Enfa สรุปให้
- อาการท้องเสียขณะตั้งครรภ์ เกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะการเปลี่ยนอาหาร ร่างกายไวต่ออาหารมากขึ้น อาหารเป็นพิษ ผลข้างเคียงจากวิตามินบำรุงครรภ์ และฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงในขณะตั้งครรภ์
- แต่โดยปกติแล้วอาการท้องเสียนั้นไม่ใช่อาการทางสุขภาพที่อันตรายร้ายแรง เว้นเสียแต่ว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์มีอาการท้องเสียติดต่อกันตั้งแต่ 2-3 วันขึ้นไปแล้วอาการไม่ดีขึ้น กรณีเช่นนี้อาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ได้ ควรรีบไปพบแพทย์
- บางครั้งอาการท้องเสียก็อาจหมายถึงสัญญาณใกล้คลอด ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ อาการท้องเสียเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนว่ากำลังจะมีการคลอดลูกเกิดขึ้น แต่...ก็ไม่ใช่ว่าการท้องเสียในไตรมาส 3 ทุกครั้งจะแปลว่าใกล้คลอดเสมอไป เพราะสัญญาณใกล้คลอดยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาควบคู่กันไป เช่น ปากมดลูกเปิด น้ำคร่ำแตก เป็นต้น
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• สาเหตุของอาการท้องเสียขณะตั้งครรภ์
• ท้องเสียขณะตั้งครรภ์มีอาการอะไรบ้าง
• ท้องเสียขณะตั้งครรภ์อันตรายไหม?
• ท้องเสียขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ควรดูแลตัวอย่างไรดี?
• ไขข้อข้องใจเรื่องคุณแม่ตั้งครรภ์ท้องเสียกับ Enfa Smart Club
ขณะตั้งครรภ์ระดับฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่จะมีความผันผวนและเปลี่ยนแปลง จึงมักส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นอาการแพ้ท้อง ความเครียด รวมถึงอาการท้องเสียขณะตั้งครรภ์ด้วย
อาการเช่นนี้โดยมากมักไม่ได้เป็นสัญญาณอันตราย แต่มักจะสร้างความรำคาญใจ หรือทำให้รู้สึกไม่สบายกายไม่สบายใจเสียมากกว่า บทความนี้จาก Enfa จะพาคุณแม่มาดูว่า แล้วมีกรณีไหนบ้างนะที่แม่ท้องท้องเสีย แล้วเสี่ยงอันตราย หรือท้องเสียขณะตั้งครรภ์แบบไหนที่ควรไปพบแพทย์
คนท้องท้องเสีย เกิดจากอะไร?
อาการท้องเสียขณะตั้งครรภ์ เกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น:
- เปลี่ยนอาหารตอนตั้งครรภ์ คุณแม่หลายคนต้องปรับเปลี่ยนการกินอาหารให้เหมาะกับการตั้งครรภ์มากขึ้น ซึ่งบางครั้งอาหารที่เปลี่ยนในช่วงนี้ก็อาจจะทำให้มีอาการท้องเสียได้
- ร่างกายไวต่ออาหารมากขึ้น เมื่อตั้งครรภ์ฮอร์โมนคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ความต้านทานต่อบางสิ่งบางอย่างในอาหารเกิดความอ่อนไหว หรือตอบสนองเร็วขึ้น อาหารบางอย่างที่เคยชอบกิน พอตั้งครรภ์แล้วก็อาจจะไม่ชอบ อาหารบางอย่างที่เคยกินได้ตามปกติ พอตั้งครรภ์กินแล้วก็อาจจะมีอาการท้องเสียตามมา
- อาหารเป็นพิษ คุณแม่อาจเผลอไปกินอาหารบางอย่างที่เกิดการปนเปื้อน หรือมีกรรมวิธีการปรุงที่ไม่สะอาดมากพอ ก็อาจจะทำให้เกิดการปนเปื้อนของไวรัสหรือแบคทีเรียที่ทำให้ท้องเสียได้ ขณะตั้งครรภ์จึงควรใส่ใจอาหารการกินมากเป็นพิเศษ นอกจากจะต้องเลือกอาหารที่หลากหลายและดีต่อสุขภาพแล้ว กรรมวิธีในการปรุงก็ควรจะต้องสุกและสะอาด เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และเด็กในท้อง
- วิตามินบำรุงครรภ์ คุณแม่บางคนอาจจะกินวิตามินเสริมเพื่อบำรุงครรภ์ ซึ่งวิตามินบางชนิดก็มีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ คุณแม่จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งที่จะกินวิตามินหรืออาหารเสริมเพื่อบำรุงครรภ์
- ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์ส่งผลต่อสุขภาพคุณแม่หลายประการ บางครั้งการผกผันของฮอร์โมนก็ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้า จนคุณแม่ท้องผูก แต่บางครั้งก็ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานเร็วกว่าปกติ จนทำให้คุณแม่ท้องเสีย
แม่ท้องท้องเสีย มีอาการอะไรบ่งบอกบ้าง?
คุณแม่สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นในกรณีที่มีอาการท้องเสียขณะตั้งครรภ์ได้ ดังนี้
- มีอาการท้องอืดบ่อย
- ปวดหน่วงที่ท้อง
- มีอาการปวดท้อง
- กลั้นอุจจาระไม่ค่อยได้
- อุจจาระบ่อยกว่าปกติ
ท้องเสียขณะตั้งครรภ์อันตรายไหม?
คุณแม่ที่ตั้งท้องครั้งแรกแล้วมีอาการท้องเสียบ่อย ก็อาจจะนึกสงสัยหรือเป็นกังวลว่าคนท้องท้องเสียอันตรายไหม? ท้องเสียตอนตั้งท้องผิดปกติหรือเปล่า?
โดยปกติแล้วอาการท้องเสียนั้นไม่ใช่อาการทางสุขภาพที่อันตรายร้ายแรง เว้นเสียแต่ว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์มีอาการท้องเสียติดต่อกันตั้งแต่ 2-3 วันขึ้นไปแล้วอาการไม่ดีขึ้น กรณีเช่นนี้อาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ได้ ควรรีบไปพบแพทย์หากอาการท้องเสียไม่ดีขึ้นเลย
แม่ตั้งครรภ์ท้องเสีย มีผลกระทบอะไรบ้าง?
เนื่องจากอาการท้องเสียขณะตั้งครรภ์ ไม่ใช่อาการทางสุขภาพที่รุนแรงจนน่าเป็นห่วงนัก โดยทั่วไปแล้วจึงไม่ค่อยมีอะไรที่จะต้องเป็นกังวล คนท้องสามารถมีอาการท้องเสียเมื่อไหร่ก็ได้ในขณะที่ตั้งครรภ์
การที่คนท้องท้องเสียขณะตั้งครรภ์อ่อน หรือคนท้องท้องเสียในช่วงไตรมาส 3 จึงถือว่าเป็นเรื่องทั่วไปที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ ไม่ควรปล่อยให้ท้องเสียต่อเนื่องยาวนาน เพราะจะส่งผลกระทบกับระดับเกลือแร่ในร่างกายของคุณแม่
อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาการท้องเสียในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ก็เป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนว่าอาจจะมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้น แต่...ก็ไม่ใช่ว่าการท้องเสียในไตรมาส 3 ทุกครั้งจะแปลว่าใกล้คลอดเสมอไป เพราะสัญญาณใกล้คลอดยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาควบคู่กันไป เช่น ปากมดลูกเปิด น้ำคร่ำแตก เป็นต้น
ท้องเสียตอนท้อง คุณแม่ควรดูแลตัวอย่างไรดี?
อาการท้องเสียขณะตั้งครรภ์ แม้จะไม่ได้มีอาการรุนแรงที่น่าเป็นห่วง แต่คุณแม่ก็ยังต้องดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอเมื่อมีอาการท้องเสียเกิดขึ้น
โดยคุณแม่ที่มีอาการท้องเสียสามารถดูแลสุขภาพได้ง่าย ๆ ดังนี้
- กินอาหารที่ย่อยง่าย เพื่อให้ร่างกายสามารถย่อยและขับถ่ายได้ง่ายขึ้น
- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด โดยเฉพาะอาหารที่รสเผ็ดจัด เพราะเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบย่อยอาหารและทำให้ท้องเสียรุนแรงขึ้นได้
- หลีกเลี่ยงการดื่มนม เพราะมีแนวโน้มที่จะทำให้อาการท้องเสียหนักขึ้นได้
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เพราะมีแนวโน้มที่จะทำให้อาการท้องเสียหนักขึ้นได้
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ อาการท้องเสียอาจนำไปสู่ภาวะขาดน้ำได้ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ คุณแม่จึงควรดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อทดแทนที่ร่างกายสูญเสียน้ำไปในขณะท้องเสีย
- กินยาตามที่แพทย์สั่ง คนท้องไม่ควรซื้อยามากินเองโดยไม่ปรึกษากับแพทย์ หากมีอาการท้องเสียควรซื้อยาตามที่แพทย์หรือเภสัชกรเห็นชอบเท่านั้น เพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากยาแก้ท้องเสีย
คนท้องท้องเสีย กินยาอะไรได้บ้าง?
แม่ท้องไม่ควรซื้อยาใด ๆ มากินเอง โดยที่ไม่ได้ปรึกษากับแพทย์ก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่ท้องที่มีอาการท้องเสีย ไม่ควรที่จะ:
- ไม่ควรซื้อยาแก้ท้องเสียมากินเอง
- ไม่ควรกินยาท้องเสียที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
- ไม่กินยาหยุดถ่าย เพราะยาที่ทำให้เกิดการหยุดถ่ายทันที อาจทำให้เชื้อโรคที่ทำให้ท้องเสียยังตกค้างอยู่ในร่างกาย และผลข้างเคียงของยาก็อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของแม่และเด็กในท้องได้
- ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียในการรักษาอาการท้องเสียเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน
ในกรณีที่มีอาการท้องเสียขณะตั้งครรภ์ แพทย์อาจสั่งจ่ายยาเป็นกรณี ๆ ไป โดยแพทย์อาจสั่งจ่ายยาฆ่าเชื้อ ในกรณีที่อาการท้องเสียนั้นเกิดจากการติดเชื้อไวรัส
คนท้องท้องเสีย กินเกลือแร่ได้ไหม?
อาการท้องเสียที่รุนแรงอาจนำไปสู่ภาวะขาดน้ำได้ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าเดิม คนท้องสามารถกินเกลือแร่สำหรับอาการท้องเสีย เพื่อช่วยทดแทนการสูญเสียน้ำในร่างกายจากอาการท้องเสีย
คนท้องท้องเสีย กินคาร์บอนได้ไหม?
ถึงแม้ว่าคาร์บอนจะมีส่วนช่วยบรรเทาอาการแก้ท้องเสีย แต่คนท้องไม่ควรซื้อยาแก้ท้องเสียมากินเอง ควรปรึกษากับแพทย์ก่อนว่ามีความปลอดภัยหรือไม่ หากแพทย์เห็นชอบก็สามารถกินได้ แต่ถ้าแพทย์พิจารณาแล้วไม่เห็นชอบ ก็ควรหลีกเลี่ยง
มากไปกว่านั้น คนท้องไม่ควรกินยาหยุดถ่าย เพราะยาที่ทำให้เกิดการหยุดถ่ายทันที อาจทำให้เชื้อโรคที่ทำให้ท้องเสียยังตกค้างอยู่ในร่างกาย และผลข้างเคียงของยาก็อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของแม่และเด็กในท้องได้
ท้องเสียขณะตั้งครรภ์ แล้วมีอาการแบบนี้ คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์
อาการท้องเสียตอนตั้งครรภ์ โดยมากแล้วมักไม่รุนแรงจนน่าวิตกกังวล แต่ถ้าหากคุณแม่มีอาการท้องเสียตอนตั้งครรภ์ ดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- ท้องเสียติดต่อกันตั้งแต่ 2-3 วัน และอาการไม่ดีขึ้น
- ท้องเสียและมีอาการปวดท้องเกร็งร่วมด้วย
- ขณะที่มีอาการท้องเสีย รู้สึกว่าลูกไม่ดิ้น ไม่เคลื่อนไหวเหมือนปกติ
- มีอาการของภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ผิวแห้ง อ่อนเพลีย
- ท้องเสีย และมีไข้
- ท้องเสีย และคลื่นไส้ อาเจียน
- มีเลือดปนออกมากับอุจจาระ
- ท้องเสียและมีอาการปวดท้องส่วนล่างร่วมด้วย
- ท้องเสีย และมีอาการใกล้คลอด เช่น น้ำคร่ำแตก ปากมดลูกเปิด มีเลือดไหลออกทางช่องคลอด
ไขข้อข้องใจเรื่องคุณแม่ตั้งครรภ์ท้องเสียกับ Enfa Smart Club
1. ท้องเสียตอนตั้งครรภ์ 8 เดือนอันตรายไหม?
อาการท้องเสีย ไม่ว่าจะท้องเสียในอายุครรภ์ที่เท่าไหร่ โดยมากมักไม่รุนแรงจนน่าวิตกกังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการท้องเสียตอนอายุครรภ์ 8 เดือน ซึ่งอยู่ในช่วงไตรมาสที่ 3 อาการท้องเสียในไตรมาสสุดท้ายนี้อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณของอาการใกล้คลอดได้
อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีอาการท้องเสียนานกว่า 1 - 2 วัน ควรรีบไปพบแพทย์
2. ท้องเสียตอนตั้งครรภ์ 9 เดือน อันตรายไหม?
อาการท้องเสีย ไม่ว่าจะท้องเสียในอายุครรภ์ที่เท่าไหร่ โดยมากมักไม่รุนแรงจนน่าวิตกกังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการท้องเสียตอนอายุครรภ์ 9 เดือน ซึ่งอยู่ในช่วงไตรมาสที่ 3 อาการท้องเสียในไตรมาสสุดท้ายนี้อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณของอาการใกล้คลอดได้
3. แม่ตั้งครรภ์ท้องเสีย ต้องไปหาหมอไหม?
อาการท้องเสียโดยมากแล้วจะดีขึ้นเองตามลำดับ ยกเว้นแต่ว่าเป็นอาการท้องเสียที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ คุณแม่อาจจำเป็นต้องไปพบแพทย์ หรือมีอาการท้องเสีย และมีอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
- ท้องเสียติดต่อกันตั้งแต่ 2-3 วัน และอาการไม่ดีขึ้น
- ท้องเสียและมีอาการปวดท้องเกร็งร่วมด้วย
- ขณะที่มีอาการท้องเสีย รู้สึกว่าลูกไม่ดิ้น ไม่เคลื่อนไหวเหมือนปกติ
- มีอาการของภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ผิวแห้ง อ่อนเพลีย
- ท้องเสีย และมีไข้
- ท้องเสีย และคลื่นไส้ อาเจียน
- มีเลือดปนออกมากับอุจจาระ
- ท้องเสียและมีอาการปวดท้องส่วนล่างร่วมด้วย
- ท้องเสีย และมีอาการใกล้คลอด เช่น น้ำคร่ำแตก ปากมดลูกเปิด มีเลือดไหลออกทางช่องคลอด
4. ปวดท้องเหมือนท้องเสียตอนตั้งครรภ์ อันตรายไหม?
หากมีปวดท้องคล้ายกับท้องเสีย สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งสาเหตุที่อันตรายและสาเหตุที่ไม่ต้องกังวล อย่างไรก็ตาม หากอาการปวดท้องไม่ดีขึ้นภายใน ควรไปพบแพทย์ทันที
5. คนท้องปวดท้องบิดกินยาอะไรได้บ้าง?
คนท้องไม่ควรซื้อยาใด ๆ มากินเองโดยที่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากแพทย์ ดังนั้น หากคุณแม่มีอาการท้องเสีย และมีอาการปวดท้องบิดร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและรับการรักษา
6. คนท้องท้องเสียกินสปอนเซอร์ได้ไหม?
สปอนเซอร์เป็นเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและเกลือแร่ คุณแม่จึงสามารถดื่มได้ เพียงแต่ควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่มากจนเกินไป และควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย เพื่อสุขภาพที่ดีของแม่และทารกในครรภ์
7. ท้องเสียหลังทำ IVF อันตรายไหม?
การทำ IVF หรือการทำเด็กหลอดแก้ว หากมีอาการท้องเสียเกิดขึ้นภายหลังก็ไม่ถือว่าเป็นอาการทางสุขภาพที่น่ากังวล เว้นเสียแต่ว่าเป็นอาการท้องเสียที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส หรือมีอาการท้องเสีย และมีอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
- ท้องเสียติดต่อกันตั้งแต่ 2-3 วัน และอาการไม่ดีขึ้น
- ท้องเสียและมีอาการปวดท้องเกร็งร่วมด้วย
- ขณะที่มีอาการท้องเสีย รู้สึกว่าลูกไม่ดิ้น ไม่เคลื่อนไหวเหมือนปกติ
- มีอาการของภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ผิวแห้ง อ่อนเพลีย
- ท้องเสีย และมีไข้
- ท้องเสีย และคลื่นไส้ อาเจียน
- มีเลือดปนออกมากับอุจจาระ
- ท้องเสียและมีอาการปวดท้องส่วนล่างร่วมด้วย
- ท้องเสีย และมีอาการใกล้คลอด เช่น น้ำคร่ำแตก ปากมดลูกเปิด มีเลือดไหลออกทางช่องคลอด
8. คนท้องท้องเสียช่วงไตรมาส 2 อันตรายไหม?
อาการท้องเสีย ไม่ว่าจะท้องเสียในอายุครรภ์ที่เท่าไหร่ โดยมากมักไม่รุนแรงจนน่าวิตกกังวล เว้นเสียแต่ว่าเป็นอาการท้องเสียที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส หรือมีอาการท้องเสีย และมีอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
- ท้องเสียติดต่อกันตั้งแต่ 2-3 วัน และอาการไม่ดีขึ้น
- ท้องเสียและมีอาการปวดท้องเกร็งร่วมด้วย
- ขณะที่มีอาการท้องเสีย รู้สึกว่าลูกไม่ดิ้น ไม่เคลื่อนไหวเหมือนปกติ
- มีอาการของภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ผิวแห้ง อ่อนเพลีย
- ท้องเสีย และมีไข้
- ท้องเสีย และคลื่นไส้ อาเจียน
- มีเลือดปนออกมากับอุจจาระ
- ท้องเสียและมีอาการปวดท้องส่วนล่างร่วมด้วย
- ท้องเสีย และมีอาการใกล้คลอด เช่น น้ำคร่ำแตก ปากมดลูกเปิด มีเลือดไหลออกทางช่องคลอด
9. คนท้องท้องเสีย ปวดท้อง กินยาอะไรได้บ้าง?
คุณแม่ที่ท้องเสียตอนท้องสามารถดื่มเกลือแร่เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำของร่างกายและลดความเสี่ยงของภาวะขาดน้ำได้ แต่ยาต่าง ๆ ที่จะใช้รักษาอาการปวดท้องและท้องเสีย ควรได้รับความเห็นชอบจากแพทย์และเภสัชกรเสียก่อน ไม่ควรซื้อยาแก้ปวดท้องและท้องเสียนมากินเอง เพราะยาที่ทำให้เกิดการหยุดถ่ายทันที อาจทำให้เชื้อโรคที่ทำให้ท้องเสียยังตกค้างอยู่ในร่างกาย และผลข้างเคียงของยาก็อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของแม่และเด็กในท้องได้
- Healthline. Remedies for Diarrhea During Pregnancy. [Online] Accessed https://www.healthline.com/health/pregnancy/diarrhea-remedies. [27 May 2022]
- Verywell Family. How Diarrhea Happens During Pregnancy. [Online] Accessed https://www.verywellfamily.com/diarrhea-in-pregnancy-4163950. [27 May 2022]
- What to Expect. Diarrhea During Pregnancy. [Online] Accessed https://www.whattoexpect.com/pregnancy/symptoms-and-solutions/pregnancy-diarrhea.aspx. [27 May 2022]
- American Pregnancy Association. Diarrhea in Pregnancy. [Online] Accessed https://americanpregnancy.org/healthy-pregnancy/is-it-safe/diarrhea-in-pregnancy/. [27 May 2022]
- โรงพยาบาลพญาไท. คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องเสีย รับมือได้อย่างไรบ้าง. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.phyathai.com/article_detail/3508/th/. [27 พฤษภาคม 2022]
- HD Mall. คนท้องกินสปอนซ์เซอร์ได้หรือเปล่าคะ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://hd.co.th/ask/1592301. [27 พฤษภาคม 2022]
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์