ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ท้อง 6 เดือน

ท้อง 6 เดือนใหญ่แค่ไหน อาการคนท้อง 6 เดือนเป็นอย่างไร

Enfa สรุปให้

  • ท้อง 6 เดือน อาการแพ้ท้องจะเริ่มหายไป และเริ่มมีอาการคนท้องแบบอื่น ๆ เข้ามาแทนที่ เช่น ท้องผูกบ่อยขึ้น ปวดหลัง ปวดสะโพก ขาบวม ข้อเท้าบวม อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีคุณแม่อีกหลายคนที่ยังคงมีอาการแพ้ท้องมาจนถึงอายุครรภ์ 6 เดือน
  • ในช่วงอายุครรภ์ 6 เดือนนี้ ทารกจะมีขนาดประมาณ 18-20 เซนติเมตร และน้ำหนักทารกในครรภ์ 6 เดือน จะอยู่ที่ประมาณ 453 กรัม หรือทารกขนาดเท่ากับผักกาดหอมหัวย่อม ๆ
  • คุณแม่จะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์มากขึ้นในช่วงตั้งท้อง 6 เดือนนี้ เพราะทารกจะเริ่มเตะ ม้วนตัว และหกคะเมนตีลังกาไปมาเพื่อฝึกทักษะด้านการเคลื่อนไหว บวกกับขนาดร่างกายของทารกที่โตขึ้น และราว ๆ สัปดาห์ที่ 24-25 เซลล์ประสาท (นิวรอน) ซึ่งทำหน้าที่ส่งผ่านคลื่นไฟฟ้าในระบบประสาท และเริ่มพัฒนาขึ้นตั้งแต่ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ จะเริ่มเคลื่อนย้ายไปยังส่วนต่าง ๆ ของสมองของทารกเพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานหลังจากที่ทารกคลอด 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • ท้อง 6 เดือน
     • อาการคนท้อง 6 เดือน เป็นอย่างไร
     • ร่างกายของคุณแม่เมื่อตั้งครรภ์ 6 เดือน มีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
     • อัลตราซาวนด์ท้อง 6 เดือน คุณแม่จะเห็นอะไรบ้างนะ
     • พัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน
     • เช็กลิสต์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 6 เดือน
     • ไขข้อข้องใจเรื่องการตั้งครรภ์ 6 เดือนกับ Enfa Smart Club

ท้อง 6 เดือนแล้ว ก็ถือคุณแม่กำลังจะผ่านพ้นไตรมาสที่ 2 และก้าวเข้าสู่การตั้งครรภ์ในไตรมาสสุดท้ายต่อไป ซึ่งในระยะนี้คุณแม่ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลายอย่าง รวมถึงทารกในครรภ์เองก็เริ่มมีพัฒนาการที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย บทความนี้จาก Enfa มีสาระดี ๆ สำหรับคุณแม่ที่อายุครรภ์ 6 เดือนมาฝากค่ะ  

ท้อง 6 เดือน แปลว่าอะไร? อายุครรภ์ 6 เดือน นับจากอะไร?


ท้อง 6 เดือน คือ คุณแม่มีอายุครรภ์ได้ 6 เดือนแล้ว และมีอายุครรภ์ระหว่าง 22-26 สัปดาห์ นับว่าเป็นเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 โดยอายุครรภ์ของคุณแม่จะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่มีประจำเดือนครั้งล่าสุด จากนั้นก็จะนับเพิ่มสัปดาห์ถัดไปเรื่อย ๆ เป็น 2 เดือน 3 เดือน เรื่อยไปจนกระทั่ง 9 เดือน ซึ่งจะเป็นช่วงไตรมาสสาม และใกล้จะมีการคลอดเกิดขึ้น    

อาการคนท้อง 6 เดือน เป็นยังไงบ้าง?  


อายุครรภ์ 6 เดือนนี้ คุณแม่มักจะไม่มีอาการแพ้ท้องแล้ว ส่วนใหญ่อาการแพ้ท้องมักจะลดลง หรือไม่เหลืออยู่แล้ว แต่ว่าก็ยังมีคุณแม่อีกหลายคนค่ะ ซึ่งน่าจะเป็นเคสที่โชคร้ายหน่อย คือยังคงมีอาการแพ้ท้องยาวต่อเนื่องมาจนอายุครรภ์ 6 เดือน หรือบางคนก็แพ้ท้องยาวจนกระทั่งคลอดก็มีเช่นกัน  

แม้ว่าอาการแพ้ท้องจะเริ่มหายไปแล้ว แต่คนท้อง 6 เดือน ก็อาจพบกับอาการคนท้องอื่น ๆ ดังต่อไปนี้  

  • คนท้องท้องผูกบ่อยขึ้น เนื่องจากมดลูกมีการขยายตัวมากขึ้นและขยายตัวจนไปเบียดลำไส้ ทำให้กระบวนการขับถ่ายและการย่อยอาหารทำได้ช้าลง  
  • มีอาการปวดบริเวณหลัง สะโพก และอุ้งเชิงกราน เนื่องจากมีขนาดครรภ์ใหญ่ขึ้น และน้ำหนักตัวก็มากขึ้น ร่างกายจึงมีการกระจายน้ำหนักไปยังส่วนต่าง ๆ ทำให้คุณแม่รู้สึกปวดในหลาย ๆ จุดมากขึ้น  
  • มีอาการคันที่บริเวณหน้าท้อง เนื่องจากผิวหนังที่หน้าท้องมีการขยายและยืดออกเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์  
  • วิงเวียนศีรษะ เนื่องจากช่วงอายุครรภ์ 6 เดือนนี้ ร่างกายจะมีการไหลเวียนเพิ่มขึ้นเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปยังมดลูกได้มากขึ้น  
  • คนท้องเท้าบวม ขาบวม ข้อเท้าบวม หรือเป็นตะคริวที่ขาและข้อเท้า เนื่องจากเส้นเลือดทำงานหนักขึ้น เพื่อให้ลำเลียงเอาเลือดส่วนเกินทั้งหมดไปหล่อเลี้ยงยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  
  • หิวบ่อยขึ้น เพราะทารกเริ่มโตมากขึ้นและต้องการพลังงานที่มากขึ้น  

อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 6 เดือน คุณแม่ควรรับมืออย่างไร?   

คุณแม่ท้อง 6 เดือน ท้องแข็ง นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งปกติก็ถือว่าไม่ได้น่าเป็นห่วงอะไรนัก หากว่าอาการท้องแข็งนั้นอาจเป็นผลมาจากการมีเพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ที่รุนแรง หรือเกิดจากการพลิกตัวของทารก การกลั้นปัสสาวะ หรือการรับประทานอาหารอิ่มจนเกินไป เป็นต้น  

ซึ่งวิธีการรับมือกับอาการท้องแข็ง ก็สามารถทำได้ ดังนี้  

  • ไม่กลั้นปัสสาวะ ยิ่งกลั้นปัสสาวะบ่อย ๆ ก็ยิ่งเสี่ยงจะทำให้ท้องแข็งมากขึ้น  
  • ไม่บิดตัวหรือบิดขี้เกียจบ่อย ๆ เพราะเสี่ยงจะทำให้เกิดความดันสูงในมดลูก อาจทำให้ท้องแข็งได้  
  • ระมัดระวังการมีเพศสัมพันธ์ เลือกท่าที่เอื้อต่อการตั้งครรภ์ หลีกเลี่ยงท่าเซ็กซ์ที่รุนแรงหรือโลดโผนเกินไป  
  • รับประทานอาหารแต่พอดี หากรับประทานอาหารมากไปอาจส่งผลให้อาหารไม่ย่อย  และเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร อาจนำไปสู่อาการท้องแข็งได้  

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ท้อง 6 เดือน ท้องแข็งบ่อยมาก ซึ่งอาจเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก และถ้าหากเกิดขึ้นบ่อยมากเข้า อาจนำไปสู่อาการปากมดลูกเปิด ซึ่งเสี่ยงจะนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดได้ด้วย  

ร่างกายของคุณแม่เมื่อตั้งครรภ์ 6 เดือน มีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?


คนท้อง 6 เดือน ท้องใหญ่แค่ไหน?: เข้าใจลักษณะหน้าท้องของคนท้อง 6 เดือน   

ท้องของคนท้อง 6 เดือนนั้นสามารถมองเห็นว่าใหญ่ขึ้นได้อย่างชัดเจน และขนาดของหน้าท้องที่ใหญ่ขึ้น ก็ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ที่หน้าท้องด้วย ได้แก่ สะดือที่ยื่นออกมามากขึ้น และรอยแตกลายที่เริ่มเห็นชัดมากขึ้นด้วย คุณแม่ควรจัดท่านอนคนท้องให้ดี เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ

อย่างไรก็ตาม นอกจากปัจจัยในเรื่องของอายุครรภ์แล้ว ขนาดของหน้าท้องตอนตั้งครรภ์ก็ยังขึ้นอยู่กับสรีระ ส่วนสูง น้ำหนัก และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว รวมถึงการตั้งท้องครั้งแรก ก็มีผลต่อขนาดของหน้าท้องด้วย เพราะคนท้องแรกนั้นมักจะไม่ค่อยมีขนาดท้องที่ใหญ่นัก   

ดังนั้น ในช่วงเดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์นี้คุณแม่อาจจะมีหน้าท้องที่ขยายขึ้นเล็กน้อยหรือไม่มีขนาดหน้าท้องที่ยื่นออกเลยก็ได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติแต่อย่างใดค่ะ  

นอกจากการเปลี่ยนแปลงที่หน้าท้องแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นไล่เลี่ยกัน ดังนี้  

  • หน้าอกมีขนาดใหญ่ขึ้น  
  • เส้นเลือดขอดเพิ่มมากขึ้น  
  • น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น  

ท้อง 6 เดือน น้ำหนักควรเพิ่มขึ้นกี่กิโลกรัม  

คุณแม่แต่ละคนมีน้ำหนักตัวที่แตกต่างกัน นั่นทำให้น้ำหนักที่จะต้องเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์เปลี่ยนไปด้วย ซึ่งก่อนจะรู้ว่าน้ำหนักแม่ตั้งครรภ์ควรจะเพิ่มน้ำหนักขึ้นเท่าไหร่ในแต่ละไตรมาส คุณแม่จะต้องคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย BMI ของตัวเองเสียก่อน  

เมื่อได้ค่า BMI มาแล้ว น้ำหนักของคุณแม่ในแต่ละไตรมาสจะมีการเพิ่มขึ้นที่แตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปแล้ว สำหรับคุณแม่ที่มีค่า BMI ปกติ จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในแต่ละไตรมาส ดังนี้  

  • ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสแรกนี้ทารกยังตัวเล็กอยู่ คุณแม่ยังไม่จำเป็นที่จะต้องเพิ่มน้ำหนักให้มากเกินกว่า 1-2 กิโลกรัม  
  • ไตรมาสที่ 2 ระยะนี้ทารกมีขนาดตัวที่โตขึ้น ทำให้คุณแม่อาจจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นราว ๆ 5-6 กิโลกรัม  
  • ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสสุดท้ายทารกมีขนาดตัวที่พร้อมสำหรับการคลอดที่เริ่มใกล้มาถึง โดยจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 3.5-4.5 กิโลกรัม แต่เนื่องจากเป็นช่วงที่ทารกมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น คุณแม่บางคนอาจอึดอัดท้องจนกินอะไรได้น้อยลง   

ในช่วงไตรมาสที่สามคุณแม่บางคนมีน้ำหนักที่ลดลง หากน้ำหนักลดลงมาไม่กี่กิโลกรัมก็อย่าตกใจ ถือเป็นเรื่องปกติ  

อัลตร้าซาวด์ท้อง 6 เดือน คุณแม่จะเห็นอะไรบ้างนะ?


ท้อง 6 เดือน

ช่วงไตรมาสสองนี้การอัลตร้าซาวด์จะดูในส่วนของอวัยวะต่าง ๆ ว่าลูกมีอวัยวะครบถ้วนไหม มีความผิดปกติของอวัยวะส่วนใดหรือไม่ ขนาดและน้ำหนักของทารกเป็นอย่างไร ปริมาณน้ำคร่ำปกติไหม รวมถึงเพศของทารกก็สามารถเห็นได้ชัดเจนในช่วงไตรมาสที่สองด้วย  

ขนาดและน้ำหนักทารกในครรภ์ 6 เดือน  

ในช่วงอายุครรภ์ 6 เดือนนี้ ทารกจะมีขนาดประมาณ 18-20 เซนติเมตร และน้ำหนักลูกในครรภ์ 6 เดือนจะอยู่ที่ประมาณ 453 กรัม หรือทารกขนาดเท่ากับผักกาดหอมหัวย่อม ๆ  

รูปทารกในครรภ์ 6 เดือน ตอนนี้ลูกน้อยตัวเท่านี้แล้วนะ  

ทารกในครรภ์ 6 เดือน จะมีขนาดที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละสัปดาห์ ดังนี้:

ท้อง 6 เดือน

อายุครรภ์ 22 สัปดาห์ มีขนาดเท่ากับฟักสปาเก็ตตี้สควอช (Spaghetti Squash)  

ท้อง 6 เดือน

อายุครรภ์ 23 สัปดาห์ มีขนาดเท่ากับมะละกอ  

ท้อง 6 เดือน

อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ มีขนาดเท่ากับผักกาดหอมหัวย่อม ๆ  

ท้อง 6 เดือน

อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ มีขนาดเท่ากับข้าวโพด  

ท้อง 6 เดือน

อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ มีขนาดยาวเท่ากับต้นหอม  

ท้อง 6 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน?   

เมื่อเริ่มจะพ้นไตรมาส 2 หรือใกล้จะสิ้นสุดช่วงอายุครรภ์ 6 เดือน คุณแม่หลาย ๆ คนก็จะเริ่มสงสัยว่าท้อง 6 เดือนลูกอยู่ท่าไหน? หรืออยากจะรู้ว่าท่านอนของทารกในครรภ์ 6 เดือน เป็นอย่างไร  

ซึ่งในช่วงไตรมาสที่ 2 นี้ทารกในครรภ์ยังนอนหันหัวไปทางเดียวกับมารดา ยังไม่มีการกลับหัว หรือหันหลังให้มารดา โดยทารกเอาคางซุกไปที่หน้าอก และด้านหลังศีรษะพร้อมที่จะเข้าสู่กระดูกเชิงกรานแต่อย่างใดจนกว่าจะถึงอายุครรภ์ถึง 32-36 สัปดาห์  

แล้วท้องแฝด 6 เดือน จะเป็นยังไงบ้างนะ?  

สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝด ทารกแต่ละคนก็จะมีพัฒนาการเหมือนกับการตั้งครรภ์ลูกคนเดียวตามปกติ ทั้งน้ำหนักและขนาดตัว เพียงแต่พัฒนาการของทารกแฝดในครรภ์นั้น จะเป็นพัฒนาการแบบคูณสอง เพราะว่ามีทารกในครรภ์มากกว่า 1 คน ดังนั้น พัฒนาการของทารกในครรภ์ ก็จะเป็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน 2 คน  

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทารกแฝดนั้นหากเป็นกรณีที่ทารกแฝดใช้รกอันเดียวกัน อาจเป็นไปได้ว่าทารกแฝดจะมีน้ำหนักตัวที่เล็กกว่าทารกคนเดียว  

พัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน ที่คุณแม่ควรรู้


ท้อง 6 เดือน

คุณแม่จะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์มากขึ้นในช่วงตั้งท้อง 6 เดือนนี้ เพราะทารกจะเริ่มเตะ ม้วนตัว และหกคะเมนตีลังกาไปมาเพื่อฝึกทักษะด้านการเคลื่อนไหว บวกกับขนาดร่างกายของทารกที่โตขึ้น ทารกจะมีขนาดประมาณ 18-20 เซนติเมตร และน้ำหนักลูกในครรภ์ 6 เดือนจะอยู่ที่ประมาณ 453 กรัม  

การเคลื่อนไหวของทารกตั้งแต่ในครรภ์จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านการกิน ดื่ม และหายใจของทารกในช่วงหลังคลอดด้วย นอกจากนี้สมองของทารกที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ในครรภ์ก็ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยเช่นกัน  

ในช่วงตั้งท้อง 6 เดือนหรือสัปดาห์ที่ 24-25 เซลล์ประสาท (นิวรอน) ซึ่งทำหน้าที่ส่งผ่านคลื่นไฟฟ้าในระบบประสาท และเริ่มพัฒนาขึ้นตั้งแต่ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ จะเริ่มเคลื่อนย้ายไปยังส่วนต่าง ๆ ของสมองของทารกเพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานหลังจากที่ทารกคลอด  

นอกจากนี้ ทารกในอายุครรภ์ 6 เดือน มีพัฒนาการอีกหลายด้าน คือ  

  • มีการสร้างขนคิ้วและขนตา  
  • ไขกระดูกเริ่มสร้างเซลล์เม็ดเลือด   
  • มีการสร้างต่อมรับรส  
  • ใบหน้าเริ่มชัดเจนขึ้น  

อาหารบํารุงครรภ์ 6 เดือน ที่คุณแม่ควรรับประทาน  

หากจะถามว่า ท้อง 6 เดือนควรกินอะไร ก็แน่นอนว่าจะต้องเป็นอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย ดังนี้  

  • โฟเลตหรือกรดโฟลิก เป็นสารอาหารมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาสมองและไขสันหลังของทารก และคุณแม่ควรได้รับโฟเลตอย่างเพียงพอในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาหารที่อุดมด้วยโฟเลต เช่น บร็อคโคลี่ ผลไม้รสเปรี้ยว ถั่ว ถั่ว ถั่วเลนทิล อะโวคาโด กะหล่ำดาว กระเจี๊ยบเขียว หน่อไม้ฝรั่ง และผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักโขมและคะน้า  
  • ดีเอชเอ DHA (Docosahexaenoic Acid) คือ กรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทางสมอง ดวงตา และระบบประสาท นอกจากนี้ยังอาจช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์บางอย่าง เช่น การคลอดก่อนกำหนด หรือโรคซึมเศร้าหลังคลอดได้อีกด้วย อาหารที่มีดีเอชเอสูง เช่น ปลาทะเล อโวคาโด ไข่แดง เป็นต้น คุณแม่ควรกินอย่างน้อยสัปดาห์ละสองครั้ง หรือดื่มนมสูตรเสริมดีเอชเอก็ดีเช่นกันค่ะ  
  • ไอโอดีน หากคุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอ อาจทำให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายผิดปกติ และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคไทรอยด์ระหว่างตั้งครรภ์ได้ ซึ่งไอโอดีนอยู่ในจำพวกอาหารทะเลทุกชนิด ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม กระเทียม หรืองา  
  • คาร์โบไฮเดรต การกินคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เหมาะสม อาจช่วยลดอาการแพ้ท้องในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากเป็นสารอาหารที่ย่อยง่าย และให้พลังงานสูง ช่วยลดอาการคลื่นไส้ อย่างไรก็ตาม คนท้องไม่ควรกินคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป เพราะอาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคอ้วนระหว่างตั้งครรภ์ได้  
  • โคลีน พบมากในอาหารจำพวกไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน แซลมอน ไก่ บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก เป็นต้น จัดว่าเป็นอีกหนึ่งสารอาหารสำคัญที่คุณแม่ควรได้รับจากการกินอาหารในแต่ละวัน เพราะโคลีนมีส่วนสำคัญในการบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ การกินอาหารที่ให้สารโคลีนอย่างเพียงพอจะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะความบกพร่องที่ระบบท่อประสาทของทารกในครรภ์ได้  
  • ไฟเบอร์ เป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญที่ไม่ว่าจะเป็นแม่ก่อนคลอด แม่อุ้มท้อง แม่หลังคลอด หรือแม่ให้นมลูกก็ควรได้รับอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างตั้งครรภ์ ควรกินอาหารที่มีไฟเบอร์สูงเป็นประจำ เพราะไฟเบอร์จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและป้องกันโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ นอกจากนี้ ไฟเบอร์ยังช่วยลดความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงและอาจช่วยป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษได้อีกด้วย โดยสามารถได้ไฟเบอร์จากอาหารจำพวกผักและผลไม้ต่าง ๆ  
  • สังกะสี เป็นแร่ธาตุสำคัญที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันและระบบประสาทที่แข็งแรง อาหารที่อุดมด้วยสังกะสี เช่น เนื้อวัว ผักโขม จมูกข้าวสาลี เห็ด หอยนางรม เนื้อแกะ เมล็ดฟักทองและสควอช ไก่ ถั่ว เป็นต้น
  • โปรตีน เป็นส่วนประกอบสำคัญของดีเอ็นเอ เนื้อเยื่อ และกล้ามเนื้อ ทั้งยังมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเอนไซม์ในร่างกายและจำเป็นสำหรับการพัฒนาที่เหมาะสมของทารกในครรภ์อาหารที่อุดมด้วยโปรตีน เช่น พืชตระกูลถั่ว คีนัว ถั่วเลนทิล ไก่ เนยถั่ว เนื้อสัตว์ และถั่วเหลือง  เป็นต้น
  • กรดไขมันโอเมก้า 3 มีความจำเป็นต่อการพัฒนาดวงตาและสมองในทารกในครรภ์ และมีส่วนสำคัญต่อสุขภาพของหัวใจ การทำงานที่เหมาะสมของระบบสืบพันธุ์ และการเจริญเติบโตของผิวหนัง ผม และกระดูก อาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า เช่น น้ำมันพืช ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ถั่วเหลือง ถั่วและธัญพืชต่าง ๆ เป็นต้น  
  • ธาตุเหล็ก สำคัญต่อกระบวนการสร้างเม็ดเลือดและการลำเลียงออกซิเจนไปยังทารก หากคุณแม่ได้รับแคลเซียมน้อย ก็จะส่งผลให้การลำเลียงออกซิเจนไปยังทารกได้น้อย ซึ่งหากทารกได้ออกซิเจนน้อย ก็จะส่งผลต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโต ทั้งยังเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจางอีกด้วย อาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ ปลา เต้าหู้ ตับ ถั่วเหลือง ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวกล้อง ถั่วและเมล็ดพืช ผักใบเขียวเข้ม  ผลไม้แห้ง และไข่ เป็นต้น  
  • วิตามินซี หากธาตุเหล็กเป็นสารอาหารสำคัญที่ขาดไม่ได้ วิตามินซีก็เป็นอีกหนึ่งคู่ดูโอ้ของธาตุเหล็กที่ไม่ควรห่างกัน เพราะวิตามินซีจะทำหน้าที่สำคัญในการการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกาย ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้อย่างเพียงพอ อาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี ได้แก่ พริกเขียวและแดง มะเขือเทศ มันเทศ บร็อคโคลี่ กะหล่ำดาว กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี และผักใบเขียว เป็นต้น  
  • วิตามินดี เป็นสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกัน การพัฒนาฟันและกระดูกที่แข็งแรง และการแบ่งเซลล์ที่แข็งแรงในทารก อาหารที่อุดมด้วยวิตามินดี เช่น ปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ไข่แดง น้ำมันตับปลา และนมหรือซีเรียลเสริมวิตามินดี  
  • วิตามินบี 6 มีสรรพคุณช่วยลดอาการคลื่นไส้และอาเจียน อาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี 6 เช่น เนื้อไม่ติดมัน สัตว์ปีก ไข่ ผลไม้รสเปรี้ยว พืชตระกูลถั่ว ถั่วเหลือง ถั่ว เมล็ดพืช และอะโวคาโด 

หรือกลุ่มอาหารที่คุณแม่ควรจะเน้นรับประทานให้เพียงพออยู่ตลอดการตั้งครรภ์ คือ  

  • ผักต่าง ๆ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรที่จะต้องกินผักหรือมีผักอย่างน้อย 3 ถ้วยต่อวัน เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของแม่และทารกในครรภ์ และควรเลือกผักหลากสี หลากชนิดเพื่อให้ได้รับสารอาหารและรสชาติที่หลากหลาย เช่น คะน้า ผักโขม บร็อคโคลี่ มันเทศ มะเขือเทศ แครอท ฟักทอง พริกหยวก ข้าวโพด มะเขือม่วง กะหล่ำปลี ไม้ตีกลอง เป็นต้น  
  • ผลไม้ต่าง ๆ เนื่องจากผลไม้มีสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระมากมายที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดีของทารก ซึ่งผลไม้สดจะให้คุณค่าทางสารอาหารที่ดีกว่าน้ำผลไม้และผลไม้กระป๋องหรือผลไม้แช่แข็ง โดยผลไม้ที่เหมาะกับแม่ตั้งครรภ์ เช่น เมล่อน อะโวคาโด ทับทิม กล้วย ฝรั่ง ส้ม มะนาวหวาน สตรอเบอร์รี่ และแอปเปิ้ล เป็นต้น  
  • ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม เพราะผลิตภัณฑ์จากนมนั้นถือเป็นแหล่งแคลเซียมชั้นดี ซึ่งแคลเซียมนั้นสำคัญมากสำหรับการพัฒนากระดูกที่แข็งแรงและแข็งแรง โดยคุณแม่สามารถได้รับแคลเซียมจากอาหารหลากหลายชนิด เช่น นม โยเกิร์ต และชีสแข็ง เป็นต้น  

นมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ อีกหนึ่งอาหารคนท้องที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพการตั้งครรภ์ที่แข็งแรงได้  

บางครั้งคุณแม่หลาย ๆ คนอาจจะมีปัญหาเรื่องของการแพ้นมวัว หรือแพ้นมจากพืชชนิดอื่น ๆ นมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีที่จะช่วยเสริมสุขภาพสำหรับแม่ตั้งครรภ์ ที่สำคัญคือควรเลือกนมสำหรับคนท้องที่มี DHA และโฟเลตสูง ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับแม่ตั้งครรภ์   

  • DHA ซึ่งเป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากการกินอาหาร โดย DHA มีสำคัญต่อกระบวนการสร้างเซลล์ต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ เช่น สมอง ผิวหนัง ดวงตา ทั้งยังช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์บางอย่าง เช่น การคลอดก่อนกำหนด หรือโรคซึมเศร้าหลังคลอด  
  • โฟเลต ซึ่งเป็นกลุ่มวิตามินบีที่สำคัญมาก หากคุณแม่ได้รับโฟเลตไม่เพียงพอ ก็อาจส่งผลให้ลูกน้อยเกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทได้ เพราะโฟเลตทำหน้าที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทั้งยังมีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง คุณแม่ตั้งครรภ์ในเดือนแรกจำเป็นต้องได้รับโฟเลตเพื่อช่วยในการสร้างหลอดประสาท และสมองที่สมบูรณ์ของทารก 

Enfamama TAP No. 1

เช็กลิสต์สำหรับแม่ท้อง 6 เดือน ก้าวเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายอย่างมั่นใจ


อายุครรภ์ 6 เดือน ถือว่าเป็นเดือนสุดท้ายของไตรมาส 2 ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 ซึ่งในอายุครรภ์ 6 เดือนนี้ คุณแม่ก็ยังคงมีหลาย ๆ สิ่งที่จะต้องคำนึงถึง ได้แก่  

  • เริ่มเตรียมของคลอดลูก หรือเริ่มจัดห้องสำหรับเลี้ยงลูก  
  • เริ่มศึกษาคอร์สต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการให้นมลูก การคลอดลูก  
  • ศึกษาเกี่ยวกับประกันต่าง ๆ เช่น ประกันการคลอดลูก หรือประกันสุขภาพของลูก  
  • พักผ่อนให้มากขึ้น เพราะเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น จะยิ่งเหนื่อยง่าย  
  • คุณแม่อาจมีปัญหาผิวในช่วงนี้ โดยเฉพาะปัญหาผิวแห้ง ซึ่งคุณแม่ที่ผิวแห้งมาก ควรบำรุงผิวด้วยผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับสภาพผิว เช่น บำรุงด้วยมอยส์เจอไรเซอร์  
  • ในระยะนี้คุณแม่ต้องใส่ใจเรื่องของน้ำหนักให้มากขึ้นแล้ว พยายามควบคุมน้ำหนักให้เป็นไปตามที่แพทย์แนะนำ อย่าให้มากหรือน้อยเกินไป หากน้ำหนักมากเกินไปอาจเสี่ยงที่จะต้องผ่าคลอด เพราะทารกอาจมีขนาดตัวใหญ่มาก หรือถ้าน้ำหนักน้อยเกินไป ก็อาจเสี่ยงที่จะมีการคลอดก่อนกำหนดได้ หรือทารกเกิดมามีน้ำหนักแรกเกิดต่ำ เป็นต้น  

ไขข้อข้องใจเรื่องท้อง 6 เดือนกับ Enfa Smart Club


1. ปวดหน่วงท้องน้อยตอนตั้งครรภ์ 6 เดือน อันตรายไหม?   

อาการปวดหน่วงท้องน้อย ตั้งครรภ์ 6 เดือน สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยทางสุขภาพโดยทั่วไป และสาเหตุที่เกิดจากปัญหาทางสุขภาพที่รุนแรง

ดังนั้น หากมีอาการปวดท้องน้อย หรือมีอาการปวดท้องน้อยนานติดต่อกัน 1 วันขึ้นไป ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาต่อไป  

2. การดิ้นของทารกในครรภ์ 6 เดือน ดิ้นถี่แค่ไหนคือปกติ?  

การนับลูกดิ้นนั้น คุณแม่ควรจะนับทุกวัน และนับในเวลาเดิมเสมอ โดยถ้าลูกเตะหรือกระแทก 1 ครั้ง นับเป็นลูกดิ้น 1 ครั้ง ลูกเตะหรือกระแทกอีก 1 ครั้ง นับเป็นลูกดิ้น 2 ครั้ง   

ลูกดิ้นแบบไหนผิดปกติ โดยในระยะเวลา 1ชั่วโมง คุณแม่จะต้องนับลูกดิ้นได้มากกว่า หรือตั้งแต่ 4 ครั้งขึ้นไป แต่ถ้าภายในชั่วโมงแรก ลูกดิ้นน้อยหรือดิ้นไม่ถึง 4 ครั้ง และพยายามนับใหม่ในชั่วโมงถัดไป ถ้าหาก 1 ชั่วโมงถัดไปแล้วก็พบว่าลูกยังดิ้นไม่ถึง 4 ครั้ง ให้รีบไปพบแพทย์ทันที  

3. ปวดท้องตอนตั้งครรภ์ 6 เดือน ควรรีบไปพบแพทย์ไหม?  

คุณแม่อายุครรภ์ 6 เดือนปวดท้อง จริง ๆ แล้วเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยทางสุขภาพโดยทั่วไป และสาเหตุที่เกิดจากปัญหาทางสุขภาพที่รุนแรง

ดังนั้น หากมีอาการปวดท้องน้อย หรือมีอาการปวดท้องน้อยนานติดต่อกัน 1 วันขึ้นไป ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาต่อไป  

4. ท้อง 6 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม?   

ขณะตั้งครรภ์ คุณแม่สามารถที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ เพียงแต่ว่าเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น อาจจะต้องลดการมีเพศสัมพันธ์ในท่วงที่ที่รุนแรงหรือผาดโผนเกินไป เนื่องจากอาจเสี่ยงที่จะเกิดการกระทบกระเทือนต่อสุขภาพของแม่และทารกในครรภ์ได้  

5. ท้อง 6 เดือน มีเลือดออก อันตรายไหม?  

ปกติแล้วอาการเลือดออกขณะตั้งครรภ์นั้นมักสันนิษฐานว่ามีความผิดปกติขณะตั้งครรภ์เกิดขึ้น โดยอาจจะเป็นการแท้ง การท้องลม หรือมีปัญหาเกี่ยวกับมดลูกก็ได้

ดังนั้น ถ้าหากคุณแม่ที่อายุครรภ์ 6 เดือนมีเลือดออกทางช่องคลอด ควรไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา  

6. ท้อง 6 เดือน ปวดท้องน้อย ผิดปกติหรือไม่?  

คุณแม่ท้อง 6 เดือน ปวดท้องน้อย จริง ๆ แล้วเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยทางสุขภาพโดยทั่วไป และสาเหตุที่เกิดจากปัญหาทางสุขภาพที่รุนแรง

ดังนั้น หากมีอาการปวดท้องน้อย หรือมีอาการปวดท้องน้อยนานติดต่อกัน 1 วันขึ้นไป ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาต่อไป  

7. ท้อง 6 เดือน ปวดจิมิ ผิดปกติไหม?  

อาการปวดอวัยวะเพศขณะอายุครรภ์ 6 เดือนนั้น อาจเป็นไปได้ว่าเกิดจากการที่เอ็นกระดูกเชิงกรานยืดออกเพื่อรองรับน้ำหนักของคุณแม่ที่เพิ่มขึ้น เมื่อเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อในช่องคลอดยืดออก อาจทำให้รู้สึกเจ็บที่อวัยวะเพศได้ ซึ่งถือว่าพบได้โดยทั่วไป แต่ถ้าอาการปวดไม่ดีขึ้นเลย หรือปวดมากขึ้นกว่าเดิม แนะนำให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาค่ะ



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความที่แนะนำ

เคล็ดลับคุณแม่ตั้งครรภ์
พัฒนาการลูกน้อยตลอด 9 เดือน
ตั้งครรภ์ 1-40 สัปดาห์ กับ พัฒนาการลูกน้อย
Enfa Smart Club

Leaving page banner

 

Leaving page banner