ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เทคนิคลดอาการลูกแหวะนม

เทคนิคลดอาการลูกแหวะนม

ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

อาการลูกแหวะนม คือ อาการปกติของเด็กเล็กที่คุณแม่ทุกคนต้องเจอ เพราะเป็นอาการที่เกิดจากระบบการย่อยอาหารของเด็กเล็กที่ยังไม่สมบูรณ์ กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เป็นลิ้นที่อยู่ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารอาจยังปิดไม่สนิท เมื่อเด็กกินอาหารมากเกินกว่าที่กระเพาะอาหารจะรับได้ น้ำนมจึงไหลย้อนกลับ แม้ไม่ใช่อาการที่ร้ายแรงมากนัก แต่คุณแม่ก็ไม่ควรมองข้าม และอาการนี้ก็สร้างความกังวลใจให้คุณแม่ไม่น้อย ที่คุณแม่ควรรู้คืออาการแหวะนี้สามารถลดให้น้อยลงได้ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

9 เทคนิคลดอาการลูกแหวะนม

  1. พยายามให้ลูกกินนมก่อนที่เขาจะหิวมากเกินไป ความหิวจะทำให้ลูกกินมากและรีบกินเร็วกว่าปกติ จนอาจทำให้ลูกเกิดอาการแหวะนมได้
  2. ค่อยๆ ป้อนนมลูก อย่าเร่งรีบ การรีบกินจะทำให้ลูกกลืนอากาศเข้าไปในท้อง เสี่ยงต่อการแหวะนมออกมา
  3. ตั้งศีรษะลูกให้ตรงหรือสูงกว่าลำตัวขณะป้อนนม การนอนกินนมจะเสี่ยงต่อการเกิดอาการแหวะนมมากกว่า
  4. ไล่ลมให้ลูกทุกๆ 3-5 นาที ระหว่างป้อนนมและหลังมื้อนม
  5. หลังมื้อนมจับลูกนั่งตรงๆ 20-30 นาที ก่อนให้ลูกนอน
  6. ให้ลูกนอนตะแคงซ้าย เพื่อให้นมเข้าไปอยู่ในกระพุ้งกระเพาะก่อน เพื่อป้องกันนมให้ไม่ล้นจนไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร
  7. ห้ามลูกเคลื่อนไหวร่างกายหนักๆ แรงๆ หลังอิ่มอาหาร เพราะจะเสี่ยงต่อการเกิดอาการแหวะนมออกมา
  8. ถ้าเลี้ยงลูกด้วยขวดนม คุณแม่ควรมั่นใจว่าจุกนมไม่ใหญ่เกินไป ซึ่งจะทำให้น้ำนมไหลเร็วจนลูกลูกรีบดูดและดูดลมเข้าไปด้วย หรือจุกนมเล็กเกินไป ลูกก็จะดูดลมเขาไปแทนนม (ถ้านมหยดเพียง 2-3 หยด)  ในช่วงที่คุณแม่ลองทดสอบแสดงว่ารูจุกนมมีขนาดที่พอดีแล้ว
  9. หากแก้ไขทุกวิธีแล้วลูกยังมีอาการแหวะนมอยู่ คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อดูอาการและหาวิธีรักษาที่เหมาะสมต่อไป เช่น หากลูกกินนมผง อาจต้องพิจารณาเปลี่ยนนมสูตรที่เหมาะสมกับระบบย่อยและทางเดินอาหารของลูก เพราะนมที่ลูกแหวะออกมาจะเห็นได้ว่ามีเม็ดนมก้อนใหญ่ แสดงว่านมที่ลูกกินเมื่อถูกกรดและน้ำย่อยในกระเพาะได้เกิดเป็นเม็ดนมก้อนใหญ่ ซึ่งอาจผ่านไปสู่ลำไส้ได้ยาก จึงเหลือค้างอยู่ในกระเพาะลูกเสี่ยงต่อการไหลย้อนกลับเป็นอาการแหวะของทารกนั่นเอง 

Baby riding on mother's back


 

นมสูตรย่อยง่ายกับอาการแหวะนม

นมสูตรย่อยง่ายที่มีโปรตีนผ่านการย่อยบางส่วนนั้น เมื่อโปรตีนสัมผัสกับน้ำย่อยในกระเพาะจะเกิดเป็นเม็ดนมขนาดเล็กลง จึงผ่านลงไปในลำไส้ได้ง่าย ของเหลวจะไม่ค้างในกระเพาะจึงไม่ค่อยมีนมไหลย้อนกลับ ลูกจะไม่แหวะออกมา

นอกจากนี้นมสูตรย่อยง่าย เพื่อให้ทารกกินแล้วสบายท้องไม่ร้องโยเยนั้น ได้ปรับลดปริมาณน้ำตาลแลคโตสลง ซึ่งจะลดปัญหาในกรณีที่ทารกย่อยน้ำตาลแลคโตสได้จำกัด แต่ได้ปริมาณน้ำตาลแลคโตสเพียงพอสำหรับสมองของทารกที่กำลังเติบโต และยังช่วยให้จุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ทำงาน ทำให้อุจจาระเด็กนิ่มด้วย

อาการแหวะนมแบบไหนที่ควรกังวล?

แม้อาการแหวะนมจะเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน โดยเฉพาะในเด็กแรกเกิดที่ระบบการย่อยอาหารยังไม่สมบูรณ์ กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เป็นลิ้นอยู่ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารอาจยังปิดไม่สนิท หากคุณแม่ป้อนนมลูกจนอิ่มมากเกินไป ก็อาจทำให้น้ำนมที่อยู่ในกระเพาะไหลย้อนกลับขึ้นมาจนลูกต้องแหวะนม แต่มีอาการแหวะของทารกบางอย่างที่ที่ผิดปกติ เพราะอาจนำไปสู่อาการอื่นที่รุนแรงคือ อาการแหวะนมที่มีอาการมากจนลูกน้ำหนักไม่ขึ้น ลูกร้องไห้บ่อย ร้องกวนงอแง ไม่กินนมทั้งที่หิว ไอหรือสะอึกขณะดูดนม แหวะมีสีเหลือง น้ำดีหรือเลือดปน มีภาวะแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ สำลัก หายใจหอบ เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกรดไหลย้อน (GERD) คุณแม่ต้องนำลูกไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยให้ละเอียดต่อไปค่ะ

ลูกจะหยุดแหวะนมเมื่อไหร่?

เมื่อได้ใช้เทคนิคต่างๆ ดังกล่าวแล้ว คุณแม่ก็ไม่ควรกังวลใจมากเกินไป ขอให้ใจเย็นๆ ค่ะ เพราะปัญหาลูกแหวะนม โดยทั่วไปแล้วจะค่อยๆ ดีขึ้นในช่วง 6-7 เดือน ในกรณีที่ลูกแหวะนมมาก ก็อาจจะพบอาการนี้จนเด็กอายุ 10-12 เดือน แล้วอาการแหวะนมนี้ก็จะเริ่มน้อยลงในเดือนที่ 12 และมักจะหยุดเมื่ออายุ 18 เดือน ซึ่งเป็นเวลาที่ระบบการย่อยและระบบทางเดินอาหารของลูกน้อยแข็งแรงแล้ว

การดูแลอย่างใส่ใจจากคุณแม่ อาการแหวะนมของลูกจะค่อยๆ ลดลงได้ ที่สำคัญ คุณแม่ต้องใจเย็นและให้เวลากับร่างกายลูกในการเจริญเติบโตไปตามวัยด้วยนะคะ

Enfa Smart Club

Leaving page banner

 

Leaving page banner