ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

อาการแพ้แลคโตสคืออะไรจากสาเหตุใด

Infants born to diarrhea Diarrhea after eating milk Mothers may be wondering if the baby is allergic to breast milk or not. Is this a lactose intolerance? What is this symptom How dangerous is it? And can heal it? We come to find answers.

What is lactose intolerance? What's cause

อาการแพ้แลคโตสที่คุณแม่เข้าใจนั้น จริงๆ คือภาวะที่ร่างกายไม่สามารถทนต่อการกินน้ำตาลแลคโตสที่พบเป็นส่วนประกอบสำคัญของนมได้ (Lactose Intolerance) เกิดจากการที่ร่างกายขาดเอนไซม์แลคเตส (Lactase) หรือมีไม่เพียงพอ บางครั้งเกิดตามหลังการติดเชื้อในลำไส้ ซึ่งเอนไซม์แลคเตสเป็นเอนไซม์ที่ใช้ย่อยแลคโตส เป็นน้ำตาลที่อยู่ในน้ำนมวัว จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารจึงนำน้ำตาลนี้ไปใช้ ทำให้เกิดการสร้างกรดและแก๊ส มีการดึงน้ำเข้ามาในลำไส้และมีการเคลื่อนตัวของลำไส้เร็วขึ้น จึงเกิดอาการท้องเดิน ท้องเสีย ปวดท้อง หรือท้องอืด หลังกินนมวัวขึ้น

อาการของภาวะการย่อยแลคโตสผิดปกติ

เด็กที่มีภาวะนี้เมื่อดื่มนมวัวหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนมวัวเข้าไปประมาณ 30 นาที - 2 ชั่วโมง จะมีอาการท้องเสีย ปวดท้อง ท้องอืด หรือมีลมในท้อง แต่เนื่องจากระดับการเกิดภาวะนี้ของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนสามารถกินผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนมวัวในปริมาณเล็กน้อยได้ โดยไม่มีอาการมากนัก แต่บางคนนั้นแม้ได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนมวัวในปริมาณเพียงเล็กน้อย ก็อาจเกิดอาการอย่างรุนแรงได้

Infants aged 2 weeks and older and still have frequent diarrhea  It is possible that the baby has abnormal lactose digestion.

 

โปรดทราบ...ภาวะย่อยแลคโตสผิดปกติไม่ใช่อาการแพ้แลคโตส

คุณแม่บางท่านอาจเข้าใจผิดว่าภาวะย่อยแลคโตสผิดปกติ คืออาการแพ้แลคโตสนั้น จริงๆ แล้วภาวะนี้ไม่ใช่ภูมิแพ้ เพราะจะไม่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพียงแต่ร่างกายเด็กขาดเอนไซม์ที่ใช้ย่อยแลคโตสเท่านั้น

ภาวะการย่อยแลคโตสผิดปกติอันตรายหรือไม่?

คุณแม่อาจสงสัยว่าภาวะการย่อยแลคโตสผิดปกตินั้นอันตรายหรือไม่ ปกติแล้วภาวะนี้ไม่มีอันตรายมาก เพียงแต่ใช้เวลากว่าลูกจะหายจากอาการท้องเสีย ซึ่งทำให้คุณแม่กังวลใจ ถ้าเด็กท้องเสียนานกว่า 2 สัปดาห์จะทำให้เด็กได้รับสารอาหารลดลง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเขาได้ คุณแม่จึงไม่ควรมองข้าม ควรปรึกษาคุณหมอถึงแนวทางการรักษา และภาวะย่อยแลคโตสผิดปกติสามารถรักษาได้ คุณหมอจะให้แนวทางการดูแลรักษาที่ถูกต้องกับคุณแม่ เพื่อให้ลูกกลับมากินนมสูตรปกติได้ในไม่ช้าค่ะ

การดูแลลูกที่มีภาวะย่อยแลคโตสผิดปกติทำได้อย่างไร

หากคุณแม่พบว่าลูกมีภาวะย่อยแลคโตสผิดปกติ คุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรปรึกษาคุณหมอถึงแนวทางรักษา ภาวะย่อยแลคโตสผิดปกติสามารถรักษาได้ โดยจำกัดอาหารที่มีแลคโตสเป็นส่วนประกอบ และการกินนมที่ปราศจากแลคโตส (Lactose Free) ซึ่งจะช่วยทำให้เด็กหายจากอาการท้องเสียเร็วขึ้น ขณะเดียวกันก็ยังได้รับสารอาหารตามปกติ ซึ่งโดยมากเด็กจะใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ในการสร้างเอนไซม์แลคเตส เมื่อร่างกายผลิตเอนไซม์ได้ในปริมาณที่เพียงพอแล้ว ลูกน้อยก็จะสามารถกินนมสูตรปกติได้

ภาวะย่อยแลคโตสผิดปกติของทารกต่างจากภาวะแพ้โปรตีนนมวัวอย่างไร

ภาวะย่อยแลคโตสผิดปกติจะมีอาการบางอย่างที่คล้ายกับภาวะแพ้โปรตีนนมวัว จึงทำให้คุณแม่เกิดความสับสนได้ แต่ภาวะทั้งสองนี้มีความแตกต่างกันดังนี้

  • ภาวะย่อยแลคโตสผิดปกติของทารกนั้น ไม่ใช่ภูมิแพ้เพราะจะไม่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และต่างจากการแพ้โปรตีนนมวัว (Cow’s Milk Protein Allergy) เพราะการแพ้โปรตีนนมวัว เป็นอาการภูมิแพ้อย่างหนึ่ง คือการที่ร่างกายแพ้โปรตีนที่อยู่ในนมวัว แต่อาจสามารถย่อยแลคโตสได้

  • ภาวะย่อยแลคโตสผิดปกตินั้น เกิดขึ้นกับระบบทางเดินอาหารเพียงระบบเดียว นั่นคือทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาเจียน แน่นท้อง ปวดเกร็งท้อง มีลมในท้อง โดยอาการจะเกิดหลังกินนมประมาณ 30 นาที-2 ชั่วโมง

  • ภาวะแพ้โปรตีนนมวัวจะเกิดได้กับหลายระบบในร่างกาย ได้แก่ ระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการปวดท้อง ท้องเดิน อาเจียน มีเลือดปนมากับอุจจาระ) ระบบทางเดินหายใจ เช่น มีน้ำมูกไหล คัดจมูก หลอดลมอักเสบ เป็นหวัดบ่อย ไอ ไซนัสอักเสบ หายใจเสียงดังวี๊ด อาการทางผิวหนัง เช่น มีผื่นแดง เป็นลมพิษ ผิวหนังอักเสบ เป็นตุ่มพอง ตกสะเก็ด และแสบคัน ซึ่งอาการอาจแสดงเพียงระบบเดียวหรือหลายระบบพร้อมกันก็ได้ หากลูกน้อยมีอาการของภูมิแพ้ เช่น อาการบวม เป็นผื่น น้ำตาไหล น้ำมูกไหล หลังการกินผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนมวัว เป็นไปได้ว่าลูกน้อยอาจแพ้โปรตีนนมวัว

ในช่วงแรกคลอด ทารกที่กินนมแม่ อาจมีอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำ ท้องอืดมีลมเยอะ ซึ่งอาจเกิดจากการที่ลูกได้รับนมส่วนหน้าเยอะเกินไป ซึ่งในน้ำนมส่วนหน้านี้มีปริมาณของน้ำตาลแลคโตสอยู่มาก ทำให้ย่อยได้ไม่หมด ทางแก้คือควรให้ทารกดูดนมให้เกลี้ยงเต้าทีละข้างเพื่อให้ได้น้ำนมส่วนหลังเพิ่มขึ้น ส่วนในทารกที่ทานนมผง หากสงสัยว่าลูกน้อยมีภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อทำการวินิจฉัยให้แน่ชัด คุณหมอจะแนะนำแนวทางการรักษาที่ถูกต้องกับคุณแม่ เพื่อให้ลูกน้อยกลับมากินนมสูตรปกติได้ในไม่ช้า ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพและพัฒนาการของลูกค่ะ

 

ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

Enfa Smart Club

Leaving page banner