Enfa สรุปให้
- หลังคลอด คุณแม่จะมีอาการเจ็บแผลผ่าคลอดหนักมากในช่วง 7-10 วันแรก แต่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นหลังจากผ่าคลอดไปราว ๆ 2-3 สัปดาห์
- หากรู้สึกเจ็บแผลผ่าคลอดคุณแม่สามารถกินยาบรรเทาอาการปวดได้ แต่ต้องเป็นยาแก้ปวดที่แพทย์อนุญาตว่าปลอดภัยต่อการให้นมลูกเท่านั้น
- หากแผลผ่าคลอดมีเลือดไหล มีหนอง เริ่มมีกลิ่นเหม็น และมีอาการปวดรุนแรง กรณีนี้อาจเกิดจากแผลอักเสบหรือเมีการติดเชื้อ รีบไปพบแพทย์ทันที
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• หลังผ่าคลอดเจ็บมากไหม
• เจ็บแผลผ่าคลอดข้างใน เกิดจากอะไร
• บรรเทาอาการเจ็บแผลผ่าคลอดยังไงดี
• เจ็บแผลผ่าคลอด แบบไหนอันตราย
• ไขข้อข้องใจเรื่องอาการเจ็บแผลผ่าคลอดกับ Enfa Smart Club
ข้อดีของการผ่าคลอด คือ คุณแม่ไม่ต้องรอเจ็บท้องคลอดอย่างทรมาน แต่สามารถกำหนดวันและเข้ารับการผ่าคลอดได้เลย ฟังดูเหมือนจะดี๊ดีเลยใช่ไหมคะ
ทว่า...แม้คุณแม่จะไม่เจ็บตอนคลอด แต่แม่ผ่าคลอดจะมาเจ็บเอาอีกทีคือหลังคลอดค่ะ เพราะคุณแม่จะเจ็บแผลผ่าคลอดไปอีกพักใหญ่ ๆ จนกว่าแผลจะสมานตัวดีขึ้น
หลังผ่าคลอดเจ็บมากไหม
แม่ผ่าคลอดเกือบทุกคน จะต้องพบเจอกับอาการปวดแผลผ่าคลอดกันเป็นปกติเลยค่ะ แต่จะปวดมากหรือปวดน้อยนั้น อาการจะแตกต่างกันไป เพราะคุณแม่แต่ละคนทนกับอาการเจ็บแผลได้ไม่เหมือนกัน
โดยแผลผ่าคลอดจะมีอาการบวม ฟกช้ำ และมีอาการปวดอยู่อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น ซึ่งในช่วง 7-10 วันแรกหลังคลอดนั้นมักจะมีอาการปวดแผลมาก คุณแม่อาจจำเป็นจะต้องกินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดแผลผ่าคลอด
อย่างไรก็ตาม ก่อนจะกินยาแก้ปวด ควรปรึกษากับแพทย์ก่อนนะคะว่ายาแก้ปวดแบบไหนที่สามารถกินได้อย่างปลอดภัย และไม่ส่งผลเสียต่อการให้นมลูก
แผลผ่าคลอดกี่วันหายเจ็บ
หลังผ่าคลอดกี่วันหายเจ็บแผล? ระยะเวลาเร็วที่สุดที่คุณแม่จะเริ่มหายจากอาการเจ็บแผลผ่าคลอดคือประมาณ 2-3 สัปดาห์ค่ะ หรืออาจจะนานกว่านั้นก็ได้ เพราะแม่แต่ละคนมีระยะเวลาในการฟื้นตัวไม่เหมือนกันค่ะ
เจ็บแผลผ่าคลอดจี๊ด ๆ เกิดจากอะไร
เจ็บแปลบที่แผลผ่าคลอด เจ็บจี๊ด ๆ บริเวณแผลผ่าคลอด ถือเป็นอาการปกติหลังการผ่าคลอดค่ะ หากแผลยังไม่ปิดสนิท คุณแม่ก็จะมีอาการเจ็บแผลอยู่ ซึ่งอาจใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น กว่าที่อาการเจ็บแผลจะค่อย ๆ ดีขึ้นค่ะ
เสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กผ่าคลอดอย่างไร เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดีต้องมีครบ 3
คุณแม่ทราบหรือไม่ว่า การผ่าคลอด (C-Section) คือ การผ่าตัดโดยนำทารกออกมาผ่าทางหน้าท้อง จึงทำให้ทารกไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ (Gut Microbiome) จากบริเวณช่องคลอดของแม่ ซึ่งทำให้เด็กผ่าคลอดอาจมีพัฒนาการภูมิคุ้มกันแรกเกิด และสุขภาพลำไส้ช้ากว่าเด็กที่คลอดแบบธรรมชาติ ส่งผลให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น
Cs-Biome หรือ Commensal Microbiome
คือ ดีเอ็นเอของกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่อยู่รวมกัน เช่นบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ที่พบในน้ำนมแม่ มีส่วนช่วยทำให้ผนังลำไส้แข็งแรง พัฒนาระบบทางเดินอาหาร ทำให้ลูกขับถ่ายดี เสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง นอกจากนี้ MFGM และ DHA ในนมแม่ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองในช่วงเริ่มต้นของชีวิต
อยากรู้ว่าวันไหนฤกษ์ดีสำหรับการผ่าคลอด เราได้รวบรวมฤกษ์ผ่าคลอด 2567 ฤกษ์ดีปีมังกรทอง วันไหนดี วันไหนมงคล มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรี 2567 พยากรณ์โดย การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์ (การะเกต์พยากรณ์) มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรีได้ที่นี่
- ฤกษ์ผ่าคลอด พฤษภาคม 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด มิถุนายน 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด กรกฎาคม 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด สิงหาคม 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด กันยายน 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด ตุลาคม 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด พฤศจิกายน 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด ธันวาคม 2567
เจ็บแผลผ่าคลอดข้างใน เกิดจากอะไร
อาการเจ็บแผลผ่าคลอดจากข้างในนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ ไม่ว่าจะเป็น:
- แผลผ่าคลอดเกิดการอักเสบ
- แผลผ่าคลอดเกิดการติดเชื้อ
- เกิดการกระทบกระเทือนที่แผลผ่าคลอด
- การออกแรงมากเกินไปทั้ง ๆ ที่แผลยังไม่หายดี ก็ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บแผลจากข้างในได้
- เกิดจากแรงดันภายในมดลูก
- คุณแม่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกายจนเกิดแผลกดทับ
เจ็บแผลผ่าคลอดหลายปี แบบนี้ผิดปกติหรือเปล่า
หลังผ่าคลอดผ่านไป 1-2 เดือน อาการเจ็บผ่าคลอดควรจะลดน้อยลง หรือไม่เหลืออาการอยู่แล้ว แต่ถ้าหากผ่านมาหลายปีแล้วคุณแม่ยังมีอาการเจ็บที่แผลผ่าคลอดอยู่ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยค่ะ เพราะอาจจะเกี่ยวข้องการผ่าคลอดโดยตรง หรืออาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ก็เป็นไปได้ค่ะ ดังนั้น ควรไปพบแพทย์จะดีที่สุดนะคะ
บรรเทาอาการเจ็บแผลผ่าคลอดยังไงดี
แม่หลังคลอด สามารถดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการเจ็บแผลผ่าคลอดได้ ดังนี้
- กินยาแก้ปวด เฉพาะยาแก้ปวดที่แพทย์อนุญาตว่าปลอดภัยต่อทารกและการให้นมลูกเท่านั้นนะคะ ไม่ควรซื้อยามากินเอง
- ประคบแผลด้วยน้ำแข็ง หรือเจลเย็น ระวังอย่าให้น้ำแข็งสัมผัสกับแผลโดยตรง ห่อด้วยผ้าหนาและสะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้แผลโดนน้ำ เสี่ยงต่อการอักเสบหรือติดเชื้อได้
- หลีกเลี่ยงการออกแรงมาก ไม่ยกของหนัก ไม่ทำกิจกรรมผาดโผน อาจทำให้แผลปริ และมีอาการปวดแผลมากกว่าเดิม
- พยายามเคลื่อนไหวร่างกายอยู่บ่อย ๆ ออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับ ลดความเสี่ยงของพังผืดในช่องท้อง
กรณีเพิ่งผ่าคลอด
หากคุณแม่เพิ่งผ่าคลอดเสร็จหมาด ๆ หลังจากฟื้นแล้วให้พยายามขยับไปมา ลุกขึ้นนั่ง ลุกขึ้นยืน หรือเดินไปมาในระยะใกล้ ๆ บ้าง เพื่อกระตุ้นให้ลำไส้กลับมาทำงานโดยเร็ว ป้องกันการเกิดพังผืดในช่องท้อง ลดความเสี่ยงของแผลกดทับ และป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน มากไปกว่านั้น ในระยะ 7 วันแรกหลังคลอด ระวังอย่าให้แผลโดนน้ำ อาจเสี่ยงต่อการเกิดแผลอักเสบหรือติดเชื้อได้ค่ะ
กรณีผ่าคลอดมานานกว่า 2 เดือน
หลังผ่าคลอดมา 2 เดือน แผลผ่าคลอดของคุณแม่มักจะหายดีแล้ว และอาการปวดแผลก็ลดลง หรือไม่มีเหลือแล้วค่ะ ถ้าหากคุณแม่ยังมีอาการเจ็บแผลอยู่ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยดูว่ามีความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นหรือเปล่า
เจ็บแผลผ่าคลอด แบบไหนอันตราย
หากคุณแม่เจ็บแผลผ่าคลอดในลักษณะดังต่อไปนี้ ถือว่ามีความเสี่ยง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- มีเลือดออกที่แผลผ่าคลอด
- มีอาการแผลปวดรุนแรงจนไม่สามารถเคลื่อนไหว หรือใช้ชีวิตประจำวันได้
- แผลผ่าคลอดเกิดการบวม แดง
- แผลผ่าคลอดมีหนองไหลออกมา
- แผลผ่าคลอดมีกลิ่นเหม็น
- เจ็บแผลผ่าคลอด และมีไข้ขึ้นสูง
ไขข้อข้องใจเรื่องอาการเจ็บแผลผ่าคลอดกับ Enfa Smart Club
เจ็บแผลผ่าคลอด 2 ปี อันตรายไหม?
ไม่สามารถฟันธงได้ว่าอันตรายหรือไม่อันตราย เพราะอาจเกิดจากการผ่าคลอด หรือเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ก็ได้ค่ะ
ดังนั้น หากผ่าคลอดมา 2 ปีแล้ว แต่ยังเจ็บที่แผลผ่าคลอดอยู่ แนะนำให้คุณแม่ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยดูว่าอาการเจเกิดความผิดปกติใด ๆ หรือไม่
เจ็บแผลผ่าคลอด ยกของหนัก ทำยังไงถึงจะหาย?
แม่ผ่าคลอดควรหลีกเลี่ยงการออกแรงยกของหนัก หากคุณแม่เผลอออกแรงมากแล้วเจ็บแผลผ่าคลอด ควรหยุดพัก และงดเว้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องออกแรงมากทันที
กินยาบรรเทาอาการปวดที่แพทย์แนะนำ รวมถึงการประคบเย็น อาจช่วยให้อาการเจ็บแผลดีขึ้นได้ค่ะ แต่ถ้าอาการเจ็บแผลไม่ดีขึ้นเลย ควรไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยค่ะ เพราะอาจเสี่ยงที่แผลจะปริหรืออักเสบได้
ผ่าคลอด ไอแล้วเจ็บแผล ผิดปกติหรือไม่?
การไอ ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไอหนัก ๆ ก็จะทำให้เกิดการกระทบกระเทือนกับแผล และมีอาการเจ็บที่แผลได้ค่ะ
แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นเลย ทั้งอาการไอ และอาการเจ็บแผล แนะนำให้คุณแม่ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ
เจ็บแผลผ่าคลอด 5 เดือน ผิดปกติหรือไม่?
โดยทั่วไปแล้วอาการเจ็บแผลผ่าคลอดจะค่อย ๆ ลดลงหรือหายไปหลังจากผ่าคลอดได้ 2 เดือน อย่างไรก็ตาม แม่แต่ละคนมีระยะเวลาในการฟื้นตัวแตกต่างกันไปค่ะ บางคนก็ใช้เวลานานกว่า 2 เดือนกว่าจะฟื้นตัวจนหายแผลหายดีและไม่มีอาการเจ็บแผล
อย่างไรก็ตาม หากผ่าคลอดผ่านไปแล้ว 2 เดือน แต่คุณแม่ยังเจ็บแผลหนักมากอยู่ ควรหาเวลาไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่า แผลผ่าคลอดผิดปกติไหม มีการอักเสบหรือติดเชื้อหรือเปล่า
เจ็บแผลผ่าคลอดข้างใน 1 ปี ผิดปกติหรือไม่?
ตอบได้ยากค่ะ ไม่สามารถฟันธงได้ว่าปกติ หรือผิดปกติ ทั้งนี้อาการเจ็บแผลอาจจะเป็นผลพวงมาจากจากการผ่าคลอด หรืออาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ก็ได้ค่ะ
ดังนั้น หากผ่าคลอดมาครบปีแล้ว แต่ยังเจ็บที่แผลผ่าคลอดอยู่ แนะนำให้คุณแม่ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยดูว่าเกิดความผิดปกติใด ๆ หรือไม่
- NHS. Recovery-Caesarean section. [Online] Accessed https://www.nhs.uk/conditions/caesarean-section/recovery/. [7 February 2024]
- Icahn School of Medicine at Mount Sinai. Going home after a C-section. [Online] Accessed https://www.mountsinai.org/health-library/discharge-instructions/going-home-after-a-c-section. [7 February 2024]
- Tommy’s. How to recover from a c-section at home. [Online] Accessed https://www.tommys.org/pregnancy-information/giving-birth/caesarean-section/recovering-home-after-c-section. [7 February 2024]
- Mayo Clinic. C-section recovery: What to expect. [Online] Accessed https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/labor-and-delivery/in-depth/c-section-recovery/art-20047310. [7 February 2024]
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด
- ผ่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ เตรียมตัวยังไง ใช้สิทธิ์อะไรได้บ้างนะ
- ทำหมันหญิงหลังผ่าคลอด เจ็บไหม? ควรเตรียมตัวอย่างไรดี?
- ผ่าคลอดกินไข่ได้ไหม? แม่ผ่าคลอดห้ามกินไข่ จริงหรือ?
- ไอเดียเพื่อคุณแม่ ฝังกลบแผลเป็น ด้วยรอยสักทับแผลผ่าคลอด
- คลอดธรรมชาติกับผ่าคลอด ควรเลือกแบบไหน ถึงจะใช่ที่สุด?
- ผ่าคลอดได้ 2 อาทิตย์ มีอะไรกับแฟน แบบนี้จะท้องไหม?
- ผ่าคลอดใช้เวลากี่นาที มีขั้นตอนยังไงบ้าง
- เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดี เตรียมความพร้อมคุณแม่ผ่าคลอด