เต้านมคุณแม่...ดูแลอย่างไร

       นอกจากการให้นมลูกน้อยแล้ว การดูแลเต้านมของคุณแม่มือใหม่ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน คุณแม่มือใหม่หลายท่านยังไม่ทราบถึงวิธีการดูแลเต้านมอย่างถูกมีวิธีว่ามีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air
  • อาบน้ำทำความสะอาดตามปกติ ซับให้เต้านมแห้งเสมอ  

  • หลีกเลี่ยงการใช้ครีมทาหัวนม เพราะจะไปอุดตันต่อมน้ำมันที่ลานนม และต้องเช็ดออกก่อนให้ลูกกินนมจากเต้า ซึ่งทำให้หัวนมและลานนมแห้งมากขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาหัวนมแตก

  • หลีกเลี่ยงการขัดถูที่หัวนม รวมถึงกำจัดไขมันบนหัวนม เพราะอาจทำให้เกิดแผลได้

  • ในกรณีที่คุณแม่มีเหงื่อออกมาก ก่อนให้นมลูกควรใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว  เช็ดรอบหัวนมและลานนม แต่ไม่จำเป็นต้องเช็ดทุกครั้ง เพราะอาจทำให้หัวนมแห้งแตกได้   

  • ระวังบริเวณหัวนมไม่ให้อับชื้น โดยรักษาหัวนมให้แห้งระหว่างมื้อให้นม ด้วยการซับแห้งด้วยผ้าสะอาดทุกครั้งหลังให้นมลูก หากหัวนมแห้งแตกอาจใช้น้ำนมทาให้ทั่วรอให้แห้งก่อนจึงสวมเสื้อ น้ำนมแม่มีคุณสมบัติเป็น moisturizer ชั้นดีช่วยรักษาความชุ่มชื้นของหัวนมไว้ สามารถป้องกันหัวนมแห้งแตกได้ 

  • สวมยกทรงที่มีขนาดพอดี เพื่อประคองเต้านมถ้ามีเต้านมใหญ่และหนัก ถ้าเต้านมมีขนาดเล็กอาจไม่จำเป็นต้องสวมยกทรง เพราะบางคนรู้สึกสะดวกที่ไม่ต้องสวมยกทรง 

  • ถ้ามีน้ำนมหยดไหล การใช้แผ่นซับน้ำนมที่ซักได้ จะระบายลมได้ดีกว่าทำความสะอาดง่ายกว่า และยังประหยัดและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย

  • ควรดูแลทำความสะอาดยกทรงอยู่เสมอ ยกทรงคุณแม่อาจเปียกชื้นจากเหงื่อและเปื้อนคราบนมตลอดเวลา จึงทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย ควรเปลี่ยนยกทรงทุกวัน  ซักทันทีที่ถอดออกและนำไปตากแดด เพื่อป้องกันเชื้อรา

  • หากมีอาการเจ็บคัดเต้านม ควรให้ลูกดูดนมซึ่งจะช่วยคลายอาการคัดตึงลงได้ แต่ถ้าลูกยังไม่อยากดูดนมในขณะนั้นคุณแม่ก็ควรปั๊มนมออกบ้าง เพื่อให้ต่อมน้ำนมผลิตน้ำนมอย่างต่อเนื่อง โดยอาจจะใช้มือบีบหรือใช้เครื่องปั๊มน้ำนมช่วย นอกจากนี้คุณแม่สามารถใช้น้ำแข็งประคบเพื่อลดอาการปวดได้ด้วยค่ะ

  • ถ้าคุณแม่มีอาการหนาวสั่น ประกอบกับมีไข้สูง และเวลากดเต้านมจะเจ็บเป็นบางจุด แสดงว่าเต้านมอาจมีการติดเชื้อ ควรงดให้ลูกน้อยดูดนม และรีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

 

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM