Enfa สรุปให้
- ลูกถ่ายไม่ออก ร้องไห้ เป็นอีกสัญญาณเตือนได้ว่าลูกกำลังท้องผูก โดยอาการท้องผูกเป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกวัย เนื่องจากระบบย่อยอาหารของเด็กยังทำงานไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงสาเหตุอย่างการได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ การเปลี่ยนนมผง รวมทั้งการเริ่มกินอาหารตามวัยเด็กทารก ก็สามารถทำให้เด็กท้องผูกได้เช่นกัน
- เด็กท้องผูกสามารถบรรเทาอาการเบื้องต้นได้หลายวิธี หากเด็กท้องผูกอยู่ในวัยทารก สามารถใช้วิธีการนวดท้อง หรือเคลื่อนไหวร่างกาย ในกรณีที่เป็นเด็กโตที่สามารถกินอาหารตามวัยได้แล้ว ควรปรับเปลี่ยนอาหารให้มีกากใยมากขึ้น เพื่อช่วยในการขับถ่าย
- ลูกท้องผูกจะมีอาการอึแข็ง แห้ง หรือถ่ายเป็นเม็ดแข็ง ต้องใช้แรงเบ่งในขณะถ่าย หรือมีเลือดปนมากับอุจจาระ มีอาการงอแง ไม่สบายตัว และถ่ายน้อยกว่าปกติ นอกจากนี้ หากในทั้งสัปดาห์ ถ่ายไม่ถึง 3 ครั้ง หรือมีอาการท้องผูกต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 1 เดือน ลักษณะแบบนี้ถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะเป็นอาการท้องผูกเรื้อรัง
- ความถี่ในการขับถ่ายของเด็กแต่ละวัยมีความแตกต่างกัน โดยหากเป็นเด็กทารกแรกเกิด ควรมีการถ่ายอย่างน้อยประมาณ 1 ครั้ง/วัน สำหรับเด็กโตควรมีความถี่ในการขับถ่ายประมาณ 3 ครั้ง/สัปดาห์
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• สาเหตุเด็กท้องผูก เด็กถ่ายยาก
• อาการเด็กท้องผูก
• วิธีแก้อาการเด็กท้องผูก
• ลูกมีอาการท้องผูกเรื้อรังอยู่หรือเปล่า
• ลูกท้องผูกแบบไหนควรไปพบแพทย์
• ไขข้อข้องใจเรื่องอาการเด็กท้องผูกกับ Enfa Smart Club
แม่ ๆ รู้ไหม เด็ก ๆ กว่า 70% มักมีอาการไม่สบายท้อง และอาการท้องผูกก็คือหนึ่งในอาการหลัก! โดยอาการท้องผูก (Constipation) นั้นถือว่าเป็นปัญหาอันดับต้น ๆ ที่พบได้บ่อยในทารก และเด็กเล็ก
ซึ่งเด็กท้องผูกหากปล่อยไว้นานจนเกินไปโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตใจของลูกน้อยได้ บทความดี ๆ จาก Enfa มีสาระและเคล็ดลับดี ๆ เกี่ยวกับปัญหาลูกท้องผูก มาฝากกันค่ะ
เด็กท้องผูก เด็กถ่ายยาก มีสาเหตุจากอะไรบ้าง
อาการเด็กท้องผูก เด็กถ่ายยาก เป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุก ๆ คน ตั้งแต่แรกเกิดจนไปถึงเด็กโต โดยสาเหตุที่ทำให้เด็กท้องผูกมีด้วยกันหลายสาเหตุ ดังนี้
1. ท้องผูกเพราะนมผง
ลูกถ่ายไม่ออกอาจมีสาเหตุจากอาการท้องผูก ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่มักเกิดขึ้นกับทารก โดยเฉพาะในเด็กทารกที่กินนมผง อาจส่งผลให้อุจจาระแข็งตัวและเกิดอาการท้องผูกได้
ในทางกลับกันทารกที่กินนมแม่จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอาการท้องผูกน้อยกว่าทารกที่กินนมผง เนื่องจากน้ำนมแม่มีคุณสมบัติย่อยได้ง่าย ง่ายต่อการขับถ่าย
คำแนะนำ: หากเด็กที่กินนมผงมีอาการท้องผูก สามารถบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ด้วยการนวดท้องหรือเคลื่อนไหวร่างกายลูกน้อยเพื่อช่วยในการขับถ่าย
ในกรณีที่เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป หรือกินอาหารตามวัยทารก (Solid Food) ได้แล้ว สามารถเพิ่มอาหารที่มีกากใยในมื้ออาหาร รวมทั้งเพิ่มการดื่มน้ำเข้าไปหลังการป้อนนม เพื่อช่วยในการขับถ่ายได้เช่นกัน
2. ชงนมผิดสัดส่วน
สำหรับเด็กที่กินนมผง การชงนมผิดสัดส่วนอย่างการผสมน้ำน้อยหรือมากเกินกำหนด หรือการใส่ผสมปริมาณนมผงผิดสัดส่วน อาจทำให้ลูกน้อยมีอาการท้องผูกได้เช่นกัน
คำแนะนำ: ในทุก ๆ ครั้งที่ต้องชงนม ควรชงนมให้ถูกต้องตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ตามคำแนะนำข้างบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ นอกจากนี้ ยังควรใส่ใจเรื่องสุขอนามัย ทำความสะอาดอุปกรณ์ชงนมสม่ำเสมอ
3. การคลอดก่อนกำหนด
ทารกคลอดก่อนกำหนด อาจพบปัญหาเด็กท้องผูกได้ง่ายกว่าทารกทั่วไป เนื่องจากระบบย่อยอาหารยังเจริญไม่เต็มที่ ส่งผลให้อาหารเคลื่อนผ่านทางเดินอาหารช้าและย่อยได้ไม่สมบูรณ์ อุจจาระจึงแห้งและแข็ง
คำแนะนำ: หากทารกคลอดก่อนกำหนดมีอาการท้องผูก สามารถใช้วิธีบรรเทาอาการท้องผูก เช่น การเคลื่อนไหวร่างกายลูกน้อย เพื่อช่วยในการขับถ่ายได้เช่นกัน ทั้งนี้ หากอาการท้องผูกไม่ดีขึ้น ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
4. การขาดน้ำ
ปัญหาการดื่มน้ำน้อย พบได้ในเด็กเล็กและเด็กโตที่ปรับเปลี่ยนไปกินอาหารตามวัยเป็นหลักแล้ว ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กถ่ายยาก มีอาการท้องผูก เพราะลำไส้มีน้ำมาหล่อลื่นน้อย ก็ทำให้การขับถ่ายเอากากอาหารออกมานั้นทำได้ยากขึ้น
คำแนะนำ: ให้ลูกดื่มน้ำให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการและดื่มสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำและอาการท้องผูกในเด็ก อีกทั้งการขาดน้ำยังส่งผลต่อระบบอื่น ๆ ในร่างกายของเด็กด้วย
5. ให้อาหารตามวัยทารกเร็วเกินไป
ในช่วงแรกเกิด - 6 เดือนแรก ทารกควรได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่เหมาะสมสำหรับช่วงวัยดังกล่าว เนื่องจากในช่วงวัยนี้ ระบบย่อยอาหารยังไม่สามารถย่อยอาหารชนิดอื่นได้มากนัก การเริ่มให้อาหารตามวัยทารกเร็วก่อนช่วงที่เหมาะสม จะทำให้ลูกน้อยมีอาการท้องผูกและอาจเสี่ยงต่ออาการลำไส้ตีบตันได้
คำแนะนำ: ในช่วง 6 เดือนแรกควรให้ทารกได้กินนมแม่แค่เพียงอย่างเดียว เมื่อทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป จึงค่อย ๆ เริ่มให้อาหารตามวัยทารก หรือ Solid Food เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ดีต่อการเจริญเติบโตที่สมวัย
ลูกถ่ายไม่ออก ร้องไห้แบบนี้ ท้องผูกไหม ชวนสังเกตอาการเด็กท้องผูก
อาการเด็กท้องผูกไม่ได้มีเพียงแค่เด็กถ่ายไม่ออกเท่านั้น แต่ยังมีอาการในลักษณะอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยคุณแม่สามารถสังเกตลักษณะเด็กท้องผูกได้ ดังนี้
- ลูกถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ: จากปกติอาจจะถ่ายอุจจาระ 1-2 รอบ ก็อาจจะเหลือแค่รอบเดียวต่อวัน หรือไม่ถ่ายเลยหลายวันติดต่อกัน
- ลูกถ่ายไม่ออก ร้องไห้: เจ้าตัวเล็กอาจพยายามขับถ่ายตามปกติ แต่ไม่ว่าจะเบ่งแค่ไหนก็พบว่า เด็กถ่ายไม่ออก หรือลูกพยายามถ่ายแล้ว แต่ลูกไม่ถ่ายออกมาตามปกติเหมือนอย่างเคย
- ลูกอุจจาระแข็ง: อุจจาระที่ลูกขับถ่ายออกมามีลักษณะแข็งผิดปกติ อาการลูกถ่ายอุจจาระแข็งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณสำคัญที่บอกว่าลูกเสี่ยงมีอาการท้องผูก
- ทารกเบ่งอุจจาระไม่ออก: ทารกอาจรู้สึกอึดอัดหรือเจ็บปวดเวลาพยายามเบ่งอุจจาระ อาจร้องไห้บ่อย หรือกระสับกระส่าย ไม่สบายตัว
- ลูกไม่ถ่ายเลย 5 - 10 วัน: เด็กทารกอาจไมถ่ายหลายวันเป็นเรื่องปกติ แต่...โดยมากมักไม่เกิน 5 วัน หากเจ้าตัวเล็กไม่ถ่ายเลยตั้งแต่ 5 วันขึ้นไป อาจเป็นสัญญาณว่าลูกท้องผูก
- ลูกเบื่ออาหาร: เด็กอาจกินน้อยลง หรือเบื่ออาหาร เนื่องจากอาการท้องผูกอาจทำให้รู้สึกอึดอัดจนไม่อยากจะกินนม หรือไม่กินอาหาร
วิธีแก้อาการเด็กท้องผูก
เมื่อแน่ชัดแล้วว่าเจ้าตัวเล็กน่าจะกำลังประสบกับปัญหาท้องผูกจริง ๆ คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะรับมือได้ ดังนี้
1. ปรับเปลี่ยนอาหาร
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องผูกในทารกและเด็กเล็กได้ โดยมีวิธีดังต่อไปนี้
- การรับประทานอาหารที่อุดมด้วยไฟเบอร์ หากเด็กมีอายุมากกว่า 6 เดือนไปแล้ว อาจจะให้รับประทานอาหารเสริมที่มีกากใย เช่น น้ำลูกพรุน น้ำลูกแพร์ และน้ำแอปเปิล จะช่วยบรรเทาอาการท้องผูกในทารกและเด็กเล็กได้เป็นอย่างดีเนื่องจากมีคุณสมบัติคล้ายกับ แล็กทูโลส (Lactulose)
- การดื่มน้ำ โดยปกติเด็กทารกแรกเกิดถึงอายุ 5 เดือน ต้องได้รับปริมาณน้ำ 750-1,125 มิลลิลิตร/วัน ซึ่งเด็กจะได้รับจากน้ำนมแม่ และในเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-11 เดือน ต้องได้รับปริมาณน้ำ 800-1,200 มิลลิลิตร/วัน
- ไม่ควรให้ลูกดื่มนมวัวมากจนเกินไป การดื่มนมวัวอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ เช่น ในเด็กแรกเกิดถึงอายุ 6 เดือน ไม่ควรดื่มนมวัวเกิน 700 มิลลิลิตร/วัน และในเด็กที่อายุระหว่าง 6 เดือน ถึง 12 เดือน ไม่ควรดื่มนมวัวเกิน 800 มิลลิลิตร/วัน
2. การนวด
การออกกำลังกายขาเบา ๆ อย่างท่าปั่นจักรยาน อาจช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ของทารกทำงานได้ดีขึ้น ทำให้ถ่ายง่ายขึ้น โดยวางลูกน้อยลงบนเบาะสำหรับเด็ก แล้วค่อย ๆ หมุนที่ขาไปมาในท่วงท่าคล้ายกับว่าขาทั้งสองข้างกำลังปั่นจักรยาน
การนวดที่หน้าท้อง ขา หลัง และทั่วร่างกายของทารกจะช่วยให้เจ้าตัวเล็กรู้สึกสงบและผ่อนคลาย โดยกดไปที่ท้องเบา ๆ ให้เป็นลักษณะวงกลม การนวดที่ท้องเบา ๆ อาจช่วยให้ทารกขับถ่ายได้ง่ายขึ้น
3. การเปลี่ยนอิริยาบทในการขับถ่าย
ปกติแล้วเวลาที่ทารกขับถ่าย ก็จะอยู่ในท่านอนหงายราบไปกับพื้น แต่ในกรณีที่เจ้าตัวเล็กเริ่มมีอาการท้องผูก การเปลี่ยนท่าทางอาจช่วยให้ขับถ่ายได้ดีขึ้น ให้คุณพ่อคุณแม่จับทารกวางในท่าหมอบ โดยงอเข่าขึ้นไปที่หน้าอก การถ่ายอุจจาระในท่าหมอบอาจช่วยให้ลูกขับถ่ายได้ง่ายกว่าการนอนราบ
4. นมสำหรับเด็กท้องผูก
นมแม่ดีที่สุดสำหรับเด็กท้องผูก โดยเฉพาะเด็กแรกเกิด - 6 เดือนแรก แต่ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ หรือในเด็กโตที่มีการปรับเปลี่ยนนม ควรเลือกโภชนาการที่มีความเหมาะสมสำหรับลูกน้อย
โภชนาการที่เหมาะสมอาจมีคุณสมบัติ เป็นโปรตีนผ่านการย่อยบางส่วน หรือ PHP (Partially Hydrolyzed Protein) โปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน มีโมเลกุลขนาดเล็ก ย่อยได้ง่าย และดูดซึมได้ดี ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มคงตัว ไม่แข็ง ขับถ่ายได้ง่าย
นอกจากนี้ยังควรเลือกโภชนาการที่มีใยอาหาร อย่าง โพลีเด็กซ์โตรส (PDX) และกาแลคโตโอลิโกแซคคาไรด์ (GOS) ซึ่งช่วยในการทำงานของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้และปรับลักษณะอุจจาระให้นิ่มขึ้น
5. รักษาอาการท้องผูกโดยการใช้ยา
ทารกท้องผูก วิธีแก้ การใช้ยาก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ แม้ว่าโดยปกติแล้วอาการเด็กท้องผูกนั้นไม่จำเป็นต้องรักษาโดยการใช้ยาเฉพาะทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน การให้ยาบางชนิดอาจส่งผลเสียต่อทารกมากกว่าผลดี
แต่ก็มียาแก้ท้องผูก หรือยาแก้ท้องผูกทารก ที่ช่วยให้อาการท้องผูกดีขึ้น เช่น
- ยาในกลุ่มของ Osmotic Laxative ที่มีส่วนช่วยทำให้อุจจาระนิ่มลง แต่ยานี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อแพทย์วินิจฉัยให้ใช้เท่านั้น
- ยาเหน็บกลีเซอรีน (Glycerin suppository) ใช้สำหรับเหน็บทวารหนักของทารกเพื่อกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้
อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรซื้อยามาใช้กับทารกเอง ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งก่อนที่จะซื้อยาใด ๆ ก็ตามมาใช้กับทารก หรือควรได้รับการจ่ายยาจากแพทย์และเภสัชกรโดยตรง
6. ไปพบแพทย์
เมื่อเด็กท้องผูก และได้ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของเจ้าตัวเล็กแล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อหาสาเหตุจากความผิดปกติทางกายภาพ โดยเด็กท้องผูกบางคนอาจจะมีความผิดปกติบริเวณทวารหนัก มีความผิดปกติของประสาทที่ควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ และความผิดปกติของประสาทไขสันหลังส่วนปลายซึ่งควบคุมการถ่ายอุจจาระ ทำให้เกิดปัญหาท้องผูกได้ จำเป็นต้องทำการตรวจและวินิจฉัยที่ละเอียดมากขึ้น
อย่าปล่อยไว้จนลูกท้องผูกเรื้อรัง
ปัญหาลูกท้องผูก ลูกถ่ายไม่ออก ร้องไห้ ลูกถ่ายยาก แม้จะดูเหมือนอาการทางสุขภาพทั่วไปที่เกิดขึ้นได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรชะล่าใจกับอาการเด็กท้องผูกเด็ดขาด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเจ้าตัวเล็กมักจะขับถ่ายน้อย ทารกเบ่งอุจจาระไม่ออก หรือในหนึ่งสัปดาห์ขับถ่ายไม่ถึง 3 ครั้ง หรือมีอาการท้องผูกต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 1 เดือน ลักษณะเช่นนี้ถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะเป็นสัญญาณที่ค่อนข้างบอกอย่างแน่ชัดแล้วว่า “ลูกท้องผูกเรื้อรัง” ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา
เมื่อไหร่ที่คุณแม่ควรพาลูกท้องผูกไปพบแพทย์
หากลูกท้องผูกและมีอาการดังต่อไปนี้ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา
- ลูกท้องผูก และมีอาการปวดท้อง ร้องไห้โยเย โดยเวลาที่ปวดท้องจะสังเกตได้จากการที่ทารกจะดึงขากลับขึ้นไปที่บริเวณท้องและร้องไห้
- ลูกมีอาการท้องผูก และอาเจียนร่วมด้วย
- อุจจาระของลูกมีเลือดปนออกมา
- พยายามดูแลด้วยวิธีต่าง ๆ แล้ว แต่อาการท้องผูกก็ไม่ดีขึ้น
ไขข้อข้องใจเรื่องอาการเด็กท้องผูกกับ Enfa Smart Club
ลูก 2 ขวบท้องผูก เป็นสัญญาณอันตรายหรือเปล่า
เด็กอายุ 2 ขวบ ก็สามารถที่จะมีอาการท้องผูกได้ ไม่ถือว่าอันตรายจนน่าเป็นห่วง เว้นเสียแต่ว่าลูกมีปัญหาท้องผูกติดต่อกันนานหลายเดือน อาจจำเป็นจะต้องพาลูกไปเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาจากแพทย์
ลูก 1 ขวบท้องผูก รับมือยังไงดี
เด็กท้องผูก ส่วนใหญ่แล้วไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษาหรือรับการรักษาแบบเฉพาะทาง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การให้ลูกหมั่นเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ ดื่มน้ำอยู่บ่อย ๆ ก็จะช่วยให้อาการท้องผูกของลูกดีขึ้นได้
เว้นเสียแต่ว่าได้ลองหลายวิธีแล้วแต่อาการท้องผูกก็ไม่ดีขึ้น กรณีนี้ควรพาลูกไปเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาจากแพทย์
ลูก 3 ขวบท้องผูก บ่อย ๆ ทำยังไงได้บ้าง
หากลูกท้องผูกบ่อย ๆ หรือในหนึ่งสัปดาห์มีการขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้ง ควรพาลูกไปเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาจากแพทย์ เพราะอาจเสี่ยงต่อปัญหาท้องผูกเรื้อรังได้
ลูกท้องผูก 2 ขวบ ทำยังไงดี
เด็กท้องผูก ส่วนใหญ่แล้วไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษาหรือรับการรักษาแบบเฉพาะทาง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การให้ลูกหมั่นเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ ดื่มน้ำอยู่บ่อย ๆ ก็จะช่วยให้อาการท้องผูกของลูกดีขึ้นได้
เว้นเสียแต่ว่าได้ลองหลายวิธีแล้วแต่อาการท้องผูกก็ไม่ดีขึ้น กรณีนี้ควรพาลูกไปเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาจากแพทย์
ลูกท้องผูกบ่อย อันตรายหรือเปล่า
ลูกท้องผูกบ่อย ๆ นอกจากจะทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง ไม่สบายตัวแล้ว ยังเสี่ยงที่จะเป็นท้องผูกเรื้อรังด้วย หากลูกมีอาการท้องผูกบ่อย ควรพาลูกไปเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาจากแพทย์
ทารก 1 เดือน ท้องผูก น่ากังวลไหม
ปกติแล้วทารกวัย 1 เดือนมักจะไม่ค่อยมีอาการท้องผูกเกิดขึ้น มักจะมีการขับถ่ายบ่อยเสียด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม อาการเด็กท้องผูกวัย 1 เดือน ก็อาจจะมาจากความผิดปกติบางอย่างซึ่งทำให้ทารกท้องผูกจริง ๆ
หรือทารกบางคนเพียงแค่มีอาการถ่ายอุจจาระห่าง คืออาจจะมีการถ่ายเพียงครั้งเดียวใน 1-2 สัปดาห์ แต่อุจจาระมีลักษณะนุ่ม ไม่แข็งเป็นก้อน ลักษณะเช่นนี้ถือว่าปกติ ไม่ใช่อาการท้องผูก
อย่างไรก็ตาม โดยมากแล้วอาการเด็กท้องผูกมักไมค่อยน่ากังวลนัก เว้นเสียแต่ว่าทารกจะมีอาการท้องผูกบ่อย หรือท้องผูกต่อเนื่องกว่า 3 เดือน กรณีเช่นนี้อาจนำไปสู่ท้องผูกเรื้อรัง ควรพาลูกไปเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาจากแพทย์
ลูก 1 เดือน ไม่ถ่าย งอแง ทำยังไงดี
ลูก 1 เดือน ไม่ถ่าย งอแง อาจเป็นสัญญาณของอาการท้องผูก โดยปกติแล้ว เด็กทารกในช่วง 1 เดือนแรก ควรมีความถี่ในการขับถ่ายอย่างน้อยประมาณ 1 ครั้ง/วัน หากพบว่าทารกแรกเกิดไม่ถ่ายนานกว่านั้น แสดงว่าอาจจะมีอาการท้องผูก ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาต่อไป
- Tommy's. Your premature baby's digestion. [Online] Accessed https://www.tommys.org/pregnancy-information/premature-birth/premature-…. [7 November 2024]
- NSH. Constipation and bottle feeding. [Online] Accessed https://www.nhs.uk/start-for-life/baby/feeding-your-baby/bottle-feeding…. [7 November 2024]
- Minnesota Department of Health. Infant Formula Decision Tree. [Online] Accessed https://www.health.state.mn.us/docs/people/wic/localagency/formula/deci…. [7 November 2024]
- Mayo Clinic. What are the signs of infant constipation? And what's the best way to treat it?. [Online] Accessed https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/…. [19 April 2022]
- Nationwide Children’s Hospital. Constipation: Infant. [Online] Accessed https://www.nationwidechildrens.org/conditions/constipation-infant. [19 April 2022]
- WebMD. Your Baby's Bowels and Constipation. [Online] Accessed https://www.webmd.com/parenting/baby/baby-constipation. [19 April 2022]
- Pregnancy, Birth and Baby. Constipation in babies. [Online] Accessed https://www.pregnancybirthbaby.org.au/constipation-in-babies. [19 April 2022]
- คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. “ท้องผูกในเด็กทารก” ควรแก้ไขอย่างถูกวิธี. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/gallery/. [19 เมษายน 2022]
- โรงพยาบาลไทยนครินทร์. ‘ท้องผูกในเด็ก’ ปัญหาเรื้อรัง…ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://thainakarin.co.th/constipation-in-children/. [19 เมษายน 2022]
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
• ลูกอ้วก ไม่มีไข้ ไม่ท้องเสียเกิดจากอะไร ทำไมลูกอ้วกบ่อย
• ทารกท้องอืด ไม่สบายท้อง ร้องไห้โยเย แม่จ๋ารับมือยังไงดี
• ลูกร้องไห้ เพราะอาการโคลิก
• ลูกถ่ายเหลว ถ่ายบ่อย ถ่ายทันทีหลังกินนม แบบนี้ลูกท้องเสียใช่หรือเปล่า
• 9 เทคนิคลดอาการลูกแหวะนม
• ลูกอุจจาระสีเขียวขี้ม้าเหม็นปกติไหมและสาเหตุเกิดจากอะไร
• ลูกแหวะบ่อยเกิดจากอะไร แก้ไขอาการนี้อย่างไร
• ทารกอุจจาระมีมูก ลูกท้องเสียถ่ายมีมูกเลือด อันตรายหรือไม่?