โดย รองศาสตราจารย์ พญ.ชลีรัตน์ ดิเรกวัฒนชัย
ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้ในเด็ก อาจารย์พิเศษโรคภูมิแพ้ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
1 อาการเด็กแพ้โปรตีนนมวัวไม่เป็นอันตราย ไม่ต้องรักษาก็หายเองได้เมื่อโตขึ้น
เป็นความเชื่อที่ผิด แม้ว่าการที่เด็กแพ้โปรตีนนมวัวส่วนใหญ่จะไม่มีอาการที่รุนแรงหรือเป็นอันตรายทำให้เสียชีวิตลงเหมือนอาการเจ็บไข้อื่น ๆ และเมื่อเด็กโตขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้นอาการนี้จะหายไปได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา อาการของโรคแพ้โปรตีนนมวัวจะดำเนินต่อไป เรียกว่า Allergic March
โรคแพ้โปรตีนนมวัว จะมีอาการที่ระบบผิวหนัง เช่น เป็นผื่นภูมิแพ้ ตามมาด้วยระบบทางเดินหายใจ เช่น แพ้อากาศ เด็กจะมีอาการหายใจครืดคราดหรือหายใจทางปาก และหรือมีโรคหืดตามมา บางรายอาจมีอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ถ่ายเป็นมูกเลือด ถ่ายเหลว อาเจียน
ซึ่งอาการต่าง ๆ ของการแพ้โปรตีนในนมวัวนี้ทำให้เด็กดื่มนมไม่ได้ จึงอาจไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอและส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กได้
อาการเด็กแพ้โปรตีนนมวัวนี้ จึงต้องได้รับการรักษาโดยเร็วเพื่อป้องกันไม่ให้อาการอื่น ๆ ของโรคภูมิแพ้เกิดขึ้นตามมา หรือเกิดการแพ้อาหารหรือแพ้สารอื่น ๆ ตามมาอีก หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะมีโอกาสหายจากการแพ้โปรตีนนมวัวได้ภายใน 1 ปี แนะนำให้ลูกดื่มนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน
ในกรณีที่แม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ทางเลือกคือนมสูตรโปรตีนเคซีน ที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด ลดโอกาสกระตุ้นให้เกิดการแพ้ ปัจจุบันมีการเสริมจุลินทรีย์สุขภาพ LGG ซึ่งมีการศึกษาทางการแพทย์แล้วพบว่าจะลดอาการแพ้โปรตีนนมวัวได้ นอกจากนี้ การให้ LGG ในเด็กจะลดโอกาสการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นสาเหตุเสริมให้เกิดโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจได้ง่ายขึ้นในเด็กกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้
2 พ่อแม่ไม่เป็นภูมิแพ้ ลูกคงไม่แพ้โปรตีนนมวัว
เป็นความเชื่อที่ผิด จากรายงานพบว่า ร้อยละ 10-15% ของเด็กแพ้โปรตีนนมวัว จะไม่มีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว หรือในบางรายพ่อแม่มีประวัติภูมิแพ้ แต่ไม่เคยทราบว่าพ่อแม่เป็นโรคภูมิแพ้ คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรละเลยในการสังเกตอาการลูกว่ามีอาการใดที่บ่งบอกว่าลูกแพ้โปรตีนนมวัวหรือไม่
หากพบว่าลูกมีภาวะแพ้โปรตีนนมวัว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาให้อาการหายโดยเร็ว ทำให้เด็กเจริญเติบโตได้เป็นปกติ ที่สำคัญกว่านั้น คือเป็นการป้องกันไม่ให้เด็กไปแพ้อย่างอื่นอีก เช่น แพ้ไข่ แป้งสาลี ถั่วเหลือง อาหารทะเล ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในการดูแล อีกทั้งต้องระมัดระวังเรื่องอาหารเมื่อเด็กไปโรงเรียน
การรักษาอาการแพ้โปรตีนนมวัวทำได้โดยให้ลูกได้กินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน ในกรณีที่แม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรเลือกนมสูตรโปรตีนเคซีนที่โปรตีนได้ผ่านการย่อยอย่างละเอียด ปัจจุบันมีการเสริมจุลินทรีย์สุขภาพ LGG ซึ่งพัฒนาเพื่อการลดและป้องกันการเกิดอาการเด็กแพ้โปรตีนนมวัว
3 เด็กแพ้นมวัว กินนมแพะหรือนมถั่วเหลืองแทนได้
เป็นหนึ่งในความเชื่อผิด ๆ ที่พบบ่อย ความจริง คือ ในนมแพะมีส่วนประกอบของสารอาหารในโปรตีนที่เป็นสาเหตุสำคัญของการแพ้เช่นเดียวกับที่พบในอาการเด็กแพ้นมวัว อาการเด็กแพ้นมผง เช่น เบต้า-แลคโตโกลบูลิน (Beta-Lactoglobulin) เด็กจึงมีโอกาสแพ้นมแพะได้เช่นเดียวกับแพ้โปรตีนนมวัว ดังนั้นเด็กที่แพ้โปรตีนนมวัวจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้นมแพะแทน
ส่วนนมถั่วเหลือง ก็ไม่ใช่ทางเลือกของเด็กแพ้โปรตีนนมวัว เพราะในเด็กที่แพ้โปรตีนนมวัวนั้นประมาณ 1 ใน 3 จะแพ้นมที่ทำจากถั่วเหลืองด้วย ซึ่งหากเกิดการแพ้นมถั่วเหลือง จะทำให้โอกาสการเลิกแพ้ยากขึ้นเป็นสองเท่าเมื่ออายุ 1 ปี และอาจส่งผลให้เกิดการแพ้อาหารอื่น ๆ อีกตามมา คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกแพ้โปรตีนนมวัวแล้วจะเปลี่ยนให้ลูกมากินนมถั่วเหลืองนั้นควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งโดยทั่วไปแพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้นมถั่วเหลืองในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน
แนวทางการรักษาเด็กแพ้โปรตีนนมวัวคือให้ดื่มนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน โดยหากแม่รับนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว แม่ควรระวังสังเกตอาการของลูก หรือเลือกนมสูตรพิเศษที่ใช้รักษาเด็กแพ้โปรตีนนมวัวโดยเฉพาะที่มีโปรตีนผ่านการย่อยอย่างละเอียดทำให้มีโปรตีนขนาดเล็กไม่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ พร้อมเสริมจุลินทรีย์สุขภาพ LGG ซึ่งจะช่วยสร้างสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันทำให้หายจากอาการแพ้โปรตีนนมวัวได้เอง
เรียนรู้เกี่ยวกับ อาการแพ้โปรตีนนมวัว หรือ Cow’s milk protein allergy (CMPA) เพิ่มเติมได้ที่