ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
human-metapneumovirus

โรค hMPV คืออะไร ไวรัส hMPV ติดเชื้อแล้วอันตรายจริงหรือ?

Enfa สรุปให้

  • Human Metapneumovirus หรือ hMPV เป็นกลุ่มไวรัสที่อันตรายมากพอ ๆ กับไวรัส RSV ที่มักระบาดอย่างแพร่หลายในเด็กเล็กช่วงฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว
  • อาการของโรค hMPV จะมีลักษณะคล้ายกับอาการไข้หวัดใหญ่มากจนแทบแยกไม่ออก ต่างกันที่ไข้หวัดใหญ่จะไม่มีอาการเบื่ออาหารและปอดอักเสบ
  • โรค hMPV ปัจจุบันยังไม่มียาต้านและวัคซีน การรักษาจึงทำได้แค่เพียงประคับประคองอาการให้ดีขึ้นตามลำดับเท่านั้น

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • โรค hMPV คืออะไร
     • สาเหตุของโรค hMPV
     • อาการของโรค hMPV เป็นอย่างไร
     • ดูแลลูกอย่างไรให้ปลอดภัยจากไวรัส hMPV

โรคในระบบทางเดินหายใจ ถือว่าเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก และส่วนมากมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาวที่เชื้อไวรัสเจริญเติบโตได้ดี เด็กเล็กมักจะเสี่ยงติดเชื้อไวรัส hMPV ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกป่วยหนักได้ค่ะ

hMPV คืออะไร รู้จักโรค hMPV ในเด็กเล็ก


hMPV ย่อมาจาก Human Metapneumovirus หรือ เชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส จัดว่าเป็นกลุ่มไวรัสที่อันตรายมากพอ ๆ กับไวรัส RSV ที่มักระบาดอย่างแพร่หลายในเด็กเล็ก โดยไวรัส hMPV จะก่อให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน และมีอาการที่คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ หวัดธรรมดา หรือบางครั้งก็ไม่แสดงอาการ

สาเหตุของโรค hMPV


สาเหตุของโรค hMPV เกิดจากการได้รับเชื้อไวรัส hMPV เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นในระบบบทางเดินหายใจ โดยไวรัส hMPV นี้ ติดต่อกันได้ง่าย ๆ ผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย การไอ การจาม การสัมผัสกับเสมหะ หรือสิ่งสกปรกตามแหล่งน้ำในช่วงหน้าฝน

รู้จักไวรัส hMPV ตัวร้ายที่ยังไม่มีวัคซีนรักษา

ไวรัส hMPV หรือ เชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส เป็นไวรัสที่เกิดการระบาดบ่อยในช่วงที่สภาพอากาศเย็น ราว ๆ ฤดูฝนถึงช่วงต้นฤดูหนาว เป็นไวรัสที่ทำให้เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

ซึ่งในปัจจุบันไวรัส hMPV ยังไม่มีทั้งยาต้านหรือวัคซีนที่สามารถป้องกันและรักษาโรคนี้ได้ หากลูกติดเชื้อไวรัส hMPV จะสามารถทำได้เพียงรักษาตามอาการเท่านั้นค่ะ

hMPV อาการเหมือนและแตกต่างจากไข้หวัดใหญ่อย่างไร


อาการโดยทั่วไปของโรค hMPV มีดังนี้

  • มีอาการไอ
  • น้ำมูกไหล
  • มีไข้สูง
  • เจ็บคอ
  • อ่อนเพลีย ซึม
  • หายใจลำบาก
  • ปวดเมื่อย
  • เบื่ออาหาร
  • ปอดอักเสบ

ซึ่งอาการโดยทั่วไปของโรค hMPV นั้น แทบจะเหมือนกับอาการไข้หวัดใหญ่ทุกประการเลยค่ะ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองโรคนี้จะมีความแตกต่างกันตรงที่อาการของไข้หวัดใหญ่จะไม่มีอาการเบื่ออาหาร และไม่มีอาการปอดอักเสบร่วมด้วย

โรค hMPV อันตรายไหม

ไวรัส hMPV นั้น อันตรายพอ ๆ กับไวรัส RSV เลยค่ะ เพราะยังไม่มีทั้งยาต้านและวัคซีนป้องกันโรค ดังนั้น จึงทำได้แค่เพียงรักษาตามอาการ ซึ่งในกรณีที่ติดเชื้อขั้นรุนแรงและผู้ป่วยมีอาการหนัก อาจทำให้ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ

hMPV รักษาอย่างไร

โรค hMPV ยังไม่มียาต้านและวัคซีนสำหรับป้องกันโรค ดังนั้น จึงทำได้เพียงรักษาตามระดับของอาการเพื่อประคับประคองไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หากมีไข้ก็ให้กินยาลดไข้ มีอาการไอ ก็กินยาแก้ไอ ตัวร้อนก็เช็ดตัวบ่อย ๆ เพื่อให้อาการค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ

คุณพ่อคุณแม่จะลดโอกาสเสี่ยงติดไวรัส hMPV ของลูกยังไงดี


วิธีป้องกันเชื้อไวรัส hMPV สามารถทำได้ ดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังสัมผัสกับลูก
  • ล้างมือลูกบ่อย ๆ ไม่ปล่อยให้มือของลูกสกปรก
  • หลีกเลี่ยงการพาลูกไปในพื้นที่แออัด
  • หลีกเลี่ยงการพาลูกไปอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • หากมีสมาชิกในบ้านป่วย ให้รีบแยกผู้ป่วยออกจากลูกทันที
  • ดูแลไม่ให้ลูกใช้ของหรือกินอาหารร่วมกับผู้อื่น
  • หากต้องเดินทางออกไปในพื้นที่แออัดหรือมีผู้ป่วย ควรสวมหน้ากากอนามัยให้ลูก
  • หมั่นสังเกตอาการของลูกอยู่เสมอ หากมีอาการผิดปกติคล้ายติดเชื้อไวรัส hMPV รีบหาลูกไปพบแพทย์ทันที 

แม่ 100% เชื่อว่าแลคโตเฟอร์รินจากน้ำนมเหลืองช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูก*

เด็กควรได้กินนมแม่อย่างต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต เพื่อให้ได้รับสารอาหารและสารภูมิคุ้มกันที่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโต

โดยหลังแรกคลอด คุณแม่ควรเริ่มต้นให้นมแม่กับลูกน้อย เพราะในช่วง 1-3 วันแรกหลังคลอด น้ำนมแม่จะยังอยู่ในระยะที่เรียกว่า “น้ำนมเหลือง” (Colostrum) ซึ่งเป็นน้ำนมส่วนที่ดีที่สุด เพราะมีภูมิคุ้มกันสูง เปรียบเสมือนวัคซีนธรรมชาติจากอกแม่

นอกจากนี้ น้ำนมเหลือยังมีสารอาหารอย่าง "แลคโตเฟอร์ริน" สารอาหารสำคัญในน้ำนมเหลือง ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วย

          • ต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา

          • กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ลดโอกาสการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ

          • ส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร ด้วยการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์สุขภาพ และทำให้ผนังลำไส้แข็งแรง ลดโอกาสการเกิดท้องเสีย

*จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างคุณแม่อายุ 31 - 40 ปี จำนวน 78 คน และคุณแม่ผ่าคลอดจำนวน 47 คน ที่มีลูกอายุระหว่าง 0 - 72 เดือน โดย บ. ยูโกฟ (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 24 - 30 พฤษภาคม 2566



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

บทความที่แนะนำ

vaccines for children 2022
baby-twitching-in-sleep
baby-bumped-head
Enfa Smart Club

Leaving page banner

 

Leaving page banner