หลังจากลูกกินนมอิ่มแล้วคุณแม่ก็มักจะคาดหวังว่า เจ้าตัวเล็กจะอิ่มและผล็อยหลับไป แต่ถ้าจู่ ๆ กลับพบว่าลูกน้อยมีอาการ สะอึก ขึ้นมา อาจทำให้คุณแม่รู้สึกตกใจและเป็นกังวลว่าการสะอึกของเจ้าตัวเล็กจะเป็นสัญญาณความผิดปกติอะไรไหม การที่ ทารกสะอึก จะก่อให้เกิดอันตรายที่รุนแรงหรือเปล่า และเมื่อลูกน้อยสะอึกแล้วจะมีวิธีรับมืออย่างไรได้บ้าง เอนฟา เข้าใจถึงความรักและความห่วงใยของคุณแม่เป็นอย่างดี จึงมีวิธีรับมือและทำความเข้าใจกับอาการสะอึกของเด็กทารกมาฝาก
รู้จักอาการเด็กแรกเกิดสะอึกเกิดจากสาเหตุใด?
อาการสะอึกถือเป็นเรื่องปกติที่มักเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย รวมถึงทารกด้วย สำหรับในวัยผู้ใหญ่หรือวัยรุ่น อาการสะอึกจะเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยทางด้านสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ชีวิต เมื่อเกิดอาการสะอึกขึ้นมาเพียงทิ้งไว้ซักพักอาการสะอึกจะหายไปเอง แต่สำหรับอาการทารกสะอึก จะเกิดขึ้นเพราะนมที่ดื่มเข้าไปทำให้กระเพาะอาหารขยายตัว จนเกิดแรงดันส่งไปยังกล้ามเนื้อกะบังลม เวลาหายใจออกกล้ามเนื้อกะบังลมจะมีการหดตัวอย่างรวดเร็วจนทำให้เกิดเป็นเสียงของออกมา หรือที่เราเรียกว่าอาการสะอึกของทารกนั่นเอง โดยการที่เด็กแรกเกิดสะอึกนั้น มักจะเกิดขึ้นหลังจากทารกอิ่มนมแล้ว
มาฟังคำอธิบายสั้นๆ จากพยาบาลต้อ จุฑามาศ จากทีมพยาบาล Enfa Smart Club กันค่ะ
ลูกสะอึกแบบไหนที่เป็นอันตราย
อาการทารกสะอึกถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้โดยปกติ และเมื่อลูกสะอึกไปได้ซักพักก็จะหยุดเอง ไม่เป็นอันตรายรุนแรงแต่อย่างใด กระทั่งทารกเริ่มโตขึ้นจนอายุได้ประมาณ 4-5 เดือน อาการสะอึกของเด็กทารกจะค่อย ๆ หายไป ไม่เกิดขึ้นบ่อยเหมือนในช่วงแรก ๆ อย่างไรก็ตาม หากลูกมีอาการสะอึกติดต่อกันนานเป็นชั่วโมง ควรรีบพาไปพบคุณหมอ เพราะอาการสะอึกที่เป็นอยู่อาจเกิดจากสาเหตุอื่นและเป็นอันตรายได้
นมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดของทารก และผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เด็กกินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน ในน้ำนมแม่มีสารอาหาร MFGM ที่ช่วงสร้างเสริมพัฒนาการเด็กได้ หากคุณแม่มีความจำเป็นที่ไม่สามารถให้เด็กกินนมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกนมผงสูตรเสริม MFGM เพื่อช่วยให้ลูกได้รับนมที่เหมาะสม
คุณแม่ควรรู้ เด็กทารกสะอึก วิธีแก้อย่างไร
การไล่ลมเมื่อลูกสะอึก
การไล่ลม เป็นหนึ่งในวิธีป้องกัน วิธีทำให้ทารกหายสะอึกได้อย่างเห็นผล อีกทั้งยังช่วยให้น้ำนมไหลออกจากกระเพาะอาหารได้เร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย โดยการไล่ลม สามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้
1. หลังลูกกินนมอิ่มแล้ว คุณแม่ต้องทำท่าจับลูกเรอ ให้ทารกเรอออกมาด้วยการจับท่านั่งหรืออุ้มพาด แล้วตบหลังเบา ๆ อย่างอ่อนโยน หรือวนมือเป็นวงกลมไปมาบริเวณท้องเพื่อไล่ลมออก ป้องกันไม่ให้ทารกสะอึก
2. อุ้มลูกพาดบ่า โดยให้ศีรษะของเด็กพาดอยู่บนไหล่ แล้วค่อย ๆ ลูบหลังเบา ๆ เพื่อช่วยให้น้ำนมที่ดื่มเข้าไปไหลออกจากกระเพาะอาหาร
3. อุ้มทารกนั่งบนตักแล้วเอนตัวเด็กไปข้างหน้าเล็กน้อย โดยใช้มือหนึ่งประคองคางของเด็กไว้ จากนั้นใช้อีกมือหนึ่งลูบจากหลังไล่ตั้งแต่เอวขึ้นมาจนถึงต้นคอเบา ๆ เพื่อทำการไล่ลม
กินนมแม่แก้อาการสะอึกในลูกน้อย
อีกหนึ่งวิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยบรรเทาอาการสะอึกของทารกให้ดีขึ้นได้ ก็คือการให้ลูกกินนมแม่จากเต้าโดยไม่ต้องดื่มน้ำตาม และควรระวังอย่าให้ลูกกินนมจากขวดบ่อย ๆ เพราะการดูดนมจากขวดจะยิ่งทำให้เด็กดูดเอาลมเข้าไปในกระเพาะอาหารมากขึ้น เสี่ยงที่จะทำให้เจ้าตัวเล็กสะอึกได้ การที่เด็กแรกเกิดสะอึกถือเป็นเรื่องธรรมชาติ เพราะหลังจากกินนมอิ่มทุกครั้งทารกจะมีอาการสะอึกกันเกือบทุกคน เพียงแต่คุณแม่ต้องเข้าใจถึงสาเหตุและเรียนรู้วิธีการรับมืออย่างถูกต้อง ก็จะทำให้คุณแม่คลายกังวล มองลูกกินนมอิ่มอย่างมีความสุขและเลี้ยงลูกน้อยได้อย่างสบายใจ
หากคุณแม่ต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมในการดูแลลูกน้อย เข้าร่วม Enfa A + Smart Club เพื่อรับคำแนะนำและความรู้ดี ๆ จากผู้เชี่ยวชาญ
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
- ลูกอาเจียน ลูกอ้วกบ่อย ทำยังไงดีนะ?
- ทารกท้องอืด ไม่สบายท้อง ร้องไห้โยเย แม่จ๋ารับมือยังไงดี
- ลูกร้องไห้ เพราะอาการโคลิก
- ลูกถ่ายเหลว ถ่ายบ่อย ถ่ายทันทีหลังกินนม แบบนี้ลูกท้องเสียใช่หรือเปล่า
- 9 เทคนิคลดอาการลูกแหวะนม
- นมแม่ สารพันประโยชน์ และคุณค่าดี ๆ จากอกแม่
- อาหารหลังคลอด ที่แม่ให้นมลูกห้ามกิน เลี่ยงได้เลี่ยง
- น้ำนมหด น้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหล จะกู้น้ำนมยังไงได้บ้าง
- รู้ไหม? นมแม่อยู่ได้กี่ชม. เก็บนมแม่ยังไงให้อยู่ได้นานๆ
- วิธีอุ่นนมแม่ อุ่นยังไงให้ถูกต้อง และน้ำนมไม่เสียคุณภาพ
- รู้จักนมสูตรย่อยง่าย เพื่อลูกน้อยถ่ายคล่อง ป้องกันอาการท้องผูก
- ภูมิแพ้ในเด็ก คุณแม่ควรรับมืออย่างไรเมื่อลูกน้อยเป็นภูมิแพ้