ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล
Enfa สรุปให้
- ลูกดูดเต้าจะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่มนั้น สามารถสังเกตจากสัญญาณง่าย ๆ เบื้องต้น เช่น เมื่อลูกดูดเต้าใกล้อิ่มจะค่อย ๆ ผ่อนจังหวะการดูดนมช้าลง แสดงท่าทีพึงพอใจ รวมทั้งอารมณ์ดีขึ้น
- อีกวิธีที่สามารถสังเกตได้ว่าลูกดูดเต้าอิ่มและได้รับนมเพียงพอ ก็คือปริมาณปัสสาวะและอุจจาระที่ขับถ่ายออกมา โดยหากลูกได้รับปริมาณนมที่เพียงพอก็จะปัสสาวะออกมาบ่อยครั้ง และอุจจาระบ่อย ยิ่งสำหรับเด็กที่กินนมแม่ อาจจะอุจจาระบ่อยถึง 8 – 10 ครั้ง/วัน
- ควรระวังความถี่ในการให้นมที่มากเกินไป จนอาจจะ Overfeeding ซึ่งจะเป็นผลให้เด็กอยู่ในภาวะกินเกินความต้องการ ส่งผลให้เกิดความอึดอัด อาจจะอาเจียนออกมา นอนไม่หลับเพราะไม่สบายตัว
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• ลูกดูดเต้าจะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม
• ให้นมมากไประวัง Overfeeding
• เช็กอาการลูกกินไม่อิ่ม
• สูตรคำนวณการกินนมของเด็กแรกเกิด - 12 เดือน
เมื่อให้นมลูก สำหรับคุณแม่ที่ให้ลูกกินมผงอาจจะไม่ค่อยมีปัญหาสงสัยว่าลูกอิ่มนมหรือยัง เพราะคุณแม่ชงนมตามปริมาณที่ผลิตภัณฑ์นมแนะนำ แต่สำหรับเด็กที่กินนมแม่ คุณแม่อาจยังไม่แน่ใจว่าลูกอิ่มนมหรือยัง เรามีวิธีสังเกตมาแนะนำกันค่ะ
ลูกดูดเต้าจะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม
สิ่งที่คุณแม่มือใหม่ทั้งหลายกังวลก็คือ ลูกดูดเต้าจะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม ตามธรรมชาติแล้ว เด็กเล็ก ๆ จะสื่อสารความต้องการในการกินนมที่คล้าย ๆ กันคือ จะร้องเมื่อหิว และจะกินนมเมื่อหิวเท่านั้น
ซึ่งโดยปกติถ้าเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลูกจะหิวและร้องไห้กินนมเฉลี่ยทุก 2-3 ชั่วโมง ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เด็กเล็กๆ บางคนร้องหิวนมเกือบจะทุกชั่วโมงก็มีค่ะ
อาการที่สังเกตได้ง่าย ๆ ว่าลูกร้องเพราะหิว คือเขาจะผงกศีรษะขึ้น อ้าปาก บางคนก็ดูดปากตัวเอง หรือทำท่าเหมือนกำลังพยายามจะดูดอะไรก็ตามที่ผ่านเข้ามาในปาก นั่นก็แปลว่าเขาหิว ถึงเวลาคุณแม่ให้นมแล้วค่ะ
การให้ลูกดูดนมแม่นั้น ลูกสามารถดูดนมแม่ในแต่ละข้างหมดเต้าภายใน 5 - 7 นาทีเลยทีเดียว จากนั้นลูกจะเริ่มผ่อนจังหวะการดูดนมช้าลง ซึ่งน้ำนมที่ลูกดูดทั้ง 2 เต้านั้น รวม ๆ แล้วก็จะมีปริมาณที่พอเพียงสำหรับลูก
โดยจะสังเกตได้ว่าเมื่อลูกดูดนมทั้ง 2 ข้างจนหมด เขาจะแสดงท่าทีพอใจและอารมณ์ดีขึ้น ดูมีความสุขหลังจากกินนม หลังจากนั้นก็ดูดนมช้าลง นั่นแปลว่าเขาอิ่มแล้ว ดังนั้นคุณแม่จึงไม่ควรกังวลว่าลูกจะดูดนมแม่ได้น้อย หรือลูกจะไม่อิ่ม
อีกหนึ่งวิธีที่คุณแม่สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ ว่าลูกได้รับนมเพียงพอหรือไม่ คือจากปริมาณปัสสาวะและอุจจาระที่ลูกขับถ่ายออกมา โดยปกติหากลูกได้รับน้ำนมในปริมาณที่พอเพียงก็จะปัสสาวะบ่อยมาก
ส่วนเรื่องอุจจาระ ในช่วงแรกทารกอาจจะอุจจาระได้บ่อย โดยเฉพาะในทารกที่กินนมแม่ อาจบ่อยได้ถึง 8-10 ครั้งต่อวันตามจำนวนมื้อนมที่กิน ในทารกที่โตขึ้น หรือทารกทานมผง อุจจาระอาจมีลักษณะเหลืองๆ เหนียวๆ หรืออาจจะถ่ายอุจจาระวันเว้นวันก็เป็นเรื่องปกติค่ะ
ให้นมมากไประวัง Overfeeding
สิ่งที่คุณแม่ไม่ควรทำในเรื่องการให้นมลูกก็คือ ไม่ควรให้ลูกกินนมทุกครั้งที่ตื่นนอน เพราะจะทำให้ลูกได้รับนมถี่และบ่อยเกินไปทั้ง ๆ ที่เขาไม่หิว เสี่ยงต่อการเกิดภาวะการกินเกิน หรือ Overfeeding คือภาวะลูกน้อยได้รับนมเกินความต้องการ จนอึดอัด อาจอาเจียนออกมา หรือนอนไม่หลับเพราะไม่สบายตัวได้
นอกจากนี้ยังเป็นการทำให้ลูกเคยชินกับการตื่นมากินนม ร้องไห้งอแง ติดนมมื้อดึกมาจนโต ดังนั้นหากลูกตื่นแต่ไม่ใช่เวลาให้นม ก็อาจเพียงกล่อมให้ลูกหลับต่อ และให้เขาได้นอนได้นานขึ้นตอนกลางคืนค่ะ
ลูกกินไม่อิ่มดูยังไงว่าลูกได้นมพอแล้วหรือยัง
ลูกกินไม่อิ่มจะดูได้ยังไง คุณแม่สามารถสังเกตเบื้องต้นได้ หากลูกกินนมไม่อิ่มหรือได้รับนมไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนี้
- ลูกน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์ 30 กรัม/วัน
- ลูกปัสสาวะชุ่มผ้าอ้อม สีเหลืองใส วันละ 6-8 ครั้ง
- ลูกอุจจาระสีเหลืองวันละ 2-3 ครั้ง
- ลูกดูอารมณ์ดี ไม่ร้องโยเย
- ลูกนอนหลับนาน 2-3 ชั่วโมง
- ได้ยินเสียงกลืนนมของลูกขณะให้นมลูก
- ลูกดูดนมช้าลง
เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออนซ์? มาดูสูตรคำนวณการกินนมเด็กแรกเกิด – 12 เดือน
-
สูตรคำนวณการกินนมของเด็กแรกเกิด-30 วัน
ตัวอย่าง : เด็กแรกเกิดหนัก 3 กก. เมื่อครบเดือนควรหนัก 3.6 กก. แต่คำนวณง่ายๆ โดยปัดเป็น 4 กก. คูณ 150 เท่ากับ 600 หาร 30 คือ 20 ออนซ์ (+/- ได้ไม่เกิน 4 ออนซ์) และควรเเบ่งมื้อนมเป็น 6-8 มื้อ/วัน
-
สูตรคำนวณการกินนมของเด็กอายุ 1-6 เดือน
ตัวอย่าง : เด็กอายุ 2 เดือน หนัก 5 กก. คูณ 120 ได้ 600 หาร 30 เท่ากับ 20 ออนซ์ (+/- ได้ไม่เกิน 4 ออนซ์) โดยแบ่งมื้อนมออกเป็น 6-8 มื้อ / วัน
-
สูตรคำนวณการกินนมของเด็กอายุ 6-12 เดือน
ตัวอย่าง : เด็กอายุ 6 เดือน หนัก 6.5 กก. คูณ 110 เท่ากับ 715 หาร 30 ปัดเป็นเท่ากับ 24 ออนซ์
สำหรับเด็ก 6 -8 เดือน ควรแบ่งมื้อนมเป็น 5-6 มื้อ และอาหารเสริม 1 มื้อ
สำหรับเด็ก 9-11 เดือน ควรแบ่งมื้อนมเป็น 4-5 มื้อ และอาหารเสริม 2 มื้อ
สำหรับเด็ก 12 เดือน ควรแบ่งมื้อนมเป็น 4-5 มื้อ และอาหารเสริม 3 มื้อ
(** 30 ซีซี เท่ากับ 1 ออนซ์)
นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน
นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน แลคโตเฟอร์ริน โปรตีนในนมแม่ที่จะพบได้มากที่สุดในน้ำนมเหลือง หรือน้ำนมระยะแรกที่จะไหลออกมาใน 1-3 วันแรกหลังคลอด ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จึงช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
อย่างไรก็ตาม หากพบว่าน้ำนมแม่มีไม่เพียงพอกับความต้องการของลูก พบว่าลูกไม่อิ่มนม คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านนมแม่ เพื่อหาสามารถที่น้ำนมไม่เพียงพอ และหากจำเป็นก็สามารถเลือกนมผงเสริมเพื่อให้ลูกได้รับปริมาณนมที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต
ปกติแล้ว หลังคลอด คุณหมอจะนัดคุณแม่กับลูกน้อยให้ไปตรวจร่างกาย โดยคุณหมอก็จะวัดความยาวและชั่งน้ำหนักตัวของลูกที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับบอกให้คุณแม่ทราบถึงการเจริญเติบโตของลูกว่าเหมาะสมหรือไม่
สิ่งสำคัญก็คือคุณแม่เองไม่ควรกังวลหรือเครียดว่าเมื่อให้นมแล้วลูกจะกินนมไม่พอ หรือตัวเองจะมีน้ำนมไม่เพียงพอ เพราะความกังวลเหล่านั้นจะยิ่งทำให้ระบบการสร้างน้ำนมทำงานได้น้อยลงค่ะ
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่