Enfa สรุปให้
- ลูกกินแล้วอ้วกเกิดจากอะไร อาจจะต้องสังเกตลักษณะของของเหลวที่ออกมาว่ามีลักษณะคล้ายแหวะนมหรือป่าว หรือหากเป็นในลักษณะอาเจียน อาจจะเกิดจากการกินนมที่มากเกินไป หรือ Overfeeding หรืออาจจะมีอาการกรดไหลย้อน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากพบว่าลูกน้อยมีอาการอาเจียนหลังกินบ่อยครั้ง ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์
- เด็กอ้วกบ่อยสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ไวรัสลงกระเพาะ แพ้อาหาร อาการไอเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อที่หูชั้นกลาง โรคปอดบวม หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น
- เด็กอ้วกกับแหวะนม หลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นอาการอย่างเดียวกัน แต่ความจริงแล้วสองอาการนี้ค่อนข้างที่จะมีความแตกต่างกัน อาการแหวะนม คือ อาการที่เกิดการไหลเวียนย้อนกลับของอาหาร ซึ่งจะเกิดภายในท้องของทารก และไม่ไหลออกทางปากคล้ายกับอาการกรดไหลย้อน ส่วนอาการอาเจียน คือ อาการที่สำรอกเอาอาหารหรือของเหลวออกมาทางปาก
- การอาเจียนเป็นครั้งคราว โดยทั่วไปแล้วถือเป็นเรื่องปกติ ไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง และอาการอาเจียนสามารถหายเองได้เพียง 1-2 วัน โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษาเฉพาะทาง แต่ถ้าทารกมีการอาเจียนติดต่อกันเป็นเวลานานหนึ่งหรือสองวัน อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าทารกเกิดการติดเชื้อหรือมีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ที่ต้องได้รับการรักษาร่วมด้วย
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• ทำไมลูกถึงอาเจียน
• ลูกกินแล้วอ้วกเกิดจากอะไร
• อาเจียนกับแหวะนมแตกต่างกันอย่างไร
• สัญญาณอันตรายเมื่อลูกอาเจียน
• ทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยอาเจียน
• ลูกอาเจียนบ่อย ลูกกินนมแล้วอาเจียน อันตรายไหม
• อาการไม่สบายท้องป้องกันได้
• ไขข้อข้องใจเรื่องลูกอาเจียนกับ Enfa Smart Club
แม่รู้หรือไม่? 70% ของเด็กมีอาการไม่สบายท้อง โดยหนึ่งในอาการไม่สบายท้องที่มักจะทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลก็คือ ลูกอาเจียน ยิ่งลูกอาเจียนบ่อย ก็ยิ่งทำให้วิตกกังวลว่าอาจเป็นสัญญาณอันตรายต่อสุขภาพของลูกน้อย
แต่สาเหตุอะไรที่ทำให้ทารกอาเจียน ลูกกินแล้วอ้วกเกิดจากอะไร แล้วทารกอาเจียนแบบไหนที่เป็นอันตราย รวมถึงเมื่อลูกอาเจียนขึ้นมา คุณพ่อคุณแม่จะรับมืออย่างไรได้บ้าง บทความนี้จาก Enfa มีสาระดี ๆ เกี่ยวกับอาการอาเจียนในทารกมาฝากค่ะ
เด็กอ้วก ลูกอาเจียน เกิดจากอะไร?
หากเด็กอ้วก หรือมีอาการอาเจียน สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้
- ไวรัสลงกระเพาะ (Viral Gastroenteritis) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกระเพาะอาหาร และมีผลทำให้ทารกท้องเสีย ทารกอ้วก โดยอาการจะเกิดขึ้นภายใน 12-24 ชั่วโมง
- แพ้อาหาร (Food Allergy) ทารกอาจแพ้อาหารบางชนิด และหนึ่งในอาการแพ้อาหารคือส่งผลให้ทารกอาเจียน
- อาการไออย่างรุนแรง (Hard Coughing) บางครั้งทารกอาจมีอาการไอเรื้อรัง และไออย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาการไอเช่นนี้มักพบได้บ่อยในเด็กที่เป็นกรดไหลย้อน และอาการไอที่รุนแรงแบบนี้บางครั้งก็ทำให้ทารกอาเจียนได้เหมือนกัน
- การติดเชื้ออื่น ๆ (Infections) การที่ลูกอาเจียนบ่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณที่กำลังบอกว่าลูกกำลังมีภาวะติดเชื้อในร่างกาย ซึ่งการติดเชื้อที่พบได้บ่อยในเด็ก เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อที่หูชั้นกลาง โรคปอดบวม หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ลูกกินแล้วอ้วกเกิดจากอะไร
ลูกกินแล้วอ้วกเกิดจากอะไร? ลูกกินแล้วอ้วกเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กเล็ก เนื่องจากระบบย่อยอาหารยังทำงานไม่ได้เต็มที่เหมือนกับของผู้ใหญ่ โดยสาเหตุที่ทำให้ลูกกินแล้วอ้วก สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ
• การให้นมเกินความต้องการ (Overfeeding)
• ไม่ได้มีการจับเรออย่างเหมาะสม ควรศึกษาวิธีจับลูกเรอที่ถูกต้อง
• ลูกน้อยภาวะเป็นกรดไหลย้อน
• ลูกน้อยมีอาการไม่สบายท้อง
• มีภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง หรือมีอาการแพ้นมวัว
นอกจากสาเหตุข้างต้น ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่สามารถเป็นปัจจัยที่ทำให้ลูกน้อยกินแล้วอ้วกได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากพบว่าลูกน้อยมีอาการอาเจียนหลังการกินนม หรือรับประทานอาหารบ่อยครั้ง ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอาการต่อไป
ลูกอาเจียนกับลูกแหวะนมแตกต่างกันอย่างไร
เด็กอาเจียนกับเด็กแหวะนม หลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นอาการอย่างเดียวกัน แต่ความจริงแล้วสองอาการนี้ค่อนข้างที่จะมีความแตกต่างกัน
- อาการแหวะนม คือ อาการที่เกิดการไหลเวียนย้อนกลับของอาหาร ซึ่งจะเกิดภายในท้องของทารก และไม่ไหลออกทางปาก แต่อาจจะมีบ้างที่ไหลย้อนกลับออกจากจมูก ลักษณะเดียวกันกับอาการกรดไหลย้อน
- อาการอาเจียน คือ อาการที่สำรอกเอาอาหารหรือของเหลวออกมาทางปาก
อาเจียนแบบไหนอาจเป็นสัญญาณอันตราย
การอาเจียนในทารกนั้น โดยมากไม่ถือว่าผิดปกติ เพียงแค่วัน หรือสองวัน ทารกก็จะหายเป็นปกติ อย่างไรก็ตาม หากทารกอาเจียนนานกว่าปกติ หรืออาเจียนเอาสิ่งแปลกปลอมออกมา รวมถึงอาเจียนและมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยดังต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณอันตรายที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวัง
เด็กอาเจียนถี่และอาเจียนพุ่ง
ทารกที่มีอายุต่ำกว่า 2 เดือน หากมีอาการอาเจียนพุ่ง การอาเจียนลักษณะนี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเกิดความผิดปกติของโครงสร้างระบบทางเดินอาหาร หรืออาจเกิดจากกระเพาะอาหารตีบ (Infantile hypertrophic pyloric stenosis หรือ IPHS) ซึ่งมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อบริเวณส่วนล่างสุดของกระเพาะอาหารหนาผิดปกติจนทำให้ช่องหูรูดกระเพาะอาหารแคบลง สำหรับทารกที่มีอาเจียนลักษณะนี้อาจทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
ทารกอาเจียนและมีไข้สูง
ทารกที่อาเจียน และมีไข้สูงมากกว่า 37.8 องศาร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อทางเดินอาหารส่วนบน ดังนั้นถ้าทารกและเด็กเล็ก อาเจียน พร้อมกับมีไข้สูง คุณควรแม่ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และพาลูกไปพบคุณแพทย์
อาเจียนมีสีเขียวหรือเหลืองปนเขียว
ทารกที่อาเจียนออกมาเป็นสีเขียวหรือสีเหลืองปนเขียว อาจเกิดจากมีน้ำดีปนออกมาด้วย ซึ่งเป็นสัญญาณของการอุดตันในลำไส้ หากทารกมีการอาเจียนในลักษณะนี้ควรได้รับการดูแลจากแพทย์ในทันที
ทารกอาเจียนเป็นเลือด
ทารกอาเจียนเป็นเลือดถือว่าเป็นภาวะอันตราย เพราะอาจเกิดจากภาวะที่มีเลือดออกในทางเดินอาหาร เช่น หลอดอาหารอักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบ ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอาการช็อก หมดสติ หากทารกเสียเลือดมาก หรือมีอาการตัวซีด ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที
ทารกอาเจียนและมีอาการถ่ายผิดปกติร่วมด้วย
ทารกที่มีอาการอาเจียน พร้อมกับมีอาการท้องเสียร่วมด้วย แสดงว่าทารกอาจมีการติดเชื้อในลำไส้หรือทางเดินอาหาร ในทางกลับกัน หากมีอาการท้องอืด ไม่ขับถ่ายร่วมด้วย อาจเกิดจากภาวะลำไส้อุดตัน ต้องรีบพาลูกไปพบแพทย์
ทารกอาเจียนและมีอาการขาดน้ำ
เด็กเล็กสามารถเกิดภาวะขาดน้ำได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะทารกที่อาเจียนหลายรอบ คุณแม่ต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะลูกน้อยจะเสียน้ำจากการอาเจียนไปมาก การให้กินนม ป้อนน้ำ หรือให้จิบน้ำอยู่เรื่อย ๆ ช่วยลดอาการขาดน้ำได้ หากลูกมีอาการรุนแรง อาจต้องดื่มน้ำเกลือแร่สำหรับเด็กตามที่แพทย์สั่ง สัญญาณและอาการที่คุณแม่ควรสังเกตว่าร่างกายของลูกเริ่มขาดน้ำนั้นมีดังนี้
- ลูกเริ่มซึม ไม่ร่าเริง
- ตาลึก โหล กระหม่อมบุ๋ม
- ร้องไห้แต่ไม่มีน้ำตาออกมา
- ปากแห้ง
- ปัสสาวะน้อยลง สามารถสังเกตได้จากผ้าอ้อมว่าเปียกน้อยลงหรือไม่ อาเจียนติดต่อกันหลายวัน
ทารกที่มีการอาเจียนติดต่อกันเป็นเวลานานหนึ่งหรือสองวัน อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าทารกเกิดการติดเชื้อหรือมีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ที่ต้องได้รับการรักษาร่วมด้วย
สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรทำเมื่อลูกน้อยอาเจียน
การอาเจียนเป็นครั้งคราว โดยทั่วไปแล้วถือเป็นเรื่องปกติที่ไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง อาการอาเจียนในทารกสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่อาหารไม่ย่อย ร้องไห้มาก ไอรุนแรงจนทำให้อาเจียนออกมา
แต่ผู้ปกครองควรสังเกตลักษณะอาเจียน ว่ามีลักษณะเป็นเช่นไร มีสิ่งเจือปนหรือไม่ อาเจียนแบบพุ่งหรือไม่พุ่ง เนื่องจากลักษณะอาเจียนแบบต่าง ๆ สามารถช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ง่ายขึ้น
เมื่อลูกอาเจียนสิ่งที่พ่อแม่ควรทำมีดังนี้
- เมื่อทารกอาเจียน คุณแม่ไม่ควรหยุดให้นม ควรให้ลูกกินนมต่อไป เพราะการหยุดให้นมเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารและน้ำได้ หากทารกเริ่มแสดงอาการขาดน้ำ คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ผงน้ำตาลเกลือแร่ (ORS) สำหรับทารก
- หากทารกกินนมแล้วอาเจียนออกมาทั้งทางปากและจมูก อาจส่งผลให้เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ เป็นหวัด มีน้ำมูก หรือมีเสียงครืดคราดในท้องได้ หากอาการนี้เป็นอยู่หลายวัน ควรปรึกษาแพทย์
- เมื่อทารกอาเจียนออกทางจมูกเพียงครั้งสองครั้งนั้นมักไม่มีอันตราย แต่การอาเจียนนมแล้วสำลัก จนนมเข้าหลอดลม ถือเป็นการอาเจียนที่ทำให้เกิดอันตราย ซึ่งจะทำให้ลูกไออย่างแรง เมื่อลูกสำลักคุณพ่อคุณแม่ควรรีบจับลูกคว่ำหน้าลง ให้ท่าศีรษะต่ำ เพื่อให้นมออกทางปากแทนทางจมูก หรือจับลูกให้อยู่ในท่านอนตะแคง และใช้ลูกยางแดงดูดเอานมที่ค้างอยู่ในจมูกและปากออก
- ทารกอาเจียนถี่หรืออาเจียนอย่างต่อเนื่องมากกว่า 12 ชั่วโมง และไม่มีอาการที่ดีขึ้น ต้องรีบพาไปพบแพทย์ โดยทั่วไปเมื่อทารกอาเจียน หากเป็นระยะเวลาสั้น ๆ และไม่มีอาการอื่นร่วม ถือเป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวล แต่หากลูกอาเจียนและมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยคุณพ่อคุณแม่จะต้องมีสติและปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำลูกไปพบแพทย์ในทันที
ลูกอาเจียนบ่อย ลูกกินนมแล้วอาเจียน สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม
โดยปกติแล้วไม่ว่าลูกจะกินนมผงชงใส่ขวด หรือกินนมแม่ ก็มีโอกาสที่จะเกิดอาการอาเจียนได้พอ ๆ กัน ไม่ได้หมายความว่ากินนมผงแล้วจะอาเจียนมากกว่า หรือกินนมแม่แล้วจะอาเจียนน้อยลง เพราะโอกาสที่จะมีอาการอาเจียนนั้นถือว่าไม่แตกต่างกันนัก
แต่...ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกกินนมแล้วอาเจียนบ่อย อาเจียนถี่มากขึ้น ควรพาทารกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาทันที เพราะทารกอาจมีความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร หรือมีการติดเชื้อเกิดขึ้น
อาการไม่สบายท้องป้องกันได้
เพื่อการเรียนรู้แบบไม่สะดุด นมแม่ถือเป็นอาหารล้ำค่า ที่ไม่เพียงจะอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญหลายชนิด แต่ยังดีต่อระบบการย่อยอาหารของลูกน้อยที่ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่
แต่ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแนะนำโภชนาการที่เหมาะสมต่อระบบย่อยอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์ของลูกน้อย
โดยโภชนาการที่เหมาะสมอาจมีคุณสมบัติ มีโปรตีนผ่านการย่อยบางส่วน หรือ PHP (Partially Hydrolyzed Protein) โปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน มีโมเลกุลขนาดเล็ก ย่อยได้ง่าย และดูดซึมได้ดี ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มคงตัว ไม่แข็ง ขับถ่ายได้ง่าย
ไขข้อข้องใจเรื่องลูกอาเจียนกับ Enfa Smart Club
ลูกอาเจียนตอนกลางคืน แต่ไม่มีไข้ อันตรายไหม
การที่ทารกอาเจียนในตอนกลางวันหรือตอนกลางคืน และไม่มีไข้ร่วม ถือว่าเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการเจ็บป่วยทั่วไป เช่น เป็นหวัด กรดไหลย้อน และโดยมากแล้วอาการเหล่านี้ก็จะหายไปเองโดยไม่ต้องรับการรักษาเฉพาะทาง
ลูกอาเจียน แต่ไม่มีไข้ ไม่มีท้องเสีย เกิดจากอะไร
ทารกอาเจียน แต่ไม่มีไข้ร่วม และไม่มีอาการท้องเสีย เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการเจ็บป่วยทั่วไป เช่น เป็นหวัด กรดไหลย้อน แพ้นม อาหารไม่ย่อย
ลูกกินแล้วอาเจียน เกิดจากอะไร อันตรายไหม
ลูกอาเจียน เป็นอาการทั่วไปที่สามารถพบได้ โดยมากแล้วไม่ถือว่าอันตราย และสามารถหายเองได้เพียง 1-2 วัน ซึ่งอาการอาเจียนในทารกนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้
- ไวรัสลงกระเพาะ (Viral Gastroenteritis)
- แพ้อาหาร (Food Allergy)
- อาการไออย่างรุนแรง (Hard Coughing)
- การติดเชื้อต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อที่หูชั้นกลาง โรคปอดบวม หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ทารกอาเจียนบ่อย อันตรายไหม
ทารกที่มีการอาเจียนติดต่อกันเป็นเวลานานหนึ่งหรือสองวัน อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าทารกเกิดการติดเชื้อหรือมีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ที่ต้องได้รับการรักษาร่วมด้วย หากรู้สึกว่าทารกอาเจียนบ่อยจนผิดปกติ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา
ลูกแหวะพุ่ง เกิดจากอะไร อันตรายไหม
ทารกที่มีอาการอาเจียนพุ่ง เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเกิดความผิดปกติของโครงสร้างระบบทางเดินอาหาร หรืออาจเกิดจากกระเพาะอาหารตีบ (Infantile hypertrophic pyloric stenosis หรือ IPHS) ซึ่งมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อบริเวณส่วนล่างสุดของกระเพาะอาหารหนาผิดปกติจนทำให้ช่องหูรูดกระเพาะอาหารแคบลง สำหรับทารกที่มีอาเจียนลักษณะนี้อาจทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา
ลูกกินข้าวแล้วอาเจียน เกิดจากอะไร
ลูกอาเจียน เป็นอาการทั่วไปที่สามารถพบได้ โดยมากแล้วไม่ถือว่าอันตราย และสามารถหายเองได้เพียง 1-2 วัน ซึ่งอาการอาเจียนในทารกนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้
- ไวรัสลงกระเพาะ (Viral Gastroenteritis)
- แพ้อาหาร (Food Allergy)
- อาการไออย่างรุนแรง (Hard Coughing)
- การติดเชื้อต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อที่หูชั้นกลาง โรคปอดบวม หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ส่วนการที่ลูกอาเจียนหลังจากกินข้าวก็อาจเป็นไปได้ว่ากินมากเกินไปจนสำลักและอาเจียน หรืออาจเป็นไปได้ว่ามีอาการแพ้อาหารร่วมด้วย แต่ถ้าหากลูกกินข้าวแล้วอาเจียนอยู่บ่อย ๆ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา
ลูกอาเจียนตอนกลางคืน เกิดจากอะไร
อาการอาเจียนนั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้
- ไวรัสลงกระเพาะ (Viral Gastroenteritis)
- แพ้อาหาร (Food Allergy)
- อาการไออย่างรุนแรง (Hard Coughing)
- การติดเชื้อต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อที่หูชั้นกลาง โรคปอดบวม หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ซึ่งอาจมีอาการตั้งแต่ตอนกลางวัน หรือเริ่มมีอาการเกิดขึ้นตอนกลางคืนก็ได้เช่นกัน
ลูกอาเจียน แต่ไม่มีไข้ ปวดท้อง อันตรายไหม
ในกรณีนี้อาการหลักที่ควรระวังจะไม่ใช่แค่อาการอาเจียน แต่เป็นอาการปวดท้อง ซึ่งหากทารกมีอาการปวดท้องควรพาไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา เนื่องจากอาการปวดท้องที่ทำให้มีอาการอาเจียนร่วมด้วย สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์
ลูก 2 เดือนอาเจียนบ่อย เกิดจากอะไร
ลูกอ้วกบ่อยสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ไวรัสลงกระเพาะ แพ้อาหาร อาการไอเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อที่หูชั้นกลาง โรคปอดบวม หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น
ทารกแหวะมีเสมหะ อันตรายไหม
การที่ทารกอาเจียนหรือแหวะเอาเสมหะออกมาด้วย ไม่ถือว่าอันตราย เพราะทารกสามารถขับเอาของเสียออกมาได้
แต่ในกรณีที่ทารกอาเจียนออกมาเป็นเสมหะสีเขียวหรือสีเหลืองปนเขียว อาจเกิดจากมีน้ำดีปนออกมาด้วย ซึ่งเป็นสัญญาณของการอุดตันในลำไส้ หากทารกมีการอาเจียนในลักษณะนี้ควรได้รับการดูแลจากแพทย์ในทันที
- Seattle Children’s Hospital. Vomiting (0-12 Months). [Online] Accessed https://www.seattlechildrens.org/conditions/a-z/vomiting-0-12-months/. [12 April 2022]
- NHS inform. Vomiting in children and babies. [Online] Accessed https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/stomach-liver-and-g…. [12 April 2022]
- Pregnancy, Birth and Baby. Vomiting in babies. [Online] Accessed https://www.pregnancybirthbaby.org.au/vomiting-in-babies#causes. [12 April 2022]
- WebMD. Baby Spitting Up. [Online] Accesed https://www.webmd.com/parenting/baby/spitting-up. [12 April 2022]
- Healthline. Why Is My Baby Throwing Up When They Don’t Have a Fever?. [Online] Accessed https://www.healthline.com/health/baby/baby-vomiting-no-fever#possible-…. [12 April 2022]
- Cleveland Clinic. What Are Your Formula Options for a Gassy Baby?. [Online] Accessed https://health.clevelandclinic.org/what-are-your-formula-options-for-a-…. [12 April 2022]
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. แหวะนม พบได้บ่อยในทารก. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/. [12 เมษายน 2022]
- โรงพยาบาลพญาไท. ปวดท้องในเด็กเกิดจากสาเหตุอะไรบ้างนะ?. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.phyathai.com/article_detail/2157/th/. [12 เมษายน 2022]
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
- ลูกท้องผูก ลูกถ่ายไม่ออก เช็กวิธีแก้ฉบับแม่มือโปร!
- ทารกท้องอืด ไม่สบายท้อง ร้องไห้โยเย แม่จ๋ารับมือยังไงดี
- ลูกร้องไห้ เพราะอาการโคลิก
- ลูกถ่ายเหลวบ่อย ถ่ายทันทีหลังกินนม ทารกท้องเสียหรือเปล่า?
- 9 เทคนิคลดอาการลูกแหวะนม
- ลูกแหวะนม ลูกแหวะบ่อย ปัญหากวนใจที่รับมือได้ไม่ยาก
- สอนลูกขออั่งเปาตั่วตั่วไก๊ และศัพท์อวยพรตรุษจีน 2567
- รับมืออาการไอในเด็กกับสารพัดวิธีบรรเทาอาการไอของลูกน้อย
- เช็กเลย! สีอุจจาระทารกแบบไหนปกติ และแบบไหนที่ผิดปกติ
- ลูกไม่กินข้าว ทำอย่างไรดี
- คนท้องนอนคว่ำได้ไหม เป็นอันตรายหรือเปล่า