Enfa สรุปให้:
- โพรไบโอติก (Probiotic) เป็นจุลินทรีย์มีชีวิต สามารถพบได้ในร่างกายและในอาหารบางชนิด ซึ่งมีหน้าที่ในการช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งระบบอื่น ๆ ของร่างกาย จัดกี่จุลินทรีย์ชนิดร้าย คืนสภาวะสมดุล และปกติให้กับร่างกายของเรา
- ถึงแม้ร่างกายจะมีโพรไบโอติกอยู่แล้ว แต่การรับประทานโพไบโอติกเพิ่มเข้าไป จะช่วยเสริมสร้างโพรไบโอติกที่ร่างกายสูญเสียไปจากการย่อยและสาเหตุอื่น ๆ
- เราสามารถพบโพรไบโอติกได้จากอาหารประเภทหมักดอง เช่น โยเกิร์ต กิมจิ คอมบูชา หรือชาหมัก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถพบโพรไบโอติกได้ในน้ำนมแม่ โดยโพรไบโอติกที่พบในน้ำนมแม่ คือ จุลินทรีย์สุขภาพแลคโตบาซิลัส รามโนซัส จีจี (LGG)
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• โพรไบโอติกคืออะไร
• โพรไบโอติกมีอะไรบ้าง
• โพรไบโอติกจำเป็นต่อร่างกายไหม
• ประโยชน์ของโพรไบโอติก
• ต้องกินโพรไบโอติกตอนไหน
• โพรไบโอติกกินนานแค่ไหน
• เลือกโพรไบโอติกอย่างไร
• อาหารที่มีโพรไบโอติกสูง
• ใครสามารถกินโพรไบโอติกได้บ้าง
• รู้จักกับจุลินทรีย์สุขภาพ LGG
• ไขข้อข้องใจเรื่องโพรไบโอติกกับ Enfa Smart Club
ทำไมเราต้องกินโพรไบโอติก? เจ้าจุลินทรีย์ตัวนี้มันมีดียังไงนะ หลาย ๆ ครั้งที่เราอาจจะได้ยินคำแนะนำให้รับประทานโพรไบโอติก เพื่อช่วยในเรื่องของการขับถ่าย แต่โพรไบโอติกมีดีแค่ช่วยให้ขับถ่ายง่ายเท่านั้นหรือ? เพื่อไขข้อสงสัยนี้ เอนฟาชวนทุก ๆ คนมาทำความรู้จักกับเจ้าโพรไบโอติกกันค่ะ!
Probiotic คืออะไร
Probiotic หรือโพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์และยีสต์มีชีวิตที่อาศัยอยู่ในร่างกายของเรา โดยปกติแล้ว ร่างกายจะมีจุลินทรีย์ทั้งชนิดดีและชนิดร้าย ซึ่งหากร่างกายมีอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ จุลินทรีย์ชนิดร้ายก็จะเข้าไปทำลายระบบต่าง ๆ ในร่างกาย แต่สำหรับโพรไบโอติกที่เป็นจุลินทรีย์ชนิดดี จะทำหน้าที่ช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งระบบอื่น ๆ กำจัดจุลินทรีย์ชนิดร้าย และคืนสภาวะสมดุลปกติให้กับร่างกาย
ในปัจจุบัน เราสามารถหาพรีไบโอติกมารับประทานได้ตามท้องตลาดทั่วไป โดยมักจะพบพรีไบโอติกในผลิตภัณฑ์จำพวกโยเกิร์ต นมเปรี้ยว ซุปมิโซะ เป็นต้น
จุลินทรีย์โพรไบโอติกมีอะไรบ้าง
โปรไบโอติก มีอะไรบ้าง? สำหรับจุลินทรีย์โพรไบโอติกสามารถแยกประเภทออกมาได้อีก 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1. แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus): โพรไบโอติกชนิดนี้ สามารถพบได้ในระบบทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ และช่องคลอด นอกจากนี้ยังพบได้ในอาหารประเภทโยเกิร์ต นมเปรี้ยม รวมไปถึงอาหารหมักดองบางชนิด แลคโตบาซิลลัสมีส่วนช่วยป้องกันอาการท้องเสีย ท้องร่วงได้อีกด้วย
2. ไบฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium): ไบฟิโดแบคทีเรียมจะอาศัยอยู่บริเวณช่องปาก ลำไส้ และช่องคลอด รวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากนมบางชนิด โพรไบโอติกชนิดนี้มีส่วนช่วยในการย่อยอาหาร ผลิตกรดไขมันสายสั้น และช่วยลดอาการอักเสบ
3. แซคคาโรไมซิส (Saccharomyces): เป็นยีสต์ชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในโพรไบโอติก มีส่วนช่วยในการรักษาสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ป้องกันอาการท้องเสีย รวมไปถึงอาการไม่สบายท้องอื่น ๆ สามารถพบพรีไบโอติกชนิดนี้ได้ในอาหารประเภทเครื่องดื่มชาหมักและผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
โพรไบโอติกจำเป็นต่อร่างกายไหม
ถึงแม้ร่างกายจะมีพรีไบโอติกอาศัยอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ช่องปาก ทางเดินอาหาร ลำไส้ และช่องคลอด แต่การรับประทานพรีไบโอติกเสริมเพิ่มเติมเข้าไป จะช่วยเข้าไปทดแทนพรีไบโอติกที่สูญเสียจากการย่อยและสาเหตุอื่น ๆ
สำหรับโพรไบโอติกแล้ว มีความจำเป็นกับร่างกายเป็นอย่างมาก โดยมีบทบาทและหน้าที่สำคัญต่อระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งโพรไบโอติกจะทำหน้าที่เสมือนตัวเสริมสร้างระบบต่าง ๆ ให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ โพรไบโอติกยังช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมภายนอกร่างกายอีกด้วย
Probiotic ช่วยอะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
อย่างที่เราทราบกันดีกว่า โพรไบโอติกมีบทบาทและหน้าที่สำคัญกับระบบทางเดินอาหาร ระภูมิคุ้มกัน รวมถึงระบบอื่น ๆ ของร่างกาย หากร่างกายขาดโพรไบโอติกไปก็อาจจะมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา โดยโพรไบโอติกสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดโรค หรือความผิดปกติของร่างกาย ดังนี้
• ระบบการย่อยอาหารผิดปกติ เช่น อาการท้องเสีย ลำไส้แปรปรวน รวมถึงกลุ่มโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหารเรื้อรัง (Inflammatory Bowel)
• กลุ่มโรคภูมิแพ้ เช่น ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ โรคจมูกอักเสบจากโรคภูมิแพ้ เป็นต้น
• สุขภาพช่องปาก เช่น ฟันพุ โรคปริทันต์ และปัญหาเกี่ยวกับช่องปากอื่น ๆ
• อาการโคลิคในเด็ก
• โรคตับ
• ไข้หวัด
• ภาวะลำไส้เน่าในทารกที่คลอดก่อนกำหนด
• ปัญหาผิวหนัง
โปรไบโอติกกินตอนไหน
โพรไบโอติกกินตอนไหน ช่วงเวลาไหนกันที่เหมาะสมสำหรับการรับประทานโพรไบโอติก? สำหรับการรับประทานโพรไบโอติกแล้ว อาจจะไม่มีเวลาตายตัวมากนัก ยิ่งหากรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของโพรไบโอติก ไม่ว่าจะเป็น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ชาหมัก ก็สามารถรับประทานได้ตามช่วงมื้ออาหาร หรือช่วงเวลาที่ต้องการของแต่ละบุคคล
ในกรณีที่รับประทานโพรไบโอติกที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรับประทานโพรไบโอติก คือช่วงเวลาก่อนเข้านอน เนื่องจากลำไส้จะทำงานน้อย ทำให้โพรไบโอติกที่รับประทานเข้าไปสามารถอยู่ในลำไส้ได้นานขึ้น อย่างไรก็ตาม สำหรับการรับประทานอาหารเสริมโพรไบโอติก ยังควรรับประทานตามคำแนะนำบนฉลากของบรรจุภัณฑ์ หรือตามคำแนะนำของเภสัชร และผู้เชี่ยวชาญ
โปรไบโอติกกินนานแค่ไหน
เนื่องจากโพรไบโอติกเป็นสิ่งที่อยู่ในร่างกายไม่ได้นานนัก เพราะสุดท้ายแล้วเราจะขับถ่ายมันออกมา ดังนั้นจึงควรรับประทานโพรไบโอติกเป็นประจำ กรณีรับประทานโพรไบโอติกที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ควรรับประทานตามคำแนะนำบนฉลาก หรือตามคำแนะนำของเภสัชกร และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
Probiotic ยี่ห้อไหนดี? เราควรเลือกโปรไบโอติกอย่างไร
เราสามารถหาซื้อโพรไบโอติกชนิดผลิตภัณฑ์อาหารเสริมได้ตามท้องตลาดทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันก็มีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโพรไบโอติกหลากหลายยี่ห้อให้เราได้เลือกสรร แต่การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโพรไบโอติกควรคำนึงถึงคุณสมบัติเหล่านี้ ได้แก่
• ปริมาณส่วนประกอบของจุลินทรีย์ (Colony-forming Units): ควรเลือกผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโพรไบโอติกที่มีจำนวนประมาณส่วนประกอบของจุลินทรีย์อย่างต่ำอยู่ที่ 1 ล้านโคโลนี และควรประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ไบฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) หรือแซคคาโรไมซิส (Saccharomyces)
• วันที่ผลิต – หมดอายุ และการจัดเก็บรักษา: ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีการระบุวันที่ผลิตและหมดอายุที่ชัดเจน นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกบางชนิดต้องการการเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม ดังนั้นจึงควรสังเกตแหล่งจำหน่ายว่ามีการจัดเก็บตามอุณหภูมิที่เหมาะสมตามที่ฉลากระบุหรือไม่ เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์เน่าเสีย หรือเสื่อมสภาพ
• มีเลขอย.: ผลิตภัณฑ์ที่เลือกซื้อ จะต้องมีมาตรฐานการผลิตที่ปลอดภัย มีเลขทะเบียนได้รับอนุญาติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
แนะนำอาหารที่มี Probiotic สูง
นอกจากการรับประทานโพรไบโอติกที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมได้แล้ว เรายังสามารถรับประทานอาหารที่มีโปรไบโอติกได้เช่นกัน ซึ่งมีราคาที่ย่อมเยาว์กว่า รวมทั้งได้ผลิตภัณฑ์ที่สดใหม่และหาได้ง่ายตามท้องตลาด อาหารที่มีโพรไบโอติกสูงบางชนิดยังสามารถทำได้เองที่บ้านอีกด้วย โดยอาหารที่มีโพรไบโอติกสูง เช่น
• ซาวร์เคราต์: ซาวร์เคราต์ (Sauerkraut) หรือกะหล่ำปลีหมักแบบฝรั่ง เป็นอาหารที่ทำจากกะหล่ำปลีซอยละเอียด หมักกับเกลือ และสมุนไพรต่าง ๆ มีรสเปรี้ยว มักจะนิยมทานคู่กับเนื้อสัตว์ต่าง ๆ
• โยเกิร์ต: โยเกิร์ตเป็นอาหารอีกชนิดที่เรามักจะได้ยินบ่อย ๆ ว่ามีโพรไบโอติกสูง สามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด มีให้เลือกหลากหลายรสชาติ สามารถรับประทานร่วมกับผลไม้ หรือธัญพืชได้ อย่างไรก็ตาม โยเกิร์ตบางชนิดมีปริมาณน้ำตาลที่สูง ควรเลือกรับประทานโยเกิร์ตที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำ
• ถั่วนัตโตะ: อาหารญี่ปุ่นที่ทำจากถั่วเหลืองและนำมาหมัก มีลักษณะเหนียวและลื่น นิยมรับประทานกับข้าวสวย พร้อมทั้งราดซอสถั่วเหลือง หรือมัสตาร์ดลงไป
• กิมจิ: อาหารเกาหลีที่นิยมรับประทานเป็นเครื่องเคียงกับเมนูต่าง ๆ ทำจากผักหลากหลายชนิดหมักกับพริกและเครื่องปรุงต่าง ๆ
• คอมบูชา หรือชาหมัก: คอมบูชา (Kombucha) หรือชาหมัก เป็นเครื่องดื่มที่ใช้ชา น้ำตาล ผลไม้ และสมุนไพรต่าง ๆ นำมาหมัก โดยใช้ระยะเวลาในการหมักชาประมาณ 7 – 12 วัน
ใครกิน Probiotic ได้บ้าง? แม่ตั้งครรภ์รับประทาน Probiotic ได้ไหม
โพรไบโอติกสามารถรับประทานได้ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ รวมทั้งคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายของเรามีความต้องการโพรไบโอติกอยู่แล้ว การรับประทานโพรไบโอติกมีส่วนช่วยให้ระบบย่อยอาหารของเราทำงานได้อย่างปกติ สามารถช่วยป้องกันอาการไม่สบายท้องต่าง ๆ ได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
รู้จักกับจุลินทรีย์สุขภาพ LGG
จุลินทรีย์สุขภาพแลคโตบาซิลัส รามโรซัส จีจี (Lactobacillus Rhamnosus GG) หรือ LGG เป็นโพรไบโอติกชนิดหนึ่ง ที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก และมีคุณสมบัติในการรักษาโรคท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อ โรคท้องเสียเฉียบพลันในเด็ก ป้องกันฟันผุ และลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้
โดยจุลินทรีย์สุขภาพแลคโตบาซิลัส รามโนซัส จีจี (LGG) สามารถพบได้ในอาหารบางชนิด เช่น โยเกิร์ต ชาหมัก นมเปรี้ยวบางชนิด เป็นต้น ทั้งนี้ ยังสามารถพบโพรไบโอติก หรือจุลินทรีย์สุขภาพแลคโตบาซิลัส รามโนซัส จีจี (LGG) ได้ในน้ำนมแม่ได้อีกเช่นกัน
โดยคุณประโยชน์ของน้ำนมแม่ที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ LGG ร่วมกับโปรตีนย่อยง่าย และสารอาหารอื่น ๆ อีกกว่า 200 ชนิด จะช่วยสร้างสมดุลจุลินทรีย์บริเวณผนังลำไส้ และเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานของลูกน้อยให้แข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภูมิแพ้ที่จะตามมาในอนาคต
สงสัยหรือไม่ว่าลูกน้อยจะมีความเสี่ยงเป็นภูมิแพ้ในเด็กหรือไม่ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภูมิแพ้ในเด็กได้ที่นี่ หรือสามารถทำแบบประเมินความเสี่ยงการเป็นภูมิแพ้ได้ที่นี่
ไขข้อข้องใจเรื่องการรับประทาน Probiotic กับ Enfa Smart Club
โพรไบโอติกกินตอนไหนดีที่สุด
เราสามารถรับประทานโพรไบโอติกได้ทุกช่วงเวลาระหว่างวัน นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคนอีกด้วย ในบางรายอาจจะย่อยโพรไบโอติกได้เร็ว ทำให้ขับถ่ายได้ง่ายในเวลาถัดมา ก็อาจจะเลือกเวลาที่เหมาะสมกับตัวเองและกิจวัตรประจำวัน
โพรไบโอติกกินทุกวันได้ไหม
เราสามารถรับประทานโพรไบโอติกได้ทุกวัน
โพรไบโอติกกินมากเกินไปอันตรายไหม
การรับประทานโพรไบโอติกมากเกินไป อาจจะทำให้มีผลข้างเคียงกับระบบย่อยอาหาร เช่น ส่งผลให้มีแก๊สในกระเพาะ ท้องไส้ปั่นป่วน นอกจากนี้ หากเป็นผู้ที่มีปัญหาสุขภาพโรคร้ายแรง หรือมีปัญหาระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำในการในการรับประทานโพรไบโอติก
โพรไบโอติกกินก่อนหรือหลังอาหาร
ถึงแม้ว่าผลการศึกษาบางฉบับจะระบุว่า การรับประทานพรีไบโอติกก่อนมื้ออาหาร จะช่วยให้โพรไบโอติกที่รับประทานเข้าไป มีชีวิตอยู่ได้นานกว่าการรับประทานหลังมื้ออาหาร อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะรับประทานพรีไบโอติกก่อน หรือหลังมื้ออาหาร ก็ไม่สำคัญเท่ากับความสม่ำเสมอในการรับประทานโพรไบโอติก โดยควรรับประทานโพรไบโอติกในทุก ๆ วัน
โพรไบโอติกมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง
การรับประทานโพรไบโอติก อาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงกับร่างกายในบางครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ โดยผลข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อรับประทานโพรไบโอติก เช่น ท้องไส้ปั่นป่วน มีแก๊สในกระเพาะ ท้องเสีย เป็นต้น
นอกจากนี้ ในผู้ที่มีปัญหาระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีปัญหาสุขภาพร้ายแรง หรือพึ่งได้รับการผ่าตัดมา ควรเลี่ยงการรับประทานโพรไบโอติก เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้
- BBC Good Food. Top 10 probiotic foods to support your gut health. [Online] Accessed https://www.bbcgoodfood.com/howto/guide/top-probiotic-foods. [10 January 2023]
- Cleveland Clinic. How To Pick the Best Probiotic. [Online] Accessed https://health.clevelandclinic.org/how-to-pick-the-best-probiotic-for-you/. [10 January 2023]
- Cleveland Clinic. Probiotics. [Online] Accessed https://my.clevelandclinic.org/health/articles/14598-probiotics. [10 January 2023]
- Healthline. When’s the Best Time to Take Probiotics?. [Online] Accessed https://www.healthline.com/nutrition/best-time-to-take-probiotics. [10 January 2023]
- Healthline. When’s the Best Time to Take Probiotics?. [Online] Accessed https://www.healthline.com/nutrition/best-time-to-take-probiotics. [10 January 2023]
- Insider. Can you overdose on probiotics? Taking too many can cause side effects like bloating and gas. [Online] Accessed https://www.insider.com/guides/health/diet-nutrition/can-you-take-too-many-probiotics. [10 January 2023]
- Krua.co. ‘ซาวร์เคราต์’ กะหล่ำปลีหมักแบบฝรั่ง ทำเองไม่เห็นยาก. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://krua.co/cooking_post/ซาวร์เคราต์-กะหล่ำปลี/. [10 มกราคม 2566]
- Krua.co. Kombucha ชาหมักฉบับทำง่ายเติมจุลินทรีย์ดีให้ลำไส้แข็งแรง. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://krua.co/food_story/kombucha-homemade/. [10 มกราคม 2566]
- National Center for Complementary and Integrative Health. Probiotics: What You Need To Know. [Online] Accessed https://www.nccih.nih.gov/health/probiotics-what-you-need-to-know. [10 January 2023]
- WebMD. Top Foods High in Probiotics. [Online] Accessed https://www.webmd.com/digestive-disorders/foods-high-in-probiotics. [10 January 2023]
- WebMD. What Are Probiotics?. [Online] Accessed https://www.webmd.com/digestive-disorders/what-are-probiotics. [10 January 2023]
- Women’s Health. 12 Foods High In Probiotics You Should Add To Your Diet. [Online] Accessed https://www.womenshealthmag.com/food/a19927568/
foods-high-in-probiotics/. [10 January 2023] - Women’s Health. What's The Best Time To Take Probiotics? Gut Doctors Explain How To Get The Most Benefits. [Online] Accessed https://www.womenshealthmag.com/health/a29776739
/when-to-take-probiotics/. [10 January 2023] - ดร.ภญ. พัทธ์ธีรา โสดาตา. ประโยชน์ของโพรไบโอติก. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://pharm.tu.ac.th/uploads/pharm/pdf/articles
/20181002_4.pdf. [10 มกราคม 2566] - พบแพทย์. โพรไบโอติก (Probiotics) จุลินทรีย์มีประโยชน์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.pobpad.com/probiotics. [10 มกราคม 2566]
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
- รู้จักกับ “พรีไบโอติก” ทำไมต้องกิน ดีกับสุขภาพอย่างไร?
- ผลไม้คนท้อง แบบไหนต้องลอง และแบบไหนที่ต้องเลี่ยง
- เรื่องใหญ่สำหรับคนท้อง ทำยังไงดีเมื่อคนท้องท้องผูก!
- กรดไหลย้อนในคนท้อง อาการทั่วไปที่อาจไม่ทั่วไปแบบที่คิด
- Triferdine คืออะไร? มารู้จักกับยาเม็ดเสริมไอโอดีนกัน!
- คุณแม่ต้องอ่าน! นมสำหรับเด็กแพ้นมวัว ต้องเลือกแบบนี้!