ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ฉันท้องหรือเปล่านะ? อาการท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร

อาการท้องไม่รู้ตัวเกิดจากอะไร จะสังเกตได้อย่างไรบ้าง

Enfa สรุปให้

  • อาการท้องไม่รู้ตัวสามารถเกิดขึ้นได้และเกิดขึ้นบ่อยครั้งในผู้หญิง โดยสาเหตุหลัก ๆ เกิดจากการที่ไม่ได้รับรู้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ซึ่งอาจจจะเกิดจากไม่มีอาการคนท้องเตือนเกิดขึ้นให้สังเกตได้ชัด ทำให้เข้าใจว่าตัวเองไม่ได้ตั้งครรภ์
  • อาการคนท้องไม่รู้ตัวทำให้คุณแม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ได้ช้า ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่และสุขภาพของทารกในครรภ์ เนื่องจากไม่ได้ทำการฝากครรภ์เพื่อติดตามพัฒนาการและสุขภาพอย่างเหมาะสม รวมทั้งอาจจะเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา อาทิ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ การแท้งบุตร เป็นต้น
  • อาการคนท้องที่สามารถสังเกตได้ เพื่อป้องกันอาการท้องไม่รู้ตัว เช่น ประจำเดือนขาด น้ำหนักขึ้น อารมณ์แปรปรวน ปัสสาวะบ่อยครั้ง คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • อาการท้องไม่รู้ตัวเกิดจาดอะไร
     • ข้อแนะนำการใช้ที่ตรวจครรภ์
     • อาการคนท้องที่สามารสังเกตได้

หนึ่งในคำถามที่ผู้หญิงมักถามตัวเองและเกิดข้อสงสัย เมื่อประจำเดือนขาดคือ "ฉันท้องหรือเปล่า?" อาการท้องไม่รู้ตัว เป็นสิ่งที่พบเจอได้ในคุณแม่ท้องแรก คือ ไม่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ตั้งแต่เมื่อไหร่ มารู้ตัวอีกทีก็ตั้งครรภ์ได้หลายเดือนแล้ว หรือบางคนอาจรู้ตัวตอนใกล้ถึงกำหนดคลอดแล้วก็เป็นได้

อาการนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่พบได้ค่อนข้างบ่อย หากละเลย อาจทำให้ไม่สามารถดูแลครรภ์ และติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้อย่างเหมาะสม อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะครรภ์เป็นพิษ การแท้งบุตร เป็นต้น อาการท้องไม่รู้ตัวจะมีสัญญาณหรืออาการอะไรบ้างที่บ่งบอกว่า คุณอาจกำลังตั้งครรภ์ เราไปหาคำตอบกันเลย

อาการท้องไม่รู้ตัว เกิดจากอะไร?


1. ไม่รู้สึกถึงความผิดปกติของร่างกาย

ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่ อาจไม่ได้เปลี่ยนแปลงชัดเจนจนคุณแม่สังเกตเห็นได้ หรือคุณแม่บางคนอาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดเลยก็ได้ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะเมื่อเป็นคุณแม่มือใหม่ ที่ไม่มีประสบการณ์ในการตั้งครรภ์มาก่อน

พอร่างกายเกิดความผิดปกติใด ๆ ขึ้น จึงมักคิดว่าเป็นเพราะสาเหตุอื่น ไม่ได้คิดว่าเกิดจากการตั้งครรภ์ เช่น พอเกิดอาการแพ้ท้อง อย่างอาการปวดศีรษะ เหนื่อยล้า คลื่นไส้อาเจียน ก็คิดว่าเป็นเพราะเครียด กระเพาะอาหารอักเสบ บางคนอาจหิวบ่อยก็คิดว่าแค่เพราะเหนื่อยล้าหรือใกล้เป็นประจำเดือน คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนมีขนาดหน้าท้องเล็กมาก เลยดูไม่ออกว่าท้องหรือพุงจนคิดว่าเป็นเพราะตัวเองอ้วน ไม่ใช่เพราะตั้งครรภ์

2. ประจำเดือนขาด แต่คิดว่าเกิดจากสาเหตุอื่น

หากเราจะถือว่า ภาวะประจำเดือนขาด เป็นสัญญาณแรกของการตั้งครรภ์ก็คงไม่ผิด เพราะส่วนใหญ่แล้ว พอประจำเดือนขาด ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือ ประจำเดือนมาไม่ตรงตามรอบเดือนปกติ ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ ก็มักจะคิดว่าตัวเองตั้งครรภ์แล้วแน่ ๆ

แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีผู้หญิงส่วนหนึ่งที่ถึงแม้ตัวเองจะเสี่ยงตั้งครรภ์ แต่ก็ยังมองข้ามสัญญาณนี้ไป และคิดว่า ที่ประจำเดือนไม่ปกติ เป็นเพราะสาเหตุอื่น เช่น การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ความอ่อนเพลีย ความเครียด การรับประทานยาบางชนิดที่มีผลต่อประจำเดือน จนสุดท้ายกว่าจะรู้ตัว ก็ตั้งครรภ์หลายเดือนแล้ว และไม่ได้ดูแลครรภ์ตามอายุครรภ์อย่างเหมาะสม

3. ผลตรวจครรภ์ผิดพลาด

ผู้หญิงหลายคนอาจสัมผัสได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และคิดว่าตัวเองอาจตั้งครรภ์ จึงซื้อที่ตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง หรือชุดทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยปัสสาวะ (Urine Pregnancy Test) มาตรวจเองที่บ้าน

ข้อดีของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ หาซื้อง่าย ราคาถูก ใช้ได้ง่ายที่บ้าน และมีหลายแบบให้เลือกใช้ แต่ก็ยังมีข้อเสีย คือ ผลตรวจการตั้งครรภ์ที่ได้อาจไม่ตรงตามความเป็นจริงเสมอไป หรือที่เรียกว่า ผลตรวจครรภ์ผิดพลาด หรือผลตรวจครรภ์เป็นเท็จ เนื่องจากหลายสาเหตุ อาทิ

  • ตรวจครรภ์เร็วเกินไป จนทำให้ฮอร์โมนที่บ่งบอกถึงการตั้งครรภ์ อย่างฮอร์โมน HCG หรือ Human Chorionic Gonadotropin ในปัสสาวะมีปริมาณน้อยเกินไป จนชุดตรวจไม่สามารถตรวจวัดได้ และแสดงผลตรวจออกมาว่า ไม่ตั้งครรภ์ ทั้ง ๆ ที่คุณตั้งครรภ์อยู่ ฉะนั้น เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจการตั้งครรภ์ แนะนำให้คุณตรวจหลังมีเพศสัมพันธ์แล้ว 8-14 วัน และตรวจในช่วงเช้าหลังตื่นนอน เพราะจะมีปริมาณฮอร์โมนนี้ในปัสสาวะสูงสุด หากไม่แน่ใจผลตรวจ ควรรอประมาณ 2-3 วันหรือ 1 สัปดาห์ แล้วค่อยตรวจใหม่อีกครั้ง
  • ชุดทดสอบการตั้งครรภ์แต่ละยี่ห้อมีความไวต่อการตรวจหาฮอร์โมน HCG หรือ Human Chorionic Gonadotropin ต่างกัน หากชุดทดสอบนั้นมีความไวน้อย อาจทำให้ผลออกมาว่าไม่ตั้งครรภ์ได้
  • ความเข้มข้นของปัสสาวะก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการตรวจตั้งครรภ์เช่นกัน หากน้ำปัสสาวะเจือจางจากการดื่มน้ำมากเกินไปก่อนตรวจ อาจทำให้ความเข้มข้นของฮอร์โมนในปัสสาวะน้อยลงจนไม่สามารถตรวจวัดได้

ข้อแนะนำในการใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง

          1. ควรเก็บชุดทดสอบการตั้งครรภ์ที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงความชื้น และอุณหภูมิร้อนจัด หากแกะชุดทดสอบการตั้งครรภ์ออกจากบรรจุภัณฑ์แล้ว ควรใช้งานทันที เพื่อป้องกันความผิดพลาดของการตรวจ และอาจเกิดอาการท้องไม่รู้ตัวได้
          2. ควรตรวจสอบวันหมดอายุของชุดทดสอบการตั้งครรภ์ก่อนการใช้งาน ไม่ควรใช้ชุดทดสอบที่หมดอายุแล้ว
          3. อ่านวิธีใช้และคำแนะนำอย่างละเอียดทุกครั้งก่อนใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์
          4. ควรตรวจการตั้งครรภ์เมื่อจะปัสสาวะครั้งแรกในตอนเช้า เพราะฮอร์โมน HCG ในปัสสาวะจะเข้มข้นกว่าช่วงอื่นของวัน หากตรวจช่วงเวลาอื่นอาจจะได้ผลที่ไม่ชัดเจน
          5. การใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์เป็นเพียงการทดสอบเบื้องต้นเท่านั้น คุณควรรับการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้ผลตรวจที่แม่นยำมากขึ้น

วิธีสังเกตว่าท้อง หรือไม่? ลักษณะท้องของคนท้องเบื้องต้น

สามารถลองตรวจอาการคนท้องระยะแรกที่พบได้บ่อย เช่น

  • ประจำเดือนขาด
  • น้ำหนักขึ้น
  • อารมณ์แปรปรวน
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดหลังส่วนล่าง
  • เจ็บหน้าอก
  • บริเวณปานนม หรือรอบหัวนมมีสีเข้มขึ้น
  • คลื่นไส้ อาเจียน

กดท้องยังไงให้รู้ว่าท้อง?

การกดท้องให้ทราบว่าตั้งครรภ์หรือไม่ ปกติแล้วมีความเสี่ยงถ้าจะทำเอง แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่พบแพทย์ผู้เชียวชาญในการตรวจจะปลอดภัยกว่าค่ะ เนื่องการกดเช็คในคนท้องนั้นต้องกดท้องค่อนข้างลึก เพราะในคนท้องมดลูกจะยกสูงขึ้นทำให้เป็นเหตุผลว่า ในคนที่ท้องเริ่มโตทำให้คุณแม่แน่นท้อง และท้องอืดง่ายนั่นเองค่ะ

ผู้หญิงที่มีโอกาสตั้งครรภ์ ควรหมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของตัวเองเป็นประจำ หากพบความผิดปกติใด ๆ แนะนำให้เข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาอย่างถูกต้อง

เพราะหากแพทย์พบว่าคุณตั้งครรภ์ ทั้งคุณและแพทย์จะได้ดูแลสุขภาพของคุณและลูกน้อยในครรภ์ได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว เพียงเท่านี้ปัญหาเรื่องอาการคนท้องไม่รู้ตัวก็จะหมดไป



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

     • สังเกต 20 อาการคนท้อง และอาการคนท้องระยะแรก 1-2 สัปดาห์
     • ภูมิแพ้ในเด็ก คุณแม่ควรรับมืออย่างไรเมื่อลูกน้อยเป็นภูมิแพ้
     • อาการแพ้ท้อง รับมืออย่างไรให้ไม่แพ้
     • อาการเจ็บเต้านม ปวดเต้านมตอนท้องแบบนี้ ปกติหรือควรระวัง
     • อาการใกล้คลอด สังเกตทัน รับมือได้
     • แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่ติดเชื้อ
     • ปวดท้องน้อยหลังคลอด ผิดปกติไหม อันตรายหรือเปล่า?
     • วัคซีนเด็ก 2567 ตัวไหนต้องฉีด ตัวไหนต้องเสริม มาดูกัน
     • สฟิงโกไมอีลิน สารอาหารในนมแม่ที่เป็นส่วนหนึ่งของ MFGM
     • ผ่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ เตรียมตัวยังไง ใช้สิทธิ์อะไรได้บ้างนะ
     • ปล่อยในตอนเป็นเมนส์ ท้องไหม? เผลอฝ่าไฟแดงไป ทำยังไงดี

บทความที่แนะนำ

อาการคนท้อง-อาการแพ้ท้อง
Enfa Smart Club

Leaving page banner