คุณแม่มือใหม่อาจรู้สึกเก้ๆ กังๆ เวลาให้นมลูก เพราะเป็นประสบการณ์ใหม่ ซึ่งหากคุณแม่เริ่มต้นดีก็จะทำให้การให้นมประสบความสำเร็จได้มากขึ้น  เพราะการเริ่มให้ลูกดูดนมอย่างถูกต้องถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้กินนมแม่ได้สำเร็จ ทำให้น้ำนมไหลดี คุณแม่เองก็พลอยมีกำลังใจ  ทั้งยังป้องกันปัญหาที่จะตามมา เช่น เจ็บหัวนม เต้านมคัด หรือน้ำนมไม่ไหลได้ด้วย

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

 เริ่มจากหาที่เหมาะๆ เลือกเก้าอี้ที่นั่งสบาย (ท่านั่งมักสบายกว่าท่านอน) ใช้หมอนหนุนหลังแม่ ส่วนหมอนอีกใบวางที่ตักเพื่อหนุนให้ลูกอยู่ในระดับพอเหมาะกับทรวงอก อุ้มลูกตะแคงเข้าหาตัวแม่ ให้ปากลูกอยู่ระดับเดียวกับหัวนมแม่ แม่จะได้ไม่เกร็งจนปวดเมื่อยร่างกายอันจะเป็นอุปสรรคในระยะยาวได้ พออยู่ในท่าสบายแล้ว ใช้น้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาดหัวนมเพียงเบาๆ ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์เพราะจะทำให้หัวนมแห้งแตก เมื่อพร้อมแล้วก็ให้นมลูกได้เลย ตามขั้นตอนดังนี้ค่ะ

ท่าให้นมและเทคนิคการดูด

1. เจ้าตัวเล็กมีสัญชาตญาณหันศีรษะเข้าดูดนมตั้งแต่แรกเกิดอยู่แล้ว แค่เขี่ยแก้มเบา ๆ ลูกก็หันหน้ามาดูดนมได้เอง แต่ถ้าไม่หันมา คุณแม่ลองบีบที่ลานหัวนมเบาๆ เพื่อให้น้ำนมหยดออกมาแตะที่ริมฝีปากของลูก กระตุ้นให้เจ้าตัวน้อยอ้าปากลิ้มรสน้ำนม

2. พยายามให้ลูกอ้าปากกว้างๆ โดยใช้หัวนมแตะที่จมูกหรือริมฝีปากลูก เมื่อลูกอ้าปาก สอดหัวนมเข้าปากลูก ควรตรวจดูให้แน่ใจว่าลูกอมลานหัวนมได้ลึกดีพอ และใช้เหงือกกดลงบนลานนม เพราะถ้าลูกอมเฉพาะส่วนหัวนมคุณแม่จะเจ็บมาก และน้ำนมก็ไหลได้ไม่ค่อยดีด้วย ให้คุณแม่ใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางรั้งเต้านม เพื่อให้ลูกดูดนมสะดวกขึ้น และกันไม่ให้เต้านมอุดปิดจมูกลูกด้วย

3. ระหว่างดูดนม ถ้าลูกดูดได้อย่างถูกต้อง คุณแม่จะไม่รู้สึกเจ็บ (อาจรู้สึกจี๊ดๆ หรือรู้สึกแปลบในเต้านม ซึ่งเป็นกลไกน้ำนมพุ่ง ให้หายใจลึกๆ จะช่วยให้ผ่อนคลาย) ถ้ารู้สึกเจ็บ ให้หยุดแล้วเริ่มต้นใหม่ โดยใช้นิ้วก้อยสอดเข้าไปตรงมุมปากลูกเพื่อให้ลูกอ้าปาก ถอนปากลูกออกมา แล้วลองใหม่ อย่าปล่อยให้ลูกดูดทั้งๆ ที่เจ็บ เพราะจะทำให้หัวนมแตก เกิดการอักเสบได้ และถ้าน้ำนมอีกข้างหยดออกมาด้วย ควรใช้แผ่นซับน้ำนมหรือฝาครอบเต้านมรองรับไม่ให้น้ำนมไหลเลอะเทอะ

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM

4. เมื่อทุกอย่างเข้าที่เข้าทางและดำเนินไปด้วยดี ควรปล่อยให้ลูกดูดนมได้นานเท่าที่ลูกต้องการ นอกจากเพื่อให้ลูกอิ่มท้องแล้ว ยังเป็นการระบายน้ำนมออก คุณแม่จะรู้สึกเต้านมไม่คัดตึงอย่างตอนแรก ระหว่างดูด ถ้าลูกหยุดเพราะหลับ ให้คุณแม่ใช้นิ้วขยับหัวนมกระตุ้นให้ลูกดูดต่อได้

5. เมื่อลูกหยุดดูดเพราะอิ่มแล้ว ให้ขยับตัวลูกออกห่างแทนการดึงหัวนมออก ไม่เช่นนั้นคุณแม่จะเจ็บมาก วิธีการคือใช้ปลายนิ้วก้อยสอดเข้าระหว่างเหงือกของลูก แล้วค่อยๆ เลื่อนหัวนมออก จึงเช็ดหัวนมด้วยสำลีชุบน้ำสะอาด เมื่อลูกได้กินนมจนอิ่ม ลูกจะหลับสบาย เมื่อถึงมื้อต่อไปก็ให้ลูกดูดเต้านมอีกข้าง เพื่อให้ทรวงอกทั้งสองข้างได้รับการกระตุ้นเท่าๆ กัน

ช่วงแรกๆ อาจยังไม่ชำนาญ เมื่อให้บ่อยๆ และคุณแม่และลูกค่อยๆ ทำความรู้จักและเรียนรู้กัน การให้นมจะค่อยๆ เข้าที่เข้าทางขึ้นได้ค่ะ

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน


เพราะในน้ำนมเหลืองมี แลคโตเฟอร์ริน โปรตีนในนมแม่ที่จะพบได้มากที่สุดในน้ำนมเหลือง หรือน้ำนมระยะแรกที่จะไหลออกมาใน 1-3 วันแรกหลังคลอด ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จึงช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน

นมแม่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด พบข้อมูล เคล็ดลับที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ได้ที่นี่