Enfa สรุปให้
- ขาโก่ง คือความผิดปกติของกระดูกที่โก่งออก ไม่เหยียดตรง โดยเวลายืนเข่าทั้งสองข้างจะแยกออกจากกันอย่างชัดเจน
- ขาโก่ง มักส่งผลเสียในเรื่องของบุคลิกภาพ ทำให้ขาดความมั่นใจ ในกรณีที่ขาโก่งจากความผิดปกติของกระดูก อาจส่งผลเสียต่อการเดิน การเคลื่อนไหว
- ขาโก่งที่เกิดจากธรรมชาติ สามารถบำบัดรักษาให้หายเป็นปกติได้ ส่วนขาโก่งที่เกิดจากโรคอาจต้องมีการผ่าตัด เพราะถ้าปล่อยไว้อาจเสี่ยงต่อปัญหาข้อเข่าเสื่อม กระดูกเปราะ แตก ฯลฯ
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• เด็กขาโก่ง อันตรายไหม
• สาเหตุที่ลูกขาโก่ง
• ลูกขาโก่ง รักษาอย่างไรดี
• ลูกขาโก่ง ต้องดัดขาลูกไหม
พอลูกถึงวัยเริ่มตั้งไข่ เริ่มฝึกเดินเตาะแตะคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นว่าลูกมีขาโก่ง ทำให้พลอยกังวลว่าถ้าปล่อยไว้จะทำให้ลูกโตมาแล้วขาไม่สวย ทำให้ลูกขาดความมั่นใจ จึงเริ่มที่จะดัดขาลูกตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกขาโก่ง แต่การดัดขาทารกช่วยแก้ปัญหาเด็กขาโก่งได้จริงหรือ? ถ้าลูกขาโก่งจะสามารถกลับมาหายเป็นปกติได้ไหมนะ?
เด็กขาโก่ง ภาวะที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรชะล่าใจ
เด็กขาโก่งนั้น เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยสำหรับเด็กเล็กค่ะ ซึ่งสามารถแยกระดับอันตรายได้สองชนิด ดังนี้
- ขาโก่งที่เกิดจากธรรมชาติ กรณีนี้ไม่อันตรายค่ะ การบำบัดรักษาสามารถทำให้หายเป็นปกติได้
- ขาโก่งที่เกิดจากโรค กรณีนี้หากไม่ได้รับการรักษาจะส่งผลเสียต่อสุขภาพข้อเข่าและกระดูก ทำให้เสียบุคลิกภาพ และใช้ชีวิตประจำวันลำบาก
ซึ่งหากลูกมีปัญหาเรื่องขาโก่ง ยังไม่ต้องรีบดัดขา หรือบิดขาลูกนะคะ แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยดูก่อนว่า อาการขาโก่งของลูกเรานั้น เป็นขาโก่งตามธรรมชาติ หรือเป็นขาโก่งที่เกิดจากโรค เพื่อจะได้รับการรักษาที่ตรงจุดค่ะ
สาเหตุของภาวะขาโก่งในเด็ก
ภาวะขาโก่งในเด็ก เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
- เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเด็กอายุ 0-2 ปี ที่กระดูกมักจะโก่งออกด้านนอก อันเป็นผลพวงมาจากทารกอยู่ในท่าขดนอนในครรภ์คุณแม่มาหลายเดือน
- การแตกหักของกระดูก เด็กอาจประสบอุบัติเหตุรุนแรงทำให้กระดูกเสียหาย กระดูกผิดรูป
- น้ำหนักตัวมาก หากเด็กมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ หรือเป็นโรคอ้วน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่ออวัยวะช่วงล่างที่ต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้กระดูกผิดรูปได้
- ฝึกลูกเดินเร็วเกินไป เด็กมีพัฒนาการตามวัยของตนเอง การฝึกลูกให้เดินก่อนที่จะถึงวัยอันควร อาจส่งผลให้กระดูกของทารกผิดรูปได้ เนื่องจากกระดูกส่วนล่างยังไม่แข็งแรงพอที่จะเริ่มเดิน
- โรคกระดูกอ่อน เป็นสาเหตุที่ทำให้กระดูกไม่แข็งแรง ทำให้รูปร่างของกระดูกผิดปกติ อาจมีการโก่ง หรือโค้งงอ
- โรคเบล้าท์ เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กมีน้ำหนักตัวมากผิดปกติ กระดูกไม่สามารถจะรองรับน้ำหนักที่เกินมาตรฐานได้ จึงทำให้กระดูกมีการโก่ง โค้ง งอ หรือผิดรูป
ลักษณะเด็กขาโก่ง เป็นอย่างไร
ลักษณะของอาการขาโก่งที่สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน คือเวลาที่เด็กยืนหัวเข่าทั้งสองข้างจะแยกออกจากกัน แม้ว่าจะลองจับให้ขาทั้งสองข้างมาชิดกัน ก็จะพบว่าหัวเข่าทั้งสองข้างแยกออกจากกันอย่างชัดเจน
วิธีการรักษาเมื่อลูกขาโก่ง
วิธีการรักษาทารกขาโก่งนั้น สามารถที่จะรักษาได้หลายวิธีค่ะ แต่...ต้องขึ้นอยู่กับว่าลูกมีอาการขาโก่งเพราะสาเหตุใด
หากเป็นขาโก่งโดยธรรมชาติ การปรับท่าทางในการเดิน การบริหารกล้ามเนื้อหา การดัดดามที่ขา สามารถที่จะช่วยให้เด็กหายขาโก่งได้ค่ะ ซึ่งขั้นตอนนี้ต้องใช้ระยะเวลาสักพักเลยค่ะ กว่าที่กระดูกจะค่อย ๆ กลับเข้าที่เข้าทางตามปกติ แต่สามารถที่จะหายเป็นปกติได้แน่นอน
แต่ในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่าเกิดจากความผิดปกติของกระดูก หรือเกิดจากโรคที่เกี่ยวเนื่องกับกระดูก กรณีเช่นนี้อาจจะต้องมีการผ่าตัดเพื่อให้กระดูกกลับมาตั้งตรงตามปกติ และจะต้องทำการบำบัดหลังผ่าตัด เพื่อให้กระดูกกลับมาสมบูรณ์ สามารถกลับมาเดินและเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
วิธีดัดขาทารก ต้องทำอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ดัดขาทารก ด้วยตัวเองได้หรือไม่
การดัดขาเด็ก เป็นวิธีหนึ่งที่เชื่อกันว่าสามารถช่วยรักษาอาการขาโก่งของเด็กได้ แต่...ขอย้ำตรงนี้ตัวโต ๆ เลยว่า คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรที่จะดัดขาเด็กด้วยตัวเอง ไม่ควรจะดัดขาเด็กก่อนวัยอันควร ไม่ควรเชื่อฟังทริคหรือเทคนิคการดัดขาจากใครก็ตามที่ไม่ใช่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีใบวิชาชีพอย่างถูกต้อง
เพราะการดัดขาเด็กแบบผิดวิธี และไม่ได้ทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นอกจากจะไม่ช่วยให้ขาลูกหายโก่งแล้ว ยังทำให้ลูกได้รับความเจ็บปวดโดยไม่จำเป็น ซ้ำร้ายยังอาจจะทำให้กระดูกผิดรูปกว่าเดิม หรืออาจส่งผลเสียต่อเส้นเอ็นและข้อต่อ ซึ่งจะทำให้มีปัญหาด้านการเดินมากกว่าที่เป็นอยู่
ดังนั้นแล้ว ไม่ควรดัดขาลูก แต่ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมจะดีที่สุดค่ะ
ลูกเดินขาโก่ง หากปล่อยไว้อาจเกิดผลกระทบอะไรบ้าง
ปัญหาลูกขาโก่ง มักส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ ทำให้เด็กสูญเสียความมั่นใจ และอาจส่งผลต่อการเดิน การเคลื่อนไหวได้ด้วย และถ้าหากเป็นอาการขาโก่งที่เกิดจากโรค จะยิ่งมีผลเสียต่อการเคลื่อนไหว ทำให้เคลื่อนไหวช้า เคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่ และเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับกระดูก เช่น ข้อเข่าเสื่อม ขาผิดรูป เป็นต้น
MFGM สารอาหารในนมแม่ เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก
คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะว่า เด็กจะมีพัฒนาการ IQ และ EQ ที่ก้าวล้ำตั้งแต่ยังเล็กได้นั้น นอกจากการฝึกฝน เลี้ยงดู และอบรมสั่งสอนแล้ว การใส่ใจกับโภชนาการตั้งแต่ลูกยังเล็ก โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรกของชีวิตนั้น ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้ลูกพร้อมเติบโตมาเป็นเด็กที่ทั้งฉลาดทางความคิดและฉลาดทางอารมณ์
โดยโภชนาการที่สำคัญที่ลูกน้อยควรได้รับก็คือนมแม่ เพราะในนมแม่มีสารอาหารอย่าง MFGM หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมแม่ ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด อย่างสฟิงโกไมอิลีน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นกลุ่มสารอาหารที่มีส่วนช่วยสำคัญต่อการเสริมพัฒนาการรับรู้ เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก
- คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล. เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดหรือไม่?. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://pt.mahidol.ac.th/knowledge/?p=1256. [ 30 มีนาคม 2024]
- โรงพยาบาลสินแพทย์. ลูกขาโก่ง ภัยอันตรายแฝงเงียบที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.synphaet.co.th/bowed-leg-in-children/. [ 30 มีนาคม 2024]
- โรงพยาบาลสินแพทย์. “ภาวะขาโก่งในเด็ก (Bowed leg)”. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.synphaet.co.th/ภาวะขาโก่งในเด็ก-bowled-leg/. [ 30 มีนาคม 2024]
- โรงพญาไท. ลูกน้อยขาโก่งอย่าชะล่าใจ อาจโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่สมบูรณ์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.phyathai.com/th/article/3420-ลูกน้อยขาโก่งอย่าชะล่. [ 30 มีนาคม 2024]
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ดูและลูกน้อย