนมได้ถึง 36% ใน 24 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม การอาเจียน และแหวะนมเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ และเป็นเรื่องปกติ แต่หากเกิดการอาเจียน ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ผื่นขึ้น ตัวร้อน ท้องเสีย ปวดท้อง อาเจียนปนเลือด เป็นต้น ควรรีบพาลูกน้อยนำส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการรักษาโดยด่วน
คุณแม่อาจจะรู้สึกสับสน และกังวลเมื่อลูกน้อยร้องไห้ไม่หยุด หรือนอนไม่หลับ สาเหตุอาจจะเกิดจากอะไรก็ได้ เมื่อลูกน้อยแสดงอาการแบบนี้ ลองเช็กสาเหตุที่อาจจะเป็นคำตอบของการร้องไห้ หรือนอนไม่หลับ ได้แก่
• ลูกหิวหรือไม่
• ต้องการเปลี่ยนผ้าอ้อม
• เบื่อหน่าย หรือเหนื่อยล้า
• ต้องการให้อุ้ม หรือกอด
• มีสิ่งเร้ารอบตัวมากเกินไป เช่น ลมแรง แสงสว่าง เสียงดัง เป็นต้น
• อากาศร้อน หรือเย็นมากเกินไป
หากลองเช็กสาเหตุข้างต้น และทำการแก้ไขแล้ว ลูกน้อยไม่มีอาการ หรือไม่แสดงท่าทีว่าจะหยุดร้อง หรือนอนหลับ สาเหตุต่อไปที่คุณแม่ควรมองหาคือ อาการไม่สบายท้องต่าง ๆ ได้แก่ อาการจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ปวดท้อง นอกจากนี้ ลูกน้อยอาจจะแสดงอาการงอแง หรือร้องไห้หลังจากการอาเจียนได้อีกด้วย รวมไปถึงเด็กที่ภาวะกรดไหลย้อน
รู้จักกับ “โคลิก” อาการที่เขาว่า เด็กเห็นผี
อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยร้องไห้ คืออาการโคลิก ในบางบ้านอาจจะเข้าใจว่า โคลิกเป็นอาการของเด็กที่เห็นผี หรือแม่ซื้อ ซึ่งในทางการแพทย์แล้วก็ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ว่า เกิดขึ้นจากอะไร บ้างก็สันนิษฐานว่า อาการโคลิกน่าจะเกี่ยวข้องกับปัญหาระบบย่อยอาหารที่ยังทำงานไม่ได้เต็มที่ เลยทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่สบายตัว
ลักษณะอาการของลูกน้อยที่มีอาการโคลิก จะร้องไห้โดยฉลับพลัน และร้องไห้เป็นเวลานาน อาการโคลิกจะเกิดกับเด็ก อายุตั้งแต่แรกเกิด จนไปถึงอายุประมาณ 4 – 6 เดือน อาการโคลิกก็จะหยุดไปเอง คุณแม่สามารถสังเกต และแยกอาการโคลิก ออกจากการร้องไห้ปกติได้ ดังนี้
• ลูกน้อยจะร้องไห้แบบฉับพลัน อย่างไม่มีสาเหตุ สามารถร้องไห้ได้ยาวนานถึง 3 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวัน และร้องไห้อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ รวมทั้งร้องไห้ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ขึ้นไป
• เวลาร้องไห้ จะแสดงอาการเหมือนเจ็บปวด ทั้งกำหมัด แอ่นหลังขึ้น และยกเข่าขึ้นมาชิดหน้าท้อง
• หน้าแดงเวลาร้องไห้
• ไม่ว่าจะยกอุ้ม ปลอบ กล่อม ลูกน้อยก็ไม่หยุดร้องไห้
เมื่อลูกมีอาการร้องกวน ร้องไห้ไม่หยุด หรือเป็นโคลิก ควรทำอย่างไร
ในกรณีที่ลูกน้อยมีอาการร้องกวน งอแง หรือร้องไห้ไม่หยุด ลองแก้ไขด้วยการเช็กลูกน้อยไปทีละจุด เช่น ดูว่าลูกหิวหรือไม่ ต้องการเปลี่ยนผ้าอ้อม มีสิ่งเร้ารอบตัวมากเกินไปหรือเปล่า หรืออากาศทำให้ไม่สบายตัว เป็นต้น หากปรับแก้แล้วยังพบว่าลูกน้อยยังร้องไห้อยู่ ให้ลองสังเกตอาการไม่สบายท้องต่าง ๆ อย่าง ท้องผูก ท้องอืด จุดเสียด หรือสำหรับเด็กในช่วงแรกเกิดเป็นต้นไป อาจจะพบอาการโคลิกร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม คุณแม่สามารถบรรเทาอาการร้องกวน ร้องไห้ไม่หยุด รวมทั้งโคลิก ด้วยวิธีเหล่านี้ได้
• หมั่นจับลูกเรอ หลังจากให้นมเสร็จ นอกจากนี้ เวลาให้นม คุณแม่ควรให้นมในลักษณะที่เอียง ตั้งขึ้น หรืออุ้มลูกนั่ง เพื่อให้นมได้ไหลลงกระเพาะได้ง่าย ลดอากาศที่จะหลุดเข้าไปในกระเพาะจนทำให้เกิดอาการไม่สบายท้อง นอกจากนี้ คุณแม่ที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ และจำเป็นต้องให้นมผงทดแทนนมแม่ การเลือกสูตรนมผงให้เหมาะกับลูกน้อย อย่างนมสูตรย่อยง่าย ที่มี PHP (Partially Hydrolyzed Protein) โปรตีนผ่านการย่อยบางส่วน ซึ่งมีโมเลกุลขนาดเล็ก ทำให้ระบบย่อยอาหารของลูก สามารถย่อยได้ง่าย และดูดซึมได้ดี ก็จะช่วยลดอาการร้องกวนได้ 33% ใน 24 ชั่วโมงด้วยเช่นกัน
• ระหว่างที่ลูกร้องไห้ ให้อุ้มลูกน้อยชิดกับหน้าอก เพื่อให้เขาได้ยินเสียงหัวใจเต้นของคุณแม่ หรือลองโยกตัวเบาระหว่างที่อุ้มลูกร่วมด้วย ก็ได้เช่นกัน
• ใช้การอาบน้ำอุ่น และการนวด เพื่อให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย
• สร้างบรรยากาศรอบข้างให้สงบ เนื่องจากอาจจะมีสิ่งเร้ารอบตัวมากเกินไป เช่น ลมแรง แสงสว่าง เสียงดัง เป็นต้น พยายามสร้างสภาพแวดล้อมที่หลีกเลี่ยงการรบกวน หรือสร้างความอ่อนไหวให้กับลูกน้อย เช่น ปิดเสียงทีวี หรี่ไฟ ปรับอุณหภูมิในห้องไม่ให้ร้อน หรือเย็นเกินไป เป็นต้น
อาการไม่สบายท้องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการท้องผูก ท้องอืด ท้องเฟ้อ จนไปถึงอาเจียน หรือแหวะนม ต่างเป็นอาการที่สร้างความไม่สบายตัวให้กับลูกน้อย เกิดการร้องไห้ ร้องกวน งอแงตามมา ซึ่งจะส่งผลให้ลูกมีอารมณ์ไม่ดี หงุดหงิดกับอาการไม่สบายท้องที่เกิดขึ้น และทำให้การเรียนรู้ของลูกน้อยสะดุด มีพัฒนาการการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ที่ไม่ต่อเนื่อง ส่งผลเสียทั้งทางสุขภาพ และพัฒนาการไปพร้อม ๆ กัน
อาการไม่สบายท้องป้องกันได้ รู้จักกับโภชนาการที่ย่อยง่ายตัวช่วยให้ท้องสบาย ขับถ่ายคล่อง เพื่อการเรียนรู้แบบไม่สะดุดนมแม่นั้นเป็นอาหารล้ำค่าที่ไม่เพียงจะอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญหลายชนิด แต่ยังดีต่อระบบการย่อยอาหารของลูกน้อยที่ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ แต่ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ และต้องหาทางเลือกอื่นเพื่อมาทดแทนนมแม่ การเลือกโภชนาการที่เหมาะสมกับระบบย่อยที่ยังไม่สมบูรณ์ของลูกน้อยจึงเป็นสิ่งสำคัญ คุณแม่ควรเลือกโภชนาการที่ย่อยง่ายที่มีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้
• มีโปรตีนผ่านการย่อยบางส่วน หรือ PHP (Partially Hydrolyzed Protein): โปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วนจะมีขนาดโมเลกุลเล็กลง ทำให้ย่อยง่าย และถูกดูดซึมที่ลำไส้ได้ง่ายขึ้น มีงานวิจัยรองรับว่า PHP ช่วยลดอาการไม่สบายท้อง ลดแก๊ส ลดร้องกวน ลดอาการแหวะนมได้ภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อลูกสบายท้อง ก็จะช่วยให้นอนหลับได้ดีมีคุณภาพ ซึ่งเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา นอกจากนี้ PHP ยังช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มคงตัว ไม่แข็ง ทำให้ขับถ่ายได้ง่าย
• มีปริมาณน้ำตาลแลคโตสต่ำกว่าโภชนาการปกติ: การมีน้ำตาลแลคโตสในปริมาณน้อย จะช่วยลดอาการท้องเสียจากการย่อยแลคโตสผิดปกติ
• อุดมด้วยสารอาหารสำคัญเพื่อพัฒนาการที่ก้าวล้ำ: โภชนาการทั้งหมดที่เลือกไม่เพียงแต่จะต้องมีโปรตีนที่ย่อยง่าย แต่ยังควรมีสารอาหารสำคัญนานาชนิด ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการที่รอบด้านของลูกน้อย ทั้งพัฒนาการสมอง (IQ และ EQ) ภูมิคุ้มกัน และระบบทางเดินอาหาร อาทิเช่น MFGM เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันที่พบในนมแม่ และ DHA
เพราะอาการไม่สบายท้องพบได้มากถึง 70% ไม่ว่าจะเป็นอาการท้องอืด ร้องกวน แหวะนม ท้องผูก ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้เขาไม่สบายตัว งอแง อารมณ์ไม่ดี แต่ยังเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของลูกน้อยด้วยเช่นกัน คุณสามารถป้องกันและลดอาการเหล่านี้ได้ เพียงเลือกโภชนาการที่ย่อยง่าย เพื่อให้ลูกท้องสบาย เรียนรู้ได้ไม่สิ้นสุด
สำหรับเด็กเล็กแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการถ่ายอุจจาระในช่วงแรก โดยหลังคลอด ลูกน้อยจะถ่ายอุจจาระที่เรียกว่า ขี้เทา เป็นระยะเวลา 2 – 3 วัน หลังจากนั้น อุจจาระก็จะเปลี่ยนสี เช่น สีเหลือง สีเขียว สีส้ม เป็นต้น โดยลูกน้อยจะมีความถี่ในการถ่าย ตามช่วงอายุ ดังนี้
ประเภทนม |
ช่วง 1 – 3 วันแรก หลังคลอด |
6 สัปดาห์แรก |
หลังเริ่มกินอาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่ |
เด็กที่กินนมแม่ |
ในช่วง 24 – 48 ชั่วโมงแรก จะอุจจาระออกมาเป็น สีเทา หรือขี้เทา และอุจจาระจะเปลี่ยนสีเป็น สีเขียว หรือเหลือง ในวันที่ 4 เป็นต้นไป |
อุจจาระนิ่ม หรือเหลว มีสีเหลือง อาจจะถ่ายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน ในเด็กบางคนอาจจะถ่าย 4 – 12 ครั้งต่อวัน หลังจาก 6 สัปดาห์ เด็กทารกจะถ่ายทุก ๆ 2 – 3 วัน
|
จะเริ่มถ่ายมากขึ้นจากเดิม และอุจจาระจะเปลี่ยนเป็นลักษณะที่แข็งขึ้น |
เด็กที่กินนมผง |
อุจจาระจะมีสีน้ำตาล หรือสีเขียว ในช่วงแรกอาจจะถ่ายอย่างน้อย 1 – 4 ครั้งต่อวัน หลังจาก 1 เดือนแรก เด็กทารกจะเปลี่ยนการถ่ายเป็นวันเว้นวัน
|
จะถ่ายประมาณ 1 – 2 ครั้ง ต่อวัน |
หากคุณแม่พบว่าลูกท้องผูก ลูกไม่ถ่ายหลายวัน คุณแม่สามารถบรรเทาอาการท้องผูกของลูกน้อยได้ ดังนี้
1. การนวดท้อง การนวดท้องสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ ซึ่งเหมาะสำหรับเด็กอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป โดยการนวดท้องจะช่วยกระตุ้นให้ลำไส้เกิดการเคลื่อนที่ คุณแม่สามารถนวดท้องให้ลูกน้อยได้ง่าย ๆ ด้วยการนวดเบา ๆ บริเวณหน้าท้อง หมุนเป็นวงกลมทวนเข็มนาฬิกา นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวร่างกาย อาทิ การจับนอนราบกับพื้น ยกขาทั้งสองข้างขึ้น ทำท่าปั่นจักรยาน ก็ช่วยได้เช่นกัน
2. เปลี่ยนนม ในกรณีที่คุณแม่มีความจำเป็นต้องให้นมผง เพื่อทดแทนนมแม่ คุณแม่ควรเลือกนมที่มี PHP (Partially Hydrolyzed Protein) หรือโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน ทำให้มีโมเลกุลขนาดเล็ก ย่อยได้ง่าย และดูดซึมได้ดี จึงช่วยลดอาการไม่สบายท้องได้เป็นอย่างดีภายใน 24 ชั่วโมง ทำให้อุจจาระของลูกน้อยมีลักษณะอ่อนนุ่ม ไม่แข็ง ขับถ่ายได้ง่าย
3. ปรับเปลี่ยนอาหาร สำหรับเด็กเล็กที่เริ่มกินอาหารเสริมเพิ่มเติม นอกเหนือจากนมแม่ รวมทั้งเด็กโตที่สามารถรับประทานอาหารแข็งได้เป็นปกติเหมือนกับผู้ใหญ่ ลองปรับเปลี่ยนให้ลูกกินอาหารที่มีไฟเบอร์ หรือเส้นใยประกอบมากขึ้น อย่างผัก และผลไม้ต่าง ๆ เช่น แอปเปิล ลูกแพร์ ลูกพรุน รวมทั้งหมั่นให้ลูกน้อยได้ดื่มน้ำให้เหมาะสมกับที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
นอกจากนี้ การออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกาย ยังสามารถช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากบรรเทาอาการเบื้องต้นแล้ว ไม่ได้ผล คุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวินิจฉัยสาเหตุ และทำการรักษาต่อไป
หากลูกน้อยมีอาการอาเจียนติดต่อกันเป็นเวลานาน 1 – 2 วัน อาเจียนบ่อยจนผิดปกติ หรืออาเจียนและมีไข้ร่วมด้วย อาจจะเป็นสัญญาณว่าลูกมีอาการติดเชื้อ หรืออาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ไม่ควรรักษาด้วยตัวเอง
โดยปกติแล้ว เด็กเล็กในวัยที่ยังไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นภาษาได้ จะใช้การร้องไห้เป็นการสื่อสารกับคนรอบข้าง เพื่อบอกสิ่งที่ต้องการ หรือสิ่งที่ทำให้ไม่สบายตัว โดยสาเหตุที่ลูกร้องไห้ มีด้วยกันหลายสาเหตุ เช่น
• หิว
• อึดอัด ไม่สบายตัว ต้องการเปลี่ยนผ้าอ้อม
• เบื่อหน่าย เหนื่อยหล้า ต้องการให้มีคนมาปลอบ กอด อุ้ม หรือเล่นด้วย
• มีสิ่งเร้ารอบตัวมากเกินไป เช่น แสงสว่าง ลม อากาศ
• มีอาการไม่สบายท้อง เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ปวดท้อง
• หากเกิดขึ้นกับเด็กเล็กในวัยระหว่างแรกเกิด – 6 เดือน อาจจะเป็นโคลิก
มหาหิงค์คือยาชนิดหนึ่ง ซึ่งมีส่วนผสมของชันน้ำมัน หรือยางจากลำต้น และรากของพืชในตระกูล Ferula โดยมีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ คุณแม่สามารถใช้มหาหิงค์บรรเทาอาการข้างต้นได้ ด้วยการชุบสำลี ทาที่หน้าท้อง รอบสะดือ ต้นขา และฝ่าเท้าของลูกน้อย
อย่างไรก็ตาม การใช้มหาหิงคุ์เป็นการช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง เป็นการบรรเทาอาการชั่วคราว คุณแม่ควรบรรเทาอาการเหล่านี้ ด้วยการหาสาเหตุที่แน่ชัด เช่น
• หากลูกท้องอืด ท้องเฟ้อ จากการดื่มนมเร็ว หรือช้าไป ทำให้กลืนอากาศเข้าไปด้วย ควรปรับเปลี่ยนท่าให้นม หรือจุกขวดนมที่เหมาะสม ในกรณีที่คุณแม่มีความจำเป็นต้องให้นมผง เพื่อทดแทนนมแม่ ระหว่างการผสมนมควรปล่อยให้ฟองอากาศที่เกิดขึ้นระหว่างการชงแตกตัวเสียก่อนที่จะให้ลูกน้อยดื่ม
• หมั่นจับลูกเรอทุกครั้ง หลังการกินนมเสร็จ เพื่อเป็นการระบายแก๊สที่สะสมออกจากกระเพาะ
• หลีกเลี่ยงอาการที่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะ สำหรับแม่ที่ให้นมลูก หรือเด็กเล็กที่สามารถเริ่มกินอาหารแข็งได้แล้ว การหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น ถั่วชนิดต่าง ๆ ผักบางชนิด ก็จะสามารถช่วยป้องกันอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้ ในกรณีที่คุณแม่มีความจำเป็นที่ทำให้ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ลูกได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง
• หากอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ของลูกน้อยไม่ดีขึ้น ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ และทำการรักษาต่อไป
บทความแนะนำ
ตอบคำถาม ทำไมลูกถึงนอนหลับยาก หรือตื่นบ่อย
ลูกถ่ายเหลว ถ่ายบ่อย ถ่ายทันทีหลังกินนม แบบนี้ท้องเสียหรือเปล่า
- Register bar
- Lazada bar
- Shop bar