ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
single mom

ซิงเกิ้ลมัม จิตวิทยาแม่เลี้ยงเดี่ยว เลี้ยงลูกคนเดียวแม่ทำได้!

Enfa สรุปให้

  • ซิงเกิ้ลมัม (Single Mom) หรือแม่เลี้ยงเดี่ยว โดยทั่วไปหมายถึงคุณแม่ที่เลี้ยงลูกคนเดียวโดยไม่มีคู่สมรส หรือคู่ที่อยู่กินด้วยกันคอยช่วยเหลือและสนับสนุนการเลี้ยงดูลูก
  • ซิงเกิ้ลมัมมักเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องพบกับเรื่องท้าทายสุขภาพจิต ตั้งแต่ขั้นตอนการยุติความสัมพันธ์กับคู่ครอง ความเหน็ดเหนื่อย และภาระทางการเงิน
  • เมื่อต้องเลี้ยงลูกคนเดียว คุณแม่ไม่ควรลังเลที่จะขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างเมื่อต้องการความช่วยเหลือ วางแผนการเงินอย่างรอบคอบ ใจดีกับตัวเองและทำอารมณ์ให้มั่นคง อาจสร้างกฎกติกาในการ Co-parenting กับพ่อของลูกหากสามารถทำได้

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • ซิงเกิ้ลมัม คืออะไร
     • จิตวิทยาแม่เลี้ยงเดี่ยว
     • เคล็ดลับสำหรับแม่เลี้ยงเดี่ยว

การเป็นพ่อแม่ของใครสักคนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวนั้นยากยิ่งกว่า นอกจากความเหนื่อยล้าและความเครียดในการเลี้ยงลูกคนเดียวแล้ว แม่เลี้ยงเดี่ยวหรือซิงเกิ้ลมัมยังต้องรับมือกับภาระการงานและการเงิน หัวใจของลูกที่แม่ต้องคอยโอบอุ้ม ความโดดเดี่ยว การเปรียบเทียบ และปัญหาอีกนานัปการที่บางครั้งก็ยิ่งเหนื่อยยากเป็นเท่าทวีเมื่อแม่คนหนึ่งต้องเดินบนเส้นทางนี้เพียงลำพัง 

ซิงเกิ้ลมัม คืออะไร

ซิงเกิ้ลมัม (Single Mom) หรือแม่เลี้ยงเดี่ยว โดยทั่วไปหมายถึงคุณแม่ที่เลี้ยงลูกคนเดียวโดยไม่มีคู่สมรส หรือคู่ที่อยู่กินด้วยกันคอยช่วยเหลือและสนับสนุนการเลี้ยงดูลูก สาเหตุของการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวอาจเกิดจากการแยกทาง หย่าร้าง ถูกทอดทิ้ง คู่สมรสหรือคนรักเสียชีวิต ความรุนแรงในครอบครัว ไปจนถึงการถูกข่มขืน 

การเป็นซิงเกิ้ลมัมไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคม หากมองย้อนกลับไปในโลกยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งมีทั้งสงคราม โรคระบาด การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ รวมถึงการแพทย์ที่ล้าหลัง ทำให้อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ต่ำกว่าปัจจุบันหลายสิบปี อีกทั้งอัตราการตายของแม่ในระหว่างคลอดลูกหรือหลังจากคลอดก็สูงกว่าปัจจุบันมาก การที่เด็กคนหนึ่งมีพ่อแม่อยู่ครบถ้วนจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่นั้นถือว่าต้องมีอภิสิทธิ์และความโชคดีอย่างมาก 

ในวันที่โลกพัฒนามาไกล การเข้าสู่บทบาทแม่เลี้ยงเดี่ยวมักเป็นทางเลือกของแม่ มากกว่าการถูกบีบบังคับจากโชคชะตาหรือสภาพแวดล้อม คุณแม่บางคนตัดสินใจเดินออกจากความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ บางคนเลือกที่จะหย่าร้าง ซึ่งกลุ่มหลังนี้มีสัดส่วน 1 ใน 3 ของคู่สมรสในประเทศไทยเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว เลี้ยงลูกคนเดียวจึงถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติมาก เพราะสเต็ปหลังการหย่าร้าง ก็คือการที่คนใดคนหนึ่งในระหว่างพ่อแม่ที่อาจต้องรับบทบาทหลักในการเลี้ยงดูลูก

จิตวิทยาแม่เลี้ยงเดี่ยว: ปัญหาแม่เลี้ยงเดี่ยว เมื่อแม่มีสุขภาพใจไม่แข็งแรง

ซิงเกิ้ลมัมมักเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องพบกับเรื่องท้าทายสุขภาพจิต ปัญหาของแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของแม่อาจเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการยุติความสัมพันธ์กับคู่ของตัวเอง โดยเฉพาะกรณีที่จบความสัมพันธ์ไม่ดี มีการทะเลาะเบาะแว้ง และไม่สามารถสะสางปัญหาให้จบลงอย่างไม่ยืดเยื้อได้ ก็จะยิ่งทำให้เกิดความเครียด อารมณ์ไม่มั่นคง และใช้เวลาปรับตัวกับการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวนานขึ้น 

ความตึงเครียดจะยิ่งพุ่งสูงขึ้นอีก หากคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวต้องแบกรับภาระการเลี้ยงดูลูกและภาระทางการเงินด้วยตัวคนเดียวโดยไม่มีคนช่วยเหลือ 

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงประเด็นปัญหาสุขภาพจิตพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวว่า “ปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นกับพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว ส่วนใหญ่ที่เห็นได้ชัดเจน คือ ความรู้สึกหวาดกลัว ขาดความเชื่อมั่นกับอนาคตที่จะก้าวเดินต่อไป เช่น เงินที่ต้องนำมาเลี้ยงดูบุตร การบริหารจัดการเวลาในการดูแลบุตร ทำให้พ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว เกิดความเครียด ซึมเศร้า เกิดสารพัดรูปแบบอารมณ์ด้านลบ”

เคล็ดลับสำหรับแม่เลี้ยงเดี่ยว เลี้ยงลูกตัวคนเดียว คุณแม่ทำได้

1. เมื่อต้องการความช่วยเหลือ จงขอความช่วยเหลือ 

พ่อของลูกควรมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูลูกด้วยเช่นกันแม้จะยุติความสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยาแล้ว หากขอความช่วยเหลือจากพ่อของลูกไม่ได้ ก็ถึงเวลาแล้วค่ะที่ต้องออกปากขอความช่วยเหลือจากพ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิท อาจจะบอกกล่าวให้พวกเขาเหล่านี้ทราบล่วงหน้าว่าเราหวังพึ่งพาเขาเมื่อถึงคราวจำเป็น เช่น คุณแม่เจ็บแผลผ่าคลอด ไม่สามารถจัดการเรื่องบางอย่างด้วยตัวเองได้ หรือคุณแม่มีธุระในที่ทำงาน จำเป็นต้องมีคนช่วยไปรับลูกที่โรงเรียน หรือลูกร้องไห้ไม่หยุดจนแม่เครียด อยากขอเวลานอก เป็นต้น

ลองมองในอีกมุมหนึ่งว่า ลูกไม่ได้มีเราแค่คนเดียวในจักรวาลชีวิตของเค้า นอกจากจะเป็นลูกของเราแล้ว เค้ายังเป็นหลานรักของตายาย เป็นหลานของป้าหรือน้า เป็นลูกเพื่อนที่เพื่อนของเรารักและเอ็นดู เช่นเดียวกันกับที่เราเคยได้รับความเมตตาจากผู้ใหญ่ ปู่ย่าตายาย และญาติๆ ในครอบครัวเมื่อครั้งยังเป็นเด็กค่ะ

2. เรื่องการเงินต้องเอาให้อยู่ 

ไม่ว่าจะเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวหรือไม่ การเลี้ยงลูกจะยากขึ้นอีกหลายเท่าหากคุณแม่จัดการเรื่องการเงินได้ไม่ลงตัวค่ะ การเอาให้อยู่ไม่ได้แปลว่าคุณแม่ต้องรวยจนใช้เงินแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง แต่อย่างน้อยควรมีการวางแผนการเงินส่วนตัวโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูลูกทั้งในปัจจุบันและอนาคต และออมเงินไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน

คุณแม่สามารถเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการใช้สิทธิ์ที่ตัวเองมีให้ครบ เช่น เบิกค่าฝากครรภ์ประกันสังคม เบิกเงินสงเคราะห์บุตรตามสิทธิประกันสังคม ลงทะเบียนรับเงินอุดหนุนบุตร หรือใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรเพื่อลดภาระทางภาษี ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นนโยบายภาครัฐที่มีไว้ลดภาระของพ่อแม่ค่ะ

3. ใจดีกับตัวเองบ้าง 

อย่ากดดันตัวเองหรือคาดหวังว่าเราจะต้องทำทุกอย่างได้สมบูรณ์แบบเลยค่ะ ถ้าเศร้าก็หาเวลาให้ตัวเองได้ร้องไห้ ถ้าเหงาก็โทรคุยกับเพื่อน หรือวันไหนเหนื่อยๆ อาจจะลองเอาลูกไปฝา่กไว้กับคุณตาคุณยายสัก 1 วันให้แม่ได้ออกจาก “โหมดแม่” และกลับสู่ “โหมดผู้หญิงคนหนึ่ง”บ้าง

หนึ่งในข้อดีของการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวคือ ลูกเล็กของคุณแม่ไม่สนใจหรอกค่ะว่าแม่ผมยุ่ง หน้ามัน ยังไม่ได้อาบน้ำ หรือยังไม่ได้ล้างจาน คุณแม่ไม่จำเป็นต้องสวย ต้องเก่ง ต้องขยันตลอดเวลา สิ่งที่ลูกต้องการคือแม่ที่มีอารมณ์มั่นคง ซึ่งจะช่วยให้ลูกรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย แน่นอนว่าการมีวินัยในตัวเองและการจัดการงานบ้านให้สะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอเป็นเรื่องดีนะคะ แต่ไม่สำคัญไปกว่าการพักผ่อนให้เพียงพอ และสุขภาพกายใจของคุณแม่และลูกค่ะ

4. Co-parenting เป็นทางเลือกที่ดีหากทำได้ 

ไม่ว่าชีวิตคู่จะจบอย่างไรและต่างฝ่ายเลือกเส้นทางชีวิตแบบไหน พ่อและแม่ก็ยังมีบทบาทสำคัญในการประคับประคองลูกให้ผ่านพ้นวัยเด็กไปสู่วัยที่สามารถดูแลตนเองได้ หากพิจารณาโดยไม่ใช้อคติแล้วพบว่า ชีวิตลูกจะดีกว่าเมื่อมีคุณพ่อช่วยเลี้ยงดู คุณแม่ก็ต้องพยายามเปิดใจมองข้ามความบาดหมางในอดีต ควบคุมอารมณ์ของตัวเอง สร้างกฎกติการ่วมกันเพื่อให้ลูกรู้สึกปลอดภัยหากต้องไปๆ มาๆ ระหว่าง 2 บ้าน 

อนาคตที่ดีที่สุดของลูกน้อย เริ่มต้นด้วยโภชนาการผ่านคุณแม่

คุณแม่ทุกคนล้วนคาดหวังให้ลูกน้อยแข็งแรงร่าเริง เติบโตเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดและพาตนเองไปสู่เส้นทางของความสำเร็จได้ แต่รู้ไหมคะว่า 1,000 วันแรกของลูกน้อยสำคัญอย่างมากต่ออนาคตของเค้า เพราะเป็นช่วงเวลาที่สมองของลูกเติบโตถึง 80% และ 1,000 วันแรกนี้ก็เริ่มตั้งแต่วันที่คุณแม่ตั้งครรภ์ชีวิตน้อยๆ ไปจนถึงวัย 2 ขวบของเค้านั่นเอง 

สมองของลูกเริ่มพัฒนาตั้งแต่ในระหว่างตั้งครรภ์ โภชนาการที่คณแม่ได้รับจะถูกส่งต่อไปยังตัวเล็กที่อยู่ในครรภ์ ซึ่งในระหว่างนี้ คุณแม่และทารกน้อยต้องการสารอาหารหลากหลายชนิดที่ช่วยให้สุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยสมบูรณ์ที่สุดตลอดการตั้งครรภ์ไปจนถึงหลังคลอด ไม่ว่าจะเป็น

  • ดีเอชเอ (DHA) คือกรดไขมันจำเป็นในตระกูลโอเมก้า 3 เป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมอง และจอประสาทตา โดย WHO แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ และแม่ให้นมบุตรรับประทาน DHA ในปริมาณ 200 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของสมองลูก
  • โคลีน (Choline) ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบประสาทส่วนกลาง และ Cognitive Function ของทารก โดยปริมาณที่แนะนำคือ 450 มิลลิกรัมต่อวัน 
  • โฟเลต (Folate) หรือกรดโฟลิก (Folic Acid) ช่วยป้องกันการสร้างหลอดประสาทไม่สมบูรณ์ซึ่งอาจทำให้ทารกพิการ และป้องกันภาวะซีดหรือโลหิตจางในคุณแม่ตั้งครรภ์ ปริมาณที่แนะนำคือ 0.6 มิลลิกรัมต่อวัน
  • แคลเซียม (Calcium) เพื่อการเจริญของระบบกระดูกของทารก โดยปริมาณแคลเซียมที่คนท้องควรได้รับคือ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
  • เหล็ก (Iron) เพื่อการพัฒนาของตัวอ่อนและรก รวมถึงการเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดงของคุณแม่ โดยคุณแม่ควรได้รับธาตุเหล็กในระหว่างการตั้งครรภ์ในปริมาณ 15-30 มิลลิกรัมต่อวันเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง

และยังรวมถึงสารอาหารอื่นๆ อีกมากมายที่คุณแม่อาจจะไม่ได้รับประทานอย่างครบถ้วนจากมื้ออาหารปกติ การรับประทานนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์จึงเป็นทางเลือกที่ดีอย่างยิ่งในการเสริมสารอาหารให้กับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ และอย่าลืมเลือกนมที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ด้วยนะคะ

Enfamama TAP No. 1

อ้างอิง

บทความที่แนะนำ

แม่ท้องต้องท่องไว้! เราอาจไม่ต้องขอให้ใครเห็นใจเรา แต่เราจะดูแลตัวเองให้ดีที่สุด
ซึมเศร้าหลังคลอด
best-single-mom-captions
Enfa Smart Club

Leaving page banner