ส่วนประกอบของนมแม่แต่ละช่วง
เรารับรู้กันดีว่า น้ำนมแม่นั้นมีประโยชน์ แต่คุณแม่มือใหม่อาจมีข้อสงสัยว่าเมื่อเวลาผ่านไป คุณค่าน้ำนมแม่นั้นจะยังคงอยู่เหมือนเดิมหรือไม่ ส่วนประกอบของน้ำนมแม่ในแต่ละระยะ มีด้วยกันทั้งหมด 3 ระยะ ดังนี้
-
ระยะน้ำนมเหลือง หรือหัวน้ำนม (colostrums) มีสีเหลืองข้น ซึ่งคือน้ำนมที่หลั่งช่วงระยะแรกหลังคลอด มีสารภูมิคุ้มกันในปริมาณสูง ได้แก่ แลคโตเฟอร์ริน(Lactoferrin) โปรตีนสำคัญที่ประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา จึงลดโอกาสเสี่ยงการติดเชื้อในระบบทาวเดินอาหาร หรืออาการท้องเสีย, secretary LgA, เม็ดเลือดขาว, ไลโซไซม์ (lysozyme) เอมไซม์ที่มีฤทธิ์ย่อยสลายผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรียทำให้เชื้อตาย และ bifidus growth factor สารช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของแล็กโตบาซิลัส ให้แบคทีเรียไม่สามารถอาศัยอยู่ในลำไส้ได้
นอกจากนี้ ยังมีวิตามินที่ละลายได้ในไขมันในปริมาณสูง ได้แก่ วิตามินเอ แคโรทีน และวิตามินอีสูงกว่านมแม่ปกติ และมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับขี้เทาและลดปัญหาตัวเหลืองของเด็กด้วย
-
ระยะน้ำนมปรับเปลี่ยน (Transitional milk) ระยะเปลี่ยนจากหัวน้ำนมเป็นน้ำนมแม่ (อยู่ในช่วง 4-10 วัน จนถึง 2 สัปดาห์หลังคลอด)
-
ระยะน้ำนมแม่ (Mature milk) ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ สารที่ช่วยระบบการย่อยและฮอร์โมนต่างๆ และสารที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องร่างกาย อาทิ Immunoglobulins, เม็ดเลือดขาว,โปรตีนต่างๆ ที่ช่วยต่อต้านเชื้อโรค
อย่างไรก็ตาม น้ำนมแม่ทุกระยะที่ร่างกายผลิตขึ้นมา จะมีสารอาหารที่ตรงตามความต้องการของทารกในแต่ละช่วงวัย รวมทั้ง แลคโตเฟอร์รินที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร, สารอาหารสมอง MFGM ซึ่งอุดมด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด และ DHA กรดไขมันจำเป็นต่อสมองและสายตา
ตารางเทียบส่วนประกอบของนมแม่ ระยะหัวน้ำนมกับน้ำนมระยะหลัง
สารอาหาร (ต่อ 100ซีซี) |
หัวน้ำนม |
น้ำนมระยะหลัง |
พลังงาน โปรตีน น้ำตาลแลคโตส ไขมัน |
58-67 2.3 5.3 2.9 |
70-75 0.9 7.3 4.2 |