ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
how-to-do-bedtime-stories

นิทานสำหรับเด็ก นิทานก่อนเข้านอน เลือกให้ดี มีประโยชน์

Enfa สรุปให้

  • การอ่านนิทาน เป็นกิจกรรมที่ง่ายและแทบไม่ต้องลงทุนอะไรให้มากมาย แค่เพียงคุณพ่อคุณแม่หาเวลาว่าง ๆ เลือกมุมเหมาะ ๆ และนิทานดี ๆ สักเรื่อง เท่านี้ก็สามารถเริ่มต้นการผจญภัยบทใหม่ของลูกได้แล้ว
  • ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มอ่านนิทานให้ลูกฟังได้ตั้งแต่ตอนที่ลูกยังอยู่ในท้อง โดยไม่จำเป็นต้องเริ่มเมื่อตอนที่ลูกเริ่มรู้จักความแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มอ่านนิทานให้ลูกในท้องฟังได้ตั้งแต่คุณแม่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 18 สัปดาห์เป็นต้นไป เพราะพัฒนาการของทารกในอายุครรภ์ 18 สัปดาห์ สามารถที่จะได้ยินเสียงต่าง ๆ รอบตัวแล้ว และนั่นก็หมายรวมถึงเสียงเล่านิทานของคุณพ่อคุณแม่ด้วย
  • การอ่านนิทานให้ลูกฟังเสริมพัฒนาการในหลาย ๆ ด้าน ตั้งแต่การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูก เสริมทักษะการฟัง เสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาและทักษะทางภาษา เด็กจะมีทักษะในการจดจำคำใหม่ เสริมเสริมสมาธิกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ และได้คติสอนใจจากนิทานแต่ละเรื่องด้วย

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • อ่านนิทานให้ลูกฟัง มีประโยชน์อย่างไร 
     • เริ่มเล่านิทานให้ลูกฟังได้ตั้งแต่ตอนไหน 
     • เลือกนิทานสำหรับเด็กอย่างไร ให้เหมาะสมกับวัย 
     • แนะนำ นิทานสําหรับทารก - นิทานสอนเด็ก 
     • ไขข้อข้องใจเรื่องการเล่านิทานสำหรับเด็กกับ Enfa Smart Club 

คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่า การอ่านนิทานให้ลูกฟังมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของทารกได้ในหลาย ๆ ด้าน มากไปกว่านั้น การอ่านนิทานยังสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์อีกด้วยนะ

แต่การอ่านนิทานมีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของทารกอย่างไร และทารกในครรภ์สามารถรับรู้ถึงเสียงต่าง ๆ รอบตัวอย่างเสียงเล่านิทานของคุณพ่อคุณแม่ได้จริง ๆ หรือ? ตามไปหาคำตอบกันได้ที่บทความนี้จาก Enfa กันเลยค่ะ

อ่านนิทานให้ลูกฟัง มีประโยชน์จริงหรือ 


การอ่านนิทาน เป็นกิจกรรมที่ง่ายและแทบไม่ต้องลงทุนอะไรให้มากมาย แค่เพียงคุณพ่อคุณแม่หาเวลาว่าง ๆ เลือกมุมเหมาะ ๆ และนิทานดี ๆ สักเรื่อง เท่านี้ก็สามารถเริ่มต้นการผจญภัยบทใหม่ของลูกได้แล้ว

ซึ่งนอกเหนือไปจากความสนุกสนานแล้ว การอ่านนิทานให้ลูกฟังยังส่งผลดีในอีกหลาย ๆ ด้าน ดังนี้

เสริมสร้างความสัมพันธ์

  • สายใยรักของพ่อแม่และลูกนั้น สามารถเชื่อมโยงให้แน่นแฟ้นมากขึ้นด้วยนิทานดี ๆ เพียง 1-2 เรื่อง เพราะขณะอ่านนิทาน จะเป็นช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่และลูกได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกัน ทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน และจดจ่อกับกิจกรรมนั้นไปพร้อมกัน

ทักษะการฟัง

  • ก่อนที่เด็กจะสามารถพูดได้ เด็กต้องเรียนรู้จากการฟังก่อน การอ่านนิทานให้ลูกฟังจึงมีส่วนช่วยให้เด็กได้เรียนรู้คำต่าง ๆ ผ่านการฟังนิทาน รู้จักการออกเสียง หรือการเปล่งเสียง และทำความเข้าใจกับเสียงที่ได้ยิน

พัฒนาการด้านสติปัญญาและทักษะทางภาษา

  • การอ่าน ทำให้เด็กได้ฟัง และได้เรียนรู้บริบทของนิทานไปด้วย ทั้งยังเป็นประตูที่เปิดให้เด็กได้รู้จักกับรูปแบบของภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาอื่น ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ได้เสริมแทรกเข้าไปผ่านการอ่านนิทาน ซึ่งจากผลการวิจัยหลายแห่งพบว่า การมีปฏิสัมพันธ์ทางการพูดจาระหว่างพ่อแม่ลูก เช่น การอ่านนิทานให้ฟังเป็นประจำ เด็กมีแนวโน้มที่จะมีพัฒนาการทางด้านภาษาได้ดีตั้งแต่ยังเล็ก และยังช่วยเสริมทักษะด้านสติปัญญา อย่างเช่นทักษะในการรู้จักแก้ปัญหาได้ดีอีกด้วย

ทักษะในการจดจำคำใหม่

  • เด็กที่ได้ฟังนิทานก็จะได้รู้จักกับคำศัพท์ใหม่ ๆ มากขึ้น ทำให้เด็กมีคลังคำที่มากขึ้นสำหรับใช้ในการสื่อสารกับผู้อื่น ทั้งยังเป็นการทำให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ผ่านคำใหม่ ๆ ด้วย เช่น การอ่านชื่อพืชที่เด็กไม่รู้จักมาก่อน นอกจากเด็กจะจำว่าผักชนิดนี้ออกเสียงอย่างไรแล้ว ก็ยังรู้ด้วยว่าผักนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร กินได้ไหม มีลักษณะเป็นอย่างไร รสชาติเป็นแบบไหน

เสริมสมาธิ

  • ขณะฟังนิทาน เด็กก็จะจดจ่อกับสิ่งที่กำลังฟังมากขึ้น เป็นการฝึกให้เด็กมีสมาธิและจดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำตรงหน้า ยิ่งเด็ก ๆ นิ่งและฟังมากขึ้น ก็จะยิ่งช่วยให้เด็ก ๆ มีสมาธิมากขึ้นเท่านั้น

เสริมความคิดสร้างสรรค์

  • จินตนาการของเด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว การรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ก็เสมือนการนำสีไปแต้มให้เด็ก ๆ ได้รู้จักกับสิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น ในนิทานมีสิ่งแปลกใหม่อยู่มากมาย ทั้งสิ่งมีชีวิตอย่างสัตว์ป่า ไดโนเสาร์ ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตเหนือจินตนาการอย่างนางฟ้า ยักษ์ ต้นไม้หรือสัตว์พูดได้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เปิดโลกแห่งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ที่อยู่นอกกรอบแก่เด็ก ๆ

พัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์

  • การอ่านและการฟังนิทานจะเป็นการปูทางให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้จักประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่สามารถพบได้ในชีวิต เช่น การพบเพื่อนใหม่ การไปโรงเรียนครั้งแรก เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้จักการสนทนา และเรียนรู้ที่จะแสดงอารมณ์มากขึ้น

คติสอนใจ

  • นิทานหลาย ๆ เรื่องมักมีบทสรุปของตัวละคร ซึ่งเด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ที่มาที่ไปและบทสรุปของเรื่องราวว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น และเราควรจะปฏิบัติตนแบบนั้นหรือไม่ หรือถ้าหากอยู่ในสถานการณ์เช่นเดียวกับในนิทาน จะมีวิธีรับมือได้อย่างไรบ้าง

เริ่มเล่านิทานให้ลูกฟังได้ตั้งแต่ตอนไหน 


คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะเข้าใจว่าต้องรอให้ลูกคลอดออกมาก่อน หรือรอให้ลูกอายุได้สัก 2-3 ขวบก่อนแล้วจึงค่อยเริ่มเล่านิทาน ซึ่งก็ไม่ผิดนักหากคุณพ่อคุณแม่จะสะดวกอ่านนิทานให้ลูกฟังตอนที่ลูกสามารถเข้าใจในเรื่องราวต่าง ๆ ได้มากขึ้น

แต่จริง ๆ แล้ว...ทารกพร้อมที่จะฟังสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่อายุครรภ์ราว ๆ 18 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะทารกเริ่มจะได้ยินเสียงต่าง ๆ จากภายนอกแล้ว ทั้งเสียงพูดคุย เสียงเพลงกล่อมเด็ก ไปจนถึงเสียงเล่านิทานด้วย

อย่างไรก็ตาม กิจกรรมนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของคุณพ่อคุณแม่เป็นสำคัญ แต่ถ้ายังไม่รู้ว่าจะเริ่มวันไหนดีล่ะก็ Enfa ขอแนะนำให้เริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเลยค่ะ

เล่านิทานให้ลูกในท้องฟัง ลูกจะรับรู้หรือไม่

คุณพ่อคุณแม่สามารถอ่านนิทานให้ลูกในท้องฟังได้ โดยสามารถเริ่มอ่านนิทานให้ลูกในท้องฟังได้ตั้งแต่คุณแม่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 18 สัปดาห์เป็นต้นไป เพราะพัฒนาการของทารกในอายุครรภ์ 18 สัปดาห์ สามารถที่จะได้ยินเสียงต่าง ๆ รอบตัวแล้ว และนั่นก็หมายรวมถึงเสียงเล่านิทานของคุณพ่อคุณแม่ด้วย

เลือกนิทานสำหรับเด็กอย่างไร ให้เหมาะสมกับวัย


การเลือกนิทานสำหรับเด็ก ก็เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ต้องพิถีพิถัน เพื่อให้ลูกสามารถเข้าใจได้ตามระดับของวัย โดยคุณพ่อคุณแม่อาจเลือกนิทานสำหรับเด็กได้ ดังนี้

เด็กแรกเกิด - 6 เดือน

  • เด็กในวัยนี้ยังเล็กเกินกว่าจะเข้าใจบริบทของสำนวนภาษา ดังนั้น การเลือกนิทานที่มีเนื้อหาเยอะ ๆ จึงอาจจะยังไม่เหมาะ เพราะเด็กวัยนี้เหมาะกับหนังสือนิทานภาพที่มีภาพขนาดใหญ่ 1 ภาพ ต่อ 1 หน้า มีคำหรือประโยคสั้น ๆ สำหรับอ่านเพื่อฝึกการฟังให้กับทารก เพราะเด็กวัยนี้จะเน้นฟังเสียงพ่อแม่เป็นหลัก หรืออาจจะเลือกเป็นนิทานภาพที่มีเสียงร้องเพลงประกอบด้วย ก็เหมาะสำหรับทารกวัยนี้เช่นกัน

เด็กอายุ 7-12 เดือน

  • เด็กวัยนี้ยังเหมาะสำหรับนิทานภาพขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่อยู่ แต่สามารถที่จะรับรู้บริบทต่าง ๆ ได้มากขึ้น นอกจากจะต้องเป็นนิทานภาพขนาดใหญ่และสีสันดึงดูดแล้ว ก็สามารถมีคำบรรยายยาวประมาณ 1 บรรทัดต่อ 1 หน้าได้ เพราะด็กวัยนี้ก็เริ่มที่จะเรียนรู้การปะติดปะต่อเรื่องราวบ้างแล้ว โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะชี้ไปที่ภาพ และถามเพื่อให้ลูกตอบ ซึ่งลูกอาจจะตอบกลับเป็นเสียงอ้อแอ้ตามปกติ แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถแก้ไขโดยการตอบเองว่า ใช่แล้ว นี่คือลิง เป็นต้น

เด็กอายุ 13-18 เดือน

  • เด็กวัยนี้เหมาะกับนิทานที่มีรายละเอียดมากขึ้น และมีภาพที่อยู่ในความคุ้นเคยของเด็ก เช่น พ่อ แม่ ลูก แมว สุนัข หรือตัวการ์ตูนที่เด็ก ๆ รู้จัก และควรเป็นนิทานที่มีแอ็กชั่นในภาพประกอบมากขึ้น เพราะเด็กวัยนี้สามารถที่จะเพลิดเพลินกับรายละเอียดได้มากขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม เด็กวัยนี้ก็ยังไม่เหมาะกับนิทานที่มีโครงเรื่องที่ซับซ้อน

เด็กอายุ 19-30 เดือน

  • เด็กวัยนี้สามารถรับรู้เนื้อหาที่มีรายละเอียดได้มากขึ้น เหมาะสำหรับนิทานที่มีภาพประกอบที่หลากหลาย และมีเนื้อหาที่มากขึ้นด้วย และยังควรเลือกเนื้อหาที่มีกลุ่มคำคล้องจอง มีเนื้อหาที่เด็ก ๆ สามารถคาดเดาได้ว่าตอนต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

เด็กอายุ 3-4 ปี 

  • เด็กวัยนี้สามารถเรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ ได้มากแล้ว จึงพร้อมสำหรับนิทานที่มีรูปภาพสวยงาม มีรายละเอียดของเนื้อหามากขึ้น สามารถฟังนิทานเรื่องยาว ๆ ได้แล้ว ซึ่งเด็กวัยนี้สามารถที่จะตอบโต้ได้มากขึ้น ขณะอ่านนิทานคุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะถามความคิดเห็นเป็นช่วง ๆ ได้

เด็กอายุ 5-6 ปี

  • เด็กวัยนี้ถือว่าเป็นเด็กวัยเรียนแล้ว สามารถที่จะทำความเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ได้มากขึ้น สามารถอ่านนิทานที่มีเนื้อหาแปลกใหม่ ซับซ้อน และมีการผจญภัยมากขึ้นแล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจเลือกนิทานทั่วไป หรือนิทานที่ลูกสนใจได้เลย แต่ก็ยังควรเป็นนิทานที่มีภาพประกอบอยู่เหมือนเดิม

แนะนำ นิทานสําหรับทารก


หากคุณพ่อคุณแม่กำลังขบคิดอยู่ว่า จะเอานิทานเรื่องอะไรมาอ่านให้ลูกฟังดีน้า วันนี้ Enfa ขอแนะนำ 3 หนังสือนิทานสําหรับทารก ที่คุณพ่อคุณแม่อาจสนใจค่ะ

1. เจ้าชายกบ

  • เรื่องย่อ: เรื่องราวของเจ้าหญิงแสนสวยที่บังเอิญทำลูกบอลทองคำตกน้ำและได้เจ้ากบช่วยเก็บลูกบอลมาคืน โดยมีข้อแม้ว่าเจ้าหญิงจะต้องยอมเป็นเพื่อนรักกับเจ้ากบ แต่เจ้าหญิงผิดสัญญาที่ให้ไว้ เจ้ากบจึงมาทวงสัญญาที่ปราสาท เจ้าหญิงปฏิเสธเสด็จพ่อกับเสด็จแม่ที่สอนให้รักษาสัญญาไม่ได้ จึงต้องยอมให้เจ้ากบมาอยู่ด้วยแม้จะไม่เต็มใจที่จะอยู่กับเจ้ากบเลยก็ตาม

2. ราพันเซล

  • เรื่องย่อ: เรื่องราวของสามีที่แอบไปขโมยผักราพันเซลของแม่มดมาให้ภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์กิน แต่ถูกแม่มดจับได้ และทำข้อตกลงว่าเมื่อเด็กเกิดมาเป็นผู้หญิงจะต้องยกให้กับแม่มดแทน สามีภรรยาจึงได้ทำตามสัญญายกราพันเซลให้กับแม่มด แม่มดเลี้ยงดูราพันเซลอย่างดีบนหอคอยกลางป่าที่ไม่มีบันไดขึ้นลง เวลาที่แม่มดจะขึ้นลงหอคอย นางจะตะโกนเรียกให้ราพันเซลโยนผมยาวสลวยลงมาเพื่อปีนขึ้นไปบนหอคอย

3. หนูน้อยผมทองกับหมีสามตัว  

  • เรื่องย่อ: เรื่องราวของเด็กหญิงผมทองคนหนึ่งที่หลงทางไปเจอกับครอบครัวหมีสามตัว และเกิดเป็นเรื่องวุ่น ๆ ขึ้นเพราะเด็กหญิงผมทองได้แอบกินอาหารและทำสิ่งของในบ้านของครอบครัวหมีจนเสียหาย จนครอบครัวหมีกลับมาเจอและตำหนิเด็กหญิงผมทองในสิ่งที่ทำลงไปโดยไม่ขออนุญาต

นิทานสอนเด็ก

 หากคุณพ่อคุณแม่อยากให้นิทานมีการสอดแทรกคติ แง่คิด ก็สามารถเลือกได้หลากหลายเรื่องราวตามความเหมาะสมของวัยและความสนใจของลูก เช่น

  • กระต่ายกับเต่า สอนเรื่องความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
  • เด็กเลี้ยงแกะ สอนให้เด็กไม่โกหก เพราะการโกหกจะนำมาซึ่งการสูญเสียความน่าเชื่อถือจากผู้อื่น
  • ห่านไข่ทองคำ สอนเรื่องการรู้จักพอใจในสิ่งที่ไม่ ไม่โลภมาก
  • ราชสีห์กับหนู สอนให้เด็ก ๆ รู้จักเห็นคุณค่าในตัวเอง เพราะคนตัวเล็ก ๆ ก็สามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้
  • กากับเหยือกน้ำ สอนให้เด็ก ๆ รู้จักใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
  • ชาวนากับงูเห่า สอนให้เด็ก ๆ ไม่ไว้วางใจผู้อื่นง่าย ๆ
  • กระต่ายตื่นตูม สอนให้เด็ก ๆ มีสติ รอบคอบ รู้จักพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ให้ถี่ถ้วน
  • เทพารักษ์กับคนตัดไม้ สอนให้เด็ก ๆ เป็นคนซื่อสัตย์ ไม่โกหก

ไขข้อข้องใจเรื่องการเล่านิทานสำหรับเด็กกับ Enfa Smart Club


1. เล่านิทานให้ลูกฟังตอนกี่เดือน?

คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มเล่านิทานให้ลูกฟังได้ตั้งแต่ลูกอยู่ในท้องที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 18 สัปดาห์ขึ้นไป และอ่านต่อเนื่องได้จนกระทั่งลูกคลอด ไปจนถึงอายุ 5-6 ปี หรืออ่านต่อไปได้เรื่อย ๆ หากลูกต้องการ

2. อ่านนิทานภาษาอังกฤษให้ลูกฟัง ดีไหม?

การอ่านนิทานภาษาอังกฤษให้ลูกฟัง เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยเสริมทักษะด้านภาษาให้กับลูก เด็กจะได้รู้จักกับคำศัพท์ใหม่ ๆ มากขึ้นด้วย

3. ทําไมต้องอ่านนิทานให้ลูกฟัง?

การอ่านนิทานให้ลูกฟัง มีประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้

เสริมสร้างความสัมพันธ์

  • สายใยรักของพ่อแม่และลูกนั้น สามารถเชื่อมโยงให้แน่นแฟ้นมากขึ้นด้วยนิทานดี ๆ เพียง 1-2 เรื่อง เพราะขณะอ่านนิทาน จะเป็นช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่และลูกได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกัน ทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน และจดจ่อกับกิจกรรมนั้นไปพร้อมกัน

ทักษะการฟัง

  • ก่อนที่เด็กจะสามารถพูดได้ เด็กต้องเรียนรู้จากการฟังก่อน การอ่านนิทานให้ลูกฟังจึงมีส่วนช่วยให้เด็กได้เรียนรู้คำต่าง ๆ ผ่านการฟังนิทาน รู้จักการออกเสียง หรือการเปล่งเสียง และทำความเข้าใจกับเสียงที่ได้ยิน 

พัฒนาการด้านสติปัญญาและทักษะทางภาษา

  • การอ่าน ทำให้เด็กได้ฟัง และได้เรียนรู้บริบทของนิทานไปด้วย ทั้งยังเป็นประตูที่เปิดให้เด็กได้รู้จักกับรูปแบบของภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษษอื่น ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ได้เสริมเข้าไปผ่านการอ่านนิทาน ซึ่งจากผลการวิจัยหลายแห่งพบว่า การมีปฏิสัมพันธ์ทางการพูดจาระหว่างพ่อแม่ลูก เช่น ก่านอ่านนิทานให้ฟังเป็นประจำ เด็กมีแนวโน้มที่จะมีพัฒนาการทางด้านภาษาได้ดีตั้งแต่ยังเล็ก และยังช่วยเสริมทักษะด้านสติปัญญา อย่างเช่นทักษะในการรู้จักแก้ปัญหาได้ดีอีกด้วย

ทักษะในการจดจำคำใหม่

  • เด็กที่ได้ฟังนิทานก็จะได้รู้จักกับคำศัพท์ใหม่ ๆ มากขึ้น ทำให้เด็กมีคลังคำที่มากขึ้นสำหรับใช้ในการสื่อสารกับผู้อื่น ทั้งยังเป็นการทำให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ผ่านคำใหม่ ๆ ด้วย เช่น การอ่านชื่อพืชที่เด็กไม่รู้จักมาก่อน นอกจากเด็กจะจำว่าผักชนิดนี้ออกเสียงอย่างไรแล้ว ก็ยังรู้ด้วยว่าผักนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร กินได้ไหม มีลักษณะเป็นอย่างไร รสชาติเป็นแบบไหน

เสริมสมาธิ

  • ขณะฟังนิทาน เด็กก็จะจดจ่อกับสิ่งที่กำลังฟังมากขึ้น เป็นการฝึกให้เด็กมีสมาธิและจดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำตรงหน้า ยิ่งเด็ก ๆ นิ่งและฟังมากขึ้น ก็จะยิ่งช่วยให้เด็ก ๆ มีสมาธิมากขึ้นเท่านั้น

เสริมความคิดสร้างสรรค์

  • จินตนาการของเด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว การรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ก็เสมือนการนำสีไปแต้มให้เด็ก ๆ ได้รู้จักกับสิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น ในนิทานมีสิ่งแปลกใหม่อยู่มากมาย ทั้งสิ่งมีชีวิตอย่างสัตว์ป่า ไดโนเสาร์ ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตเหนือจินตนาการอย่างนางฟ้า ยักษ์ ต้นไม้หรือสัตว์พูดได้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เปิดโลกแห่งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ที่อยู่นอกกรอบแก่เด็ก ๆ

พัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ 

  • การอ่านและการฟังนิทานจะเป็นการปูทางให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้จักประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่สามารถพบได้ในชีวิต เช่น การพบเพื่อนใหม่ การไปโรงเรียนครั้งแรก เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้จักการสนทนา และเรียนรู้ที่จะแสดงอารมณ์มากขึ้น

คติสอนใจ

  • นิทานหลาย ๆ เรื่องมักมีบทสรุปของตัวละคร ซึ่งเด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ที่มาที่ไปและบทสรุปของเรื่องราวว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น และเราควรจะปฏิบัติตนแบบนั้นหรือไม่ หรือถ้าหากอยู่ในสถานการณ์เช่นเดียวกับในนิทาน จะมีวิธีรับมือได้อย่างไรบ้าง

4. อ่านนิทานให้ลูกฟัง แต่ลูกไม่สนใจ?

บางครั้งลูกอาจจะไม่ได้จดจ่ออยู่กับการฟังนิทานมากนัก คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องใช้ทักษะและพลังงานให้มากขึ้น เช่น ทำเสียงเลียนแบบตัวละครในนิทาน มีการแสดงออกทางสีหน้าและท่าทางที่ชวนตื่นตาตื่นใจ หรือใช้น้ำเสียงในการอ่านที่มีจังหวะขึ้นและลง ไม่ราบเรียบจนเกินไป เพื่อดึงดูดความสนใจของลูก



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

บทความที่แนะนำ

starting-solid-foods
baby-led-weaning
how-lullaby-affects-babys-brain-development
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner
  • Register bar

Leaving page banner

 

Leaving page banner