ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
stomach-ache-in-babies

เด็กปวดท้อง อย่าวางใจ ปล่อยไว้อันตรายกว่าที่คิด

Enfa สรุปให้

  • อาการปวดท้องในเด็ก เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งอาการท้องผูก อาหารเป็นพิษ ลำไส้แปรปรวน กระเพาะอาหารอักเสบ โคลิค หรือมีการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
  • หากทารกร้องไห้งอแงไม่หยุด ไม่ยอมกินนม ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพราะทารกอาจจะกำลังปวดท้องอยู่ ซึ่งเด็กทารกมักมีปัญหาท้องอืด แน่นท้อง ทำให้รู้สึกไม่สบายท้องได้บ่อย ๆ
  • หากเด็กมีอาการปวดท้องติดต่อกันตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เพราะในกรณีร้ายแรง อาการปวดท้องอาจรุนแรงจนเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • สาเหตุเด็กปวดท้อง
     • อาการปวดท้องในเด็กบอกอะไร
     • ลูกปวดท้องแบบไหนต้องพาไปหมอ
     • วิธีแก้ทารกปวดท้อง
     • ไขข้อข้องใจเรื่องอาการปวดท้องของลูกน้อยกับ Enfa Smart Club

อาการปวดท้องในเด็ก อาจเป็นเพียงอาการปวดท้องโดยทั่วไป แต่ในขณะเดียวกันก็อาจเป็นสัญญาณอันตรายที่รุนแรงได้ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและถามไถ่อาการของลูกอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถรับมือกับอาการเด็กปวดท้องได้อย่างเหมาะสม

เด็กปวดท้อง เกิดจากสาเหตุใดบ้าง


อาการปวดท้องสามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ทั้งเด็กโต เด็กเล็ก หรือทารกปวดท้อง ก็สามารถพบได้เช่นกัน ซึ่งอาการปวดท้องในเด็กนั้น เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น

  • ท้องผูก
  • มีลมตกค้างภายในท้องมากเกินไป
  • โรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ (Gastroenteritis)
  • อาหารเป็นพิษ
  • โรคลำไส้แปรปรวน หรือ โรคไอบีเอส (IBS : Irritable Bowel Syndrome)
  • แพ้น้ำตาลแลคโตส (Lactose intolerance)
  • อาการโคลิค
  • การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร 

อาการปวดท้องในเด็ก บอกอะไร


ปวดท้องในเด็ก แม้จะปวดท้องเหมือนกัน แต่ก็ไม่เหมือนกันเสียทีเดียวนะคะ เพราะตำแหน่งของอาการปวดท้อง ก็อาจจะบอกถึงสัญญาณสุขภาพที่แตกต่างกันไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น

  • ลูกปวดท้องเป็น ๆ หาย ๆ  

ลูกปวดท้องเป็นพัก ๆ ปวดแล้วก็หาย แล้วก็กลับมาปวดอีก หากเป็นไม่กี่วันก็หาย อาจจะไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่อันตราย แต่ถ้าเป็น ๆ หาย ๆ อยู่บ่อย ๆ หรือเกิดขึ้นเป็นประจำ ลูกอาจเสี่ยงต่อโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง 

ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการปวดท้องเป็น ๆ หาย ๆ ว่าเกิดจากอะไรกันแน่ ไม่ควรปล่อยไว้นาน เพราะถ้าหากเกิดจากสาเหตุที่อันตรายจริง ๆ อาจจะทำให้การรักษายากขึ้นได้ 

  • ลูกปวดท้องตรงกลาง 

ปวดท้องตรงกลาง หรือบริเวณใต้ลิ้นปี่ อาจหมายถึง โรคหัวใจขาดเลือด กระเพาะอาหารอักเสบ กรดไหลย้อน หรือนิ่วในถุงน้ำดี 

หากปวดท้องน้อยตรงกลาง อาจหมายถึง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในเด็กผู้หญิงอาจจะมีปัญหาที่เกี่ยวกับมดลูกได้ค่ะ 

หากมีอาการปวดท้องบริเวณนี้ติดต่อกัน 6 ชั่วโมงขึ้นไปแล้วอาการไม่ดีขึ้นเลย แต่กลับแย่ลงเรื่อย ๆ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย 

  • ลูกปวดท้องตรงสะดือ 

อาการปวดท้องบริเวณสะดือ มักจะเกี่ยวข้องกับลำไส้เล็ก ทางเดินอาหาร หรือไส้ติ่งอักเสบ หากมีอาการปวดท้องบริเวณนี้ติดต่อกัน 6 ชั่วโมงขึ้นไปแล้วอาการไม่ดีขึ้นเลย แต่กลับแย่ลงเรื่อย ๆ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย 

  • ลูกปวดท้อง ถ่ายเหลว 

หากลูกมีอาการปวดท้อง และมีอาการถ่ายเหลวร่วมด้วย ลูกอาจกำลังมีอาการท้องเสีย หรือมีภาวะท้องร่วง ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาการท้องร่วงแบบเฉียบพลันจะทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ

มากไปกว่านั้น หากลูกมีอาการถ่ายเหลว ไม่ควรซื้อยาหยุดถ่ายมาให้ลูกกินเอง แต่ควรจิบน้ำตาลผงน้ำตาลเกลือแร่เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และพาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

ลูกปวดท้อง แบบไหนอันตราย และควรพาไปโรงพยาบาลทันที


อาการปวดท้องที่จำเป็นจะต้องรีบไปพบแพทย์ทันที คืออาการปวดท้องดังต่อไปนี้ 

  • มีอาการปวดท้องติดต่อกันนานเกิน 6 ชั่วโมง 
  • มีไข้ขึ้นสูง 
  • ปวดท้องจนไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ หรือปวดท้องจนตัวงอ 
  • มีอาการอาเจียนร่วมด้วยมากกว่า 3-4 ครั้ง 
  • มีอาการท้องเสียร่วมด้วย 

วิธีแก้ทารกปวดท้อง


จริง ๆ แล้วค่อนข้างยากที่จะรู้ว่าทารกปวดท้องหรือเปล่า เพราะลูกยังไม่สามารถพูดหรือบอกเราได้ว่ากำลังปวดท้อง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการทั่วไปของลูกให้ดีค่ะว่าลูกร้องไห้งอแงผิดปกติ ทำยังไงก็ไม่ยอมหยุดร้องไห้หรือเปล่า ลูกเริ่มไม่กินม เริ่มเบื่ออาหารบบ้างไหม

ลูกนอนไม่ค่อยหลับหรือเปล่า ลูกขับถ่ายมากหรือน้อยแค่ไหน หากรู้สึกว่าลูกดูไม่ค่อยสบายตัวและร้องไห้บ่อย อาจเป็นไปได้ว่าลูกกำลังปวดท้อง ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์ทันทีค่ะ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ และรักษาตามสาเหตุที่เกิดขึ้น 

ยาแก้ปวดท้องสำหรับเด็ก

ยาสามัญประจำบ้านสำหรับบรรเทาอาการปวดท้องที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก และควรติดบ้านไว้ ได้แก่ 

  • ยาธาตุน้ำแดง สำหรับเด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี ให้กินครั้งละครึ่งช้อนโต๊ะ ถึง 1 ช้อนโต๊ะ 
  • ยาธาตุน้ำขาว สำหรับเด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี ให้กินครั้งละครึ่งช้อนโต๊ะ ถึง 1 ช้อนโต๊ะ 
  • ยาลดกรดหรือยาเคลือบกระเพาะอาหาร สำหรับเด็กอายุระหว่าง 3-6 ปี  ให้กินครั้งละครึ่งช้อนโต๊ะ ถึง 1 ช้อนชา ส่วนเด็กที่อายุ 6-12 ปี ให้กินครั้งละ 1-2 ช้อนชา หรือ ครึ่ง - 1 เม็ด 
  • มหาหิงค์ สามารถใช้กับทารกแรกเกิดได้ โดยทามหาหิงค์ที่บริเวณหน้าท้อง รอบสะดือ ต้นขา เท้า และฝ่าเท้าของทารกเมื่อทารกมีอาการปวดท้องหรือไม่สบายท้อง 

สิ่งสำคัญคือ ไม่ควรให้เด็กกินยาใด ๆ กันเองโดยที่ไม่ตรงกับโรค เพราะอาการปวดท้องของเด็กนั้นเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน ควรพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยดูก่อนว่าเกิดจากอะไร แล้วจึงกินยาให้ตรงกับสาเหตุและอาการ 

อาการท้องอืด แน่นท้อง หนึ่งในอาการไม่สบายท้องที่พบได้บ่อยในทารก

ทารกท้องอืด แน่นท้อง ถือว่าเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพทารกที่เกิดขึ้นได้บ่อยมากค่ะ ซึ่งอาการเช่นนี้ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • ระบบทางเดินอาหารของทารกยังทำงานได้ไม่เต็มที่ จึงอาจจะใช้เวลาในการย่อยอาหารนานเกินไป หรือยังย่อยอาหารได้ไม่ดี สงผลให้เกิดอากหารแน่นท้อง ท้องอืดได้ 
  • ทารกอาจกำลังมีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร เช่น ปริมาณแบคทีเรียในลำไส้มากเกิน ภาวะขาดเอนไซม์ย่อยนม โรคลำไส้แปรปรวน 
  • ทารกแพ้อาหาร เด็กที่เริ่มกินนมผง หรืออาหารบดนิ่ม อาจเริ่มมีปัญหาแพ้อาหารหรือไวต่ออาหารบางอย่าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร รวมถึงก่อให้เกิดแก๊สในระบบทางเดินอาหารมากขึ้นด้วย 
  • กลืนอากาศมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่ร้องไห้ ก็เป็นจังหวะที่ทารกได้กลืนเอาอากาศเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร หรือเวลากินนม ทารกอาจใช้ปากดูดเพียงหลวม ๆ ทำให้มีอากาศเล็ดลอดเข้าไปได้มากขึ้น หรือหากทารกกินนมขวด ก็อาจเป็นไปได้ว่าในขวดนมมีฟองอากาศอยู่มาก 

ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น

  • จับลูกเรอ หากทารกมีอาการท้องอืด คุณพ่อคุณแม่ควรจับลูกเรอบ่อย ๆ การทำให้ทารกเรอจะเป็นกำจัดอากาศส่วนเกินที่กลืนเข้าไปออกมา ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดให้ดีขึ้นได้ 
  • นวดตัวให้ทารก การนวดที่หน้าท้อง ขา หลัง และทั่วร่างกายของทารกจะช่วยให้เจ้าตัวเล็กรู้สึกสงบและผ่อนคลาย โดยกดไปที่ท้องเบา ๆ ให้เป็นลักษณะวงกลมเพื่อช่วยขจัดเอาอากาศส่วนเกินออก 
  • ทำท่าจักรยาน คุณพ่อคุณแม่สามารถทำท่าปั่นจักรยานให้ลูกได้ง่าย ๆ โดยวางลูกน้อยลงบนเบาะสำหรับเด็ก แล้วค่อยๆ หมุนที่ขาไปมาในท่วงท่าคล้ายกับว่าขาทั้งสองข้างกำลังปั่นจักรยาน ท่านี้จะช่วยดันอากาศที่ติดอยู่ออกมา หรือถ้าจะไม่ปั่นจักรยาน ก็แค่ค่อย ๆ ดันเข่าของทารกขึ้นไปที่ท้อง และค้างไว้ 10 วินาที จากนั้นปล่อยขาของทารกให้เหยียดตรง ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ก็จะช่วยดันอากาศที่ติดอยู่ออกมาได้เช่นกัน 
  • ใช้ขวดนมและจุกนมที่ได้มาตรฐาน ควรใช้ขวดนมขนาดเล็กสำหรับเด็กเพราะกระเพาะอาหารของทารกนั้นเล็กเกินกว่าจะรองรับปริมาณนมจากขวดนมขนาดใหญ่ได้ และควรใช้ขนาดจุกนมที่เหมาะสมเพื่อให้สูตรไหลช้า แต่ไหลสม่ำเสมอ รูจุกนมที่เล็กเกินไปอาจทำให้ลูกน้อยต้องดูดจุกนมแรงขึ้น ซึ่งจะเป็นการดูดอากาศเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น แต่รูจุกนมที่ใหญ่เกินไป ก็อาจทำให้ทารกกลืนอากาศมากขึ้น เพราะต้องอ้าปากกว้างมากขึ้น 
  • เปลี่ยนอาหารของแม่ให้นมลูก แม่ให้นมลูกอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการกินอาหารบางประเภทที่เสี่ยงทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารมากขึ้น และหลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ ซึ่งอาจถูกส่งต่อผ่านน้ำนมไปยังทารก และมีผลทำให้ทารกท้องอืดตามมาด้วยได้ อย่างไรก็ตาม การแพ้อาหารในทารกยังถือว่าพบได้น้อย 
  • ให้นมก่อนที่ลูกจะร้องไห้ ยิ่งลูกร้องไห้โดยที่ยังไม่ได้กินอะไรล่ะก็ เสี่ยงที่ทารกจะกลืนเอาอากาศเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารมากขึ้น หากเป็นไปได้ควรให้นมทันทีที่ลูกหิว เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกร้องไห้งอแงเพราะหิวนม ยิ่งลูกร้องนานยิ่งเสี่ยงจะกลืนอากาศเข้าไปมากเท่านั้น

เพื่อการเรียนรู้แบบไม่สะดุด นมแม่ถือเป็นอาหารล้ำค่า ที่ไม่เพียงจะอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญหลายชนิด แต่ยังดีต่อระบบการย่อยอาหารของลูกน้อยที่ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ แต่ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแนะนำโภชนาการที่เหมาะสมต่อระบบย่อยอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์ของลูกน้อย

โดยโภชนาการที่เหมาะสมอาจมีคุณสมบัติ มีโปรตีนผ่านการย่อยบางส่วน หรือ PHP (Partially Hydrolyzed Protein) โปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วนจะมีขนาดโมเลกุลเล็กลง ทำให้ย่อยง่าย และถูกดูดซึมที่ลำไส้ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ PHP ยังช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มคงตัว ไม่แข็ง ทำให้ขับถ่ายได้ง่าย

ไขข้อข้องใจเรื่องอาการปวดท้องของลูกน้อยกับ Enfa Smart Club


ทารกปวดท้อง ร้องไห้ งอแง แม่ควรทำยังไงดี? 

หากทารกปวดท้อง ร้องไห้งอแง อาจปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการนวดท้องเบา ๆ หรือทามหาหิงค์ เพื่อดูว่าอาการดีขึ้นหรือไม่ แต่ถ้าไม่ดีขึ้นเลย ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร 

ลูกน้อยปวดท้องตอนกลางคืน เกิดจากอะไร? 

อาการปวดท้องตอนกลางคืนเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ ไม่ว่าจะเป็น: 

  • ท้องผูก 
  • มีลมตกค้างภายในท้องมากเกินไป 
  • โรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ (Gastroenteritis) 
  • อาหารเป็นพิษ 
  • โรคลำไส้แปรปรวน หรือ โรคไอบีเอส (IBS : Irritable Bowel Syndrome) 
  • แพ้น้ำตาลแลคโตส (Lactose intolerance) 
  • อาการโคลิค 
  • การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร 

หากลูกปวดท้องติดต่อกัน 6 ชั่วโมงขึ้นไป แนะนำให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยเร็วที่สุดค่ะ 

ลูกปวดท้อง นอนไม่หลับ ดูแลอย่างไร? 

หากลูกมีอาการปวดท้องจนนอนไม่หลับ ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที เพราะอาการปวดท้องดังกล่าวอาจเกิดจากสาเหตุที่อันตรายได้ค่ะ 

ลูก 3 ขวบ ปวดท้อง เป็น ๆ หาย ๆ ผิดปกติหรือไม่? 

อาการปวดท้องเป็น ๆ หาย ๆ หากเกิดขึ้นนาน ๆ ครั้ง อาจไม่ถือว่าผิดปกติเสียทีเดียว แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อย ๆ ควรพาลูกไปพบแพทย์ค่ะ เพราะลูกอาจเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือตับอ่อนอักเสบเรื้อรังได้ 



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ดูแลลูก

บทความที่แนะนำ

รู้จักกับโคลิค อาการที่ลูกน้อยร้องไห้ไม่หยุด
safety-of-antihistamines-during-pregnancy
Enfa Smart Club

Leaving page banner

 

Leaving page banner