ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ภาวะลิ้นติดในทารก

รู้จักกับ “ภาวะลิ้นติดในทารก”

คุณแม่เคยเจอปัญหาปัญหาในการให้นมลูก อย่าง เจ็บหัวนม มีรอยกด หรือรอยเป็นริ้ว ๆ บนหัวนมหลังลูกดูดนมแล้ว ได้ยินเสียงคล้ายกระเดาะลิ้นจากลูก รวมถึงน้ำหนักตัวลูกไม่ขึ้น หรือขึ้นช้า กันบ้างไหม? หากคุณแม่เคยเจอปัญหาเหล่านี้ อาจจะเป็นได้ว่า ลูกน้อยของเรามีอาการที่เรียกว่า “ภาวะลิ้นติด”

“ภาวะลิ้นติด” พังผืดใต้ลิ้นทารก คืออะไร

ภาวะลิ้นติด คือ ภาวะที่มีเนื้อเยื่อพังผืดใต้ลิ้นติดระหว่างใต้ลิ้น กับพื้นล่างระหว่างช่องปากผิดปกติ ทำให้เกิดข้อจำกัดในเคลื่อนที่ของลิ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในการดูดนมของลูก ภาวะนี้พบได้ในเด็กทารกแรกเกิด และเด็กที่มีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งภาวะลิ้นติดนี้ อาจจะดีขึ้นเองเมื่อเด็กโตขึ้น หรืออาจจะยังอยู่แต่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน

วิธีสังเกตพังผืดใต้ลิ้น ภาวะลิ้นติดในทารก

          - ลูกไม่สามารถเปิดปากกว้างพอได้ และเข้าเต้าได้ไม่ดี
          - ลูกมักเคี้ยวหัวนม มากกว่าดูด และใช้เวลาในการดูดนาน
          - มีการหยุดดูดในช่วงสั้น ๆ และกลับมาดูดต่อ รวมถึงมีเสียงดังคลิกขณะดูดนม
          - น้ำหนักของลูกน้อย หรือขึ้นช้ากว่าปกติ และหิวอยู่ตลอดเวลา
          - คุณแม่มีอาการเจ็บหัวนม หัวนมแตก มีรอยกด หรือรอยเป็นริ้ว ๆ บนหัวนม

หากพบปัญหาเหล่านี้ คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินอาการต่อไป เบื้องต้นแพทย์อาจจะยังไม่ได้แนะนำให้รักษาทันที รอดูอาการไปก่อน ยกเว้นในกรณีที่พังผืดใต้ลิ้นทารกมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น อาจจะทำให้มีปัญในการดูดนมระยะยาว ออกเสียงยากลำบาก หรืออาจจะส่งผลต่อสุขภาพอนามัยในช่องปากในอนาคต ก็อาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดต่อไป

 



บทความที่แนะนำ

ลูกตาแฉะ คุณแม่มือใหม่แก้ไขอย่างไรดี
เคล็ด (ไม่) ลับ เพิ่มน้ำนมแม่ให้ลูกน้อย
ฝึกพัฒนาการให้กับลูกน้อยด้วยการฝึกคว่ำ
Enfa Smart Club

Leaving page banner

 

Leaving page banner