Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
หลังจากปั๊มนมแล้ว สิ่งสำคัญต่อมาที่คุณแม่ไม่ควรมองข้ามเลยก็คือ การเก็บนมแม่ เพื่อให้นมแม่สามารถอยู่ได้นาน และมีเพียงพอที่จะป้อนเจ้าตัวเล็กได้ตลอดทั้งวันน แต่วิธีเก็บนมแม่ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร การเก็บน้ำนมแบบไหนที่ไม่ควรทำ บทความนี้จาก Enfa มีสาระดี ๆ เกี่ยวกับการเก็บนมแม่มาฝากค่ะ
การเก็บน้ำนมให้เรียบร้อย เก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสม และเก็บในบรรจุภัณฑ์ที่มิชิดหลังจากปั๊มนมเสร็จแล้ว เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่คุณแม่ควรใส่ใจอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้น้ำนมยังคงคุณภาพเหมือนเมื่อแรกปั๊มออกจากเต้านม เพื่อให้อายุนมแม่สามารถอยู่ได้นานขึ้น และทารกมีนมแม่ให้กินมากพอในแต่ละวัน
เพื่อให้นมแม่ยังคงคุณภาพ และอายุนมแม่สามารถเก็บไว้ได้นาน คุณแม่ควรปฏิบัติตามวิธีเก็บน้ำนม ดังนี้
คุณแม่หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วจะมีวิธีสต๊อคนมแม่ให้เก็บได้นาน ๆ ไม่ต้องคอยปั๊มใหม่บ่อย ๆ ซึ่งสิ่งสำคัญสำหรับการเก็บนมแม่นั้น ไม่ได้อยู่ที่ว่าจะมีวิธีแพคนมแม่แช่แข็งอย่างไร หรือจะเก็บน้ำนมลงในถุงอย่างไร เพราะวิธีเก็บนมแม่ลงถุงนมหรือขวดนมนั้นก็ไม่ต่างกันสักเท่าไหร่ คือพยายามไล่ลมออกจากถุงก่อนปิดฝา และปิดฝาให้สนิท
แต่...สิ่งสำคัญของการเก็บนมใส่ถุงขึ้นอยู่กับบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการเก็บนมมากว่า หากเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ดี ทำจากวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน ฝาปิดไม่แน่น มีการชำรุดหรือหมดอายุการใช้งาน ต่อให้คุณแม่จะมีท่วงท่าในการบีบนมหรือเก็บนมลงถุงที่ดีเลิศแค่ไหน น้ำนมแม่ก็จะเสียคุณภาพไปเพราะบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานอยู่ดี
ดังนั้น วิธีเก็บน้ำนมใส่ถุงที่ดีที่สุด คือเก็บน้ำนมแม่ลงในถุงนมหรือขวดนมที่ได้มาตรฐานเท่านั้น
ถุงนมสามารถใช้ซ้ำกันได้ แต่ใช้ซ้ำในที่นี้คือใช้ซ้ำของตัวเอง ไม่ใช่เอาของคนอื่นมาใช้ซ้ำ ข้อสำคัญคือต้องล้างถุงเก็บนมหรือขวดนมให้สะอาดก่อนจะนำมาใช้เก็บนมทุกครั้ง เพื่อป้องกันเชื้อโรค แบคทีเรีย หรือสิ่งสกปรกต่าง ๆ
และนมที่ต่างรอบกัน ไม่ควรเก็บไว้ในถุงเดียวกัน ควรแยกให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการสับสน อีกทั้งการแยกถุงน้ำนมยังจะทำให้เห็นด้วยว่า ช่วงไหนที่น้ำนมคุณแม่มาน้อย หรือไหลเป็นปกติ ทำให้สามารถสังเกตความผิดปกติทางสุขภาพของตนเองได้เร็วขึ้น
วิธีการเขียนถุงเก็บนมหรือเขียนฉลากติดขวดนมนั้นก็ง่ายมาก เพียงแค่คุณแม่ระบุวันและเวลาที่ปั๊มนมลงไปให้ชัดเจน สิ่งสำคัญคือต้องไม่ลืมว่าควรใช้ฉลากติดบรรจุภัณฑ์และน้ำหมึกที่จะใช้เขียนติดบนบรรจุภัณฑ์ควรเลือกที่สามารถกันน้ำและความชื้นได้ เพราะการเก็บนมแม่ในตู้เย็นมีความชื้นสูง ฉลากและน้ำหมึกที่ไม่กันความชื้นอาจทำให้ฉลากเสียหายจนดูไม่ออกว่าเขียนอะไรลงไป
อีกข้อที่สำคัญ แต่อาจจะไม่จำเป็นสำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกอยู่บ้าน เพราะข้อนี้เป็นเรื่องสำคัญของแม่ที่ปั๊มนมในที่ทำงาน ควรเขียนให้ชัดเจนว่านมนี้ปั๊มวันไหน เวลาใด และของใคร เพื่อป้องกันการสับสนในกรณีที่ออฟฟิศก็มีคนอื่น ๆ ปั๊มนมลูกด้วย
หรือในกรณีที่ส่งลูกให้สถานดูแลเด็ก ก็ควรต้องระบุวันที่ปั๊ม เวลาที่ปั๊ม และชื่อของทารกให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการสับสนกับนมของทารกคนอื่น ๆ
หลังจากนมแม่ปั๊มใส่ขวดหรือถุงนมแล้ว จะมีระยะเวลาการเก็บนมแม่ที่แตกต่างกัน ดังนี้
นมแม่ควรแช่ไว้ในตู้เย็นเพื่อให้สามารถอยู่ได้นาน หากต้องการใช้งานภายใน 4 วัน ให้แช่ในช่องแช่เย็นธรรมดา แต่หากต้องการเก็บไว้ให้ได้นานเป็นสัปดาห์ ควรแช่ไว้ในช่องแช่แข็ง
เวลาเก็บนมแม่เข้าตู้เย็น ควรเก็บดังนี้
การเก็บรักษาน้ำนมของแม่ให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยให้ให้สารอาหารในน้ำนมยังคงอยู่ครบถ้วน เพราะในน้ำนมของแม่นั้นมีสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อย อย่างสารอาหารจำเป็นที่พบได้ใน น้ำนมระยะแรก หรือที่เรียกกันว่า น้ำนมเหลือง ซึ่งก็คือ น้ำนมที่ไหลออกมาเพียง 1-3 วันแรกหลังคลอด สามารถพบแลคโตเฟอร์รินได้มากที่สุด
ซึ่งแลคโตเฟอร์ริน คือ โปรตีนสำคัญที่มีหน้าที่ส่งเสริมภูมิคุ้มกัน โดยการออกฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จึงสามารถช่วยป้องกันการเจ็บป่วยให้ลูกน้อย
ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์การเลี้ยงลูกของคุณแม่ หากคุณแม่เป็นแม่บ้านที่ดูแลลูกเต็มตัว และมีเวลาให้นมลูกได้ตลอดเวลา ก็อาจจะไม่ต้องเก็บน้ำนมไว้
แต่ถ้าคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน หรือในวันใดมีธุระที่ต้องออกไปข้างนอก อาจจะไม่สะดวกเปิดเต้าแล้วป้อนนมลูก ก็ควรที่จะปั๊มนมและเก็บน้ำนมเอาไว้ เพื่อให้สะดวกต่อการป้อนนมเจ้าตัวเล็ก และสามารถให้คนอื่นป้อนนมทารกได้โดยที่คุณแม่ไม่ต้องทำเอง
การแช่นมแม่รวมกับอาหารอย่างอื่น อาจทำให้กลิ่นอาหารติดนม อาจทำให้ทารกไม่ยอมกินนมเพราะกลิ่นที่แปลกไปได้ ทางที่ดีควรเคลียร์ช่องแช่เย็นไว้สำหรับแช่นมแม่โดยเฉพาะ
หรือหากกังวลว่าจะมีกลิ่นอาหารอื่น ๆ ติดถุงนม ก็สามารถแยกเอานมแม่ไปแช่ในตู้เย็นขนาดเล็กสำหรับเก็บนมแม่โดยเฉพาะก็ได้เช่นกัน
นมแม่สามารถเก็บได้นานสุดถึง 12 เดือน แต่อายุนมแม่จะคงคุณภาพดีที่สุดได้ที่ 6 เดือน และจะต้องเก็บไว้ในช่องแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า 18 องศาเท่านั้น
คุณแม่ควรปั๊มนมให้ได้ปริมาณเท่าที่เพียงพอต่อลูกในแต่ละวัน แต่ถ้าหากมีน้ำนมเยอะมาก ก็สามารถแยกเก็บไว้ในช่องแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า 18 องศา เพื่อให้สามารถเก็บไว้ได้นานขึ้น หรือจะปั๊มนมเผื่อเอาไว้ เพื่อแบ่งให้กับทารกคนอื่น ๆ ที่มีนมแม่ไม่เพียงพอก็ได้เช่นกัน
เก็บน้ำนมลงใส่ถุงในปริมาณที่กำหนดไว้ แล้วปิดฝาให้มิดชิด เขียนฉลากลงวันที่และเวลาที่ปั๊มนมให้เรียบร้อย แล้วนำไปแช่ตู้เย็นได้เลย
เวลานำนมแม่มาอุ่นเพื่อให้ลูกกิน สามารถแกว่งขวดนมแม่ไปมาเบา ๆ ได้ แต่ห้ามเขย่าแรงเด็ดขาด เพราะเสี่ยงจะทำให้เพราะจะทำให้เม็ดเลือดขาวในนมแม่เกิดการแยกชั้นกัน และทำให้คุณภาพของน้ำนมแม่ลดลง
นมหนึ่งถุงควรเก็บน้ำนมที่ประมาณ 2-4 ออนซ์ เพื่อไม่ให้เก็บไว้เยอะเกินจนต้องเหลือทิ้ง หรือก็ขึ้นอยู่กับว่า เวลาให้นมหนึ่งถุงทารกกินมากหรือน้อยแค่ไหน ก็สต็อคไว้ปริมาณที่ทารกต้องการในแต่ละครั้ง ป้องกันการเหลือนมทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์
Enfa สรุปให้ ไวท์ดอทไม่ได้ท้อง ก็สามารถเกิดไวท์ดอทที่หัวนมได้ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนในร่างก...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกซัดอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ไฟเบอร์ โปรตีน ธาตุเหล็ก วิตามินบี แมกนี...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อ