เวลาที่ลูกยังเล็กมีอาการอาเจียนออกมาหลังจากกินนม กินอาหารหรืออยู่ๆ ก็อาเจียนออกมาดื้อๆ ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็บอกว่าอาเจียน ไม่น่าต้องเป็นห่วงขนาดนั้น เป็นอาการปกติของเล็กๆ ในวัยทารกถึง 3 ปี แต่บางครั้งถ้าอาเจียนแล้วมีสิ่งผิดปกติบางอย่างร่วมด้วย ให้รีบพาไปพบคุณหมอจะดีที่สุด
1. มีไข้สูง
ถ้าหลังจากอาเจียนแล้วมีไข้สูงมากกว่า 38 องศา โดยเฉพาะ ในเด็กๆ ต่ำกว่า 3 เดือน หรือมากกว่า 39 องศาในเด็ก 3-6 เดือน ถ้าอายุมากกว่า 6 เดือน อุณหภูมิของร่างกายจะไม่ได้บอกชัดเจน แล้วว่าเป็นอะไร ดังนั้นในเด็กเล็กถ้าอาเจียนพร้อมกับไข้สูง ให้เริ่มเตรียมตัวเฝ้าระวังให้ดี
2. มีอาการขาดน้ำ
ถ้าอาเจียนหลายรอบ ต้องระวังว่าเด็กเล็กๆ จะขาดน้ำได้ง่าย พยายามให้น้ำนมแม่เรื่อยๆ ตามที่ลูกต้องการ หรือป้อนน้ำให้จิบเรื่อยๆ สำหรับเด็กอายุเกิน 6 เดือน ให้ดูว่า
-
- ลูกเริ่มซึม
-
- ตาลึกโหล กระหม่อมบุ๋ม
-
- ร้องไห้จนไม่มีน้ำตา
-
- ปากแห้ง
-
- ไม่ปัสสาวะ หรือปัสสาวะออกมาสีเหลืองเข้มมากต้องรีบพาไปพบคุณหมอโดยด่วน
3. อาเจียนออกมาเป็นสีเขียว
แสดงถึงความผิดปกติและการติดเชื้อบางอย่าง
วิธีป้องกัน
-
- ให้ทุกคนในบ้านล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ รวมทั้งสร้างนิสัยต้องล้างมือกับสบู่บ่อยๆ และเช็ดมือให้แห้งอย่างถูกวิธี
-
- ถ้าเด็กๆ เริ่มโต จับนู่นนี่ได้ ก็ต้องล้างให้เด็กๆ เพราะไม่รู้เลยว่าเขาจะเอามือเข้าปากเมื่อไหร่
-
- ถ้าลูกๆ เข้าเนิร์สเซอรี่หรือมีไปโรงเรียนอนุบาลให้หยุดดูอาการเป็นเวลาอย่างน้อย 2 วันหลังจากมีอาการอาเจียน
-
- ไม่พาไปว่ายน้ำสระรวมกับคนอื่นเป็นเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากอาเจียน
-
- ระหว่างที่อาเจียนให้นมแม่หรืออาหารปรุงสุกได้ตามปกติ แต่เลี่ยงพวกน้ำผลไม้ในช่วงนี้ไปก่อน
ดาวน์โหลดฟรี! แอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์
หากคุณแม่ต้องการข้อมูล เคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตลอดช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์ คำแนะนำด้านโภชนาการ และรับสิทธิประโยชน์เพื่อลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์จนถึง 3 ปี คุณสามารถสมัครสมาชิก Enfa Smart Club ผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์ฟรี ที่นี่ A+ Genius Baby