ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เบิกค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม ทำยังไง เบิกออนไลน์ได้ไหม

เบิกค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม ทำยังไง เบิกออนไลน์ได้ไหม

Enfa สรุปให้

  • ตามกฎหมายล่าสุดแม่ท้องทุกคนที่มีประกันสังคมและจ่ายครบตามกำหนด สามารถเบิกค่าฝากครรภ์ได้ 5 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,500 บาท
  • การยื่นขอเบิกค่าฝากครรภ์สามารถทำเรื่องเบิกได้ด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน หรือสามารถยื่นเรื่องขอเบิกออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ของประกันสังคมได้
  • เอกสารที่ต้องใช้ในการเบิกค่าฝากครรภ์ประกันสังคม คือ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม, สมุดฝากครรภ์, ใบเสร็จตัวจริงจากคลินิก หรือโรงพยาบาลที่ไปเข้ารับการฝากครรภ์ และใบรับรองแพทย์

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • ประกันสังคมเบิกค่าฝากครรภ์ได้ไหม
     • เบิกค่าฝากครรภ์ได้ตอนไหน
     • เบิกค่าฝากครรภ์ออนไลน์ได้ไหม
     • เบิกค่าฝากครรภ์ใช้เอกสารอะไรบ้าง
     • ขั้นตอนเบิกค่าฝากครรภ์ประกันสังคม
     • ไขข้อข้องใจเรื่องการเบิกค่าประกันสังคมกับ Enfa Smart Club

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีประกันสังคม คุณแม่สามารถยื่นเรื่องขอรับสิทธิต่าง ๆ ของประกันสังคมอันเกี่ยวเนื่องกับการตั้งครรภ์ได้

บทความนี้จาก Enfa จะพาคุณแม่มาเตรียมพร้อมสำหรับการยื่นรับสิทธิในการเบิกค่าฝากครรภ์จากประกันสังคม ซึ่งคุณแม่ที่ส่งประกันสังคมครบตามกรอบเวลาที่กำหนดสามารถที่จะใช้สิทธิ์ในการเบิกค่าฝากครรภ์ได้ค่ะ

เบิกค่าฝากครรภ์ หนึ่งในสิทธิประกันสังคมของคุณแม่


การเบิกค่าฝากครรภ์ประกันสังคม ถือเป็นอีกหนึ่งสิทธิแม่ท้องที่มีประกันสังคมควรรู้ค่ะ โดยตามกฎหมายล่าสุดทางประกันสังคมจะจ่ายค่าฝากครรภ์ให้คุณแม่ 5 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,500 จากเดิมที่จ่ายเพียง 3 ครั้ง 1,000 บาท โดยมีข้อกำหนดการเบิกค่าฝากครรภ์ดังนี้

          • อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาท

          • อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท

          • อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท

          • อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท

          • อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท

ซึ่งมีเงื่อนไขประกอบอีก 2 ข้อ คือ

          • คุณแม่จะต้องจ่ายค่าประกันสังคมมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนใช้สิทธิ

          • หากฝ่ายชายและฝ่ายหญิงมีสิทธิประกันสังคมทั้งคู่ สามารถให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้มาดำเนินการใช้สิทธิเบิกค่าฝากครรภ์ก็ได้

เบิกค่าฝากครรภ์ได้ตอนไหน


แล้วค่าฝากครรภ์เบิกได้ตอนไหน? สำหรับฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่มีประกันสังคมและส่งจ่ายประกันสังคมครบตามกำหนดแล้ว หลังจากที่ไปเข้ารับการฝากครรภ์มาครั้งแรกก็สามารถที่จะไปทำเรื่องเบิกกับประกันสังคมได้เลยค่ะ

เบิกค่าฝากครรภ์ออนไลน์ได้ไหม


ปัจจุบันนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะทำการเบิกค่าฝากครรภ์ประกันสังคมออนไลน์ได้แล้วค่ะ โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ของประกันสังคม www.sso.go.th

จากนั้นเข้าสู่ระบบผู้ประกันตน คลิกเมนูยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนด้วยตนเอง (E-Self Service) เลือกเมนูคลอดบุตร และเลือกเมนูฝากครรภ์ จากนั้นกรอกข้อมูลตามที่เว็บไซต์กำหนด แนบไฟล์เอกสาร และดำเนินการเบิกค่าฝากครรภ์ออนไลน์ได้เลยค่ะ 

**การเบิกค่าฝากครรภ์ออนไลน์ จำเป็นจะต้องอัปโหลดไฟล์เอกสารสำคัญ คือ

          • สำเนาใบเสร็จรับเงิน 1 ชุด

          • สำเนาใบรับรองแพทย์ หรือสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (ระบุวันที่ตรวจครรภ์และอายุครรภ์)

          • สำเนาทะเบียนสมรส หรือหนังสืออยู่กันฉันท์สามีภรรยาอย่างเปิดเผย

เบิกค่าฝากครรภ์ใช้เอกสารอะไรบ้าง


เอกสารเบิกค่าฝากครรภ์ประกันสังคม 2567 คุณพ่อคุณแม่จำเป็นจะต้องเตรียมเอกสารที่สำคัญ 4 อย่าง คือ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม (ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของประกันสังคม), สมุดฝากครรภ์, ใบเสร็จตัวจริงจากคลินิก หรือโรงพยาบาลที่ไปเข้ารับการฝากครรภ์ และใบรับรองแพทย์ตลอดอายุครรภ์ 5 ช่วง ได้แก่

          • อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์
          • อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์
          • อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์
          • อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์
          • อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป

ในกรณีที่ให้สามีเป็นผู้มาทำเรื่องขอเบิกเงินค่าฝากครรภ์ จะต้องนำสำเนาทะเบียนสมรสมาด้วย หรือในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะต้องนำหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส โดยดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของประกันสังคม

ขั้นตอนเบิกค่าฝากครรภ์ประกันสังคม


ขั้นตอนการเบิกค่าฝากครรภ์นั้นสามารถทำได้ง่าย ๆ 2 วิธี คือ

1. ดำเนินการด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคม โดยเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้ครบตามที่กำหนด ดังนี้

          • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม (ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของประกันสังคม)

          • สมุดฝากครรภ์

          • ใบเสร็จตัวจริงจากคลินิก หรือโรงพยาบาลที่ไปเข้ารับการฝากครรภ์

          • ใบรับรองแพทย์ตลอดอายุครรภ์ 5 ช่วง

          • ในกรณีที่ให้สามีเป็นผู้มาทำเรื่องขอเบิกเงินค่าฝากครรภ์ และมีการจดทะเบียนสมรสกัน จะต้องนำสำเนาทะเบียนสมรสมาด้วย

          • ในกรณีที่ให้สามีเป็นผู้มาทำเรื่องขอเบิกเงินค่าฝากครรภ์ และไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน จะต้องนำหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีี่ไม่มีทะเบียนสมรส (ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของประกันสังคม)

จากนั้นไปยื่นเรื่องเบิกค่าฝากครรภ์ที่สำนักงานประกันสังคมที่ใกล้บ้านหรือเดินทางสะดวกได้เลยค่ะ

2. ดำเนินการออนไลน์ เตรียมไฟล์เอกสารสำคัญสำหรับอัปโหลดผ่านเว็บไซต์ของประกันสังคม ได้แก่

          • สำเนาใบเสร็จรับเงิน 1 ชุด

          • สำเนาใบรับรองแพทย์ หรือสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (ระบุวันที่ตรวจครรภ์และอายุครรภ์)

          • สำเนาทะเบียนสมรส หรือหนังสืออยู่กันฉันท์สามีภรรยาอย่างเปิดเผย

จากนั้นกรอกข้อมูลตามที่กำหนด และคลิกยืนยันการยื่นเบิกค่าฝากครรภ์ ก็สามารถยื่นเรื่องอนไลน์ได้ง่าย ๆ สะดวกมากค่ะ

ไขข้อข้องใจเรื่องการเบิกค่าฝากครรภ์ประกันสังคมกับ Enfa Smart Club


ค่าฝากครรภ์ประกันสังคม เบิกได้สูงสุดเท่าไหร่?

ค่าฝากครรภ์ประกันสังคมนั้นสามารถเบิกจ่ายได้ 1,500 บาท สามารถเบิกได้จำนวน 5 ครั้ง ดังนี้

      • อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 500 บาท

      • อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 300 บาท

      • อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 300 บาท

      • อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 200 บาท

      • อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 200 บาท

เบิกค่าฝากครรภ์ไม่มีใบเสร็จได้ไหม?

การเบิกค่าฝากครรภ์จำเป็นต้องมีใบเสร็จเป็นเอกสารประกอบการเบิกค่าฝากครรภ์ค่ะ ดังนั้นควรขอใบเสร็จการจ่ายเงินทุกครั้งเพื่อนำไปใช้ยื่นเบิกค่าฝากครรภ์ในแต่ละครั้งนะคะ

ใช้สิทธิประกันสังคมของสามีฝากครรภ์ได้ไหม?

ตามเงื่อนไขของประกันสังคมนั้น หากฝ่ายชายและฝ่ายหญิงมีสิทธิประกันสังคมทั้งคู่ สามารถให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้มาดำเนินการใช้สิทธิเบิกค่าฝากครรภ์ก็ได้ค่ะ

ยื่นค่าฝากครรภ์ ได้ช้าสุดเมื่อไหร่?

กรณียื่นเอกสารครบถ้วน คุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไข และไม่ติดสถานะค้างชำระกรณีสำนักงานประกันสังคมเรียกเงินคืน จะได้รับเงินโอนเข้าบัญชีของผู้ประกันตนผ่านธนาคารประเภทออมทรัพย์ ภายใน 7-10 วัน ทำการ

โดยสามารถโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดตามสอบถามผลการอนุมัติ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน หรือผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th หรือโทร 1506 ค่ะ



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความที่แนะนำ

แจ้งเกิดภายในกี่วัน
antenatal-care
อัลตราซาวนด์ท้องคืออะไร ต้องทำเมื่อไหร่ และปลอดภัยจริงไหม?
Enfa Smart Club

Leaving page banner

 

Leaving page banner