Enfa สรุปให้
- วิธีเก็บนมแม่ ไม่ได้เริ่มหลังจากการปั๊มนมเสร็จ แต่เริ่มตั้งแต่ก่อนปั๊มนม นั่นก็คือ เตรียมอุปกรณ์สำหรับการเก็บนมให้พร้อม ตั้งแต่ถุงเก็บนม ขวดเก็บนม ที่ควรเลือกเกรดดีหรือเกรดโรงพยาบาล ทำมาจากแก้วหรือพลาสติกที่แข็งแรง มีฝาปิดที่แน่นหนา ไม่ชำรุด หรือหมดอายุการใช้งาน ไม่ควรเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง และไม่ควรเลือกบรรจุภัณฑ์ซึ่งทำมาจากวัสดุที่ผ่านการรีไซเคิลมาแล้ว
- ฉลากติดบรรจุภัณฑ์และน้ำหมึกที่จะใช้เขียนติดบนบรรจุภัณฑ์การเก็บนมแม่ควรเลือกที่สามารถกันน้ำและความชื้นได้ เพราะในตู้เย็นมีความชื้นสูง หากฉลากและน้ำหมึกไม่ทนต่อความชื้น ตัวหนังสือที่จดไว้อาจจางหายไป หรือฉลากอาจเปื่อยยุ่ย ทำให้สับสนและไม่รู้ว่านมขวดนี้ปั๊มเมื่อไหร่
- นมแม่ที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง อายุนมแม่สามารถอยู่ได้นานถึง 4 ชั่วโมง ส่วนนมแม่ที่แช่ในตู้เย็นช่องปกติสามารถเก็บไว้ได้ 8 วัน หากนมแม่แช่ในช่องแช่แข็งจะสามารถเก็บได้ 2 สัปดาห์ และการเก็บนมแม่ที่แช่ไว้ในช่องแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า 18 องศา สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 6 เดือน
- สารอาหารในน้ำนมแม่ระยะแรก หรือน้ำนมเหลืองที่พบได้มากที่สุด คือ แลคโตเฟอร์ริน โปรตีนในนมแม่ที่มีส่วนช่วยในการเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย จากการออกฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จึงช่วยป้องกันลูกน้อยจากการเจ็บป่วย
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• วิธีเก็บนมแม่
• วิธีเก็บน้ำนมใส่ถุง
• วิธีเขียนถุงเก็บน้ำนม
• นมแม่อยู่ได้กี่ชม.
• นมแม่แช่ตู้เย็นได้ไหม
• วิธีเก็บนมในตู้เย็น
• สารอาหารสำคัญในน้ำนมเหลือง
• ไขข้อข้อใจเรื่องการเก็บนมกับ Enfa Smart Club
หลังจากปั๊มนมแล้ว สิ่งสำคัญต่อมาที่คุณแม่ไม่ควรมองข้ามเลยก็คือ การเก็บนมแม่ เพื่อให้นมแม่สามารถอยู่ได้นาน และมีเพียงพอที่จะป้อนเจ้าตัวเล็กได้ตลอดทั้งวันน แต่วิธีเก็บนมแม่ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร การเก็บน้ำนมแบบไหนที่ไม่ควรทำ บทความนี้จาก Enfa มีสาระดี ๆ เกี่ยวกับการเก็บนมแม่มาฝากค่ะ
การเก็บนมแม่สำคัญอย่างไร
การเก็บน้ำนมให้เรียบร้อย เก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสม และเก็บในบรรจุภัณฑ์ที่มิชิดหลังจากปั๊มนมเสร็จแล้ว เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่คุณแม่ควรใส่ใจอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้น้ำนมยังคงคุณภาพเหมือนเมื่อแรกปั๊มออกจากเต้านม เพื่อให้อายุนมแม่สามารถอยู่ได้นานขึ้น และทารกมีนมแม่ให้กินมากพอในแต่ละวัน
มีวิธีเก็บนมแม่อย่างไรบ้าง
เพื่อให้นมแม่ยังคงคุณภาพ และอายุนมแม่สามารถเก็บไว้ได้นาน คุณแม่ควรปฏิบัติตามวิธีเก็บน้ำนม ดังนี้
- วิธีรักษานมแม่ ไม่ได้เริ่มหลังจากการปั๊มนมเสร็จ แต่เริ่มตั้งแต่ก่อนปั๊มนม นั่นก็คือ เตรียมอุปกรณ์สำหรับการเก็บนมให้พร้อม ตั้งแต่ถุงเก็บนม ขวดเก็บนม ที่ควรเลือกเกรดดีหรือเกรดโรงพยาบาล ทำมาจากแก้วหรือพลาสติกที่แข็งแรง มีฝาปิดที่แน่นหนา ไม่ชำรุด หรือหมดอายุการใช้งาน ไม่ควรเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง และไม่ควรเลือกบรรจุภัณฑ์ซึ่งทำมาจากวัสดุที่ผ่านการรีไซเคิลมาแล้ว
- ฉลากติดบรรจุภัณฑ์และน้ำหมึกที่จะใช้เขียนติดบนบรรจุภัณฑ์ควรเลือกที่สามารถกันน้ำและความชื้นได้ เพราะในตู้เย็นมีความชื้นสูง หากฉลากและน้ำหมึกไม่ทนต่อความชื้น ตัวหนังสือที่จดไว้อาจจางหายไป หรือฉลากอาจเปื่อยยุ่ย ทำให้สับสนและไม่รู้ว่านมขวดนี้ปั๊มเมื่อไหร่
- หากต้องการให้ตู้แช่นั้นมีไว้สำหรับเก็บนมโดยเฉพาะ สามารถซื้อตู้แช่ขนาดเล็กสำหรับการเก็บนมแม่โดยเฉพาะได้ ซึ่งตรงนี้ไม่มีการบังคับว่าต้องปฏิบัติตาม ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแม่แต่ละคน
- ไม่เก็บน้ำนมใส่ในโหลหรือภาชนะแบบใช้แล้วทิ้ง และไม่ใช้ถุงพลาสติกที่ไม่ใช่ถุงสำหรับเก็บนมแม่ เพราะเสี่ยงจะทำให้คุณภาพของนมแม่ลดลงได้
- ล้างทำความสะอาดบรรจุภัณฑ์ที่จะนำมาใส่นมแม่ให้สะอาดทุกครั้ง ป้องกันเชื้อโรค แบคทีเรีย และสิ่งสกปรกต่าง ๆ
- เมื่อปั๊มนมเสร็จแล้ว ให้ติดฉลากหรือติดโน้ตที่บรรจุภัณฑ์ให้ชัดเจนว่าปั๊มเมื่อวันไหน ปั๊มตอนไหน
- หากจะใช้นมแม่ภายใน 4 วัน ควรแช่ที่ช่องแช่ธรรมดา แต่ถ้ายังไม่รีบใช้ในช่วงเวลานั้น ให้นำไปแช่ไว้ที่ช่องแช่แข็ง เพื่อยืดอายุน้ำนมแม่ให้นานขึ้น
- เก็บนมแม่ไว้ในช่องแช่ธรรมดาที่ไม่ใช่ช่องเก็บของตรงส่วนที่เป็นประตูตู้เย็น เพราะการเปิดปิดประตูตู้เย็นอาจทำให้อุณหภูมิของนมแม่ที่เก็บไว้ตรงประตูไม่คงที่ เสี่ยงที่คุณภาพน้ำนมจะลดลง และเก็บไว้ได้ไม่นาน
- แช่นมไว้หลังสุดของตู้เย็น การเก็บรักษานมแม่ที่ดี เวลาแช่นม ควรแช่ไว้ส่วนหลังสุดของตู้เย็น เพื่อให้อุณหภูมิคงที่อยู่เสมอ
วิธีเก็บน้ำนมใส่ถุง
คุณแม่หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วจะมีวิธีสต๊อคนมแม่ให้เก็บได้นาน ๆ ไม่ต้องคอยปั๊มใหม่บ่อย ๆ ซึ่งสิ่งสำคัญสำหรับการเก็บนมแม่นั้น ไม่ได้อยู่ที่ว่าจะมีวิธีแพคนมแม่แช่แข็งอย่างไร หรือจะเก็บน้ำนมลงในถุงอย่างไร เพราะวิธีเก็บนมแม่ลงถุงนมหรือขวดนมนั้นก็ไม่ต่างกันสักเท่าไหร่ คือพยายามไล่ลมออกจากถุงก่อนปิดฝา และปิดฝาให้สนิท
แต่...สิ่งสำคัญของการเก็บนมใส่ถุงขึ้นอยู่กับบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการเก็บนมมากว่า หากเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ดี ทำจากวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน ฝาปิดไม่แน่น มีการชำรุดหรือหมดอายุการใช้งาน ต่อให้คุณแม่จะมีท่วงท่าในการบีบนมหรือเก็บนมลงถุงที่ดีเลิศแค่ไหน น้ำนมแม่ก็จะเสียคุณภาพไปเพราะบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานอยู่ดี
ดังนั้น วิธีเก็บน้ำนมใส่ถุงที่ดีที่สุด คือเก็บน้ำนมแม่ลงในถุงนมหรือขวดนมที่ได้มาตรฐานเท่านั้น
เก็บนมแม่ที่ปั๊มคนละรอบไว้ในถุงเดียวกันได้ไหม
ถุงนมสามารถใช้ซ้ำกันได้ แต่ใช้ซ้ำในที่นี้คือใช้ซ้ำของตัวเอง ไม่ใช่เอาของคนอื่นมาใช้ซ้ำ ข้อสำคัญคือต้องล้างถุงเก็บนมหรือขวดนมให้สะอาดก่อนจะนำมาใช้เก็บนมทุกครั้ง เพื่อป้องกันเชื้อโรค แบคทีเรีย หรือสิ่งสกปรกต่าง ๆ
และนมที่ต่างรอบกัน ไม่ควรเก็บไว้ในถุงเดียวกัน ควรแยกให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการสับสน อีกทั้งการแยกถุงน้ำนมยังจะทำให้เห็นด้วยว่า ช่วงไหนที่น้ำนมคุณแม่มาน้อย หรือไหลเป็นปกติ ทำให้สามารถสังเกตความผิดปกติทางสุขภาพของตนเองได้เร็วขึ้น
วิธีเขียนถุงเก็บน้ำนม
วิธีการเขียนถุงเก็บนมหรือเขียนฉลากติดขวดนมนั้นก็ง่ายมาก เพียงแค่คุณแม่ระบุวันและเวลาที่ปั๊มนมลงไปให้ชัดเจน สิ่งสำคัญคือต้องไม่ลืมว่าควรใช้ฉลากติดบรรจุภัณฑ์และน้ำหมึกที่จะใช้เขียนติดบนบรรจุภัณฑ์ควรเลือกที่สามารถกันน้ำและความชื้นได้ เพราะการเก็บนมแม่ในตู้เย็นมีความชื้นสูง ฉลากและน้ำหมึกที่ไม่กันความชื้นอาจทำให้ฉลากเสียหายจนดูไม่ออกว่าเขียนอะไรลงไป
อีกข้อที่สำคัญ แต่อาจจะไม่จำเป็นสำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกอยู่บ้าน เพราะข้อนี้เป็นเรื่องสำคัญของแม่ที่ปั๊มนมในที่ทำงาน ควรเขียนให้ชัดเจนว่านมนี้ปั๊มวันไหน เวลาใด และของใคร เพื่อป้องกันการสับสนในกรณีที่ออฟฟิศก็มีคนอื่น ๆ ปั๊มนมลูกด้วย
หรือในกรณีที่ส่งลูกให้สถานดูแลเด็ก ก็ควรต้องระบุวันที่ปั๊ม เวลาที่ปั๊ม และชื่อของทารกให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการสับสนกับนมของทารกคนอื่น ๆ
นมแม่อยู่ได้กี่ชม. สามารถเก็บไว้ได้นานสุดแค่ไหน
หลังจากนมแม่ปั๊มใส่ขวดหรือถุงนมแล้ว จะมีระยะเวลาการเก็บนมแม่ที่แตกต่างกัน ดังนี้
- นมแม่ที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง อายุนมแม่สามารถอยู่ได้นานถึง 4 ชั่วโมง
- นมแม่ที่แช่ในตู้เย็นช่องปกติสามารถเก็บไว้ได้ 8 วัน
- นมแม่ที่แช่ในช่องแช่แข็ง สามารถเก็บได้ 2 สัปดาห์
- นมแม่ที่แช่ไว้ในช่องแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า 18 องศา สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 6 เดือน
นมแม่แช่ตู้เย็นได้ไหม
นมแม่ควรแช่ไว้ในตู้เย็นเพื่อให้สามารถอยู่ได้นาน หากต้องการใช้งานภายใน 4 วัน ให้แช่ในช่องแช่เย็นธรรมดา แต่หากต้องการเก็บไว้ให้ได้นานเป็นสัปดาห์ ควรแช่ไว้ในช่องแช่แข็ง
วิธีเก็บนมเพื่อยืดอายุนมในตู้เย็นทำอย่างไร
เวลาเก็บนมแม่เข้าตู้เย็น ควรเก็บดังนี้
- เก็บนมแม่ไว้ในช่องแช่ธรรมดา ที่ไม่ใช่ช่องเก็บของตรงส่วนที่เป็นประตูตู้เย็น เพราะการเปิดปิดประตูตู้เย็นอาจทำให้อุณหภูมิของนมแม่ที่เก็บไว้ตรงประตูไม่คงที่ เสี่ยงที่คุณภาพน้ำนมจะลดลง และเก็บไว้ได้ไม่นาน
- เวลาแช่นม ควรแช่ไว้ส่วนหลังสุดของตู้เย็น เพื่อให้อุณหภูมิคงที่อยู่เสมอ • หากต้องการ คุณแม่สามารถซื้อตู้แช่ขนาดเล็กสำหรับแช่น้ำนมโดยเฉพาะได้
สารอาหารสำคัญในน้ำนมเหลือง
การเก็บรักษาน้ำนมของแม่ให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยให้ให้สารอาหารในน้ำนมยังคงอยู่ครบถ้วน เพราะในน้ำนมของแม่นั้นมีสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อย อย่างสารอาหารจำเป็นที่พบได้ใน น้ำนมระยะแรก หรือที่เรียกกันว่า น้ำนมเหลือง ซึ่งก็คือ น้ำนมที่ไหลออกมาเพียง 1-3 วันแรกหลังคลอด สามารถพบแลคโตเฟอร์รินได้มากที่สุด
ซึ่งแลคโตเฟอร์ริน คือ โปรตีนสำคัญที่มีหน้าที่ส่งเสริมภูมิคุ้มกัน โดยการออกฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จึงสามารถช่วยป้องกันการเจ็บป่วยให้ลูกน้อย
ไขข้อข้อใจเรื่องการเก็บนมกับ Enfa Smart Club
จำเป็นต้องเก็บนมหรือเปล่า
ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์การเลี้ยงลูกของคุณแม่ หากคุณแม่เป็นแม่บ้านที่ดูแลลูกเต็มตัว และมีเวลาให้นมลูกได้ตลอดเวลา ก็อาจจะไม่ต้องเก็บน้ำนมไว้
แต่ถ้าคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน หรือในวันใดมีธุระที่ต้องออกไปข้างนอก อาจจะไม่สะดวกเปิดเต้าแล้วป้อนนมลูก ก็ควรที่จะปั๊มนมและเก็บน้ำนมเอาไว้ เพื่อให้สะดวกต่อการป้อนนมเจ้าตัวเล็ก และสามารถให้คนอื่นป้อนนมทารกได้โดยที่คุณแม่ไม่ต้องทำเอง
นมแม่แช่ร่วมกับอย่างอื่นได้ไหม
การแช่นมแม่รวมกับอาหารอย่างอื่น อาจทำให้กลิ่นอาหารติดนม อาจทำให้ทารกไม่ยอมกินนมเพราะกลิ่นที่แปลกไปได้ ทางที่ดีควรเคลียร์ช่องแช่เย็นไว้สำหรับแช่นมแม่โดยเฉพาะ
หรือหากกังวลว่าจะมีกลิ่นอาหารอื่น ๆ ติดถุงนม ก็สามารถแยกเอานมแม่ไปแช่ในตู้เย็นขนาดเล็กสำหรับเก็บนมแม่โดยเฉพาะก็ได้เช่นกัน
เก็บนมแม่ ได้นานสุดกี่วัน
นมแม่สามารถเก็บได้นานสุดถึง 12 เดือน แต่อายุนมแม่จะคงคุณภาพดีที่สุดได้ที่ 6 เดือน และจะต้องเก็บไว้ในช่องแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า 18 องศาเท่านั้น
แม่มีนมในสต็อกเยอะจนลูกน้อยกินไม่ทัน ควรทำอย่างไร
คุณแม่ควรปั๊มนมให้ได้ปริมาณเท่าที่เพียงพอต่อลูกในแต่ละวัน แต่ถ้าหากมีน้ำนมเยอะมาก ก็สามารถแยกเก็บไว้ในช่องแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า 18 องศา เพื่อให้สามารถเก็บไว้ได้นานขึ้น หรือจะปั๊มนมเผื่อเอาไว้ เพื่อแบ่งให้กับทารกคนอื่น ๆ ที่มีนมแม่ไม่เพียงพอก็ได้เช่นกัน
วิธีการเก็บน้ำนมแม่ใส่ถุง ทำอย่างไร
เก็บน้ำนมลงใส่ถุงในปริมาณที่กำหนดไว้ แล้วปิดฝาให้มิดชิด เขียนฉลากลงวันที่และเวลาที่ปั๊มนมให้เรียบร้อย แล้วนำไปแช่ตู้เย็นได้เลย
ทำไมถึงห้ามเขย่านมแม่
เวลานำนมแม่มาอุ่นเพื่อให้ลูกกิน สามารถแกว่งขวดนมแม่ไปมาเบา ๆ ได้ แต่ห้ามเขย่าแรงเด็ดขาด เพราะเสี่ยงจะทำให้เพราะจะทำให้เม็ดเลือดขาวในนมแม่เกิดการแยกชั้นกัน และทำให้คุณภาพของน้ำนมแม่ลดลง
สต๊อคนมถุงละกี่ออนซ์
นมหนึ่งถุงควรเก็บน้ำนมที่ประมาณ 2-4 ออนซ์ เพื่อไม่ให้เก็บไว้เยอะเกินจนต้องเหลือทิ้ง หรือก็ขึ้นอยู่กับว่า เวลาให้นมหนึ่งถุงทารกกินมากหรือน้อยแค่ไหน ก็สต็อคไว้ปริมาณที่ทารกต้องการในแต่ละครั้ง ป้องกันการเหลือนมทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์
- NHS. Expressing and storing breast milk. [Online] Accessed https://www.nhs.uk/conditions/baby/breastfeeding-and-bottle-feeding/bre…. [24 March 2022]
- Centers for Disease Control and Prevention. Proper Storage and Preparation of Breast Milk. [Online] Accessed https://www.cdc.gov/breastfeeding/recommendations/handling_breastmilk.h…. [24 March 2022]
- Office on Women's Health. Pumping and storing breastmilk. [Online] Accessed https://www.womenshealth.gov/breastfeeding/pumping-and-storing-breastmi…. [24 March 2022]
- Mayo Clinic. Breast milk storage: Do's and don'ts. [Online] Accessed https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/…. [24 March 2022]
- The Australian Breastfeeding Association. Expressing and storing breastmilk. [Online] Accessed https://www.breastfeeding.asn.au/bf-info/breastfeeding-and-work/express…. [24 March 2022]
- American Academy of Pediatrics. Tips for Freezing & Refrigerating Breast Milk. [Online] Accessed https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/baby/breastfeeding/…. [24 March 2022]
- Amarin Baby&Kids. รู้ยัง! นมแม่แยกชั้น แบบนี้ลูกกินได้. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.amarinbabyandkids.com/pregnancy/breastfeeding-layers/3/. [24 มีนาคม2022]
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
- นมแม่ สารพันประโยชน์ และคุณค่าดี ๆ จากอกแม่
- น้ำนมหด น้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหล จะกู้น้ำนมยังไงได้บ้าง
- อาหารหลังคลอด ที่แม่ให้นมลูกห้ามกิน เลี่ยงได้เลี่ยง
- ปั๊มนมยังไงให้ถูกวิธี ปั๊มแบบไหนให้นมเกลี้ยงเต้า
- วิธีอุ่นนมแม่ อุ่นยังไงให้ถูกต้อง และน้ำนมไม่เสียคุณภาพ
- แนะนำอาหารบำรุงน้ำนม กินแล้วช่วยเสริมน้ำนมให้คุณแม่
- ลดน้ำหนัก ลดหน้าท้องหลังคลอด ลดยังไงให้ปลอดภัย และได้ผล
- เริ่มเลย! ออกกำลังกายหลังคลอด ทวงหุ่นฟิต พิชิตความเฟิร์ม
- Solid Food อาหารมื้อแรกของลูก เริ่มเมื่อไหร่ เริ่มยังไง
- ฝึกลูกกินอาหารเองด้วยวิธี BLW คืออะไร ฝึกยังไงให้ได้ผล
- ลูกไม่กินข้าว เบื่ออาหาร ปัญหาชวนปวดจิตที่รับมือได้
- ทารกหิวทุกชั่วโมงปกติไหม เพิ่งกินไปแต่ทำไมลูกหิวนมอีกนะ
- ให้ลูกเข้าเต้าทุกกี่ชั่วโมงดีนะ? เข้าใจการให้ลูกดูดเต้า
- พัฒนาการทารก 2 เดือน เป็นอย่างไร ดูแลเด็ก 2 เดือน แบบไหน
- หย่านมยังไง ส่องเคล็ดลับ วิธีให้ลูกเลิกเต้า เลิกขวดนม