Enfa สรุปให้
- หลังผ่าคลอดคุณแม่จะต้องงดออกแรงยกของหนักหรือทำงานหนักอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ เพื่อรอให้แผลผ่าคลอดเริ่มปิดสนิท และไม่มีเลือดไหล
- การออกแรงยกของหนักเร็วเกินไป โดยที่แผลผ่าคลอดยังไม่หายดี จะเพิ่มแรงกดไปที่แผลผ่าคลอด ทำให้เกิดแผลปริ แผลแยก หรือแผลอักเสบได้
- หลังผ่าคลอด คุณแม่ไม่ควรยกของสิ่งใดที่หนักเกินกว่าการอุ้มทารกเพื่อให้นมลูก ของที่หนักเกินกว่านั้นถือว่าเสี่ยงอันตรายต่อการฟื้นตัวหลังผ่าคลอด
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• หลังผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน
• ทำไมคุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนัก
• ผ่าคลอดแล้วยกของหนัก มีผลกระทบอะไรบ้าง
หลังผ่าคลอดคุณแม่จำเป็นจะต้องหลีกเลี่ยงและงดกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อแผลผ่าคลอด เพราะถ้าหากคุณแม่เกิดฝืนแสดงพลังหลังผ่าคลอด ยกของหนักแบบไม่เกรงใจใคร อาจจะทำให้แผลปริ แผลอักเสบได้ค่ะ แต่แม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน และจะต้องงดออกแรงไปอีกนานแค่ไหนนั้น บทความนี้จาก Enfa คนดีคนเดิม มีคำตอบมารออยู่แล้วค่ะ
ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน
ถึงแม้จะยังเจ็บแผลผ่าคลอดอยู่ แต่ภารกิจในชีวิตของคุณแม่หลังผ่าคลอดก็เยอะเหลือเกิน เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องลุกขึ้นมาออกแรงยกนั่น ยกนี่ด้วยตัวเอง ให้คนอื่นมาทำแทนก็ไม่ถูกใจ แต่แพทย์ก็สั่งเอาไว้ว่าอย่าเพิ่งออกแรงทำงานหนัก
แล้วแบบนี้หลังผ่าคลอดกี่เดือนยกของหนักได้? ต้องรอนานเท่าไหร่ถึงจะปลอดภัย? โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะสามารถกลับมาออกกำลังกาย เริ่มทำงานหนัก หรือยกของหนักต่าง ๆ ที่หนักมากกว่าทารกตัวน้อย ๆ ได้นั้น จำเป็นจะต้องรออย่างน้อย 4-6 สัปดาห์หลังคลอดค่ะ
ระยะนี้แผลจะเริ่มสมานตัวดีขึ้น เลือดไหลน้อยลง หรือหยุดไหล มดลูกก็เริ่มกลับเข้าอู่แล้ว คุณแม่สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น กระฉับกระเฉงขึ้น และออกแรงได้มากขึ้นด้วยค่ะ
เสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กผ่าคลอดอย่างไร เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดีต้องมีครบ 3
คุณแม่ทราบหรือไม่ว่า การผ่าคลอด (C-Section) คือ การผ่าตัดโดยนำทารกออกมาผ่าทางหน้าท้อง จึงทำให้ทารกไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ (Gut Microbiome) จากบริเวณช่องคลอดของแม่ ซึ่งทำให้เด็กผ่าคลอดอาจมีพัฒนาการภูมิคุ้มกันแรกเกิด และสุขภาพลำไส้ช้ากว่าเด็กที่คลอดแบบธรรมชาติ ส่งผลให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น
Cs-Biome หรือ Commensal Microbiome
คือ ดีเอ็นเอของกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่อยู่รวมกัน เช่นบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ที่พบในน้ำนมแม่ มีส่วนช่วยทำให้ผนังลำไส้แข็งแรง พัฒนาระบบทางเดินอาหาร ทำให้ลูกขับถ่ายดี เสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง นอกจากนี้ MFGM และ DHA ในนมแม่ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองในช่วงเริ่มต้นของชีวิต
อยากรู้ว่าวันไหนฤกษ์ดีสำหรับการผ่าคลอด เราได้รวบรวมฤกษ์ผ่าคลอด 2567 ฤกษ์ดีปีมังกรทอง วันไหนดี วันไหนมงคล มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรี 2567 พยากรณ์โดย การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์ (การะเกต์พยากรณ์) มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรีได้ที่นี่
- ฤกษ์ผ่าคลอด พฤษภาคม 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด มิถุนายน 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด กรกฎาคม 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด สิงหาคม 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด กันยายน 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด ตุลาคม 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด พฤศจิกายน 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด ธันวาคม 2567
ทำไมคุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนัก
คุณแม่หลังคลอด ในช่วง 1-4 สัปดาห์แรกนั้น ควรจะต้องงดเว้นจากภารกิจชีวิตทั้งหลายทั้งปวง แม้ว่าจะอดใจไม่ไหวอยากลุกขึ้นมาทำเองทั้งงานบ้าน งานประจำ ทำกับข้าว ทำความสะอาดนั่นนี่
แต่คุณแม่ไม่ควรลุกขึ้นมาทำกิจกรรมใด ๆ ที่ต้องออกแรงมากเกินกว่าการอุ้มลูกหรือให้นมลูกเลยค่ะ เพราะแผลผ่าคลอดยังปิดไม่สนิท การเคลื่อนไหวมาก ๆ ออกแรงยกของหนัก เสี่ยงที่จะทำให้แผลผ่าคลอดเกิดการกระทบกระเทือน ทำให้แผลปริ แผลผิดไม่สนิท เสี่ยงที่จะเกิดการอักเสบ และทำให้แผลหายช้า จนอาจจะต้องใช้เวลาในการพักฟื้นนานขึ้นกว่าเดิม
ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่โล
คุณแม่หลังผ่าคลอดไม่ควรยกของอะไรที่หนักเกินกว่าทารกตัวน้อย ๆ ค่ะ งานหนักเดียวที่คุณแม่ทำได้อย่างปลอดภัยก็คือการอุ้มลูกและให้นมลูก กิจกรรมและงานอื่น ๆ ควรให้คนอื่นทำแทนจนกว่าแผลผ่าคลอดจะเริ่มหายดี เลือดหยุดไหล และอาการเจ็บแผลลดลง เพราะถ้าฝืนออกแรงยกของหนักมากกว่าน้ำหนักของทารก จะส่งผลเสียต่อแผลผ่าคลอดปริหรืออักเสบได้ค่ะ
ผ่าคลอดแล้วยกของหนัก มีผลกระทบอะไรบ้าง
หากคุณแม่ออกแรงยกของหนัก หรือทำงานหนักเร็วจนเกินไป โดยที่ร่างกายยังพักฟื้นหลังผ่าคลอดไม่เต็มที่ จะส่งผลกระทบต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น
- เสี่ยงต่ออาการปวดหลัง เกิดการเคล็ด ตึง บริเวณหลังส่วนล่าง รวมถึงอาจทำให้เอ็นอักเสบได้ด้วย
- เกิดการบาดเจ็บเนื่องจากยังอ่อนแรง และพักฟื้นไม่เต็มที่ เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บได้
- การออกแรงมากเกินไปจะทำให้เกิดแรงกดทับไปที่แผลผ่าคลอด ทำให้แผลเปิด แผลปริ หรือเสี่ยงที่แผลผ่าคลอดจะอักเสบได้ค่ะ
ผ่าคลอด เผลอยกของหนัก แล้วแผลปริ ควรทำอย่างไร
หากคุณแม่เผลอออกแรงยกของหนัก หรือทำกิจกรรมหนักจนแผลผ่าคลอดเปิด คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ เพราะถ้าหากแผลเปิดเยอะ หรือมีการอักเสบเกิดขึ้น อาจจำเป็นจะต้องเย็บปิดแผลใหม่
- WebMD. C-Section Recovery. [Online] Accessed https://www.webmd.com/baby/recovery-after-c-section. [10 February 2024]
- Mayo Clinic. C-section recovery: What to expect. [Online] Accessed https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/labor-and-delivery/in-depth/c-section-recovery/art-20047310. [10 February 2024]
- Baby Center. C-section recovery: Timeline, aftercare tips, and expectations. [Online] Accessed https://www.babycenter.com/baby/postpartum-health/c-section-recovery_221. [10 February 2024]
- Very Well Family. Can I Lift Weights After Giving Birth?. [Online] Accessed https://www.verywellfamily.com/lifting-weights-after-pregnancy-benefits-risks-precautions-7068963#toc-risks-of-lifting-weights-to-soon-postpartum. [10 February 2024]
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด
- เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดี เตรียมความพร้อมคุณแม่ผ่าคลอด
- เตรียมตัวผ่าคลอดฉบับแม่มือใหม่ แบบไม่ต้องกลัวฉุกละหุก
- วิธีทําให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ผ่าคลอดมดลูกจะเข้าอู่ตอนไหน
- ผ่าคลอดบล็อกหลัง ปวดหลังมาก คุณแม่ควรทำยังไงดี
- ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม กินแล้วแผลจะอักเสบจริงหรือ?
- ผ่าคลอดกินไข่ได้ไหม? แม่ผ่าคลอดห้ามกินไข่ จริงหรือ?
- ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม เบ่งแรงแผลจะปริหรือเปล่า?