ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ ลูกอายุครบ 1 ขวบแล้ว จากเด็กตัวน้อยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ มาวันนี้พัฒนาการลูกก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัด ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญาและการเรียนรู้ ด้านภาษาและการสื่อสาร ด้านอารมณ์
พัฒนาการของลูกที่จะสร้างความตื่นเต้นและปลาบปลื้มให้คุณแม่มากที่สุด คือการเดินก้าวแรกของลูก เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ก้าวหน้าของลูก จดจำความรู้สึกของช่วงเวลาสำคัญที่ได้เห็นการก้าวเดินของลูกไว้นะคะ
เพื่อให้เห็นว่าลูกมีพัฒนาการก้าวหน้าไปมากแค่ไหน ขอชวนคุณแม่ตรวจเช็คพัฒนาการแต่ละด้านของเด็ก 1 ขวบกันค่ะว่ามีเรื่องไหนที่ลูกทำได้ ทำไม่ได้บ้าง
พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก 1 ขวบ |
||
ด้านสติปัญญา |
ลูกทำได้หรือไม่ |
การส่งเสริม |
แยกของเล่นตามสีและรูปทรงได้ |
ชวนลูกเล่นบ่อยๆ โดยหาของเล่นที่สีและรูปทรงต่างๆ มาให้ลูกเล่น และลองให้ลูกแยกตามสีและรูปทรง หากยังแยกไม่ได้ ให้คุณแม่แยกให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง |
|
เริ่มเล่นสมมุติกับตัวเอง เช่น ใช้ช้อนเด็กเล่นเพื่อสมมุติว่าตักอาหารใส่ปาก |
ขณะที่ลูกเล่นบทบาทสมมุติให้ชวนลูกพูดคุยถึงที่ที่เขากำลังสวมบทบาทอยู่ เช่น หนูทำอะไรอยู่คะ กินข้าวกับอะไร |
|
เรียนรู้ผ่านการเล่น สังเกต และทำซ้ำ เช่น เทน้ำใส่เข้าเทออกซ้ำๆ |
เด็กวัยนี้เรียนรู้ผ่านการทำซ้ำ เพื่อ ดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง คุณแม่จึงควรได้ปล่อยให้ลูกได้เล่นอย่างอิสระ ไม่หงุดหงิดเมื่อเห็นลูกเทสิ่งของเข้าออก หรือโยนของเล่นซ้ำ |
|
จำเหตุการณ์ต่างๆ ได้มากขึ้น เช่น จำภาพในหนังสือที่ชอบได้ เห็นแล้วจะชี้ |
ชวนลูกพูดคุยถึงรายละเอียดของสิ่งต่างๆ ใกล้ตัว แล้วถามทวนความจำลูกถึงสิ่งที่ได้บอกไป เช่น ภาพในหนังสือ ชื่อสัตว์ที่เขาชอบ |
|
เอากล่องใบเล็กซ้อนกล่องใบใหญ่ได้ |
หากล่องที่มีขนาดต่างๆ กันให้ลูกเล่นแล้วดูว่าลูกเอากล่องใบเล็กซ้อนกล่องใบใหญ่ได้หรือไม่ หากยังทำไม่ได้ ให้ลองเล่นให้เขาดู เพื่อเขาจะจำและเลียนแบบ |
|
ด้านร่างกาย |
||
ลุกขึ้นยืนได้เอง |
ขณะลูกนั่ง ลองกระตุ้นลูกให้ค่อยๆ ลุกขึ้นยืน ดูว่าลูกยืนได้หรือไม่ หากยังลุกขึ้นยืนไม่ได้ ให้คุณแม่ประคองแล้วค่อยๆ ปล่อยมือห่างจากลูก |
|
ยืนได้ตรง |
ปรบมือ พร้อมนับ 1 2 3 กระตุ้นให้ลูกยืนให้ตัวตรง โดยคุณแม่ค่อยๆ ยืดตัวขึ้นยืนตรงเป็นตัวอย่าง |
|
เดินได้เอง 1-2 ก้าว |
ชวนลูกเล่นก้าวเดิน เพื่อกระตุ้นการก้าวเท้าเดินของเขา โดยคุณแม่คอยประคองอยู่ใกล้ๆ เพื่อไม่ให้ลูกล้ม |
|
เปิดฝากล่องได้ |
เล่นกับลูก โดยหากล่องกระดาษมาให้ลูกเล่น ลองดูว่าลูกสามารถเปิกฝากล่องได้หรือไม่ หากลูกยังเปิดไม่ได้ คุณแม่ลองเปิดให้ดูเป็นตัวอย่างก่อน |
|
ถอดถุงเท้าได้ |
เล่นเกมแข่งกันถอดถุงเท้ากับลูก โดยแม่แกล้งถอดช้าๆ ให้ลูกเห็นการถอด หากลูกยังถอดไม่ได้ ให้เวลาลูก แต่เล่นด้วยกันบ่อยๆ ลูกจะถอดได้ในที่สุด |
|
ด้านภาษาและการสื่อสาร |
||
เปล่งเสียงเป็นคำพูดได้ 2-3 คำ เช่น มา ตา หม่ำ |
พูดคุยกับลูกบ่อยๆ อย่างชัดถ้อยชัดคำ เพื่อให้ลูกเลียนแบบคำที่ได้ยิน อีกทั้งการใช้หนังสือนิทานหรือรูปภาพ จะช่วยเพิ่มคำศัพท์ให้ลูกได้มาก |
|
มองตามได้เวลาเราชี้ชวนให้เขาดูอะไร เช่น “ดูนกบนต้นไม้สิลูก” |
ชี้ชวนลูกดูสิ่งต่างๆ รอบข้างทุกๆ วัน และพูดคุยถึงรายละเอียดของสิ่งนั้นๆ ให้ลูกฟัง และทดสอบว่าลูกเข้าใจและจดจำได้หรือไม่ เมื่อพูดถึงสิ่งนั้นๆ อีกครั้ง เช่น ลูกมองหรือชี้ไปยังสิ่งที่พูดถึงนั้น |
|
ทำเสียงได้หลายเสียง เช่น เสียงสูง เสียงต่ำ เสียงกรี๊ดดีใจ |
การทำเสียงได้หลากหลายเสียง เป็นการแสดงให้รู้ว่าลูกเข้าใจเรื่องการใช้เสียงในการสื่อสาร ซึ่งเป็นการเข้าใจที่เกิดจากการที่คุณแม่พูดคุยกับเขาบ่อยๆ ด้วยน้ำเสียงที่หลากหลายนั่นเอง |
|
ใช้สีหน้า ท่าทาง และคำพูดบอกในสิ่งที่ตนเองไม่ต้องการได้ เช่น พูดว่า ไม่ หรือร้องไห้ |
สอนลูกให้รู้จักพูดบอกเมื่อไม่ต้องการว่า “ไม่” ไม่ใช้การร้องไห้หรือร้องกรี๊ด |
|
ชี้บอกความต้องการได้ เมื่อจะเอาอะไรที่เอื้อมไม่ถึง หรือพยายามส่งเสียงเวลาชี้ |
ลูกอาจจะพูดว่า “เอา” เพื่อบอกความต้องการไม่ได้ แต่ให้พยายามตอบสนองการชี้บอกของลูก และถามลูกทุกครั้งว่าต้องการอะไร ก่อนส่งของให้ ให้พูดถึงสิ่งนั้นให้ลูกรู้จัก เช่น บอล ช้อน |
|
ด้านอารมณ์และสังคม |
||
มีอารมณ์ขันมากขึ้น หัวเราะเก่งขึ้น |
เล่นสนุกกับลูก เพื่อให้เขามีอารมณ์ดี เช่น จั๊กจี้ลูก เล่นปูไต่ไปตามร่างกายลูก |
|
ติดสิ่งของ เช่น หมอน ผ้าห่ม |
การติดสิ่งของที่เขารักนั้นก็ เพื่อตอบสนองความพึงพอใจ เป็นการสร้างความมั่นคงทางอารมณ์ทางหนึ่ง คุณแม่ไม่ควรห้ามหรือดึงไปเก็บ เพราะลูกจะรู้สึกหวั่นไหวได้ ควรปล่อยให้ลูกมีหมอนที่รักต่อไปค่ะ |
|
มีปฏิกิริยารุนแรงเมื่อต้องแยกจากแม่ |
การต้องจากแม่อย่างกะทันหันเลยจะทำให้ลูกมีปฏิกิริยารุนแรง ร้องกรี๊ด อาละวาดได้ ดังนั้นจึงควรให้ลูกอยู่กับญาติพี่น้องคนอื่นบ้าง เพื่อเขาจะได้ปรับตัวได้เร็วขึ้นเมื่อต้องจากแม่ |
|
รู้จักรอคอยได้บ้าง |
การรอคอยเป็น นับเป็น พัฒนาการทางอารมณ์อย่างหนึ่ง คุณแม่สอนลูกให้รู้จักรอคอย โดยไม่ตอบสนองเขาในเรื่องต่างๆ ทันที เช่น รอแม่เมื่อเรียกแล้วแม่อยู่ในห้องน้ำ รอพ่อรดน้ำต้นไม้เสร็จก่อนมาเล่นด้วย เป็นต้น |
หากคุณแม่ตรวจสอบพัฒนาการแต่ละด้านของลูกแล้วพบว่าลูกสามารถทำสิ่งต่างๆ ข้างต้นได้มากกว่าไม่ได้ แสดงว่ามีทักษะและพัฒนาการที่ดี อย่างไรก็ตาม หากลูกยังทำเรื่องใดไม่ได้นั้น ไม่ได้หมายความว่าพัฒนาการด้านนั้นๆ ของลูกมีปัญหาเสมอไป ลูกต้องการการส่งเสริมเรื่องที่ทำไม่ได้จากคุณพ่อคุณแม่เพิ่มอีกสักนิด ที่สำคัญลูกวัย 1 ขวบนั้น เรายังสามารถพัฒนาศักยภาพลูกน้อยได้อีกมาก ขอเพียงคุณพ่อคุณแม่ช่วยเติมเต็มประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ลูกอย่างสม่ำเสมอเท่านั้นค่ะะ
สารอาหารเพื่อพัฒนาการที่ดีกว่าของลูกน้อย
เด็ก 1 ขวบนั้น พัฒนาการด้านต่างๆ กำลังเจริญเติบโตอย่างรุดหน้า ลูกวัยนี้จึงต้องการสารอาหารจำเป็นอย่างต่อเนื่อง โดยรับจากอาหารหลักที่มีคุณค่าครบ 3 มื้อ และจากนมที่เป็นอาหารเสริม สิ่งที่คุณแม่ควรเอาใจใส่ คือ สารอาหารที่ลูกจะได้รับในแต่ละมื้อว่าครบถ้วนและเพียงพอต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูก ซึ่งนอกจากสารอาหารครบ 5 หมู่แล้ว ยังมีสารอาหารสำคัญบางอย่างที่มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นพัฒนาการด้านต่างๆ ที่คุณแม่ต้องให้ลูกได้รับอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
-
MFGM
เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนม ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ที่พบในนมแม่ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารที่มีประโยชน์และส่งผลดีต่อพัฒนาการด้านต่างๆ และสมองเด็ก
- MFGM กับพัฒนาการด้านสติปัญญาที่สูงกว่า มีผลการวิจัยในห้องปฏิบัติการพบว่า MFGM ช่วยเสริมสร้างการเชื่อมต่อเซลล์สมองเพิ่มขึ้นเมื่อทำงานร่วมกับ DHA* และงานวิจัยในเด็กพบว่า คะแนนด้านสติปัญญาของเด็กกลุ่มที่ได้รับนมเสริม MFGM สูงกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่ได้เสริม
- MFGM กับภูมิคุ้มกัน ในยุคปัจจุบันที่มีโรคระบาดขึ้น คุณแม่คงกังวลใจเกรงลูกจะติดเชื้อ พบว่าโปรตีนบางชนิดใน MFGM มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบการป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสและแบคทีเรีย ช่วยให้ร่างกายลูกแข็งแรงต่อสู้กับการติดเชื้อได้
- MFGM กับพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสารที่ซับซ้อนกว่า มีงานวิจัยในเด็กพบว่า เด็กกลุ่มที่ได้รับนมเสริม MFGM มีพัฒนาการด้านภาษาที่ดีและทักษะการสื่อสารที่ซับซ้อนกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่ได้เสริม
- MFGM กับพัฒนาการด้านร่างกายที่ดีกว่า งานวิจัยในเด็กพบว่า เด็กกลุ่มที่ได้รับนมเสริม MFGM มีพัฒนาการร่างกาย โดยเฉพาะทักษะการใช้กล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวที่ดีกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่ได้เสริม
-
ดีเอชเอ
กรดไขมันจำเป็นที่เป็นโครงสร้างสำคัญของเซลล์สมองและจอประสาทตา จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสมองและสายตาของลูก ร่างกายไม่สามารถสร้างกรดไขมันชนิดนี้ขึ้นมาเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น เช่น ปลาทะเลน้ำลึก ปลาน้ำจืด อย่างปลาช่อน ปลาสวาย สาหร่ายทะเล รวมทั้งผลิตภัณฑ์นมที่มีดีเอชเอในปริมาณสูง
-
โคลีน
มีบทบาทสำคัญในการสร้างสารสื่อสัญญาณประสาท เพื่อให้การสื่อสารระหว่างเซลล์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นโครงสร้างหลักของเซลล์ต่างๆ รวมทั้งเซลล์สมอง ช่วยพัฒนาการเรียนรู้และความจำ
-
ไซอะลิคแอซิด
มีความสำคัญต่อระบบการสื่อสัญญาณประสาทและกระบวนการเก็บข้อมูล ซึ่งมีผลวิจัยพบว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาสมองในส่วนที่ควบคุมเรื่องการเรียนรู้ และความจำ โดยเฉพาะเด็ก 3 ปีแรกที่สมองกำลังพัฒนาอย่างรุดหน้า และกำลังเก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่างๆ บันทึกเป็นความจำ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดีในอนาคต
-
วิตามินบี 12
มีส่วนในการทำงานของระบบประสาทและสมอง ซึ่งสำคัญในการพัฒนาความคิด สติปัญญาของเด็ก
ลูกครบ 1 ขวบแล้ว เขารอการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ รวมทั้งโภชนาการที่ดี และสารอาหารที่สำคัญจากคุณแม่อยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อการเจริญเติบโตต่อไปอย่างมีคุณภาพในทุกๆ ด้าน สุดท้ายแล้วคุณแม่จะได้ชื่นใจไปกับพัฒนาการเหล่านั้นค่ะ