Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมเก็บสำรองไว้อย่างเพียงพอ ประหยัดเวลา และไม่ต้องกังวลว่าจะให้นมลูกไม่ได้ในช่วงเวลาที่เร่งรีบ เรากำลังพูดถึงการ ปั๊มนม ทางเลือกที่ช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมเก็บสำรองไว้ และสามารถให้นมทารกเมื่อไหร่ก็ได้ โดยที่คุณแม่ไม่จำเป็นต้องอยู่คอยป้อนนมให้เจ้าตัวเล็กตลอดเวลา สามารถให้คนอื่นช่วยป้อนได้เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่เร่งรีบหรือยุ่งกับการทำงาน แต่ปั๊มนมคืออะไร คุณแม่ควรเริ่มทำการปั๊มนมเมื่อไหร่ วิธีปั๊มนมที่ถูกต้องเป็นอย่างไร เรามาติดตามกันที่บทความนี้ได้เลยค่ะ
ปั๊มนม หรือปั๊มนมแม่ (Pumping Breast Milk) คือ วิธีการเก็บสำรองน้ำนมแม่สำหรับใช้ป้อนนมลูก โดยจะปั๊มเอาน้ำนมออกจากเต้ามาเก็บใส่ไว้ในขวดหรือถุงสำหรับจัดเก็บน้ำนมแม่ แล้วนำไปแช่ไว้ในตู้เย็น การปั๊มนมจะช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมเพียงพอที่จะป้อนทารกในแต่ละวัน ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาในการให้นมลูก ไม่ต้องคอยกังวลว่าจะต้องเสียเวลาให้นมลูกและไม่ทันไปทำงาน เพราะเมื่อปั๊มนมไว้แล้ว ก็สามารถให้คนอื่นมาป้อนนมให้กับทารกได้ ซึ่งการปั๊มนมก็สามารถที่จะปั๊มได้เองโดยการใช้มือบีบเอง ใช้เครื่องปั๊มนมทั่วไป หรือจะใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า ก็สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมและความสะดวกของคุณแม่
แม่แต่ละคนเริ่มต้นการปั๊มนมไม่เหมือนกัน แม่บางคนอาจจะเริ่มปั๊มนมตั้งแต่หลังคลอดทันที บางคนอาจรอหลังคลอดผ่านไปแล้ว 2-3 สัปดาห์ ขณะที่แม่อีกหลายคนเลือกที่จะเริ่มปั๊มนมเมื่อถึงเวลาที่จะต้องกลับไปทำงาน
เป็นอันว่า การเริ่มต้นปั๊มนมนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการและความพร้อมของคุณแม่ล้วน ๆ แต่สิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืมเลยก็คือ เมื่อทารกอายุได้ 4-6 สัปดาห์ ทารกจะเริ่มกินนมเยอะขึ้น และน้ำนมแม่ควรจะมีเพียงพอที่จะป้อนให้กับทารกได้ตลอดเวลา ดังนั้น อาจจะเริ่มปั๊มนมจากช่วงเวลานี้เป็นต้นไปก็ได้ หรือจะเริ่มก่อนหน้านั้นก็ได้เช่นกัน ไม่มีถูก ไม่มีผิด
การปั๊มนมสำคัญทั้งต่อแม่และทารก ทั้งสองชีวิตจะได้ประโยชน์ร่วมกันจากการปั๊มนม สำหรับทารกแล้ว การปั๊มนมจะช่วยให้ทารกได้กินนมอย่างเพียงพอ ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนจากการกินนมแม่ โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรก ทารกจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับนมแม่อย่างเพียงพอ เพื่อให้เติบโตได้อย่างแข็งแรงและสมวัย และมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง เพราะสารอาหารในนมแม่มีส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของทารก ส่วนคุณแม่เองก็ได้ประโยชน์โดยตรงจากในเรื่องของการประหยัดเวลาให้นมลูก แถมไม่ต้องกังวลว่าจะหาเวลามาให้นมลูกไม่ได้ เพราะเมื่อนมถูกปั๊มใส่ขวดไปแล้ว ก็สามารถไหว้วานคนใกล้ตัวให้ช่วยป้อนนมเจ้าตัวเล็กได้ ไม่กระทบงาน แล้วก็ไม่กระทบกับสุขภาพของลูกน้อย ไม่ต้องห่วงว่าเจ้าตัวเล็กจะหิวนมหรือกินนมไม่พอ
คุณแม่ไม่ควรพลาดการปั๊มนมในช่วงแรกที่น้ำนมเพิ่งเริ่มไหล หรือที่เรียกกันว่า น้ำนมระยะแรก หรือ น้ำนมเหลือง น้ำนมเหลืองมีลักษณะเป็นสีเหลืองเข้ม ซึ่งจะไหลออกมาเพียงแค่ 1-3 วันแรกหลังคลอด เป็นน้ำนมที่พบแลคโตเฟอร์รินปริมาณสูงที่สุด ซึ่งแลคโตเฟอร์ริน คือ โปรตีนในนมแม่ที่มีคุณสมบัติส่งเสริมภูมิคุ้มกัน โดยการออกฤทธิ์ในลำไส้เพื่อต่อต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา จึงช่วยป้องกันลูกน้อยจากอาการเจ็บป่วย
วิธีปั๊มนมนั้น ไม่ได้ยากเกินจนแม่มือใหม่จะทำไม่ได้ แค่เพียงรู้สึกว่าพร้อมแล้วที่จะเริ่มปั๊มนม ก็สามารถลงมือปั๊มนมได้เลยทันที โดยมีวิธีปั๊มนมพื้นฐาน ดังนี้
โดยทั่วไปแล้วการปั๊มนมด้วยมือจะใช้เวลาตั้งแต่ 10-15 นาที แต่ถ้าอยู่ในภาวะเร่งรีบหรือไม่สะดวก หรือต้องปั๊มนมในที่ทำงาน การใช้ที่ปั๊มนมหรือเครื่องปั๊มนม ก็อาจจะใช้เวลาน้อยกว่านั้น
หลังจากนมแม่ปั๊มใส่ขวดหรือถุงนมแล้ว จะมีระยะเวลาของการเก็บนมแม่ที่แตกต่างกัน ดังนี้
การบีบน้ำนมด้วยมือนั้น เป็นการปั๊มนมที่เบสิกที่สุด โดยคุณแม่สามารถทำเองได้ง่าย ๆ ดังนี้
คุณแม่บางคนอาจจะไม่สะดวกที่จะต้องมานั่งใช้มือบีบเต้าเพื่อปั๊มนมเอง อาจจะไม่สะดวกด้วยเรื่องของเวลาหรือสถานที่ การใช้ที่ปั๊มนมก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสม เพราะช่วยให้ปั๊มนมได้เร็วขึ้น และสะดวกในการใช้งานในสถานการณ์ที่อาจจะไม่เอื้ออำนวยให้นั่งปั๊มนมได้นาน ๆ
ซึ่งวิธีใช้เครื่องปั๊มนม ก็ไม่ยาก เพราะมีคู่มือการใช้งานบอกไว้ละเอียด และมีวิธีปั๊มดังนี้
เพื่อให้สามารถปั๊มนมได้มากที่สุด และป้องกันไม่ให้มีน้ำนมไหลซึมระหว่างวัน คุณแม่สามารถปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้าได้ ดังนี้
วิธีดูว่าแม่ปั๊มนมเกลี้ยงเต้าแล้วหรือยังนั้นให้สังเกตจากการไหลของน้ำนม หากน้ำนมเริ่มไหลน้อยลงก็ให้สลับไปปั๊มอีกข้างหนึ่ง สลับไปสลับมาจนน้ำนมจะเริ่มไหลช้ามาก ๆ หรือหยุดไหลไปเลย จึงหยุดการปั๊มนม แล้วบรรจุนมลงภาชนะเก็บนม แช่ตู้เย็นให้เรียบร้อย
รอบปั๊มนมของแม่แต่ละคนจะแตกต่างกันออกไปตามความสะดวกของคุณแม่ และไลฟ์สไตล์การทำงานหรือการใช้ชีวิต ซึ่งบางครั้งก็อาจจำเป็นจะต้องลองผิดลองถูก จนกว่าจะพบช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการปั๊มนมที่เหมาะกับคุณแม่แต่ละคน
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วคุณแม่สามารถที่จะใช้รอบปั๊มนมพื้นฐานได้ ดังนี้
โดยทั่วไปแล้วการปั๊มนมในแต่ละครั้งจะใช้เวลาตั้งแต่ 10-15 นาที ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสะอวดของแม่แต่ละคน บางคนอาจอยู่ในสถานการณ์ที่เร่งรีบ ก็อาจจะปั๊มแค่ 10 นาที โดยเฉพาะถ้าใช้เครื่องปั๊มนมก็จะใช้เวลาน้อยลง สิ่งสำคัญคือให้ได้ปริมาณน้ำนมที่เหมาะสมในแต่ละครั้ง
รอบในการปั๊มนมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอาจเว้นว่างแค่ 2 ชั่วโมงแล้วจึงปั๊มหนึ่งครั้ง แต่บางคนก็อาจจะเว้นนานถึง 5 ชั่วโมงแล้วจึงปั๊มหนึ่งครั้งก็ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน
หากมีอาการเจ็บหัวนม ควรดูแลให้หัวนมหายดีก่อน และเวลาปั๊มนมในแต่ละครั้งไม่ควรกดหรือบีบที่หัวนมและลานนมแรงเกินไป เพราะเสี่ยงจะทำให้เกิดการบาดเจ็บ และเสี่ยงที่จะทำให้น้ำนมไหลออกมาน้อย
หากตกรอบปั๊มนมไปแล้ว ให้เตรียมพร้อมและรอปั๊มในรอบใหม่ได้เลย โดยไม่ต้องกังวลกับรอบที่ลืมไป
แม่แต่ละคนปั๊มน้ำนมได้ไม่เท่ากัน เนื่องจากปัจจัยในการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน อาหารการกินต่างกัน การพักผ่อนต่างกัน ปริมาณน้ำนมจึงต่างกันไปด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วสำหรับเด็กทารกที่อายุ 1-6 เดือน จะต้องกินนมต่อวัน วันละ 25-30 ออนซ์ คุณแม่จึงควรปั๊มนมให้ได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของทารก
การปั๊มนมขึ้นอยู่กับความต้องการและความพร้อมของคุณแม่เป็นสำคัญ แม้ลูกจะเข้าเต้าแล้ว แต่ถ้าต้องกลับไปทำงาน หรือมีภารกิจอื่น ๆ ที่เร่งรีบ การปั๊มนมก็จะช่วยให้ทารกได้มีนมไว้กินอย่างเพียงพอ ดังนั้น การปั๊มนมจึงไม่ได้อยู่ที่ว่าลูกเข้าเต้าแล้วหรือยัง แต่อยู่ที่ว่าปัจจัยในการเลี้ยงลูกของคุณแม่เป็นอย่างไร
หากลูกเข้าเต้าแล้ว คุณแม่จะตัดสินใจปั๊มหรือไม่ปั๊มนมเลยก็ได้ แต่ถ้าลูกเข้าเต้าแล้ว และคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน การปั๊มนมสำรองเก็บไว้ ก็จะช่วยให้ทารกมีนมไว้กินอย่างเพียงพอ และคุณแม่ไม่ต้องกังวลเรื่องการให้นมด้วย เพราะสามารถให้คนอื่นป้อนนมแทนได้ขณะที่กลับไปทำงาน
เนื่องจากตารางการทำงานของแม่แต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ที่ทำงานมีความยืดหยุ่นต่างกัน ดังนั้น ตารางการปั๊มนมสำหรับแม่ที่ทำงานจึงจะแตกต่างกันออกไป บางคนอาจปั๊มรอบน้อย หรือมีรอบปั๊มที่ถี่ ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของคุณแม่และการทำงานของคุณแม่เป็นสำคัญ
Enfa สรุปให้ ไวท์ดอทไม่ได้ท้อง ก็สามารถเกิดไวท์ดอทที่หัวนมได้ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนในร่างก...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกซัดอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ไฟเบอร์ โปรตีน ธาตุเหล็ก วิตามินบี แมกนี...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อ