Enfa สรุปให้
- ช่วง 6 เดือนแรก ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญอย่างยิ่งที่ทารกจะต้องได้กินนมแม่อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะช่วงระยะน้ำนมเหลือง ที่จะไหลออกมาใน 1-3 วันแรกหลังคลอด ในน้ำนมเหลืองมีแลคโตเฟอร์รินโปรตีนในนมแม่ที่ทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย จึงช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย และทารกจะได้รับสารอาหารจากน้ำนมแม่เท่านั้น ไม่ได้จากอาหารชนิดอื่น
- หลังคลอด คุณแม่ควรให้ทารกได้กินนมแม่ทันที หรือเร็วที่สุด ไม่ควรปล่อยไว้นานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะน้ำนมน้อย และทารกจะใช้เวลาในการทำความคุ้นชินกับนมแม่นานกว่าปกติ
- คุณแม่หลายคนอาจจะเข้าใจว่า อาหารเพิ่มน้ำนมนี้จะต้องเป็นอาหารสูตรพิเศษสำหรับแม่ให้นมบุตรโดยเฉพาะ แต่ความจริงแล้ว อาหารเพิ่มน้ำนมก็เป็นอาหารที่พบได้ในชีวิตประจำวันและกินกันโดยทั่วไปนั่นเอง ได้แก่ ผักต่าง ๆ ผลไม้ต่าง ๆ เนื้อสัตว์ ธัญพืช และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม
- อาหารเพิ่มน้ำนมสำหรับคุณแม่ที่มีภาวะน้ำนมน้อย ควรรับประทาน คือ หัวปลี ขิง ผักใบเขียว ฟักทอง ผักชีลาว ผักผลไม้เหล่านี้จะช่วยเพิ่มน้ำนมแม่ได้เป็นอย่างดี ด้วยคุณประโยชน์ที่ช่วยในการกระตุ้นและเพิ่มน้ำนมให้กับคุณแม่ที่มีน้ำนมน้อยได้ นอกจากนี้การให้ลูกน้อยช่วยดูดนมคุณแม่ก็เป็นการช่วยกระตุ้นให้ผลิตน้ำนมได้มากขึ้น และควรให้ลูกกินน้ำนมแม่ในส่วนหลังจะมีปริมาณไขมันที่สูง มีส่วนช่วยในการเพิ่มน้ำหนักให้แก่ลูกด้วย
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• อาหารบำรุงน้ำนมมีอะไรบ้าง
• สารอาหารเพิ่มน้ำนมมีอะไรบ้าง
• เมนูเพิ่มน้ำนมมีอะไรบ้าง
• ยาเพิ่มน้ำนมช่วยเพิ่มนมแม่จริงไหม
• สมุนไพรเพิ่มน้ำนมได้จริงหรือ
• อาหารอะไรบ้างที่แม่ให้นมลูกห้ามกิน
• น้ำนมเหลืองมีแลคโตเฟอร์ริน
• 10 เคล็ดลับช่วยบำรุงและเพิ่มน้ำนมแม่
• ไขข้อข้องใจเรื่องอาหารบำรุงน้ำนมแม่กับ Enfa Smart Club
หนึ่งในปัญหาที่แม่ให้นมบุตรหลาย ๆ คนประสบพบเจอแล้วก็รู้สึกกังวลอยู่เสมอก็คือปัญหาน้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหล ทำให้น้ำนมไม่พอ จนอาจจะทำให้ทารกได้รับน้ำนมไม่เต็มที่ ได้สารอาหารไม่ครบถ้วน อาจเสี่ยงที่จะทำให้ทารกไม่แข็งแรง และเติบโตไม่สมวัย
แต่ปัญหาน้ำนมน้อยเกิดจากอะไร มีวิธีเพิ่มน้ำนมแม่ได้อย่างไรบ้าง หรือคุณแม่ควรจะต้องกินอาหารบำรุงน้ำนมให้มากขึ้นหรือเปล่า บทความนี้จาก Enfa มีข้อมูลดี ๆ มาฝากคุณแม่ทุกคนค่ะ
ทำความรู้จัก กลุ่มอาหารบำรุงน้ำนมมีอะไรบ้าง
คุณแม่หลายคนอาจจะเข้าใจว่า อาหารเพิ่มน้ำนมนี้จะต้องเป็นอาหารสูตรพิเศษสำหรับแม่ให้นมบุตรโดยเฉพาะ แต่ความจริงแล้ว อาหารกระตุ้นน้ำนมก็เป็นอาหารที่พบได้ในชีวิตประจำวันและกินกันโดยทั่วไปนั่นเอง โดยอาหารที่มีส่วนช่วยเพิ่มน้ำนมให้กับแม่ให้นมบุตร มีดังนี้
- อาหารจำพวกผลไม้ การกินผลไม้มีส่วนช่วยบรรเทาอาการท้องผูกหลังคลอด ซึ่งมักพบได้บ่อยในคุณแม่หลังคลอด และสารอาหารที่หลากหลายในผลไม้ ก็ยังมีส่วนช่วยเพิ่มความเข้มข้นและปริมาณของนมแม่ได้อีกด้วย ซึ่งผลไม้ที่เหมาะกับแม่ให้นมบุตรก็มีหลายชนิด เช่น แคนตาลูป แตงน้ำผึ้ง กล้วย มะม่วง แอปริคอต ลูกพรุน ส้ม ส้มโอ
- อาหารจำพวกผัก ผักอุดมไปด้วยวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย การบริโภคผักในปริมาณที่เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายของแม่ฟื้นตัวได้เร็ว และมีส่วนช่วยในการผลิตน้ำนม ซึ่งผักที่เหมาะกับแม่ให้นมบุตรก็มีหลายชนิด เช่น ผักโขม ผักใบเขียว เช่น คะน้าและกระหล่ำปลี แครอท มันฝรั่งหวาน ฟักทอง มะเขือเทศ พริกหวานสีแดง
- อาหารจำพวกธัญพืช ธัญพืชมีสารอาหารที่หลากหลาย ทั้งโปรตีน วิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจะช่วยให้น้ำนมแม่เข้มข้นและมีปริมาณที่เพียงพอ ซึ่งธัญพืชที่เหมาะกับแม่ให้นมบุตรก็มีหลายชนิด เช่น ข้าวกล้อง ควินัว ขนมปังโฮลวีต ซีเรียลต่าง ๆ
- อาหารจำพวกผลิตภัณฑ์จากนม ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมจะอุดมไปด้วยวิตามินดีและแคลเซียมสูง ซึ่งคุณแม่ควรได้รับอย่างเพียงพอและเหมาะสมตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร เช่น ชีส นมวัว โยเกิร์ต
- อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ เป็นกลุ่มอาหารที่ให้โปรตีนสูง ซึ่งแม่ตั้งครรภ์และแม่หลังคลอดควรได้รับโปรตีนที่เพียงพอ เพื่อช่วยให้สามารถฟื้นตัวหลังคลอดได้ดี ช่วยให้กระดูกแข็งแรง และป้องกันโรคกระดูกพรุน ได้แก่ อาหารประเภทเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ปลา
อาหารบำรุงและเพิ่มน้ำนมควรเน้นสารอาหารแบบไหน
ก่อนที่เราจะไปพูดถึงอาหารเพิ่มน้ำนมแม่ เราควรมารู้กันก่อนว่า อาหารบำรุงนมนั้นควรจะเน้นไปที่สารอาหารกลุ่มใด เพื่อให้น้ำนมมีคุณภาพ และมีสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพของแม่ และทารกที่กินนมแม่ โดยกลุ่มสารอาหารที่แม่ให้นมบุตรควรได้รับ มีดังนี้
สารอาหารกลุ่มที่ 1
เป็นสารอาหารที่จะส่งผ่านไปยังน้ำนมและส่งตรงไปยังทารก ช่วยเพิ่มความเข้มข้นและปริมาณของน้ำนมแม่
- วิตามินบี 1 พบได้ในอาหารจำพวก ปลา เนื้อหมู ถั่ว ธัญพืชต่าง ๆ
- วิตามินบี 2 พบได้ในอาหารจำพวก อัลมอนด์ ถั่วต่าง ๆ เนื้อแดง ปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูง ไข่ ชีส
- วิตามินบี 6 พบได้ในอาหารจำพวก ปลา เนื้อสัตว์ปีก ถั่วลูกไก่ ธัญพืชตระกูลถั่ว มันฝรั่ง ผลไม้อบแห้ง กล้วย
- วิตามินบี 12 พบได้ในอาหารจำพวก หอย ตับ โยเกิร์ต ปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูง ไข่ ปู กุ้ง อาหารที่หมักจากยีสต์ตามธรรมชาติ
- วิตามินเอ พบได้ในอาหารจำพวก มันเทศ แครอท ผักใบเขียวเข้ม เครื่องใน ไข่
- วิตามินดี พบได้ในอาหารจำพวก ปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูง น้ำมันตับปลา
- โคลีน พบได้ในอาหารจำพวก ไข่ ตับวัว ตับไก่ ถั่วพีนัท
- เซลีเนียม พบได้ในอาหารจำพวก อาหารทะเล ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วต่าง ๆ
- ไอโอดีน พบได้ในอาหารจำพวก สาหร่ายทะเล ตับ นม เกลือไอโอดีน
สารอาหารกลุ่มที่ 2
สารอาหารกลุ่มนี้จะไม่มีผลต่อความเข้มข้นและปริมาณของนมแม่ แต่จะมีผลต่อสุขภาพแม่โดยตรง ช่วยในการฟื้นตัวหลังคลอด
- โฟเลต พบได้ในอาหารจำพวก ผักใบเขียว หน่อไม้ฝรั่ง อะโวคาโด ถั่วต่าง ๆ
- แคลเซียม พบได้ในอาหารจำพวก ผักใบเขียว นม โยเกิร์ต
- ธาตุเหล็ก พบได้ในอาหารจำพวก เนื้อแดง เนื้อหมู เนื้อสัตว์ปีก ถั่วต่าง ๆ ผักสีเขียว
- ทองแดง พบได้ในอาหารจำพวก ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วต่าง ๆ อาหารทะเล เครื่องใน มันฝรั่ง
- สังกะสี พบได้ในอาหารจำพวก หอยนางรม เนื้อแดง เนื้อหมู เนื้อสัตว์ปีก ถั่วต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์จากนมวัว
เมนูเรียกน้ำนมง่าย ๆ สำหรับแม่ให้นมลูก
สำหรับคุณแม่ที่ต้องการจะหาเมนูเพิ่มน้ำนมที่อร่อย ดีต่อสุขภาพและได้ประโยชน์ต่อการผลิตน้ำนม อาจลองทำเมนูเหล่านี้ในอาหารแต่ละมื้อได้
- เมนูหัวปลีหลังคลอด เนื่องจากในหัวปลีนั้นมีธาตุเหล็ก แคลเซียม และฟอสฟอรัสอยู่มาก จึงช่วยบำรุงน้ำนมคุณแม่ได้ดี ตัวอย่าง เมนูหัวปลีหลังคลอด เช่น ทอดมันหัวปลี ยำหัวปลี ต้มหัวปลี แกงเลียงหัวปลี เพราะหัวปลีมีธาตุเหล็กสูง และให้แคลเซียมสูง ทั้งยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอีกหลายชนิด
- เมนูฟักทอง เช่น แกงเลียง ฟักทองต้ม ฟักทองผัดไข่ เพราะฟักทองมีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสุขภาพดวงตา ทั้งยังมีฟอสฟอรัสและเบต้าแคโรทีนที่ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงอีกด้วย
- เมนูขิง เป็นเมนูอาหารเรียกน้ำนมที่ทุกคนคุ้นเคย หาทานได้ง่าย และมีเมนูหลากหลาย เช่น น้ำขิง ปลากระพงผัดขิง ปลาช่อนผัดขิง ซุปขิง เพราะขิงเป็นพืชที่มีฤทธิ์ในการขับลมและช่วยย่อยได้ดี ช่วยลดความเสี่ยงของอาการท้องผูกหลังคลอดได้ และยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อแม่และทารกอีกมากมาย เช่น มีโปรตีน ไขมัน แคลเซียม วิตามินเอ วิตามินบี1 และวิตามินบี2
- เมนูมะละกอ เช่น มะละกอผัดไข่ แกงเหลืองมะละกอ แกงส้มมะละกอ เพราะมะละกอมีเอนไซม์ที่ดีต่อระบบภูมิคุ้มกันของแม่และทารก และมีไฟเบอร์สูง ช่วยในการขับถ่าย ลดความเสี่ยงของอาการท้องผูกหลังคลอด
- เมนูกุยช่าย เช่น กุยช่ายผัดตับ ขนมกุยช่าย ไขเจียวกุยช่าย ผัดกุยช่ายหมูสับ เพราะกุยช่ายมีฟอสฟอรัสสูง ช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง และดีต่อระบบไหลเวียนโลหิต มากไปกว่านั้น กุยช่ายยังมีส่วนช่วยในการบำรุงน้ำนม ช่วยให้น้ำนมมีกลิ่นฉุนน้อยลง
เมนูผัดไท เมนูผัดไทยที่ทุกคนรู้จัก จริง ๆ แล้วที่จะช่วยเพิ่มน้ำนมได้คือหัวปลี ผัดไทยที่มีเครื่องเคียงเป็นหัวปลีสด ๆ หรือหัวปลีหั่นฝอย รับประทานกับขนมจีนน้ำพริก หัวปลีจะช่วยในการกระตุ้นร่างกายให้ผลิตน้ำนมเพิ่มได้เป็นอย่างดี
ทำความรู้จักยาเพิ่มน้ำนม สมุนไพรเพิ่มน้ำนม
ยาเพิ่มน้ำนมยา กระตุ้นน้ำนมช่วยเพิ่มนมแม่จริงไหม
แม่หลายคนเลือกที่จะหาซื้อยาเร่งน้ำนม เพื่อช่วยเพิ่มน้ำนมให้เพียงพอต่อการเลี้ยงทารก โดยตัวยาที่เชื่อว่ามีสรรพคุณสร้างน้ำนมที่พบได้บ่อยก็คือ ยาดอมเพอริโดน (Domperidone) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการทำงานของสารโดปามีน (Dopamine Antagonist) และเมื่อสารโดปามีนในร่างกายลดลง ก็จะส่งผลให้ระดับของฮอร์โมนโปรแลคทินในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น และไปกระตุ้นให้มีการผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้น ซึ่งฟังดูแล้วน่าจะมีประโยชน์โดยตรงในการช่วยเพิ่มน้ำนมได้
แต่...ยาดอมเพอริโดนก็มีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ เช่น ปากแห้ง ปวดท้อง ปวดหัว มีผื่นแพ้ มึนงง เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คุณแม่จึงไม่ควรหาซื้อยาดอมเพอริโดนมากินเองโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากแพทย์และเภสัชกร แม้ยาจะมีฤทธิ์ช่วยเพิ่มน้ำนมได้จริง แต่ควรได้รับความเห็นชอบจากแพทย์และเภสัชกรก่อน
สมุนไพรเพิ่มน้ำนมได้จริงหรือเปล่า
สมุนไพรบางชนิดมีฤทธิ์ช่วยบำรุงร่างกาย และส่งผลดีต่อคุณภาพน้ำนมและปริมาณน้ำนมแม่ได้ แต่...ควรเป็นสมุนไพรที่เป็นผักและผลไม้จะดีกว่า เช่น กระเพราะ โหระพา ขิง ฟักทอง หัวปลี เพราะเป็นอาหารที่กินกันโดยทั่วไป ไม่ได้กินโดยเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด
หากเป็นสมุนไพรที่เน้นสรรพคุณทางยามากกว่าสรรพคุณทางสารอาหาร เช่น สมุนไพรตระกูลว่านต่าง ๆ หรือสมุนไพรป่าต่าง ๆ คุณแม่ไม่ควรกินสมุนไพรเหล่านั้นสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะสมุนไพรหลายร้อยชนิดที่ใช้งานกันอยู่ทั่วไปนั้น โดยมากแล้วไม่มีผลการวิจัยรับรองที่เพียงพอว่ามีปลอดภัยต่อแม่ตั้งครรภ์และแม่ให้นมบุตร
อาหารชนิดไหน ที่คุณแม่ให้นมลูกห้ามกิน!
แม่ให้นมบุตรควรงดและหลีกเลี่ยงอาหารดังต่อไปนี้ เพราะเสี่ยงที่ทารกจะได้รับอันตรายและผลข้างเคียงจากอาหารเหล่านั้นผ่านทางน้ำนม
- แอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะดื่มมาก ดื่มน้อย หรือแค่เพียงจิบเดียว ก็ถือว่าไม่ควรและเสี่ยงอันตรายหากมีแอลกอฮอล์เจือปนผ่านไปกับน้ำนมและเข้าสู่ร่างกายของทารก
- คาเฟอีน การดื่มหรือกินอาหารที่มีคาเฟอีนสูง อาจรบกวนการนอนหลับของทารกที่กินนมแม่ได้ แต่ถ้าหากต้องการดื่มคาเฟอีน หรือกินอาหารที่มีคาเฟอีน ควรจำกัดไว้เพียง 2-3 ถ้วยต่อวัน หรือประมาณ 200-300 มิลลิกรัม
- อาหารทะเล แม้อาหารทะเลจะเป็นแหล่งของโปรตีนและโอเมก้า 3 ที่ดีต่อสุขภาพ แต่ก็ไม่ควรกินเป็นประจำ เพราะอาหารทะเลบางชนิดอาจมีการปนเปื้อนของสารปรอท ซึ่งหากส่งผ่านไปยังน้ำนม อาจมีผลต่อระบบประสาทและพัฒนาการของทารกได้
ทำความรู้จัก “น้ำนมเหลือง” มีแลคโตเฟอร์ริน
ในระยะ 6 เดือนแรก ทารกจะได้รับสารอาหารจากน้ำนมแม่เท่านั้น ไม่ได้สารอาหารจากอาหารชนิดอื่น โดยเฉพาะสารอาหารในน้ำนมเหลือง หรือน้ำนมระยะแรกที่จะไหลออกมา 1-3 วันแรกหลังคลอด ในน้ำนมเหลืองมีโปรตีนสำคัญอย่าง แลคโตเฟอร์ริน ที่ทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จึงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยได้ ดังนั้นคุณแม่ควรให้นมลูกทันทีหลังคลอด หรือเร็วที่สุดนั่นเอง
เคล็ดไม่ลับ 10 วิธีการช่วยบำรุง วิธีเพิ่มน้ำนม และเสริมน้ำนมแม่
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นที่ความสด ปรุงสุก สะอาด และปลอดภัย
- เพิ่มปริมาณน้ำดื่มอีก 1 ลิตรจากที่ดื่มอยู่ตามปกติ เพราะน้ำเป็นหนึ่งในอาหารเพิ่มน้ำนมที่จะถูกนำไปช่วยสร้างและเพิ่มน้ำนมแม่ และควรเป็นน้ำอุ่นเท่านั้น ควรงดน้ำเย็นและบรรดาน้ำอัดลม รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ควรทานเมนูอาหารบำรุงน้ำนมและเพิ่มปริมาณการรับประทานให้ได้ราว 2,500 แคลอรี (หรือมากกว่าหากต้องให้นมลูกระยะเวลาเกิน 3 เดือน และไม่ต้องกลัวอ้วน) โดยเน้นสารอาหารโปรตีน ไม่ใช่แป้งหรือน้ำตาล
- แบ่งอาหารเป็น 5 มื้อต่อวัน (อาหารเช้า เที่ยง ของว่างช่วงบ่าย อาหารเย็น และของว่างช่วงค่ำ) อาหารว่างแนะนำว่าควรเป็นผลไม้และเครื่องดื่มที่มีประโยชน์
- งดสูบบุหรี่หรือสูดควันบุหรี่ เพราะสารนิโคตินสามารถผ่านทางน้ำนมไปหาลูกได้และบุหรี่เองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การผลิตน้ำนมแม่ลดลง จึงแนะนำให้คุณแม่ที่อยู่ในช่วงทานอาหารกระตุ้นน้ำนมควรอยู่ห่างจากบุหรี่
- งดซื้อยารับประทานเอง ยาสามัญทั่วไปมักปลอดภัย แต่แม่ที่ให้นมควรปรึกษาแพทย์หรือคลินิกนมแม่ก่อน
- หลีกเลี่ยงสารพิษต่างๆ เช่นควันบุหรี่ ยาฆ่าแมลง
- รับประทานอาหารเพิ่มน้ำนมที่มีไขมันไม่อิ่มตัวจากธรรมชาติ ช่วยในการเสริมสร้างสมองของลูกเช่น เมล็ดทานตะวัน ปลาและน้ำมันมะกอก
- รับประทานโฟเลท (กรดโฟลิค) หรือเมนูอาหารบำรุงน้ำนมที่ทำมาจากผักใบเขียว พบมากในยอดผัก ผักใบเขียว ข้าวโพดและกะหล่ำปลี หรือซื้อจากร้านขายยาทั่วไป
- เลือกรับประทานเมนูอาหารเพิ่มน้ำนมเพื่อกระตุ้นน้ำนมหรือเร่งน้ำนม ที่เป็นที่นิยมในหมู่คุณแม่และรับประกันว่าได้ผล ทีนี้คุณแม่หลายๆท่านคงได้เคล็ดลับการปฏิบัติตัว ปรับการใช้ชีวิตให้ดียิ่งขึ้นที่จะส่งผลให้การเพิ่มน้ำนมให้มีมากขึ้น เพียงพอต่อการให้ลูกน้อยได้กินและยังได้รู้เมนูอาหารกระตุ้นน้ำนมที่คุณแม่ทุกคนต่างการันตีว่าช่วยเพิ่มน้ำนมได้เป็นอย่างดีให้ได้ไปลองทำกินกันนะคะ
ไขข้อข้องใจเรื่องอาหารบำรุงน้ำนมแม่กับ Enfa Smart Club
อาหารกระตุ้นน้ำนม มีอะไรบ้าง
แท้จริงแล้วอาหารกระตุ้นน้ำนม อาหารเรียกน้ำนม ก็คืออาหารที่เรากินกันทั่วไปในชีวิตประจำวันนี่แหละ ไม่ว่าจะเป็น
- อาหารจำพวกผลไม้ เช่น แคนตาลูป แตงน้ำผึ้ง กล้วย มะม่วง แอปริคอต ลูกพรุน ส้ม ส้มโอ
- อาหารจำพวกผัก เช่น ผักโขม ผักใบเขียว เช่น คะน้าและกระหล่ำปลี แครอท มันฝรั่งหวาน ฟักทอง มะเขือเทศ พริกหวานสีแดง
- อาหารจำพวกธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ควินัว ขนมปังโฮลวีต ซีเรียลต่าง ๆ
- อาหารจำพวกผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ชีส นมวัว โยเกิร์ต
- อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ปลา
อาหารแม่ลูกอ่อนห้ามกิน มีอะไรบ้าง
แม่ให้นมบุตรควรงดและหลีกเลี่ยงอาหารดังต่อไปนี้ เพราะเสี่ยงที่ทารกจะได้รับอันตรายและผลข้างเคียงจากอาหารเหล่านั้นผ่านทางน้ำนม
- แอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะดื่มมาก ดื่มน้อย หรือแค่เพียงจิบเดียว ก็ถือว่าไม่ควรและเสี่ยงอันตรายหากมีแอลกอฮอล์เจือปนผ่านไปกับน้ำนมและเข้าสู่ร่างกายของทารก
- คาเฟอีน การดื่มหรือกินอาหารที่มีคาเฟอีนสูง อาจรบกวนการนอนหลับของทารกที่กินนมแม่ได้ แต่ถ้าหากต้องการดื่มคาเฟอีน หรือกินอาหารที่มีคาเฟอีน ควรจำกัดไว้เพียง 2-3 ถ้วยต่อวัน หรือประมาณ 200-300 มิลลิกรัม
- อาหารทะเล แม้อาหารทะเลจะเป็นแล่งของโปรตีนและโอเมก้า 3 ที่ดีต่อสุขภาพ แต่ก็ไม่ควรกินเป็นประจำ เพราะอาหารทะเลบางชนิดอาจมีการปนเปื้อนของสารปรอท ซึ่งหากส่งผ่านไปยังน้ำนม อาจมีผลต่อระบบประสาทและพัฒนาการของทารกได้
ผลไม้เพิ่มน้ำนมมีอะไรบ้าง
ผลไม้มีสารอาหารที่หลากหลาย และสารอาหารเหล่านั้นก็มีส่วนช่วยเพิ่มความเข้มข้นและปริมาณของนมแม่ได้อีกด้วย ซึ่งผลไม้ที่เหมาะกับแม่ให้นมบุตรก็มีหลายชนิด เช่น แคนตาลูป แตงน้ำผึ้ง กล้วย มะม่วง แอปริคอต ลูกพรุน ส้ม ส้มโอ
เครื่องดื่มบำรุงคุณแม่หลังคลอด ที่สามารถดื่มได้ มีอะไรบ้าง
คุณแม่หลายคนอาจจะพยายามหาเครื่องดื่มที่มีสรรพคุณเร่งน้ำนม แต่แท้จริงแล้วเครื่องดื่มที่เหมาะกับแม่ให้นมบุตรที่สุดก็คือน้ำเปล่า ซึ่งควรจะดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ และช่วยในการผลิตน้ำนมด้วย ส่วนเครื่องดื่มจำพวกคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ คุณแม่สามารถดื่มได้ แต่...ไม่ควรเกิน 2-3 ถ้วยต่อวัน หรือประมาณ 200-300 มิลลิกรัมต่อวัน
สมุนไพรบำรุงน้ำนม อันตรายไหม
สมุนไพรที่เป็นผักหรือผลไม้ เช่น ฟักทอง หัวปลี กุยช่าย กระเพรา หรือโหระพา เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาและคุณค่าทางอาหารสูง และมีส่วนช่วยในการบำรุงน้ำนมแม่
แต่...สมุนไพรป่าจำพวก ว่านต่าง ๆ รากไม้ต่าง ๆ หรือสมุนไพรที่มีชื่อแปลก ๆ ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก สมุนไพรเหล่านั้นไม่มีผลการวิจัยที่รองรับอย่างเพียงพอว่ามีความปลอดภัยต่อแม่ตั้งครรภ์และแม่ให้นมบุตร คุณแม่จึงไม่ควรกินสมุนไพรใดก็ตามสุ่มสี่สุ่มห้า โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากแพทย์และเภสัชกร เพราะอาจเสี่ยงต่อทารกในครรภ์และทารกที่กำลังกินนม
- The Children’s Hospital of Philadelphia. Diet for Breastfeeding Mothers. [Online] Accessed https://www.chop.edu/pages/diet-breastfeeding-mothers. [23 March 2022]
- Healthline. Breastfeeding Diet 101: What to Eat While Breastfeeding. [Online] Accessed https://www.healthline.com/nutrition/breastfeeding-diet-101. [23 March 2022]
- Healthline. 5 Ways to Increase Breast Milk Production. [Online] Accessed https://www.healthline.com/health/parenting/how-to-increase-breast-milk…. [23 March 2022]
- NHS. Breastfeeding and diet. [Online] Accessed https://www.nhs.uk/conditions/baby/breastfeeding-and-bottle-feeding/bre…. [23 March 2022]
- Mayo Clinic. Breast-feeding nutrition: Tips for moms. [Online] Accessed https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/…. [23 March 2022]
- Mayo Clinic. What causes a low milk supply during breast-feeding?. [Online] Accessed https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/…. [23 March 2022]
- What to expect. Should You Take Vitamins or Supplements While Breastfeeding?. [Online] Accessed https://www.whattoexpect.com/first-year/breastfeeding/breastfeeding-vit…. [23 March 2022]
- Medical News Today. Foods to eat and avoid while breastfeeding. [Online] Accessed https://www.medicalnewstoday.com/articles/322844. [23 March 2022]
- Amarin Baby&Kids. เมนูอาหารเพิ่มน้ำนม ให้แม่ลูกอ่อน. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.amarinbabyandkids.com/food-nutrition/menu-food-the-boost-br…. [23 มีนาคม 2022]
- ไทยรัฐออนไลน์. 5 อาหารเพิ่มน้ำนมหลังคลอด สำหรับคุณแม่นักปั๊ม. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/mom-and-kids/1963366. [23 มีนาคม 2022]
- โรงพยาบาลวิภาวดี. อาหารเพิ่มน้ำนมมารดาหลังคลอด. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.vibhavadi.com/Health-expert/detail/161. [23 มีนาคม 2022]
- ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. รูปแบบการใช้ยากระตุ้นการหลั่งน้ำนมในมารดาให้นมบุตร. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CMMJ-MedCMJ/article/download/2405…. [23 มีนาคม 2022]
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
- ลดน้ำหนัก ลดหน้าท้องหลังคลอด ลดยังไงให้ปลอดภัย และได้ผล
- วิธีเช็ดสะดือทารกให้สะอาด ปลอดภัย และไม่เสี่ยงติดเชื้อ
- เริ่มเลย! ออกกำลังกายหลังคลอด ทวงหุ่นฟิต พิชิตความเฟิร์ม
- นมแม่ สารพันประโยชน์ และคุณค่าดี ๆ จากอกแม่
- อาหารบำรุงน้ำนมที่แม่น้ำนมน้อย น้ำนมหด ควรกินบ่อย ๆ
- อาหารหลังคลอด ที่แม่ให้นมลูกห้ามกิน เลี่ยงได้เลี่ยง
- ปั๊มนมยังไงให้ถูกวิธี ปั๊มแบบไหนให้นมเกลี้ยงเต้า
- รู้ไหม? นมแม่อยู่ได้กี่ชม. เก็บนมแม่ยังไงให้อยู่ได้นานๆ
- วิธีอุ่นนมแม่ อุ่นยังไงให้ถูกต้อง และน้ำนมไม่เสียคุณภาพ
- Solid Food อาหารมื้อแรกของลูก เริ่มเมื่อไหร่ เริ่มยังไง
- ทารกหิวทุกชั่วโมงปกติไหม เพิ่งกินไปแต่ทำไมลูกหิวนมอีกนะ
- ให้ลูกเข้าเต้าทุกกี่ชั่วโมงดีนะ? เข้าใจการให้ลูกดูดเต้า
- พัฒนาการทารก 2 เดือน เป็นอย่างไร ดูแลเด็ก 2 เดือน แบบไหน
- ทารกกินไม่รู้จักอิ่ม ถ้าให้นมอีกจะ Overfeeding หรือเปล่า
- อาหารหลังคลอดกินอะไรดี อาหารแม่หลังคลอดห้ามกินอะไรบ้าง
- 12 วิธีกู้น้ำนมง่าย ๆ แก้ปัญหานมน้อย น้ำนมหด น้ำนมไม่ไหล