ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ท้อง 37 สัปดาห์ อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ท้อง 37 สัปดาห์ อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

Enfa สรุปให้

  • ท้อง 37 สัปดาห์ ลูกอยู่ท่าไหน ทารกจะมีความยาวประมาณ 20 นิ้ว หนักประมาณ 2.8-2.9 กิโลกรัม มีขนาดพอ ๆ กับผักชาร์ดขนาดใหญ่ หรือ สวิสชาร์ด (Swiss Chard)
  • ตั้งครรภ์ 37 สัปดาห์ พัฒนาการของทารกในระยะนี้จะเริ่มลดลง ไม่รวดเร็วเหมือนในช่วงที่ผ่านมา เพราะรกจะทำหน้าที่ได้ลดลง ทำให้การเจริญเติบโตของทารกเริ่มคงที่
  • ท้อง 37 สัปดาห์ อาการใกล้คลอด คุณแม่ควรสังเกตสัญญาณใกล้คลอดให้ดี หากมีอาการปวดท้องแรงขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มมีอาการน้ำเดิน มีมูกเลือด มูกใสไหลออกมา ปากมดลูกเริ่มเปิด ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • ท้อง 37 สัปดาห์ คลอดได้ไหม 
     • พัฒนาการเด็กในครรภ์สัปดาห์ที่ 37
     • การเปลี่ยนแปลงร่างกายคุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์
     • อาหารคนท้อง 37 สัปดาห์ ควรกินอะไรบ้าง
     • อาการคนท้อง 37 สัปดาห์ เป็นแบบไหน
     • ท้อง 37 สัปดาห์ มีนัดตรวจอะไรไหม
     • ท้อง 37 สัปดาห์ กับอาการใกล้คลอดที่ควรรู้
     • ท้อง 37 สัปดาห์ มีอาการแบบนี้ ปกติหรือไม่
     • ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์
     • ไขข้อข้องใจเมื่อท้อง 37 สัปดาห์ กับ Enfa Smart Club

ท้อง 37 สัปดาห์ อาการใกล้คลอด เริ่มปรากฎในคุณแม่หลายคนแล้วค่ะ ถือว่านี่คือช่วงเวลาที่รอคอยมานานถึง 9 เดือน ในที่สุดคุณแม่กับเจ้าตัวเล็กก็ได้พบหน้ากันสักที

แต่เอ๊ะ!... ถ้าสัปดาห์นี้คุณแม่ไม่คลอดถือว่าผิดปกติไหม ถ้ามีอาการปวดท้อง แต่ยังไม่คลอดล่ะ จะอันตรายหรือเปล่า ท้อง 37 สัปดาห์นี้มีเรื่องอะไรบ้างนะที่คุณแม่ควรจะต้องรู้

ท้อง 37 สัปดาห์ คลอดได้ไหม


สัปดาห์นี้คุณแม่หลายคน ท้อง 37 สัปดาห์ จะเริ่มมีอาการเจ็บท้องใกล้คลอด และมีการคลอดเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่คุณแม่ทุกคนที่จะได้คลอดลูกในสัปดาห์นี้ค่ะ บางคนอาจจะคลอดในสัปดาห์ถัดไป หรืออาจจะต้องรอไปอีกสัปดาห์ถึงจะมีการคลอดเกิดขึ้น

ท้อง 37 สัปดาห์ ลูกอยู่ท่าไหน

อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ลูกอยู่ท่าไหน ส่วนใหญ่อยู่ในท่ากลัวหัวลงเพื่อเตรียมพร้อมที่จะคลอดแล้วค่ะ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทารกทุกคนนะคะที่เริ่มกลับหัวในสัปดาห์นี้ มีทารกหลายคนที่อายุครรภ์ถึง 37 สัปดาห์แล้ว แต่ก็ยังไม่ยอมกลับหัว

ในกรณีนี้แพทย์จะช่วยหมุนทารกให้กลับหัวมาอยู่ในท่าที่ถูกต้อง หรืออาจพิจารณาให้ยาคลายกล้ามเนื้อมดลูก เพื่อให้ทารกหมุนตัวและกลับหัวได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าหากเด็กไม่ยอมกลับหัวจริง ๆ แพทย์อาจวินิจฉัยให้ทำการผ่าคลอด เพื่อความปลอดภัยของทารกและคุณแม่ค่ะ

อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือน

คุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ เมื่อเทียบเป็นจำนวนเดือนแล้วจะเท่ากับอายุครรภ์ 9 เดือน 1 สัปดาห์ค่ะ

พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ 37 สัปดาห์ เป็นอย่างไร


พัฒนาการของทารกในระยะนี้จะเริ่มลดลง ไม่รวดเร็วเหมือนในช่วงที่ผ่านมา นั่นเป็นเพราะว่าเมื่ออายุครรภ์ 37 สัปดาห์ขึ้นไป รกจะทำหน้าที่ได้ลดลง ทำให้การเจริญเติบโตของทารกเริ่มคงที่ และไม่ได้มีพัฒนาการที่เพิ่มมากขึ้นเหมือนก่อนหน้านี้

ขนาดทารกในครรภ์ 37 สัปดาห์ จะมีขนาดเท่าไหน

ท้อง 37 สัปดาห์ ลูกอยู่ท่าไหน จะมีความยาวประมาณ 20 นิ้ว มีขนาดพอ ๆ กับผักชาร์ดขนาดใหญ่ หรือ สวิสชาร์ด (Swiss Chard) ค่ะ

ท้อง 37 สัปดาห์ น้ำหนักลูก มีน้ำหนักเท่าไหร่

อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ น้ำหนักทารกจะอยู่ที่ประมาณ 2.8-2.9 กิโลกรัมค่ะ แต่ก็ทารกหลายคนที่อาจมีน้ำหนักแตะถึง 3 กิโลกรัมในสัปดาห์นี้ค่ะ

ท้อง 37 สัปดาห์ ลูกดิ้นมากแค่ไหน

ลูกดิ้นแบบไหนผิดปกติ ทารกอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ จะเริ่มดิ้นน้อยลงแล้วค่ะ เนื่องจากพื้นที่ในมดลูกมีไม่มากพอที่ทารกจะสามารถเคลื่อนไหวหรือขยับตัวได้อย่างอิสระเหมือนเคย

อย่างไรก็ตาม แม้ความถี่บ่อยในการดิ้นของทารกจะเริ่มลดลง แต่คุณแม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนับลูกดิ้นทุกวัน โดยควรจะนับได้ 10 ครั้งต่อวัน เมื่อนับครบ 10 ให้หยุดนับได้

แต่ถ้าหมดวันแล้วนับไม่ครบ 10 ครั้ง ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ได้ และถ้าหากในครึ่งวันเช้า ทารกดิ้นไม่ถึง 4 ครั้ง ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีโดยไม่ต้องรอจนถึงตอนเย็น

ท้อง 37 สัปดาห์ ลูกกลับหัวแล้วหรือยัง

ทารกอายุครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์ ส่วนมากจะกลับหัวอยู่ในท่าเตรียมคลอดแล้วค่ะ แต่ถ้าสัปดาห์นี้ทารกยังไม่ยอมกลับหัว แพทย์จะช่วยปรับท่าให้ทารกอยู่ในท่าพร้อมคลอด โดยอาจจะต้องมีการนวดปรับท่า การให้ยาคลายกล้ามเนื้อมดลูก

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเด็กไม่ยอมกลับหัวจริง ๆ แพทย์อาจวินิจฉัยให้ทำการผ่าคลอด เพื่อความปลอดภัยของทารกและคุณแม่ค่ะ

อวัยวะและระบบอื่น ๆ

การพัฒนาของอวัยวะและระบบต่าง ๆ ที่สำคัญของทารกในช่วงอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ จะเริ่มคงที่ และไม่ได้หวือหวา หรือรวดเร็วเช่นที่ผ่านมาค่ะ เพราะรกจะเริ่มทำหน้าที่ลดลง เพื่อที่จะเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด และทารกถึงเวลาที่จะต้องคลอดออกจากครรภ์แล้ว

          • ท้อง 37 สัปดาห์ คลอดได้ไหม ในระยะนี้ลูกน้อยพร้อมที่จะออกมาดูโลกได้ทุกขณะ แต่ถ้าปากมดลูกคุณแม่ยังไม่เปิด ทารกก็ยังจะสะสมไขมันต่อไปเรื่อย ๆ ระบบและอวัยวะต่าง ๆ ของทารกยังคงมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องไปจนครบกำหนดคลอด แต่จะไม่ได้พัฒนาแบบก้าวกระโดดเช่นที่ผ่านมา

          • ระหว่างสัปดาห์นี้หากทารกยังไม่กลับหัว ก็จะเริ่มเอาศีรษะลงมาถึงบริเวณกระดูกอุ้งเชิงกรานแล้ว

          • ทารกมีผมขึ้นเต็มศีรษะแล้ว

          • น้ำหนักของทารกจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะร่างกายมีการสะสมไขมันเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

เข้าใจการเปลี่ยนแปลงร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ 37 สัปดาห์


แม่หลายคนท้อง 37 สัปดาห์ อาการใกล้คลอด อาจต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายหลายอย่างในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

          • ยิ่งใกล้ถึงเวลาที่ลูกน้อยจะออกมาลืมตาดูโลก ก็ยิ่งทำให้คุณแม่อาจตื่นเต้นจนหลับไม่สนิท คุณแม่ควรทำใจให้สบายค่ะ ไม่ต้องกังวลจนเกินไป ควรหาเวลางีบหลับตอนกลางวัน เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนบ้าง

          • อาการเจ็บท้องเตือนในช่วงที่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์จะถี่ขึ้นเรื่อย ๆ และแต่ละครั้งกินเวลานานขึ้นด้วย เมื่อเข้าห้องน้ำอย่าลืมเช็กดูว่ามีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอดหรือไม่ มูกเลือดเป็นตัวบ่งบอกว่าปากมดลูกมีการคลายตัว แต่หากมีเลือดออกมาจากช่องคลอดมากผิดปกติให้รีบไปโรงพยาบาล

          • สิ่งสำคัญในช่วงของการตั้งครรภ์ 37 สัปดาห์ คือ คุณแม่ควรไปพบคุณหมอบ่อยขึ้นตามนัดคือ สัปดาห์ละครั้ง เพราะโรคแทรกซ้อนหลายอย่างมักเป็นตอนท้องแก่ เช่น ครรภ์เป็นพิษหรือ รกเสื่อมสภาพ

          • ช่วงนี้คุณหมออาจจะตรวจดูว่าปากมดลูกเปิดแล้วหรือยัง มีความบางตัวลงแล้วหรือยังและเด็กอยู่ในท่าไหน และตำแหน่งไหนแล้ว

อาหารคนท้อง 37 สัปดาห์ มีอะไรบ้างที่คุณแม่ควรกิน


สำหรับแม่ท้อง 37 สัปดาห์ ควรเน้นกินอาหารที่มีประโยชน์ หลากหลาย และครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละมื้อควรประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ รวมถึงธัญพืชต่าง ๆ ด้วย มากไปกว่านั้น ยังจำเป็นจะต้องเน้นกลุ่มสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ ได้แก่

          • ดีเอชเอ ช่วยพัฒนาทางสมอง ดวงตา และระบบประสาท ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ อาหารที่มีดีเอชเอสูง เช่น ปลาทะเล อโวคาโด ไข่แดง เป็นต้น

          • ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ ธาตุเหล็กพบได้มากในอาหารจำพวก เนื้อแดง ไข่แดง ตับ งา และผักสีเขียวเข้ม เป็นต้น

          • โฟเลต ช่วยในการพัฒนาของระบบประสาทและสมอง รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับระบบประสาทของทารกในครรภ์ โฟเลตพบได้มากในอาหารจำพวก ตับ ไข่ ผักใบเขียว และถั่วต่าง ๆ เป็นต้น

          • แคลเซียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันของแม่และทารกให้แข็งแรง แคลเซียมพบได้มากในอาหารจำพวกนม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น ชีส เนย หรือโยเกิร์ต เป็นต้น

          • ไอโอดีน ช่วยให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายปกติ ลดความเสี่ยงของโรคไทรอยด์ระหว่างตั้งครรภ์ ไอโอดีนพบในอาหารทะเลทุกชนิด เกลือไอโอดีน ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม กระเทียม หรืองา เป็นต้น

          • โคลีน ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะความบกพร่องที่ระบบท่อประสาทของทารกในครรภ์ โคลีน พบมากในอาหารจำพวกไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน แซลมอน ไก่ บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก เป็นต้น

          • โอเมก้า 3 ช่วยเสริมสร้างและดูแลสุขภาพหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน สมอง และดวงตา รวมถึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดด้วย โอเมก้า 3 พบได้มากในอาหารจำพวกปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอริ่ง และพืชตระกูลถั่ว เช่น เมล็ดแฟลกซ์ ถั่วพีแคน ถั่วเฮเซลนัท เป็นต้น

นอกจากการกินอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลายแล้ว คุณแม่ยังสามารถเสริมสุขภาพด้วยการดื่มนมค่ะ โดยสามารถเลือกนมที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นจำหรับคนท้อง เช่น มีแคลเซียมสูง อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก โฟลิก โคลีน เป็นต้น

ซึ่งการดื่มนมก็จะช่วยให้คุณแม่ยังได้รับสารอาหารจำเป็นในปริมาณที่เหมาะสม แม้ว่าในวันนั้นอาจจะกินอาหารได้น้อยลง

Enfamama TAP No. 1

อาการที่พบได้บ่อยของคุณแม่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์


อาการคนท้อง 37 สัปดาห์ที่สามารถพบได้โดยทั่วไป มีดังนี้

          • แรงกดดันจากศีรษะของทารกต่อกระดูกเชิงกรานและกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้คุณแม่ปวดปัสสาวะมากขึ้น

          • ท้อง 37 สัปดาห์ ปวดท้องเหมือนประจําเดือน มีอาการปวดช่องคลอด ท้อง37สัปดาห์ ปวดจิมิ ปวดเชิงกราน หรือปวดบริเวณทวารหนักเฉียบพลันบ่อย ๆ แต่จะอาการปวดจะอยู่แค่ชั่วครู่ก็ดีขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลมาจากเอ็นที่ยืดออก การเคลื่อนไหวของทารก และความกดดันจากทารกต่อเส้นประสาทในอุ้งเชิงกราน

          • ท้อง 37 สัปดาห์ ท้องแข็งบ่อยแต่ไม่ปวดท้อง มีอาการปวดหลังและปวดสะโพกมากขึ้น เพราะขนาดครรภ์โน้มออกมาข้างหน้ามากขึ้น และเส้นเอ็นเริ่มมีการคลายตัว ทำให้เกิดการบีบรัดหรือระคายเคืองเส้นประสาทไซอาติกในกระดูกสันหลังของคุณแม่ คุณจะรู้สึกปวดร้าวจากหลังส่วนล่างไปจนถึงหลังขาไปจนถึงเท้า

สัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์นี้ มีนัดตรวจอะไรไหม


สัปดาห์นี้แพทย์จะนัดคุณแม่เข้ามาทำการตรวจครรภ์เพื่อดูว่าทารกยังเจริญเติบโตตามปกติหรือไม่ ขนาดตัวทารกเป็นอย่างไร มีขนาดใหญ่เกินจนอาจจะต้องผ่าคลอดหรือเปล่า

มากไปกว่านั้น แพทย์จะดูว่าทารกเริ่มกลับหัวหรือยัง ถ้ายังไม่กลับหัว แพทย์จะช่วยปรับท่าเพื่อให้ทารกกลับหัว หรืออาจจะต้องให้ยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อกระตุ้นให้ทารกกลับหัว

แต่ถ้าหากคุณแม่มีอาการใกล้คลอดแล้ว ปากมดูกเปิดกว้างขึ้นเรื่อย ๆ แต่ทารกยังไม่ยอมกลับหัว แพทย์อาจจะวินิจฉัยให้ทำการผ่าคลอด เพื่อความปลอดภัยของแม่และทารกในครรภ์ค่ะ

ท้อง 37 สัปดาห์ อาการใกล้คลอด ที่คุณแม่ควรรู้!


ช่วงอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ หากคุณแม่พบว่ามีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ถือว่าเป็นสัญญาณใกล้คลอดค่ะ

          • มีอาการปวดท้องรุนแรง โดยอาจจุปวดท้องทุก ๆ 10-20 นาที แล้วเริ่มปวดถี่ขึ้นเป็นทุก ๆ 5-10 นาที และอาการปวดไม่ทุเลาลงเลย มีแต่ปวดแรงขึ้น ๆ
          • มีของเหลว หรือมูกใส ๆ หรือมูกปนเลือดไหลออกมาทางช่องคลอด
          • น้ำคร่ำแตก หรือน้ำเดิน คือมีของเหลวใส ๆ ไหลออกทางช่องคลอดเป็นจำนวนมาก
          • ปากมดลูกเริ่มขยาย โดยอาจจะเปิดกว้างขึ้นชั่วโมงละ 1-2 เซนติเมตร

หากมีอาการดังกล่าว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะเป็นสัญญาณใกล้คลอด และอาจจะมีการคลอดเกิดขึ้นในอีกไม่ช้า

มีอาการแบบนี้ ปกติหรือไม่ ในช่วงวีคท้ายของการตั้งครรภ์


อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่อาจพบกับอาการต่าง ๆ ที่ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องปกติของคนท้องหรือเปล่า หรือเป็นสัญญาณอันตรายไหม ซึ่งขอแนะนำว่าคุณแม่ควรจะหมั่นสังเกตอาการตนเองอยู่เสมอว่ามีอาการใด ๆ ที่ผิดแปลกไปจากเดิมหรือไม่

และหากมีอาการใด ๆ ที่สงสัยว่าอาจจะเป็นสัญญาณอันตราย หรือไม่แน่ใจว่าอาการแบบนี้ผิดปกติไหม ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยทันทีค่ะ

ท้อง 37 สัปดาห์ ท้องแข็งบ่อยแต่ไม่ปวดท้อง ปกติไหม

ท้อง 37 สัปดาห์ ท้องแข็งบ่อยแต่ไม่ปวดท้อง ในไตรมาสสามถือว่าเป็นเรื่องปกติค่ะ และถ้าหากมีอาการท้องแข็งบ่อย แต่ไม่ได้ปวดท้อง หรืออาจจะปวดท้องแต่ไม่ได้ปวดมาก หรือแค่เพียงรู้สึกไม่สบายท้องเท่านั้น ก็ถือว่าเป็นอาการปกติค่ะ ไม่มีอะไรต้องกังวล และนี่เป็นอาการเจ็บครรภ์หลอกค่ะ ไม่ใช่อาการเจ็บครรภ์ใกล้คลอดแต่อย่างใดค่ะ

ท้อง 37 สัปดาห์ เจ็บจี๊ด หมายความว่าอะไร

อาการปวดจี๊ดที่บริเวณหัวหน่าว หรือปวดลึกเข้าไปในช่องคลอด ถือเป็นอาการปกติของคนท้อง 37 สัปดาห์ขึ้นไปค่ะ โดยเกิดจากการที่ศีรษะของทารกที่กลับหัวลงมาไปกดทับที่หัวหน่าว ทำให้คุณแม่มีอาการเจ็บจี๊ดขึ้นมาค่ะ แต่อาการนี้ไม่ใช่สัญญาณใกล้คลอดแต่อย่างใดนะคะ

ท้อง 37 สัปดาห์ ปวดอวัยวะเพศ ปกติไหม

ตั้งครรภ์ 37 สัปดาห์ แล้วเจ็บที่อวัยวะเพศ อาจมีสาเหตุมาจากเอ็นกระดูกเชิงกรานยืดออกเพื่อรองรับน้ำหนักของคุณแม่ที่เพิ่มขึ้น เมื่อเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อในช่องคลอดยืดออก

มากไปกว่านั้น ในสัปดาห์นี้ทารกอาจอยู่ในท่ากลับหัวแล้ว ยิ่งทำให้มีแรงกดลงมาที่อุ้งเชิงกรานมากขึ้น และอาการปวดอาจลามจากท้องน้อยมาจนถึงอวัยวะเพศ จึงทำให้ท้อง 37 สัปดาห์ ปวดจิมิ รู้สึกเจ็บที่อวัยวะเพศได้

ซึ่งอาการปวดมิจินี้ถือว่าพบได้โดยทั่วไปสำหรับคนท้องไตรมาสสองและไตรมาสสามค่ะ แต่ถ้าอาการปวดไม่ดีขึ้นเลย หรือปวดมากขึ้นกว่าเดิม แนะนำให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม

ท้อง 37 สัปดาห์ ท้องแข็งบ่อย ปกติหรือเปล่า

อาการท้องแข็งบ่อยในช่วงไตรมาสที่ 3 นี้ โดยมากแล้วถือว่าเป็นเรื่องปกติค่ะ ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจาก

          • ทารกดิ้นแรง
          • คุณแม่ทำงานหนัก หรือออกแรงมาก
          • คุณแม่อยู่ในท่าเดิมนาน ๆ เช่น เดินนาน ๆ หรือยืนนาน ๆ
          • มดลูกมีการหดรัดตัวตามปกติในระหว่างตั้งครรภ์

ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะทำให้คุณแม่มีอาการปวดท้องเป็นครั้งคราว แต่จะไม่ปวดนาน อาจจะปวดประมาณ 10-20 นาที แล้วก็จะหายไปเอง การเปลี่ยนท่านั่ง ท่านอน หรือลุกขึ้นเดิน หรือกินยาแก้ปวดก็ช่วยให้อาการปวดท้องดีขึ้นได้ กรณีแบบนี้ไม่อันตรายค่ะ

แต่...ถ้าหากอาการปวดท้องของคุณแม่นั้นเริ่มปวดถี่ขึ้น ปวดหลายครั้งต่อวัน อาการปวดนั้นค่อย ๆ รุนแรงขึ้น และอาการปวดไม่ทุเลาลง แม้ว่าจะลองเปลี่ยนท่าทาง หรือกินยาแก้ปวดก็ยังไม่ดีขึ้น พร้อมกับมีอาการคล้ายปากมดลูกเปิด ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะคุณแม่อาจมีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ หรืออาจมีการคลอดเกิดขึ้นได้ค่ะ

ท้อง 37 สัปดาห์ ลูกดิ้นน้อยลง ควรกังวลไหม

ช่วงไตรมาสสุดท้าย ทารกจะเริ่มดิ้นน้อยลงค่ะ เพราะขนาดของมดลูกไม่ได้มีพื้นที่มากพอให้ทารกคเลื่อนไหวได้อิสระอีกต่อไปแล้ว ดังนั้น การดิ้นน้อยลงของทารกในช่วงนี้จึงไม่ถือว่าน่ากังวลค่ะ

แต่...ถ้าหากหมดวันแล้ว คุณแม่นับลูกดิ้นได้ไม่ถึง 10 ครั้ง หรือในครึ่งวันเช้า ทารกดิ้นไม่ถึง 4 ครั้ง ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีโดยไม่ต้องรอจนถึงตอนเย็น เพราะอาจเกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ได้

ท้อง 37 สัปดาห์ ปวดหน่วง ปกติหรือไม่

อาการปวดหน่วงที่ท้อง ถามว่าควรกังวลไหม ก็ขึ้นอยู่กับว่าอาการปวดหน่วงนั้นรุนแรงมากแค่ไหน เพราะโดยมากแล้วคนท้องจะมีอาการปวดหน่วงเนื่องจากการขยายตัวของมดลูก การยืดตัวของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่หน้าท้องอยู่แล้ว

นอกจากนี้ ทารกอาจอยู่ในท่ากลับหัวแล้ว ยิ่งทำให้มีแรงกดลงมาที่อุ้งเชิงกรานมากขึ้น ทำให้มีอาการปวดหน่วงมากขึ้นได้ในสัปดาห์นี้ค่ะ อย่างไรก็ตาม อาการปวดแบบนี้จะปวดเป็นพัก ๆ ไม่นานก็หาย นอนพัก กินยา หรือเปลี่ยนอริยาบถก็รู้สึกดีขึ้นค่ะ

แต่...ถ้าหากอาการปวดนั้นมีลักษณะที่ปวดรุนแรงจนคุณแม่ทนไม่ไหว ปวดจนลุกไม่ขึ้น ปวดจนนอนไม่หลับ หรือมีอาการเลือดออกร่วมด้วย อันนี้อาจจะเป็นสัญญาณอันตรายได้ ให้รีบไปพบแพทย์ค่ะ

ท้อง 37 สัปดาห์ มีมูกแต่ไม่มีเลือด เกิดจากอะไร

มูกดังกล่าวอาจเป็นเพียงตกขาวตามปกติซึ่งมีได้ตั้งแต่ตกขาวคนท้องระยะแรก ที่เกิดจากการผกผันของฮอร์โมนในร่างกายเท่านั้นค่ะ อย่างไรก็ตาม อาจเป็นไปได้ว่ามูกขาวที่ไหลออกมานั้นคือมูกก่อนคลอด โดยปกติจะมีมูกกั้นที่ปากมดลูก และจะถูกขับออกมาเมื่อปากมดลูกเริ่มขยายกว้างขึ้น เพื่อเปิดทางให้ทารกคลอดออกมานั่นเอง โดยมูกนี้อาจจะมีเลือดปนหรือไม่มีเลือดปนก็ได้ค่ะ

ท้อง 37 สัปดาห์ ปวดท้องน้อย ใกล้คลอดหรือเปล่า

ท้อง 37 สัปดาห์ อาการใกล้คลอด การปวดท้องน้อยถือว่าเป็นอาการทั่วไปที่พบได้ในคนท้องค่ะ แต่เมื่ออายุครรภ์ 37 สัปดาห์ อาการปวดท้องน้อยอาจทำให้คุณแม่เริ่มกังวลว่าจะเป็นสัญญาณใกล้คลอด

ถามว่า ท้อง 37 สัปดาห์ คลอดได้ไหม มีโอกาสเป็นไปได้ค่ะ แต่คุณแม่จะต้องดูอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ว่ามีอาการปวดรรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ไหม มีมูกหรือของเหลวไหลออกจากช่องคลอดไหม มีเลือดไหลออกทางช่องคลอดหรือเปล่า น้ำเดินหรือยัง ปากมดลูกเริ่มเปิดหรือยัง

หากมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อาจเป็นไปได้ว่าใกล้จะมีการคลอดเกิดขึ้น แต่ถ้าหากเป็นเพียงอาการปวดท้องน้อยเหมือนเช่นเคย ไม่มีอาการใกล้คลอดอื่น ๆ ร่วมด้วย ก็อาจจะไม่ใช่สัญญาณก่อนคลอดค่ะ

ข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์


คุณแม่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ควรใส่ใจดูแลตนเองเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นกินอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ และสารเสพติด

รวมถึงควรเริ่มลดกิจกรรมและการงานต่าง ๆ ที่ต้องออกแรงด้วยค่ะ การก้ม ๆ เงย ๆ บ่อย ๆ อาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่ ทำให้ปวดหลัง หรือปวดเมื่อยมากขึ้น ทั้งยังเสี่ยงต่อการพลัดตก หกล้ม ซึ่งอาจกระทบกระเทือนต่อครรภ์และทารกในครรภ์ได้

และคุณแม่ควรจะไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อติดตามการตั้งครรภ์ว่าทารกในครรภ์ยังปกติไหม มีพัฒนาการตามวัยหรือเปล่า หรือมีภาวะความเสี่ยงในขณะตั้งครรภ์หรือไม่

เฝ้าระวังการคลอดก่อนกำหนด

หากคุณแม่มีอายุครรภ์ 37 สัปดาห์แล้ว การคลอดในระยะนี้จะไม่ถือว่าเป็นการคลอดก่อนกำหนดแล้วค่ะ เพราะนี่คือการคลอดตามกำหนดของจริงค่ะ และคุณแม่มีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์หรือติดต่อเบอร์ฉุกเฉินกับโรงพยาบาลหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทันทีค่ะ

          • มีเลือดออกทางช่องคลอด ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ก็ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของการคลอด
          • มีอาการน้ำเดิน หรือสังเกตเห็นว่ามีของเหลวใส ๆ ไหลออกทางช่องคลอดมากกว่าปกติ
          • มดลูกบีบตัวถี่ขึ้น มีอาการปวดท้องรุนแรง และปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยอาการไม่ทุเลาลง
          • ปวดหน่วงที่อุ้งเชิงกรานร้าวไปจนถึงขา
          • ปากมดลูกเริ่มเปิดมากขึ้น
          • มีอาการคนท้องเท้าบวมมากขึ้นเรื่อย ๆ เวลากดลงแล้วผิวหนังจะบุ๋ม ไม่คืนทรงทันที และมีความดันโลหิตขึ้นสูง

อาการเหล่านีเคือสัญญาณเสี่ยงของภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งจำเป็นจะต้องรีบทำคลอดทันทีเพื่อป้องกันอันตรายต่อแม่และทารกในครรภ์

ท้องแข็ง เจ็บท้องบ่อย อาการแบบนี้ใกล้คลอดแล้ว หรือแค่เจ็บท้องหลอก

อาการเจ็บท้องหลอก และ เจ็บท้องจริงนั้น ค่อนข้างจะมีความแตกต่างกันค่ะ ซึ่งคุณแม่สามารถสังเกตได้ ดังนี้

อาการเจ็บท้องหลอก คุณแม่จะมีอาการดังนี้

          • จะมีการหดตัวของมดลูกบ่อย แต่จะไม่หดตัวติด ๆ กัน หรือมีการหดตัวน้อยกว่า 4 ครั้งใน 1 ชั่วโมง

          • การหดตัวแต่ละครั้งจะทำให้รู้สึกปวดท้องนานราว ๆ 10-20 วินาที และปวดที่บริเวณท้องส่วนหน้า หรือบริเวณเชิงกราน

          • อาการปวดท้องสามารถหายเองได้เพียงแค่เปลี่ยนท่านั่ง ท่านอน หรือลุกขึ้นเดิน หรือกินยาแก้ปวดก็ช่วยให้อาการปวดท้องดีขึ้นได้

อาการเจ็บท้องจริง คุณแม่จะมีอาการดังนี้

          • มีการหดตัวของมดลูกบ่อย แต่มีการหดตัวติด ๆ กัน หรือมีการหดตัวมากกว่า 4 ครั้งใน 1 ชั่วโมง

          • การหดตัวแต่ละครั้งจะทำให้รู้สึกปวดท้องนานราว ๆ 30-70 วินาที

          • มีอาการปวดตั้งแต่ช่วงหลังส่วนหน้า แล้วลามไปยังบริเวณท้องส่วนหน้า หรือบางทีก็เริ่มปวดมาตั้งแต่ท้องส่วนหน้า และลามไปยังบริเวณหลังส่วนล่าง

          • อาการปวดท้องสามารถหายเองได้เพียงแค่เปลี่ยนท่านั่ง ท่านอน หรือลุกขึ้นเดิน หรือกินยาแก้ปวดก็ช่วยให้อาการปวดท้องดีขึ้นได้

          • มีมูกใส ๆ หรือมูกปนเลือดไหลออกมาทางช่องคลอด และมีอาการน้ำเดินด้วย

          • ปากมดลูกเริ่มเปิดมากขึ้นเรื่อย ๆ

ซึ่งถ้าหากคุณแม่มีอาการเจ็บท้องจริง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีการคลอดเกิดขึ้นอีกไม่นานหลังจากนี้ค่ะ

เตรียมตัวให้นมแม่อย่างไร

การเตรียมตัวให้นม จริง ๆ แล้วคุณแม่แทบไม่จำเป็นจะต้องเตรียมอะไรเกี่ยวกับเต้านมเลยค่ะ เพราะตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์มา เต้านมของคุณแม่ก็เริ่มสร้างน้ำนมแล้วค่ะ

ดังนั้น ส่วนใหญ่แล้วเมื่อคลอดลูกปุ๊บ น้ำนมก็พร้อมไหลทันทีที่ลูกดูด หรือบางครั้งน้ำนมของแม่ก็เริ่มไหลตั้งแต่อายุครรภ์ได้ 8-9 เดือนแล้วค่ะ

อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรจะตรวจดูหัวนมของตัวเองด้วยว่ามีความผิดปกติใด ๆ หรือเปล่า โดยวิธีตรวจหัวนมและเต้านม สามารถทำได้ ดังนี้

          • ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กดลงไปที่ลานนมประมาณ 1 นิ้ว ถ้าหยิบติดหัวนมขึ้นมา ถือว่าปกติค่ะ แต่ถ้าหยิบแล้วหัวนมผลุบเข้าไป แบบนี้เรียกว่าหัวนมบอดค่ะ

          • แต่ถ้าหัวนมบุ๋มหายเข้าไปในเต้านม เรียกว่าหัวนมบุ๋ม

          • ส่วนถ้าลองจับเต้านมดูแล้วรู้สึกว่าเต้านมไม่เท่ากัน อันนี้ปกติค่ะ เป็นเรื่องธรรมชาติที่จะมีเต้านมข้างหนึ่งใหญ่ ข้างหนึ่งเล็ก

ซึ่งหัวนมที่บอดหรือบุ๋มมาก ๆ นี้ถือว่าผิดปกติค่ะ เพราะเวลาให้นมลูกจะทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บหัวนมหรือเจ็บเต้านมเวลาที่ให้นมลูกค่ะ

สำหรับคุณแม่ที่มีหัวนมบอด ควรดึงหัวนมบ่อย ๆ ด้วยอุปกรณ์ดึงหัวนม ทำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ครั้งละ 10 นาที และจำเป็นจะต้องทำตั้งแต่เนิ่น ๆ นะคะ หากปล่อยไว้จะแก้ไขได้ยาก

นอกจากนี้ คุณแม่ควรหมั่นดูแลหัวนมไม่ให้แห้ง บำรุงด้วยมอยเจอไรเซอร์เป็นประจำ หากหลังจากอายุครรภ์ 34 สัปดาห์แล้วยังมีปัญหาเรื่องหัวนมบอดอยู่ ควรรีบปรึกษาแพทย์ที่ฝากครรภ์แต่เนิ่น ๆ

นมแม่สำคัญอย่างไร

หากคุณแม่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี มีปริมาณน้ำนมที่เพียงพอ ไม่ได้มีปัญหาสุขภาพ หรือมีปัญหาน้ำนมน้อย คุณแม่ควรจะให้ลูกได้กินนมแม่เพียงอย่างเดียวติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน และสามารถให้นมแม่ต่อเนื่องได้นานถึง 2 ปี

ทารกช่วง 6 เดือนแรก ไม่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารอื่น ๆ รวมถึงน้ำเปล่าก็ยังไม่เหมาะสำหรับทารกแรกเกิดด้วย แค่นมแม่ก็มีทั้งน้ำ สารอาหารและสารภูมิคุ้มกันที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของทารกแล้วค่ะ จนกระทั่งทารกมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป จึงเริ่มให้อาหารตามวัยควบคู่ไปกับการให้นมแม่ หรือนมสูตรสำหรับทารก

มากไปกว่านั้น แนะนำให้คุณแม่ควรเริ่มให้นมลูกทันทีหลังคลอด เพราะเป็นช่วงที่น้ำนมของแม่ยังเป็นน้ำนมเหลืองอยู่ ซึ่งน้ำนมเหลือง หรือ Colostrum เป็นน้ำนมแรกของแม่ที่จะไหลออกมาก่อนน้ำนมส่วนอื่น ๆ

โดยน้ำนมเหลืองนี้จัดว่าเป็นนมแม่ส่วนที่ดีที่สุด ซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์หลายร้อยชนิด เช่น MFGM, DHA, แลคโตเฟอร์ริน เป็นต้น โดยสารอาหารในระยะน้ำนมเหลืองนั้น มีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาการครบรอบด้านทั้งสมอง ภูมิคุ้มกัน และระบบทางเดินอาหารของทารก

มากไปกว่านั้น น้ำนมเหลือง ยังถือได้ว่าว่าเป็นวัคซีนเข็มแรกของลูก เนื่องจากมีสารภูมิคุ้มกันซึ่งจะมีส่วนช่วยป้องกันการติดเชื้อและเสริมภูมิคุ้มกันของทารกให้แข็งแรง

โดยน้ำนมเหลืองจะไหลออกมาแค่เพียง 1-3 วันแรกหลังคลอดเท่านั้น นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญเลยค่ะว่า ทำไมคุณแม่ควรรีบให้นมลูกทันทีหลังคลอด เพราะถ้าหากพ้นไปจาก 1-3 วันหลังคลอดแล้ว ทารกก็จะพลาดโอกาสที่จะได้รับคุณค่าทางสารอาหารที่ดีที่สุดช่วงนี้ไปค่ะ

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แม่ทุกคนที่สามารถให้นมแม่ได้ ถ้าหากคุณแม่มีปัญหาน้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหล ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากปัญหาสุขภาพ การบาดเจ็บ หรือมีผลมาจากความเครียด หรือภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คุณแม่ไม่ต้องรู้สึกผิดว่าทำไมฉันน้ำนมน้อย ทำไมฉันไม่มีน้ำนม ฉันเป็นแม่ที่ไม่ดี ฉันมันไม่เอาไหน

เพราะนี่คือเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ และมีหนทางแก้ค่ะ หากคุณแม่มีปัญหาน้ำนมไม่ไหล น้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอ ให้คุณแม่ไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและรับการดูแลรักษาที่เหมาะสมค่ะ

ของใช้เตรียมคลอดสำหรับลูกน้อย

เมื่อเข้าไตรมาสสาม คุณแม่สามารถเริ่มเตรียมของต่าง ๆ ที่จะใช้หลังคลอดได้เลย เพื่อที่ว่าหากมีการคลอดขึ้นมาอย่างฉุกละหุก คุณแม่สามารถหยิบของเตรียมคลอดและไปโรงพยาบาลได้ทันทีเลย โดยของเตรียมคลอดสำหรับลูกน้อยที่ควรเตรียมไว้ มีดังนี้

ของใช้เตรียมคลอดสำหรับลูกน้อย:

          • คาร์ซีท หรือเบาะนิรภัยสำหรับเด็ก ควรมีติดรถไว้เมื่อใกล้กำหนดคลอด
          • เสื้อผ้าสำหรับเด็กทารก เตรียมเผื่อหรือให้เพียงพอ
          • ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กทารก
          • ผ้าอ้อม ผ้าสะอาดสำหรับการเช็ดทำความสะอาด
          • ของใช้ทำความสะอาดร่างกายสำหรับเด็ก ได้แก่ ยาสระผมสำหรับเด็กแรกเกิด สบู่สำหรับเด็กแรกเกิด
          • สมุดบันทึกพัฒนาการของเด็ก
          • ผ้าห่อตัวเด็ก ควรเลือกเป็นผ้านุ่ม ๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวเด็ก
          • ชุดสำหรับใส่กลับบ้าน

ของใช้เตรียมคลอดสำหรับคุณแม่

นอกจากของเตรียมคลอดสำหรับลูกน้อยแล้ว คุณแม่ยังจำเป็นจะต้องเตรียมสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ให้พร้อมด้วย

ของใช้เตรียมคลอดสำหรับคุณแม่:

          • เอกสารสำคัญ เช่น บัตรประจำตัวผู้ป่วย ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน หรือเอกสารเกี่ยวกับประกันสุขภาพต่าง ๆ รวมถึงเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับใช้ในการแจ้งเกิด เอกสารหรือสมุดฝากครรภ์ ใบนัดแพทย์ บันทึกการตั้งครรภ์ ใบขับขี่ เอกสารเกี่ยวกับประกันสุขภาพหรือประกันสังคม

          • ชื่อสำหรับการแจ้งเกิดเด็ก

          • เสื้อผ้าตัวหลวม เพื่อให้รู้สึกสบายตัว และไม่รัดและเสียดสีบาดแผลจากการคลอด

          • เสื้อผ้าอย่างน้อยประมาณ 2-3 ชุด หรือเตรียมให้เพียงพอต่อการเปลี่ยน

          • ชุดชั้นในอย่างน้อยประมาณ 2-3 ชุด หรือเตรียมให้เพียงพอต่อการเปลี่ยน

          • บราสำหรับให้นม เพื่อช่วยให้คุณแม่สามารถให้นมลูกได้อย่างสะดวกมากขึ้น

          • แผ่นซับน้ำนม เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำนมส่วนเกินไหลออกมาเปื้อนเสื้อผ้า

          • ผ้าอนามัยหลังคลอด เพื่อซับเปลี่ยนน้ำคาวปลาหลังคลอด

          • ของใช้ทำความสะอาดร่างกาย ได้แก่ ครีมอาบน้ำหรือสบู่ ยาสระผม ครีมนวดผม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก

          • ของใช้ส่วนตัว ได้แก่ ครีมทาผิว ครีมทาหน้า โรลออนระงับกลิ่นกาย ลิปบาล์ม เครื่องสำอาง หวีผม ยางรัดผม

          • ของใช้อื่น ๆ ตามแต่ไลฟ์สไตล์ เช่น หูฟัง หนังสือ คอมพิวเตอร์แบบพกพา ไอแพด โทรศัพท์มือถือ สายชาร์จ กล้อง

          • ขนมหรืออาหารที่สามารถกินได้หลังคลอด และมีประโยชน์ในการสร้างน้ำนม

          • เงินสด หรือบัตรเครดิต

          • ยารักษาโรค หรือยาที่แพทย์แนะนำ

          • รองเท้าแตะสำหรับใส่ในบ้าน

          • ชุดสำหรับใส่กลับบ้าน

          • ขวดสำหรับใส่น้ำดื่ม หรือน้ำดื่ม

ไขข้อข้องใจเรื่องท้อง 37 สัปดาห์ กับ Enfa Smart Club


ท้อง 37 สัปดาห์ ปวดหัวหน่าว ปกติไหม?

อาการปวดหัวหน่าวในไตรมาสสามนั้น ถือเป็นธรรมชาติของคนท้อง และมักไม่ก่อให้เกิดอันตรายรุนแรง โดยอาการปวดหัวหน่าวนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ

          • ฮอร์โมนตั้งครรภ์ส่งผลให้กล้ามเนื้อมีการคลายตัว ช่องคลอดขยาย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดลูก

          • ขนาดตัวของทารกและมดลูกขยาย หรือตั้งครรภ์แฝด ทำให้เชิงกรานของคุณแม่ขยายและต้องรับน้ำหนักมาก จึงรู้สึกปวดหัวหน่าวได้

          • การไหลเวียนเลือดไม่ค่อยดี เนื่องจากทารกมีขนาดตัวใหญ่ ก็จะทำให้ขาบวมหรือมีอาการตึงที่หัวหน่าว

          • การอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวหน่าวได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม หากอาการหัวหน่าวของคุณแม่นั้นรุนแรงมากจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ปวดจนลุกไม่ไหว ปวดจนนอนไม่หลับ หรือกินยาแก้ปวดแล้วก็ไม่ดีขึ้นเลย อาจจะต้องไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมค่ะ

ท้อง 37 สัปดาห์ มีเลือดออก อันตรายไหมนะ?

ถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์ 37 สัปดาห์มีเลือดออกทางช่องคลอดในสัปดาห์นี้ อาจเป็นสัญญาณใกล้คลอดค่ะ ให้คุณแม่สังเกตดูด้วยว่ามีอาการอื่น ๆ ร่วมหรือเปล่า มีอาการปวดท้องรุนแรงไหม มีมูกใสหรือของเหลวไหม ปากมดลูกเริ่มเปิดไหม

อย่างไรก็ตาม อาการเลือดออกขณะตั้งครรภ์นั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่จำเป็นต้องรอสังเกตอาการอื่น ๆ ร่วม แค่พบว่ามีเลือดออกทางช่องคลอด ก็ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจวินิจฉัย ถ้าหากเป็นสัญญาณการคลอดจริง ๆ คุณแม่ก็จะได้เข้าสู่กระบวนการคลอดทันทีค่ะ

ตั้งครรภ์ 37 สัปดาห์ ตกขาว เกิดจากอะไร?

การมีตกขาวคนท้องถือเป็นเรื่องปกติของคนท้องค่ะ เพราะมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงใกล้คลอดก็จะมีมูกตกขาวออกมามากขึ้น เป็นสัญญาณว่าใกล้คลอด

อย่างไรก็ตาม หากตกขาวมีลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆ สีขาว หรือมีสีเหลือง หรือสีเทา ตกขาวมีลักษณะข้นเหนียว มีกลิ่นเหม็น และมีอาการคันร่วมด้วย อาจเป็นตกขาวทมี่เกิดจากการติดเชื้อ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาค่ะ

ท้อง 37 สัปดาห์ เท้าบวมมาก คุณแม่จะรับมืออย่างไรดี?

คุณแม่ที่มีอาการบวมที่เท้า หรือข้อเท้า อาจสามารถรับมือด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

          • เวลานอนให้นอนตะแคง และควรยกปลายเท้าให้สูงขึ้น โดยอาจจะใช้หมอนรองที่บริเวณข้อเท้าก็ได้ เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น

          • คุณแม่ควรเปลี่ยนอริยาบถบ่อย ๆ เพราะการอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ จะทำให้เกิดแรงกดทับ และทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี

          • หลีกเลี่ยงการสวมแหวน กำไล หรือนาฬิกาที่รัดแน่นจนเกินไป เพราะจะยิ่งทำให้อาการบวมที่มือ หรือบวมที่นิ้วแย่ลง

          • ไม่สวมถุงเท้าและรองเท้าที่รัดแน่น เพราะจะยิ่งทำให้อาการบวมแย่ลง

          • พยายามลดอาหารที่มีโซเดียมสูง เพราะการบริโภคโซเดียมเข้าไปมาก ๆ จะทำให้มีอาการตัวบวมง่าย

อย่างไรก็ตาม หากอาการบวมของคุณแม่ไม่ดีขึ้นเลย หรือเริ่มบวมจนกระทั่งกดลงไปที่เนื้อแล้วเนื้อบุ๋ม และใช้เวลาคืนทรงช้า ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งถ้าใช่จริง ๆ จำเป็นจะต้องมีการคลอดทันทีค่ะ เพื่อความปลอดภัยของแม่และทารกในครรภ์

ช่วง 37 สัปดาห์ ของการตั้งครรภ์ ปวดหลังมาก บรรเทาอาการปวดอย่างไร ใช้ยาทาได้ไหม?

หากคุณแม่มีอาการปวดหลัง คนท้องนวดหลังได้ไหม สามารถบรรเทาอาการปวดหลังได้ง่าย ๆ ดังนี้

          • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ตัวแทน

          • พยายามเคลื่อนไหวร่างกายและออกกำลังกายบ้าง เช่น การเดิน ปั่นจักรบาน โยคะ เพื่อช่วยยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ

          • เวลานอนให้ใช้หมอนรองที่หว่างขา หรือเอว หรือหลัง เพื่อลดแรงกดทับที่หลัง

          • ปรับเปลี่ยนอริยาบถให้เหมาะสม ไม่นั่งท่าเดิมนาน ๆ เปลี่ยนท่าทางบ่อย ๆ นั่งหลังตรง ไม่นั่งหลังงอ เพราะจะทำให้อาการปวดหลังแย่ลงได้

          • ทาครีมยาบรรเทาอาการปวดหลัง

          • ไปนวดกับแพทย์แผนไทยที่เชี่ยวชาญการนวดคนท้อง และควรแจ้งกับคนนวดทุกครั้งว่ากำลังตั้งครรภ์

          • กินยาบรรเทาอาการปวดตามที่แพทย์แนะนำ

คุณแม่ตั้งครรภ์ 37 สัปดาห์ หายใจไม่สะดวก ปกติไหม?

เนื่องจากขนาดของมดลูกที่ใหญ่ขึ้นจนเบียดและดันขึ้นมาที่หน้าอก ทำให้ปอดถูกเบียดจนมีขนาดเล็กลง ส่งผลให้คุณแม่หายใจถี่ขึ้น มีอาการแน่นหน้าอก และหายใจไม่ค่อยออกค่ะ

การนอนโดยยกศีรษะให้สูงขึ้น อาจช่วยให้อาการหายใจไม่ออกดีขึ้นได้ แต่ถ้าคุณแม่หายใจไม่ออก แล้วเริ่มหน้ามืด หรือหมดสติบ่อย ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมค่ะ

อย่างไรก็ตาม หากมีอาการหายใจไม่ออกบ่อย ๆ และเริ่มรุนแรงขึ้น กรณีนี้อาจจะเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ ควรไปพบแพทย์ทันทีที่รู้สึกว่าอาการหายใจไม่ออกเริ่มจะรุนแรงมากขึ้น

ตั้งครรภ์ 37 สัปดาห์ ท้องเสีย ควรดูและตัวเองอย่างไร?

คุณแม่ที่ท้องเสีย สามารถดูแลตัวเองได้ ดังนี้

          • กินอาหารที่ย่อยง่าย เพื่อให้ร่างกายสามารถย่อยและขับถ่ายได้ง่ายขึ้น

          • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด โดยเฉพาะอาหารที่รสเผ็ดจัด เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบย่อยอาหารและทำให้ท้องเสียแย่ลง

          • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เพราะมีแนวโน้มที่จะทำให้อาการท้องเสียหนักขึ้นได้

          • ดื่มน้ำ หรือดื่มเกลือแร่สำหรับอาการท้องเสีย เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์ได้

          • ในกรณีที่มีอาการท้องเสียจากการติดเชื้อ คุณแม่ควรกินยาตามที่แพทย์สั่ง คนท้องไม่ควรซื้อยามากินเองโดยไม่ปรึกษากับแพทย์ เพราะยาบางอย่างอาจส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ได้

          • แต่ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้นเลย หรือท้องเสียติดต่อกัน 1-2 วัน คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

ท้อง 37 สัปดาห์ คลื่นไส้ ปกติไหมนะ?

อาการเวียนหัว คลื่นไส้ในระยะนี้ ส่วนมากแล้วไม่ส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ค่ะ โดยอาจเป็นไปได้ 2 กรณี ดังนี้ ในกรณีแรกคุณแม่มีอาการแพ้ท้องยาวนานมาจนถึงไตรมาสสาม หรืออีกกรณีคือ เกิดจากขนาดของมดลูกที่ใหญ่โตมากขึ้นทุก ๆ วัน จนไปกดทับหรือเบียดดันเส้นเลือด ทำให้การไหลเวียนเลือดทำได้ไม่ดี อาจก่อให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะหรือคลื่นไส้ได้ค่ะ

การนอนพัก การดื่มน้ำ อาจช่วยให้อาการดีขึ้นได้ แต่ถ้าอาการวิงเวียนศีรษะและอาการคลื่นไส้เริ่มถี่ขึ้นจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้กินอาหารไม่ได้ หรือนอนไม่หลับเลย ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมค่ะ



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความที่แนะนำ

ของใช้เด็กแรกเกิด
how-long-is-maternity-leave
ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ลูกไม่ยอมกลับหัวสักที อันตรายไหม
Enfa Smart Club

Leaving page banner

 

Leaving page banner