เคยมีคำพูดว่า “คุณแม่กินอะไร ลูกก็ได้กินด้วย” คำพูดนี้เป็นเรื่องจริงที่สุด สิ่งที่คุณแม่ทานมีผลโดยตรงกับพัฒนาการ ด้านต่างๆ ของลูกน้อย
เมื่อลูกน้อยเกิดขึ้นในท้องของคุณแม่ ระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นเป็นระบบแรก และเป็นระบบที่สำคัญที่สุดของลูกคือ ระบบประสาท ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ ระบบประสาทของลูกน้อยจะเริ่มพัฒนาถึง 80 % ใน 3 เดือนแรก คุณแม่สามารถช่วยกระตุ้นการพัฒนานี้ ตลอ การตั้งครรภ์ได้ด้วยเคล็ดลับดังนี้
1. เลือกทานให้ถูกต้อง
การทานอาหารที่ถูกต้องของคุณแม่ อาหารที่อุดมด้วยโปรตีน อย่าง ถั่ว นม เนื้อสัตว์ ผัก หรือผลไม้ต่างๆ ร่วมกับอาหารเสริมที่เหมาะสม เป็น จุดเริ่มต้นของการพัฒนาที่ดีของลูกทั้งทางร่ายกายและสมอง ให้ลูกก้าวล้ำ ทั้งความคิดและอารมณ์
การทานอาหารที่ถูกต้องของคุณแม่ อาหารที่อุดมด้วยโปรตีน อย่างถั่ว นม เนื้อสัตว์ ผัก หรือผลไม้ต่างๆ ร่วมกับอาหารเสริมที่เหมาะสม เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาที่ดีของลูกทั้งทางร่างกายและสมอง
ระหว่างอยู่ในครรภ์ สมองของลูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ลูกต้องการสารอาหารที่เหมาะสมในปริมาณที่เพียงพอ โดยเฉพาะสารอาหารเช่น DHA และโฟเลต
DHA เป็นเหมือนกุญแจสำคัญไปสู่สมองที่พัฒนาเต็มที่ของลูก เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของโครงสร้างสมอง และจอประสาทตา
ดังนั้นถ้าคุณกำลังวางแผนที่จะเป็นคุณแม่ในอนาคตหรือกำลังอุ้มท้องเจ้าตัวเล็กอยู่ละก็ ว่าที่คุณแม่ควรเริ่มทานอาหารที่มีส่วนประกอบของ DHA เป็นประจำ อย่างเช่น ผลอโวคาโด บร็อคโคลี่ ส้ม ผักใบเขียวต่างๆ ปลาจำพวกแซลมอน หรือเสริมด้วยเอนฟาแล็ค มาม่าที่มี DHA มากถึง 50 มก.ต่อแก้ว
หากคุณแม่ต้องการทานอาหารเสริมอื่นๆเพิ่มเติม อย่าลืมปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งนะคะ
2. ระวังสารปนเปื้อนอันตราย
สารปนเปื้อนที่ไม่ปลอดภัยอยู่รอบตัวเราตลอดเวลา และอาจส่งผลร้ายต่อลูกน้อยภายในครรภ์ได้ สารอันตรายต่างๆเช่น สารจำพวกพาทาเลต หรือสารปรอทที่มักปนเปื้อนมากับของใช้ภายในบ้าน หากได้รับในปริมาณมากจะส่งผลร้ายต่อการพัฒนาทางสมองของลูกได้
นอกจากของรอบตัว อาหารที่คุณแม่ทานก็มีสารปนเปื้อนอันตรายได้เช่นกัน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารที่ปรุงไม่สุก เช่น ไข่ดิบ ชีส หรือปลาดิบ อาจเพิ่มความเสี่ยงให้สารอันตรายเหล่านี้ส่งไปถึงลูก คุณแม่ควรเลือกทานเนื้อปลาอย่างปลากะพงดำ หรือปลาซาบะที่มีปรอทต่ำจะปลอดภัยกว่า และหากคุณแม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริมเพิ่มเติม อย่าลืมปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย แม้จะเป็นยาสามัญที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ก็อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้
3. ออกกำลังกายบ้าง เท่าที่ทำได้
การออกกำลังกายส่งผลดีต่อร่างกายในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะกำลังตั้งครรภ์อยู่หรือไม่ก็ตาม ระหว่างการอุ้มท้องการออกกำลังกายช่วยให้คุณแม่รักษารูปร่าง อีกทั้งยังช่วยเตรียมพร้อมก่อนการคลอดอีกด้วย ลดอาการปวดหลัง การเจ็บเตือน อาการบวมน้ำ และแน่นอนช่วยให้คุณแม่อารมณ์ดีขึ้น คุณแม่นอนหลับได้ดีกว่าเดิม รวมไปถึงลดโอกาสน้ำหนักขึ้นและโอกาสการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ลงได้ แต่คุณแม่ต้องไม่ลืมที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง
คำแนะนำสั้นๆ สำหรับว่าที่คุณแม่คงไม่ต้องถึงขนาดยกน้ำหนัก แค่เพียงหลีกเลี่ยงการอยู่เฉยๆ พยายามเดินบริหารร่างกายให้เป็นครั้งคราวบ้างนะคะ
4. กระตุ้นประสาทสัมผัสต่างๆ ของลูก
จากงานวิจัยพบว่าเด็กๆ นั้นได้ยินเสียงต่างๆ และจะเริ่มจดจำเสียงแม่ได้ตั้งแต่ในท้องของคุณแม่ ดังนั้นคุณแม่จึงควรส่งเสริมพัฒนาการของลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์
เหมือนกับเวลาที่เราฟังเพลงเบาๆ แล้วรู้สึกผ่อนคลาย หรือเพลงเร็วที่ทำให้ตื่นเต้น เพลงที่ต่างกันก็ให้ความรู้สึกที่ต่างกัน และเพลงที่คุณแม่เปิดให้เจ้าตัวเล็กฟังเมื่อเขาอยู่ในท้อง ลูกจะยังตอบสนองต่อเพลงนั้น หลังจากลืมตาดูโลกแล้ว
จากงานวิจัยพบว่าเสียงเพลงที่คุณแม่เปิดให้ลูกในครรภ์ฟังมีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูก ดังนั้นคุณแม่ควรพูดคุย ฟังเพลง หรือ ร้องเพลงเล่นกับลูกน้อยในครรภ์เป็นประจำด้วยนะคะ
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่กับลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์ ยังช่วยลดความเครียดของคุณแม่ได้อีกด้วย ความเครียดที่มากเกินไปจะส่งผลเสียต่อพัฒนาการของลูกได้ ดังนั้นคุณแม่ควรทำใจให้สบายเพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานทางอารมณ์ที่ดีให้แก่ลูกน้อยในอนาคต
ดาวน์โหลดฟรี! แอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์
หากคุณแม่ต้องการข้อมูล เคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตลอดช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์ คำแนะนำด้านโภชนาการ และรับสิทธิประโยชน์เพื่อลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์จนถึง 3 ปี คุณสามารถสมัครสมาชิก Enfa Smart Club ผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์ฟรี ที่นี่ Enfa A+ Genius Baby
-
1 Fetal development: The 1st trimester. (n.d.). Retrieved March 21, 2017, from http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-d…
-
2 Why should I avoid some foods during pregnancy? Retrieved 2 June 2017 from, http://www.nhs.uk/chq/Pages/917.aspx?CategoryID=54
-
3 Eating Fish: What Pregnant Women and Parents Should Know. Retrieved 2 June 2017 from, https://www.fda.gov/food/foodborneillnesscontaminants/metals/ucm393070…
-
4 Pregnancy and exercise: Baby, let's move! (2016, June 09). Retrieved February 22, 2017, from http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-d…
-
5 Babies Learn to Recognize Words in the Womb. Retrieved 2 June 2017 from, http://www.sciencemag.org/news/2013/08/babies-learn-recognize-words-womb
-
6 Arya, R., Chansoria, M., Konanki, R., & Tiwari, D. K. (2012). Maternal Music Exposure during Pregnancy Influences Neonatal Behaviour: An Open-Label Randomized Controlled Trial. International Journal of Pediatrics, 901812.
-
7 Left-handed fetuses could show effects of maternal stress on unborn babies. (2014, June 3). Retrieved February 22, 2017, from https://www.dur.ac.uk/news/newsitem/?itemno=21328