ต้องบอกว่าวิธีนับรอบเดือนกับ การตกไข่ เป็นเรื่องใกล้ตัวของผู้หญิง ดังนั้นการ นับวันตกไข่ เป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับการวางแผนความพร้อมในการตั้งครรภ์ และเนื่องจาก วันไข่ตก จะเกิดเพียงขึ้นเดือนละ 1 ครั้งเท่านั้น ทำให้ต้องมีการวางแผนที่ดีสำหรับคู่สมรสที่มีความพร้อมจะมีบุตร
การตั้งครรภ์นั้นจะเกิดขึ้นได้เมื่ออสุจิเข้าไปผสมกับไข่ในช่วงวันตกไข่ ฉะนั้นหากสามารถ นับวันตกไข่ ที่แน่นอนแล้ว ก็เท่ากับสามารถกำหนดวันมีเพศสัมพันธ์ที่มีโอกาสมีลูกมากขึ้น เพราะในช่วงวันที่ตกไข่จะเป็นช่วงที่อสุจิสามารถเข้าไปปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ได้และส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์นั่นเอง
รู้จักวัน “ตกไข่”
เรื่องนี้ต้องรู้ “ผู้หญิงแต่ละคนจะมีไข่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดถึง ล้านใบ”
ผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ แต่ละเดือนจะมีการตกไข่ 1 ครั้ง การที่ไข่ฟองไหนจะเจริญเติบโตและตก เป็นผลมาจากฮอร์โมนหลายตัวที่ประสานกันทำงานคือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) โปรเจสเตอโรน (Progesterone) แอลเอช (LH – Luteinozing Hormone) และเอฟเอสเอช (FSH – Follicle Stimulating Hormone) โดยวงรอบจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 5 ของรอบเดือน ฮอร์โมนจะทำให้ ฟองไข่ประมาณ 15-20 ฟองเจริญเติบโตอยู่ในถุงรังไข่จนถึงวันที่ 14 ของรอบเดือน ไข่ที่สมบูรณ์ที่สุด เพียง 1 ใบเท่านั้น ที่มีสิทธิตกออกมาจากถุงรังไข่ ก่อนเคลื่อนตัวผ่านเข้าไปใน ท่อนำไข่ ก่อนที่จะหลุด จากท่อนำไข่ เข้าไปในโพรงมดลูกช่วงเวลานับจากนาทีที่ ไข่หลุดจากถุงรังไข่ อยู่ในท่อนำไข่ จนถึงนาทีที่หลุดเข้าไปในโพรงมดลูก เป็นช่วงเวลาสำคัญสุด ที่ เรียกว่า “การตกไข่” นั้นเองค่ะ เหตุที่กล่าวว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญสุด เพราะระยะเวลาดังกล่าว ยาวนานเพียงแค่ 12-24 ชั่วโมงเท่านั้นในช่วงระยะเวลาที่ไข่ถูกฟูมฟักให้สมบูรณ์ ฮอร์โมนที่กล่าวไปแล้วนั้น ก็จะจัดเตรียมมดลูกให้พร้อมสำหรับไข่ที่ได้รับการผสม โดยมีการสร้างเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นมาใหม่ สร้างหลอดเลือดใหม่เพื่อส่งเลือดไปเลี้ยง เพื่อว่าไข่ที่ได้รับการผสม จะสามารถฝังตัวได้ทันที และได้รับอาหาร บำรุงพรั่งพร้อม เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและแข็งแรง
แล้วคุณผู้หญิงนับวันตกไข่อย่างไรให้ได้ผล วันนี้เรามีคำตอบ…
เข้าใจวงจรการตกไข่
การตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อไข่ ที่ตกได้รับการผสมจากอสุจิ ซึ่งใน 1 เดือน จะมีการตกไข่เพียง 1 ครั้ง และช่วงที่ไข่จะพร้อมรอการผสม คือช่วงเวลาที่ไข่เคลื่อนตัวเดินทางจากถุงรังไข่ไปถึงโพรงมดลูกเท่านั้น ซึ่งยาวนาน เพียงแค่ 12-24 ชั่วโมงเท่านั้นในแต่ละเดือน ถ้าหากมีการปฏิสนธิในช่วงเวลานี้ ไข่ ที่ได้รับการผสม ก็จะไปฝังตัวกับเยื่อบุผนังมดลูกกลายเป็นตัวอ่อน พร้อมกับสร้างฮอร์โมนกระตุ้นให้มดลูกและเยื่อบุมดลูก มีการพัฒนาต่อไป เกิดเป็นการตั้งครรภ์ขึ้น แต่ถ้าไข่ไม่ถูกปฏิสนธิหรือผสมไม่สำเร็จ ไข่ก็จะฝ่อ และ เยื่อบุมดลูกที่ขาดฮอร์โมนจากไข่ที่ผสมแล้ว ก็จะเริ่มสลายตัว อีก 14 วันหลังจากนั้นก็จะกลายเป็นประจำเดือนปกตินั่นเอง
นับวันตกไข่ อย่างไรให้แม่นยำ
การนับวันไข่จะตก จะนับในช่วงประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนที่ประจำเดือนรอบใหม่จะมา ซึ่งการจะคำนวณวันตกไข่ให้แม่น ๆ ได้นั้นจะใช้ได้เฉพาะกับผู้หญิงที่มีรอบเดือนสม่ำเสมอเท่านั้น ซึ่งอาจใช้ไม่ได้กับทุกคนนะคะ
จะรู้ได้อย่างไรว่าถึงเวลาตกไข่...
สำหรับการสังเกตอาการในช่วงไข่ตกนั้นไม่ยากค่ะ บางคนจะรู้สึกปวดในส่วนล่างของช่องท้องหรือท้องน้อย จะเป็นด้านซ้ายหรือขวาขึ้นอยู่กับเดือนที่ รังไข่ด้านไหน มีไข่ตก เพราะไข่ จะตกสลับข้างกันในแต่ละเดือน รวมทั้งมีอาการเจ็บหน้าอก ขาไม่มีแรง บางครั้งมีเลือดออกจากช่องคลอดนิดหน่อยเป็นเวลา 1-2 วัน ถ้าสอดนิ้วเข้าช่องคลอดจะรู้สึกว่ามีของเหลวข้นคล้ายไข่ขาวดิบหรือคล้ายวุ้น ลื่นแต่เหนียวหนืดหลั่งออกมา
นับวันตกไข่ อาจใช้ไม่ได้กับทุกคน
สำหรับคนที่มีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ มาบ้างไม่มาบ้าง การนับวันตกไข่ อาจใช้ไม่ได้ผล เพราะอาจมีความคลาดเคลื่อนกันในแต่ละเดือน แนะนำว่าควรพบแพทย์เพื่อปรึกษา เพราะการที่ประจำเดือนจะมาตรงเวลาหรือไม่นั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ
วิธีการคำนวณการตกไข่... รู้ไว้อุ่นใจกว่า
- จดบันทึก
“ความยาวของรอบเดือน” แนะนำว่าจดบันทึกไว้ทุกเดือน ตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือนหรืออย่างน้อย เป็นระยะเวลา 8-12 เดือน โดยจดบันทึกวันแรกที่มีประจำเดือนทุกครั้ง
ระยะเวลา 1 รอบเดือน คือ วันแรก ของเดือนก่อน ถึงวันแรกของเดือนนี้ แล้วดูว่ารอบเดือนครั้งไหนมีจำนวนวันที่น้อยที่สุดและมากที่สุด แล้วจึงนำมาคำนวณง่าย ๆ ตามสูตร ดังนี้
- วันแรกที่พร้อมตั้งครรภ์ (First fertile day) = รอบเดือนที่มีวันน้อยสุด – 18
- วันสุดท้ายที่พร้อมตั้งครรภ์ (Last fertile day) = รอบเดือนที่มีวันมากสุด – 11
- การกำหนดระยะเวลาเจริญพันธุ์
การกำหนดระยะเวลาเจริญพันธุ์ (The standard days method – SDM) เป็นการกำหนดช่วงเวลาไปเลยว่าในวันที่ 8-19 (แถบสีฟ้า) ของรอบเดือนจะเป็นช่วงที่มีโอกาสทำให้เกิดการตั้งครรภ์ โดยเป็นการคำนวณค่าเฉลี่ยของรอบประจำเดือนของสตรีทั่วไปที่มีรอบประจำเดือน 26-32 วัน หากต้องการมีลูกก็ให้มีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาดังกล่าวค่ะ - การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย
การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย (Basal body temperature – BBT) เป็นการใช้ความรู้ด้านสรีรวิทยาที่ว่า อุณหภูมิในร่างกายจะลดลง 12-24 ชั่วโมงก่อนที่จะมี การตกไข่ หลังจากนั้นก็จะสูงขึ้นประมาณครึ่งองศาเมื่อมีการตกไข่ (0.5 degree Celsius/C) ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone)
ดังนั้นคุณผู้หญิงจะต้องมีการตรวจวัดอุณหภูมิของตนเองทุกเช้าโดยนอนหลับสนิทติดต่อกันอย่างน้อย 5 ชั่วโมง เมื่อตื่นนอนและก่อนทำกิจกรรมใด ๆ ให้วัดอุณหภูมิร่างกายทันทีด้วยปรอทวัดไข้ธรรมดา ก่อนจดบันทึกไว้แล้วจดบันทึกเอาไว้ ด้วยการใช้ปรอทวัดไข้ธรรมดาหลังจากตื่นนอนและก่อนทำกิจกรรมใด ๆ ทำสม่ำเสมอเพื่อดูแนวโน้มและจะได้ประมาณ วันไข่ตก ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น เมื่อดูจากค่าอุณหภูมิที่บันทึกไว้ เราก็สามารถเลือกวันที่จะมีเพศสัมพันธ์เพื่อให้ตั้งครรภ์ได้ - การตรวจปากมดลูก
การตรวจปากมดลูก โดยปกติแล้วปากมดลูกจะอยู่ในระดับต่ำ แห้ง และแข็ง เมื่อแตะดูจะมีความรู้สึกเหมือนแตะที่ปลายจมูก แต่เมื่อถึง วันตกไข่ ปากมดลูกจะเลื่อนขึ้นไปอยู่สูงขึ้น เมื่อแตะดูแล้วจะมีความอ่อนนุ่มเป็นพิเศษ (เหมือนริมฝีปาก) เปียก ๆ แฉะ ๆ และต้องตรวจทุก ๆ วันในช่วงเวลาเดิม แต่หากมีอาการปัสสาวะแล้วปวดแสบ มีอาการติดเชื้อหรืออักเสบในช่องคลอดก็ห้ามใช้วิธีนี้ - อารมณ์ทางเพศที่เพิ่มขึ้น
อารมณ์ทางเพศที่เพิ่มขึ้น เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของผู้หญิง โดยฝ่ายหญิงมีอารมณ์หรืออยากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาตกไข่ ช่วงตกไข่ จะเป็นช่วงที่ปากมดลูกเลื่อนขึ้นไปอยู่สูง อ่อนนุ่มขึ้น และสร้างของเหลวที่ช่วยในการหล่อลื่นมากเป็นพิเศษเพื่อการมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงยังมีเลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณช่องคลอดมากขึ้น จึงทำให้เกิดอารมณ์อยากมีเพศสัมพันธ์มากขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การสังเกตด้วยวิธีนี้ก็อาจจะไม่แน่นอนเสมอไป เพราะความเครียดหรือปัจจัยอื่น ๆ ก็อาจทำให้อารมณ์เพศลดน้อยลงได้ - การใช้ชุดตรวจการตกไข่
ชุดทดสอบการตกไข่ (LH ovulation test) ในปัจจุบันมีชุดตรวจคาดคะเนระยะการตกไข่ ซึ่งจะใช้กันมากในสตรีที่ต้องการที่จะตั้งครรภ์และต้องการที่จะกำหนดช่วงเวลาการมีเพศสัมพันธ์ให้ตรงกับในช่วงตกไข่หรือใกล้ช่วงตกไข่มากที่สุด โดยจะเป็นการตรวจหาฮอร์โมนกระตุ้นการตกไข่ (Luteinizing hormone – LH) ในปัสสาวะ ซึ่งปกติแล้วร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน LH ออกมาในปริมาณน้อย จนถึงระยะ "ก่อนเวลาตกไข่" ฮอร์โมน LH จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และการตกไข่จะเกิดภายในเวลา 12-48 ชั่วโมง จึงทำให้ทราบช่วงเวลาตกไข่ได้ล่วงหน้า ดังนั้น ถ้าหากมีเพศสัมพันธ์ภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากตรวจพบฮอร์โมน LH นี้อยู่ในระดับสูงสุด ก็จะทำให้มีโอกาสในการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น
การนับวันตกไข่ อาจเป็นหนึ่งวิธีการเพิ่มโอกาสให้มีลูกได้มากขึ้น แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ 100% เสมอไป เนื่องจากการตกไข่ในผู้หญิงแต่ละคนมีความแตกต่างกันของจำนวนวัน และยังมีเรื่องของภาวะความเครียด การกิน การทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ การตกไข่ ในแต่ละเดือนนั้นไม่แม่นยำเสมอไป
สำหรับคุณผู้หญิงที่มี การนับวันตกไข่ ได้ค่อนข้างแม่นยำ แต่ยังมีปัญหาในเรื่องของการมีบุตรยากควรปรึกษาแพทย์โดยตรงเพื่อรับคำปรึกษาทั้งสามีและภรรยาเพื่อวิเคราะห์ปัญหาของสภาพร่างกาย ก็จะเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้สามารถมีบุตรได้นะคะ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Enfa Smart Club วันนี้ เราพร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลพัฒนาการและโภชนาการลูกน้อยจากผู้เชี่ยวชาญ พร้อมสิทธิพิเศษมากมาย ไม่ว่าจะเป็นส่วนลด โปรโมชั่นดี ๆ เฉพาะสมาชิกเท่านั้น
References