ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
แม่ป่วยขณะให้นม  ส่งผลต่อลูกหรือไม่

แม่เป็นหวัด ทารกจะติดไหม แม่ไม่สบาย ให้นมลูกได้ไหมนะ

Enfa สรุปให้

  • แม่เป็นหวัด ทารกจะติดไหม ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งหวัดและไข้ไม่สามารถติดทารกผ่านทางน้ำนมได้ แต่สามารถติดผ่านทางระบบหายใจได้ โดยแพร่เชื้อผ่านทางน้ำมูกและน้ำลาย หากคุณแม่ป้องกันไม่ดีก็อาจจะทำให้ลูกน้อยและครอบครัวติดไข้หวัดได้
  • แม่ให้นมลูกไม่สบาย ให้นมลูกได้ เนื่องจากเชื้อไข้หวัดจะไม่สามารถส่งผ่านน้ำนมแม่ได้ รวมทั้งคุณแม่ที่รับประทานยาแก้ไข้หวัด ตัวยาที่รับประทานเข้าไปจะส่งผ่านน้ำนมแม่น้อย ไม่ถึง 1% ทำให้น้ำนมแม่มีความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ยังมียาบางชนิด ที่คุณแม่ให้นมบุตรรับประทาน จะต้องหยุดให้นมลูกในขณะใช้ยาเหล่านั้น
  • หากคุณแม่ให้นมบุตรเป็นไข้หวัด ควรดูแลสุขภาพร่างกายด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไข้หวัด ด้วยการล้างมือบ่อย ๆ เวลาไอหรือจามควรปิดปากและจมูก หรือสวมใส่หน้ากากอนามัย และควรไปพบแพทย์ หากอาการไม่ดีขึ้น

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • แม่เป็นหวัดทารกจะติดไหม
     • แม่ไม่สบายให้นมลูกได้ไหมนะ
     • ข้อแนะนำในการใช้ยาสำหรับแม่ให้นมบุตร

ตอบคำถาม แม่เป็นหวัดทารกจะติดไหม หรือแม่เป็นไข้ลูกจะติดไหม


หากคุณแม่ให้นมลูกไม่สบาย แล้วมีความกังวลว่าเชื้อไข้หวัดจะติดผ่านน้ำนมไปไหม คำตอบคือ ไม่ค่ะ เพราะไข้หวัดจะไม่แพร่เชื้อผ่านทางน้ำนมได้ แต่จะสามารถแพร่ผ่านทางน้ำมูก น้ำลายได้ ซึ่งหากคุณแม่ป้องกันไม่ดี ลูกน้อยก็จะสามารถติดไข้หวัดได้ค่ะ นอกจากนี้ยังสามารถแพร่กระจายเชื้อให้กับคนอื่น ๆ ในบ้านได้อีกด้วย

กินยาแก้ไข้หวัดจะส่งผ่านน้ำนมหรือเปล่า ไม่สบายให้นมลูกได้ไหม?


คุณแม่มือใหม่หลายคนคงกำลังมีข้อสงสัยว่าหากไม่สบายให้นมลูกได้ไหม หรือเมื่อเป็นหวัดให้นมลูกจะเกิดอันตรายต่อลูกน้อยหรือไม่ เพราะในขณะให้นมลูก คุณแม่จะต้องกินยาหลายชนิดและกังวลว่าลูกจะได้รับผลกระทบจากยาที่ได้กินไป

ข้อเท็จจริงจากผู้เชี่ยวชาญอาจทำให้คุณแม่แปลกใจและคงโล่งอกในคราวเดียวกัน เพราะที่จริงแล้วกระบวนการผลิตน้ำนมของแม่ถูกธรรมชาติรังสรรค์มาให้มีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูงติดมาด้วย นั่นคือกว่าที่น้ำนมจะออกมาได้ต้องผ่านการกลั่นกรองจากผนังถึง 2 ชั้น คือ ผนังหลอดเลือดฝอย และผนังต่อมน้ำนม เมื่อแม่ต้องกินยา ปริมาณยาที่จะผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ได้จึงไม่ถึง 1% เท่านั้น

นอกจากนั้น ร่างกายของลูกเองก็มีระบบป้องกันพื้นฐาน เช่น น้ำลาย น้ำย่อย หรือเนื้อเยื่อคัดกรองต่างๆ ที่คอยสกัดกั้นยาไว้อีกระดับหนึ่ง ดังนั้นสำหรับคุณแม่ที่สงสัยว่าไม่สบายให้นมลูกได้ไหม หรือ เป็นหวัดให้นมลูกได้ไหม คำตอบคือ ถ้าคุณแม่เจ็บป่วยธรรมดา ก็สามารถกินยาได้อย่างปลอดภัย ยกเว้นหากมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง ที่ต้องได้รับยาเฉพาะทาง ก็อาจจำเป็นต้องหยุดให้นมลูกในขณะใช้ยาค่ะ

ข้อแนะนำในการใช้ยาสำหรับคุณแม่ที่ให้นมบุตร


คุณแม่หลายคนคงเริ่มสบายใจขึ้นบ้าง หลังจากได้รับข้อเท็จจริงของคำถามที่ว่าแม่เป็นหวัดทารกจะติดไหม ไม่สบายให้นมลูกได้ไหมไปเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ยังมีข้อควรระวังในการใช้ยาที่คุณแม่ควรรู้เช่นกัน เพราะถึงแม้ว่ายาจะผ่านเข้าสู่ร่างกายทารกได้ในปริมาณน้อยมาก

แต่ถ้าทำได้ เราสู้เลือกใช้ยาด้วยความระมัดระวัง ไม่ปล่อยให้ยาผ่านเข้าสู่ร่างกายลูกเลยย่อมดีกว่าค่ะ การส่งต่อนมแม่เป็นเรื่องสำคัญ คุณแม่ควรเช็คสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม

  • หากคุณแม่ที่เป็นหวัด คัดจมูก ควรบรรเทาอาการด้วยตัวเองก่อน เช่น กินอาหารที่มีวิตามินซีสูง ดื่มน้ำมากๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งในขณะที่คุณแม่เป็นหวัดให้นมลูกได้ตามปกติเช่นเดิม
  • ถ้าต้องไปพบคุณหมอ ควรแจ้งให้ทราบว่ากำลังให้นมลูกอยู่ และอาจสอบถามคุณหมออีกครั้งว่าไม่สบายให้นมลูกได้ไหม เพื่อให้คุณหมอยืนยันคำตอบที่ถูกต้องอีกครั้ง และทำการเลือกยาที่มีผลต่อการให้นมน้อยที่สุด
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด เช่น ยาบางตัวต้องกินติดต่อกันจนหมด บางตัวต้องกินหลังอาหาร ในระหว่างนั้นก็ควรสังเกตอาการของลูกด้วยว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่
  • ปกติยาจะมีปริมาณสูงสุดในกระแสเลือดหลังจากกินไปแล้วประมาณ 1-3 ชั่วโมง ฉะนั้น จึงควรกินยาหลังจากให้ลูกกินนมเสร็จทันที หรือเลือกช่วงที่ลูกหลับนานที่สุด เพื่อช่วยลดโอกาสที่ยาจะผ่านน้ำนมไปสู่ลูก
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อช่วยขับยาออกจากร่างกายได้ดีขึ้น
  • ถ้ามีอาการข้ออักเสบ เคล็ด ขัดยอก ควรใช้ยาทาภายนอกแทนยากิน
  • หากต้องใช้ยาที่ห้ามใช้ขณะให้นมลูก คุณแม่ควรบีบหรือปั๊มน้ำนมเก็บแช่แข็งไว้ให้ลูกล่วงหน้า ให้พอดีกับช่วงเวลาที่รักษา และระหว่างที่ต้องกินยาพร้อมกับหยุดให้นมชั่วคราว ก็ควรบีบหรือปั้มน้ำนมในขณะนั้นทิ้ง เพื่อให้เต้านมยังคงผลิตน้ำนมต่อไปได้
  • ถ้าจำเป็นต้องรักษาระยะยาว ลองพูดคุยปรึกษากับคุณหมอว่าจะหยุดให้นมแม่ชั่วคราวก่อนเพื่อรับการรักษาแล้วค่อยกลับมาให้นมลูกอีกครั้ง หรือเลื่อนการรักษาไปก่อนแล้วรอให้ลูกหย่านม (ในกรณีที่สามารถเลื่อนการรักษาได้) หรือต้องหยุดตลอดไป

เชื่อว่าคุณแม่ทั้งหลายคงได้คลายความสงสัยว่าไม่สบายให้นมลูกได้ไหม หรือ เป็นหวัดให้นมลูกได้ไหมกันแล้ว ถ้าหากคุณแม่เกิดอาการเจ็บป่วยขึ้นมา ก็อย่าลืมข้อควรระวังในการใช้ยาของคุณแม่ด้วยนะคะ เพื่อให้การกินยาในขณะที่ต้องให้นมลูกนั้นส่งผลกระทบต่อลูกน้อยน้อยที่สุดค่ะ

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน

แลคโตเฟอร์ริน โปรตีนในนมแม่ที่จะพบได้มากที่สุดในน้ำนมเหลือง หรือน้ำนมระยะแรกที่จะไหลออกมาใน 1-3 วันแรกหลังคลอด ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จึงช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย, MFGM เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนม ช่วยให้เซลล์ไขมันคงรูปอยู่ได้ในน้ำนม MFGM ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแต่เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสมองเด็ก และมีดีเอชเอ กรดไขมันที่ช่วยพัฒนาสมองเด็กนั่นเอง

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน


บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

ผลิตภัณฑ์แนะนำ

บทความที่แนะนำ

โภชนาการลูกน้อย อาหารเด็ก 1 ขวบ 9 เดือน
การกระตุ้น พัฒนาการลูกน้อย วัย 1 ปี 9 เดือน
Enfa Smart Club

Leaving page banner

 

Leaving page banner