Key Highlight
-
คลอดลูกในน้ำ คือ หนึ่งในกระบวนการคลอดธรรมชาติ จากที่ปกติการคลอดธรรมชาติจะต้องนอนอยู่บนเตียงในห้องสำหรับการคลอด ก็เปลี่ยนมาเป็นการคลอดในสระ หรืออ่างที่มีน้ำอยู่เต็ม โดยคุณแม่จะนั่งอยู่ในสระหรือในอ่าง ให้น้ำท่วมครรภ์ แล้วเบ่งทารกออกมา เป็นอีกหนึ่งวิธีคลอดธรรมชาติและวารีบำบัดที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน
-
การคลอดในน้ำ มีความปลอดภัยสูง แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงหลายประการที่ควรระวัง จึงจำเป็นต้องมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยประกบขณะคลอดในน้ำ ไม่สามารถทำเองโดยไม่มีผู้เชี่ยวชาญคอยควบคุม
-
การคลอดลูกในน้ำ แม้จะมีความปลอดภัยสูง แต่ก็ไม่ได้เหมาะกับแม่ตั้งครรภ์ทุกคน มีข้อจำกัดบางประการที่ห้ามไม่ให้คุณแม่บางรายคลอดในน้ำ
การคลอดธรรมชาติ ที่นอกจากจะนอนเบ่งทารกอยู่บนเตียงแล้ว รู้หรือไม่ว่า? ปัจจุบันนี้สามารถทำการคลอดในน้ำได้แล้วนะ แต่คลอดลูกในน้ำเป็นอย่างไร คนคลอดลูกในน้ำได้จริง ๆ หรือ แล้วคลอดในน้ำอันตรายกว่าคลอดในโรงพยาบาลหรือเปล่า หากคุณแม่กำลังสงสัยสิ่งเหล่านี้ หรือมีแนวคิดที่อยากจะคลอดในน้ำดูบ้างล่ะก็ Enfa มีสาระดี ๆ เกี่ยวกับการคลอดลูกในน้ำมาฝากค่ะ
What's up here?
• คลอดในน้ำคืออะไร
• ข้อดี-ข้อเสียของการคลอดในน้ำ
• ข้อจำกัดของการคลอดในน้ำ
• ขั้นตอนและวิธีคลอดลูกในน้ำ
• คลอดในน้ำ ลูกจะจมน้ำไหม
• เบ่งคลอดในน้ำ ง่ายกว่าเบ่งคลอดแบบอื่นจริงไหม
• ไขข้อข้องใจเรื่องการคลอดในน้ำกับ Enfa Smart Club
การคลอดลูกในน้ำคืออะไร?
คลอดลูกในน้ำ คือ หนึ่งในกระบวนการคลอดธรรมชาติ จากที่ปกติการคลอดธรรมชาติจะต้องนอนอยู่บนเตียงในห้องสำหรับการคลอด ก็เปลี่ยนมาเป็นการคลอดในสระ หรืออ่างที่มีน้ำอยู่เต็ม โดยคุณแม่จะนั่งอยู่ในสระหรือในอ่าง ให้น้ำท่วมครรภ์ แล้วเบ่งทารกออกมา เป็นอีกหนึ่งวิธีคลอดธรรมชาติและวารีบำบัดที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน
คลอดในน้ำดีอย่างไร
ข้อดีของการคลอดในน้ำ
การคลอดในน้ำอาจเป็นประโยชน์ต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ ดังนี้
-
ร่างกายของแม่หลังคลอดสามารถฟื้นตัวได้เร็ว
-
การคลอดในน้ำจะใช้น้ำที่อุนหภูมิเหมาะสมต่อการคลอด หรือใช้น้ำอุ่น ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลายได้มากขึ้นขณะคลอด
-
การคลอดในน้ำจะใช้แรงในการเบ่งน้อยกว่าการคลอดธรรมชาติตามปกติ
-
ความเจ็บปวดขณะคลอดในน้ำ น้อยกว่าคลอดธรรมชาติตามปกติ โดยไม่ต้องใช้ยาระงับความเจ็บปวด
-
น้ำมีส่วนช่วยลดความเครียดของคุณแม่
-
น้ำมีส่วนช่วยลดความดันโลหิตสูง ที่อาจจะเกิดขึ้นจากความเครียดของแม่ในขณะคลอด
-
การลอยตัวในน้ำ จะช่วยให้มดลูกหดตัวได้ดีขึ้น
-
การลอยตัวในน้ำ จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกได้รับออกซิเจนมากขึ้น ทารกไม่เสี่ยงต่อภาวะการขาดออกซิเจน
-
ลดความเสี่ยงของแผลคลอดฉีกขาด
ข้อเสียของการคลอดลูกในน้ำ
การคลอดในน้ำ เป็นการคลอดที่มีความปลอดภัยสูง แต่ก็จะอาจมีผลข้างเคียงหลายประการที่ควรระวัง ดังนี้
-
หากทารกถูกช่องคลอดบีบอัด หรือสายสะดือเกิดการบิดงอ อาจจะทำให้ทารกหายใจเอาน้ำเข้าไปขณะคลอดและทำให้สำลักน้ำได้ แต่ก็เป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้ยากและพบได้น้อยมาก
-
ในกรณีที่สายสะดือสั้น ขณะที่นำทารกขึ้นจากน้ำสายสะดืออาจฉีกขาดได้
-
ในบางกรณีทารกอาจหายใจลำบากหรือขาดอากาศหายใจเมื่ออยู่ในน้ำ
-
หากน้ำที่ทำการคลอดไม่สะอาดหรือไม่ได้รับการฆ่าเชื้ออย่างดี อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ข้อจำกัดของคนคลอดลูกในน้ำมีอะไรบ้าง?
การคลอดลูกในน้ำ แม้จะมีความปลอดภัยสูง แต่ก็ไม่ได้เหมาะกับแม่ตั้งครรภ์ทุกคน มีข้อจำกัดบางประการที่ห้ามไม่ให้คุณแม่เหล่านี้ทำการคลอดในน้ำ ได้แก่
-
ตั้งครรภ์ในขณะที่มีอายุน้อยกว่า 17 ปี หรือตั้งครรภ์ขณะที่มีอายุมากกว่า 35 ปี
-
มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ เบาหวานขณะตั้งครรภ์
-
ตั้งครรภ์แฝด
-
ทารกไม่หันหัวออก แต่เอาขาหรือก้นออกแทน
-
ทารกมีขนาดตัวใหญ่เกินไป
-
แม่มีภาวะการติดเชื้อ
จากข้อจำกัดดังกล่าว แม่จึงควรคลอดด้วยวิธีธรรมชาติตามปกติ หรือทำการผ่าคลอด เพราะเป็นภาวะที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษจากแพทย์
ขั้นตอนและวิธีคลอดลูกในน้ำ
การคลอดลูกในน้ำมีหลักการคร่าว ๆ ดังนี้
-
ปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการคลอดในน้ำ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยว่าสามารถทำการคลอดในน้ำได้หรือไม่
-
เมื่อครบกำหนดคลอด คุณแม่จะได้คลอดในสระหรืออ่างที่มีการเตรียมไว้อย่างดีจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยประกบดูแลอยู่ไม่ห่าง
-
เมื่อใกล้เวลาคลอด คุณแม่สามารถตัดสินใจได้เองว่าจะเริ่มลงไปแช่อยู่ในน้ำเมื่อไหร่ ซึ่งเมื่อลงไปในน้ำแล้ว คุณแม่ก็จะสังเกตเห็นสีของน้ำที่เปลี่ยนไป เพราะเลือดและของเหลวในช่องคลอดเริ่มไหลออกมามากขึ้น
-
แพทย์จะสามารถรับรู้ได้ว่าขณะนี้หัวใจทารกเต้นเป็นปกติอยู่หรือไม่จากอุปกรณ์ติดตามตัวที่ติดไว้กับแม่ตั้งครรภ์
-
คุณแม่สามารถตัดสินใจที่จะขึ้นจากน้ำ หรือยังไม่ขึ้นจากน้ำก็ได้ ตราบเท่าที่ไม่มีสัญญาณผิดปกติเกิดขึ้น
-
แพทย์และพยาบาลที่เชี่ยวชาญการคลอดในน้ำ จะคอยดูแลให้คุณแม่เริ่มเบ่งเป็นระยะ จนกระทั่งสามารถเบ่งทารกออกมาได้สำเร็จ ก็จะมีการตัดสายสะดือตามขั้นตอนการคลอดปกติ
ขั้นตอนการคลอดในน้ำ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญการคลอดในน้ำ ไม่สามารถทำเองได้โดยขาดความรู้ความเข้าใจ
คลอดในน้ำ ลูกจะจมน้ำไหม?
ทารกมีโอกาสจมน้ำน้อย เพราะแพทย์จะนำทารกขึ้นจากผิวน้ำทันทีที่แม่คลอดทารกออกมาสำเร็จ
เบ่งคลอดในน้ำ ง่ายกว่าเบ่งคลอดแบบอื่น ๆ ไหม?
การคลอดในน้ำ แม่จะใช้แรงในการเบ่งน้อยกว่าการคลอดธรรมชาติตามปกติในห้องคลอด ทารกจึงสามารถที่จะคลอดออกมาได้ง่ายกว่า
ไขข้อข้องใจเรื่องการคลอดในน้ำกับ Enfa Smart Club
1. คลอดในน้ำราคาเท่าไหร่?
การคลอดในน้ำจำเป็นต้องได้รับการควบคุมดูแลจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ราคาจึงค่อนข้างสูง โดยอาจมีราคาตั้งแต่ 60,000 บาท ไปจนถึงหลักแสน
2. คลอดในน้ำมีที่ไหนบ้าง?
ในประเทศไทยนั้นอาจพบสถานพยาบาลที่รับทำคลอดในน้ำได้ไม่มากนัก ด้วยเหตุยังไม่ได้เป็นที่นิยมในบ้านเราสักเท่าไหร่ ดังนั้น สถานพยาลส่วนมากที่มีการคลอดในน้ำ จึงเป็นสถานพยาบาลเอกชน
3. คลอดลูกในน้ำ โรงพยาบาลเอกชน หรือ รัฐบาลดีกว่ากัน?
ในบ้านเรามีโรงพยาบาลที่รับทำคลอดในน้ำน้อย และส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลเอกชน จึงอาจยากที่จะนำมาเปรียบเทียบกัน สิ่งสำคัญคือได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
4. คลอดในน้ำที่บ้านได้ไหม?
การคลอดในน้ำสามารถทำได้ที่บ้าน แต่...ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่สามารถทำเองได้โดยปราศจากแพทย์หรือพยาบาลที่ชำนาญการคลอดลูกในน้ำ
5. คลอดในน้ำเจ็บไหม?
คลอดในน้ำ มีอาการเจ็บอยู่บ้าง แต่มักจะไม่เจ็บเท่ากับการคลอดปกติในห้องคลอด เพราะใช้แรงเบ่งน้อยกว่า และแผลฉีกขาดน้อยกว่า
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
- ท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ อันตรายมากน้อยแค่ไหน
- นมสำหรับคนท้อง จำเป็นไหม? แม่ท้องควรดื่มนมแบบไหนถึงจะดี
- จุกหลอก ดีหรือไม่ดีต่อเบบี๋กันแน่นะ
- อาการใกล้คลอด สังเกตทัน รับมือได้
- เจาะน้ำคร่ำจำเป็นไหม แล้วใครบ้างที่ควรเจาะน้ำคร่ำ
- บล็อกหลังผ่าคลอดปลอดภัยไหม เสี่ยงอันตรายหรือเปล่า
- แม่ ๆ เช็กให้พร้อม ดูซิ! ของเตรียมคลอดที่จำเป็นมีอะไรบ้าง
- ปวดท้องน้อยหลังคลอด ผิดปกติไหม อันตรายหรือเปล่า
- ลดน้ำหนัก ลดหน้าท้องหลังคลอด ลดยังไงให้ปลอดภัย และได้ผล
- เริ่มเลย! ออกกำลังกายหลังคลอด ทวงหุ่นฟิต พิชิตความเฟิร์ม
- ทารกเป็นหวัด หายใจไม่สะดวก คุณพ่อคุณแม่รับมืออย่างไรดี
- ภูมิแพ้ในเด็ก คุณแม่ควรรับมืออย่างไรเมื่อลูกน้อยเป็นภูมิแพ้
- WebMD. The Basics of Water Birth. [Online] Accessed https://www.webmd.com/baby/water-birth. [3 March 2022]
- Healthline. Water Birth Pros and Cons: Is It Right for You?. [Online] Accessed https://www.healthline.com/health/pregnancy/water-birth#risks. [3 March 2022]
- NCT. How to labour in water or have a water birth. [Online] Accessed https://www.nct.org.uk/labour-birth/different-types-birth/water-birth/h…. [3 March 2022]
- American Pregnancy Association. Water Births. [Online] Accessed https://americanpregnancy.org/healthy-pregnancy/labor-and-birth/water-b…. [3 March 2022]
- Pregnancy, Birth and Baby. Water birth. [Online] Accessed https://www.pregnancybirthbaby.org.au/water-birth. [3 March 2022]
- โรงพยาบาลเปาโล. คลอดธรรมชาติหรือผ่าตัดคลอด ต่างกันอย่างไร?. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.paolohospital.com/th-TH/rangsit/Article/Details/. [3 มีนาคม 2022]
- โรงพยาบาลเพชรเวช. คลอดธรรมชาติหรือผ่าตัดคลอดแตกต่างกันอย่างไร. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.petcharavejhospital.com/en/Article/article_detail/Natural-b…. [3 มีนาคม 2022]